เป็นที่ทราบกันดีแล้วว่าภาพรวมผลประกอบการไตรมาส 1/2567 ของหุ้นในกลุ่ม “ธนาคาร” เป็นอย่างไร แต่หากมองไปยังอนาคต แนวโน้มไตรมาส 2/2567 ของ 5 ธนาคารรายใหญ่ของไทยอย่าง SCB, KBANK, BBL, KTB และTTB จะมีความน่าสนใจหรือไม่ Share2Trade หาคำตอบมาให้นักลงทุนแล้ว
โดยภาพรวมของหุ้นกลุ่มธนาคาร นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) ประเมินว่า กลุ่มธนาคารมีแรงกดดันเพิ่มหลังจากธนาคารประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% สำหรับลูกค้ากลุ่มเปราะบาง (ลูกค้าบุคคล และ SME) เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ย และโอกาสการฟื้นตัวของลูกหนี้ เมื่อประเมินผลกระทบจากต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่ปรับสูงขึ้นทำให้ NIM มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากในไตรมาส 1/2567
อย่างไรก็ดี คาดว่ากำไรสุทธิในไตรมาส 2/2567 จะเติบโตปานกลางจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเติบโต และค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ลดลง สำหรับในครึ่งปีแรก 2567 คาดว่ากำไรสุทธิจะเติบโตราว 5-10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เทียบกับในครึ่งแรกปี 2566
ขณะที่ รัฐบาลเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2567 ทำให้คาดว่าจะมีเม็ดเงินใหม่เพิ่มในไตรมาส 2/2567 และเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้นในครึ่งหลังปี 2567
ทั้งนี้คาดว่าธนาคารจะควบคุมคุณภาพสินเชื่อได้ดี ด้วยฐานะเงินกองทุนและระดับสำรองหนี้ฯ สูง ธนาคารมีความแข็งแกร่งเผชิญความเสี่ยงจากการคงอัตราดอกเบี้ยยาวนานกว่าที่คาด และผลกระทบจากความขัดแย้งการเมืองในต่างประเทศ
SCB ไตรมาส 2 กำไรโต
สำหรับการประเมินปัจจัยพื้นฐานของหุ้นรายตัว เริ่มกันที่ SCB นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด คาดแนวโน้มกำไรสุทธิของ SCB ในไตรมาส 2/2567 จะปรับตัวดีขึ้นทั้งช่วงเดียวกันของปีก่อน และจากไตรมาสแรก
โดยหนุนจากการตั้งสำรองที่ผ่อนคลายลง หลังเร่ง Write-Off ลูกหนี้กลุ่มเสี่ยงสูงของ CardX ไปมาก และปัจจุบัน NPL Ratio ของ SCB ยังอยู่ในระดับที่ทรงตัวที่ 3.9% ใกล้เคียงกับไตรมาส 4/2566
นอกจากนี้คาดจะเริ่มเห็นการขยายสินเชื่อของกลุ่มธุรกิจ Consumer Finance มากขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ที่มีการเร่งขยายสาขาอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มพื้นที่ให้บริการ (ปัจจุบันมีจำนวน 2 พันสาขา) หนุนให้คาดทั้งปี 2567 SCB จะมีกำไรสุทธิ 46,037 ล้านบาท เติบโต 5.8% จากปีก่อน แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 128 บาท
KBANK ตั้งสำรองผ่อนคลายลง
ส่วน KBANK นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด คาดแนวโน้มไตรมาส 2/2567 กำไรสุทธิของ KBANK จะเติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเมื่อเทียบจากไตรมาสแรกคาดขยับขึ้นต่อเล็กน้อย แม้มีผลกระทบจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่จะเริ่มขยับขึ้น
แต่คาดจะถูกชดเชยด้วยการตั้งสำรองที่ทยอยผ่อนคลายลง และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น หนุนจากรายได้ค่าธรรมเนียมสินเชื่อและรายได้เงินปันผลรับของพอร์ตเงินลงทุน ส่วนทั้งปี 2567 คาด KBANK จะมีกำไรสุทธิ 46,390 ล้านบาท เติบโต 9.4% จากปีก่อน แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 162 บาท
BBL ความต้องการสินเชื่อบริษัทใหญ่เพิ่มขึ้น
ขณะที่ BBL นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด คาดแนวโน้มไตรมาส 2/2567 จะเห็นการฟื้นตัวของกำไรสุทธิเมื่อเทียบไตรมาสก่อน หนุนจากการตั้งสำรองที่คาดจะเริ่มลดลง หลังปรับชั้นลูกหนี้กลุ่มที่มีปัญหาลงเป็น NPL ไปแล้ว และบริษัทมี Coverage Ratio ที่สูงเพียงพอ (สูงสุดในกลุ่มธนาคาร)
บวกกับคาดจะเริ่มเห็นความต้องการสินเชื่อของบริษัทใหญ่เพิ่มขึ้น หลังภาครัฐฯ เร่งเบิกจ่ายงบประมาณ ส่วนภาคธุรกิจต่างประเทศยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะ Permata ที่มีความต้องการสินเชื่อบริษัทขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
นอกจากนี้คาดรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยจะปรับตัวขึ้นต่อ เพราะปกติบริษัทจะมีรายได้เงินปันผลเข้ามากที่สุดในไตรมาส 2/2567 และคาดรายได้ค่าธรรมเนียมจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณธุรกิจสินเชื่อที่สูงขึ้น หนุนให้คงคาดทั้งปี 2567 BBL จะมีกำ ไรสุทธิ 43,950 ล้านบาท เติบโต 5.6% จากปีก่อน แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 190 บาท
KTB เด่นสุดกลุ่มแบงก์
KTB นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด คาดแนวโน้มกำไรสุทธิในไตรมาส 2/67 จะยังเห็นการเติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และจากไตรมาสก่อน หนุนจากการตั้งสำรองที่ยังสามารถปรับลงได้ หากสัดส่วนของสินเชื่อโครงการรัฐฯ เพิ่มขึ้น
อีกทั้งคาดจะเริ่มเห็นผลจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณรัฐฯ ทำให้ความสามารถในการชา ระเงินของลูกหนี้ในพอร์ตแข็งแรงขึ้น นอกจากนี้คาดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจะปรับลง หลังมีการตั้งด้อยค่าทรัพย์สินรอการขายเพิ่มเข้ามามากในไตรมาส 1/67
สำหรับปี 2567 คาด KTB จะมีกำไรสุทธิ 43,791 ล้านบาท โต 19.6% จากปีก่อน เด่นกว่าธนาคารใหญ่รายอื่นเนื่องจากไม่มีการตั้งสำรองของลูกหนี้รายใหญ่เข้ามารบกวนเหมือนกับช่วงไตรมาส 4/66 และเป็นธนาคารที่จะได้อานิสงค์บวกมากที่สุดจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณรัฐฯ ส่วนปี 2568 คาดกำไรสุทธิโต 5% จากปีก่อน แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 23 บาท
TTB ได้ประโยชน์ด้านภาษี
ปิดท้ายที่ TTB นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) คาดกาไรไตรมาส 2/67 ที่ 5.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก NIM ที่สูงขึ้นและสิทธิประโยชน์ด้านภาษี และทรงตัวจากไตรมาสก่อน เพราะการตั้งสารองที่ลดลงจะถูกกลบโดย NIM ที่ลดลง
โดยปรับเพิ่มประมาณการกาไรสุทธิปี 2567 ขึ้น 9% มาอยู่ที่ 2.06 หมื่นล้านบาท เติบโต 11% จากปีก่อน เนื่องจากรวมประโยชน์ด้านภาษีไว้ในประมาณการ แต่ปรับลดสมมติฐาน NIM ปี 2567 ลงจาก 3.26% มาอยู่ที่ 3.13% เนื่องจากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น และปรับเพิ่มสมมติฐานอัตราส่วนการตั้งสารองหนี้ต่อหนี้เสียปี 2567 จาก 1.30% มาอยู่ที่ 1.35% แนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมายใหม่ ณ สิ้นปี 2567 ที่ 2 บาท
โดยภาพรวมของหุ้นกลุ่มธนาคาร นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ พาย จำกัด (มหาชน) ประเมินว่า กลุ่มธนาคารมีแรงกดดันเพิ่มหลังจากธนาคารประกาศปรับลดอัตราดอกเบี้ยลูกค้ารายย่อยชั้นดี (MRR) ลง 0.25% สำหรับลูกค้ากลุ่มเปราะบาง (ลูกค้าบุคคล และ SME) เป็นเวลา 6 เดือน เพื่อลดภาระดอกเบี้ย และโอกาสการฟื้นตัวของลูกหนี้ เมื่อประเมินผลกระทบจากต้นทุนดอกเบี้ยจ่ายที่ปรับสูงขึ้นทำให้ NIM มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่องจากในไตรมาส 1/2567
อย่างไรก็ดี คาดว่ากำไรสุทธิในไตรมาส 2/2567 จะเติบโตปานกลางจากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากรายได้ดอกเบี้ยสุทธิเติบโต และค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ลดลง สำหรับในครึ่งปีแรก 2567 คาดว่ากำไรสุทธิจะเติบโตราว 5-10% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เทียบกับในครึ่งแรกปี 2566
ขณะที่ รัฐบาลเร่งเบิกจ่ายเงินงบประมาณปี 2567 ทำให้คาดว่าจะมีเม็ดเงินใหม่เพิ่มในไตรมาส 2/2567 และเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวชัดเจนมากขึ้นในครึ่งหลังปี 2567
ทั้งนี้คาดว่าธนาคารจะควบคุมคุณภาพสินเชื่อได้ดี ด้วยฐานะเงินกองทุนและระดับสำรองหนี้ฯ สูง ธนาคารมีความแข็งแกร่งเผชิญความเสี่ยงจากการคงอัตราดอกเบี้ยยาวนานกว่าที่คาด และผลกระทบจากความขัดแย้งการเมืองในต่างประเทศ
SCB ไตรมาส 2 กำไรโต
สำหรับการประเมินปัจจัยพื้นฐานของหุ้นรายตัว เริ่มกันที่ SCB นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด คาดแนวโน้มกำไรสุทธิของ SCB ในไตรมาส 2/2567 จะปรับตัวดีขึ้นทั้งช่วงเดียวกันของปีก่อน และจากไตรมาสแรก
โดยหนุนจากการตั้งสำรองที่ผ่อนคลายลง หลังเร่ง Write-Off ลูกหนี้กลุ่มเสี่ยงสูงของ CardX ไปมาก และปัจจุบัน NPL Ratio ของ SCB ยังอยู่ในระดับที่ทรงตัวที่ 3.9% ใกล้เคียงกับไตรมาส 4/2566
นอกจากนี้คาดจะเริ่มเห็นการขยายสินเชื่อของกลุ่มธุรกิจ Consumer Finance มากขึ้น โดยเฉพาะสินเชื่อจำนำทะเบียนรถ ที่มีการเร่งขยายสาขาอย่างต่อเนื่องเพื่อเพิ่มพื้นที่ให้บริการ (ปัจจุบันมีจำนวน 2 พันสาขา) หนุนให้คาดทั้งปี 2567 SCB จะมีกำไรสุทธิ 46,037 ล้านบาท เติบโต 5.8% จากปีก่อน แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 128 บาท
KBANK ตั้งสำรองผ่อนคลายลง
ส่วน KBANK นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด คาดแนวโน้มไตรมาส 2/2567 กำไรสุทธิของ KBANK จะเติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ส่วนเมื่อเทียบจากไตรมาสแรกคาดขยับขึ้นต่อเล็กน้อย แม้มีผลกระทบจากค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานที่จะเริ่มขยับขึ้น
แต่คาดจะถูกชดเชยด้วยการตั้งสำรองที่ทยอยผ่อนคลายลง และรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น หนุนจากรายได้ค่าธรรมเนียมสินเชื่อและรายได้เงินปันผลรับของพอร์ตเงินลงทุน ส่วนทั้งปี 2567 คาด KBANK จะมีกำไรสุทธิ 46,390 ล้านบาท เติบโต 9.4% จากปีก่อน แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 162 บาท
BBL ความต้องการสินเชื่อบริษัทใหญ่เพิ่มขึ้น
ขณะที่ BBL นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด คาดแนวโน้มไตรมาส 2/2567 จะเห็นการฟื้นตัวของกำไรสุทธิเมื่อเทียบไตรมาสก่อน หนุนจากการตั้งสำรองที่คาดจะเริ่มลดลง หลังปรับชั้นลูกหนี้กลุ่มที่มีปัญหาลงเป็น NPL ไปแล้ว และบริษัทมี Coverage Ratio ที่สูงเพียงพอ (สูงสุดในกลุ่มธนาคาร)
บวกกับคาดจะเริ่มเห็นความต้องการสินเชื่อของบริษัทใหญ่เพิ่มขึ้น หลังภาครัฐฯ เร่งเบิกจ่ายงบประมาณ ส่วนภาคธุรกิจต่างประเทศยังมีแนวโน้มขยายตัวได้ดี โดยเฉพาะ Permata ที่มีความต้องการสินเชื่อบริษัทขนาดใหญ่เพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
นอกจากนี้คาดรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยจะปรับตัวขึ้นต่อ เพราะปกติบริษัทจะมีรายได้เงินปันผลเข้ามากที่สุดในไตรมาส 2/2567 และคาดรายได้ค่าธรรมเนียมจะเพิ่มขึ้นตามปริมาณธุรกิจสินเชื่อที่สูงขึ้น หนุนให้คงคาดทั้งปี 2567 BBL จะมีกำ ไรสุทธิ 43,950 ล้านบาท เติบโต 5.6% จากปีก่อน แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 190 บาท
KTB เด่นสุดกลุ่มแบงก์
KTB นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด คาดแนวโน้มกำไรสุทธิในไตรมาส 2/67 จะยังเห็นการเติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อน และจากไตรมาสก่อน หนุนจากการตั้งสำรองที่ยังสามารถปรับลงได้ หากสัดส่วนของสินเชื่อโครงการรัฐฯ เพิ่มขึ้น
อีกทั้งคาดจะเริ่มเห็นผลจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณรัฐฯ ทำให้ความสามารถในการชา ระเงินของลูกหนี้ในพอร์ตแข็งแรงขึ้น นอกจากนี้คาดค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานจะปรับลง หลังมีการตั้งด้อยค่าทรัพย์สินรอการขายเพิ่มเข้ามามากในไตรมาส 1/67
สำหรับปี 2567 คาด KTB จะมีกำไรสุทธิ 43,791 ล้านบาท โต 19.6% จากปีก่อน เด่นกว่าธนาคารใหญ่รายอื่นเนื่องจากไม่มีการตั้งสำรองของลูกหนี้รายใหญ่เข้ามารบกวนเหมือนกับช่วงไตรมาส 4/66 และเป็นธนาคารที่จะได้อานิสงค์บวกมากที่สุดจากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณรัฐฯ ส่วนปี 2568 คาดกำไรสุทธิโต 5% จากปีก่อน แนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมาย 23 บาท
TTB ได้ประโยชน์ด้านภาษี
ปิดท้ายที่ TTB นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ บัวหลวง จำกัด (มหาชน) คาดกาไรไตรมาส 2/67 ที่ 5.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 16% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจาก NIM ที่สูงขึ้นและสิทธิประโยชน์ด้านภาษี และทรงตัวจากไตรมาสก่อน เพราะการตั้งสารองที่ลดลงจะถูกกลบโดย NIM ที่ลดลง
โดยปรับเพิ่มประมาณการกาไรสุทธิปี 2567 ขึ้น 9% มาอยู่ที่ 2.06 หมื่นล้านบาท เติบโต 11% จากปีก่อน เนื่องจากรวมประโยชน์ด้านภาษีไว้ในประมาณการ แต่ปรับลดสมมติฐาน NIM ปี 2567 ลงจาก 3.26% มาอยู่ที่ 3.13% เนื่องจากต้นทุนทางการเงินที่สูงขึ้น และปรับเพิ่มสมมติฐานอัตราส่วนการตั้งสารองหนี้ต่อหนี้เสียปี 2567 จาก 1.30% มาอยู่ที่ 1.35% แนะนำ ซื้อ ราคาเป้าหมายใหม่ ณ สิ้นปี 2567 ที่ 2 บาท