จับประเด็นหุ้นเด่น
สัมภาษณ์พิเศษ : DMT ปรับวิสัยทัศน์ต่อยอดธุรกิจ สร้างฐานรายได้เติบโตยั่งยืน
02 พฤษภาคม 2567
นโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยวของรัฐบาลส่งผลดีต่อบมจ. ทางยกระดับดอนเมือง (DMT) อย่างไร และแนวทางการรับมือกับอายุสัมปทานที่กำลังจะหมดลงในอีก 10 ปีข้างหน้า จะเป็นอย่างไร เราไปพูดคุยในเรื่องดังกล่าวกับ “ศักดิ์ดา พรรณไวย” กรรมการผู้จัดการ DMT
[บริษัท DMT ทำธุรกิจอะไร]
บริหารโครงการสัมปทานทางยกระดับดอนเมืองช่วงดินแดงจนถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ โดยมีรายได้หลักจากการจัดเก็บค่าผ่านทางภายใต้สัญญาสัมปทานในรูปแบบ Build-Transfer-Operate (BTO) อายุสัมปทานสิ้นสุดวันที่ 11 ก.ย. 2577 ปัจจุบันบริษัทกำลังย่างเข้าสู่ปีที่ 37 ถือเป็นวัยกำลังทำงาน และปีนี้เป็นปีที่เราเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นปีที่ 3 ซึ่งหลังเข้าจดทะเบียนทำให้เป็นบริษัทที่มีความภูมิฐานมากขึ้น และเราได้ทำงานหลายอย่างทั้งวิศวกรรม ขณะที่งานด้านทางยกระดับได้ปรับเข้าสู่มาตรฐานสากล ทั้ง ISO 9001 หรือ ISO 14001 ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้ใช้ทางมั่นใจในความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย
[แนวทางในการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ทาง]
บริษัทได้ติดตั้งระบบอำนวยการจราจรด้วยการระบบอัจฉริยะบนเส้นทาง มีการติดตั้งกล้องทุก 300 เมตร ทำให้มั่นใจได้ว่าเราพร้อมให้การช่วยเหลือผู้ใช้ทางตลอดเวลา ไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุ หรือรถเสีย
[มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวส่งผลดีต่อบริษัท]
การที่รัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยว ส่งผลดีต่อการใช้ทางของเรา เพื่อเข้าสู่สนามบิน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่เดินทางผ่านสนามบินดอนเมือง ส่วนนักท่องเที่ยวทั่วไปก็ใช้บริการผ่านทางของเราเพื่อเดินทางไปทางภาคเหนือ แม้จำนวนนักท่องเที่ยวในปัจจุบันจะยังไม่เท่ากับช่วงก่อนเกิดโควิด แต่เป็นสัญญาณที่ดีขึ้น
[ตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ปีนี้อย่างไร]
ปี 2567 เราตั้งเป้าเติบโตเพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปีก่อน คิดเป็นรายได้ประมาณ 2,600 -2,700 ล้านบาท ขณะที่การจราจรปกติจะเติบโตประมาณปีละ 3-5%
บริษัทฯตั้งเป้ารายได้เติบโตประมาณ 10% จากปีก่อน ตามคาดการณ์ปริมาณการจราจรเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 116,000 คันต่อวัน จากปี 2566 เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 106,907 คันต่อวัน สอดคล้องกับแนวโน้มจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มมากขึ้นจากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว เช่น มาตรการฟรีวีซ่าเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจีน จำนวน 8.5 ล้านคนในปีนี้ ส่งผลให้คาดว่า ภาพรวมการท่องเที่ยวของไทยปี 2567 จะฟื้นตัวขึ้นมาอยู่ในระดับเดียวกับก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19
[แผนการสร้างการเติบโตระยะยาว]
เนื่องจากอายุสัมปทานบริษัทจะหมดลงในอีก 10 ปีข้างหน้า ผู้บริหารและฝ่ายจัดการจึงได้ปรับแผนการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างการเติบโตของรายได้ในระยะยาว
[กลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจ]
1.แผนการเพิ่มประสิทธิภาพ โดยทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทั้ง พนักงาน นักลงทุน ผู้ถือหุ้น เจ้าของสัมปทาน เช่น การลงทุน เราไม่ได้ดูมิติเดียว เราดูถึงการคุ้มค่าของการลงทุน ดูว่าประชาชนผู้ใช้ทางได้ประโยชน์อะไรมากขึ้น และดูว่า เจ้าของสัมปทานหรือประเทศได้อะไร เช่นการติดตั้ง โซลาร์รูฟท็อป แต่ละส่วนได้ประโยชน์อะไรบ้าง
2. การเข้าประมูลโครงการ PPP ซึ่งถ้าแผนด้านประสิทธิภาพประสบความสำเร็จก็จะส่งผลดีต่อการเข้าประมูลโครงการที่มีความได้เปรียบ มีต้นทุนที่ต่ำ มีโอกาสชนะประมูลมากขึ้น
3.การป้องกันความเสี่ยงด้านรายได้ โดยการหาแหล่งรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันบริษัทถือว่ามีกระแสเงินสดมาก จึงพร้อมที่จะลงทุนในธุรกิจอื่น ทำให้ปัจจุบันกรรมการบริษัทได้ปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ของบริษัทเป็น บริษัทที่ประกอบกิจการธุรกิจ คมนาคมขนส่ง และธุรกิจอื่นอย่างมีประสิทธิภาพ ล้ำสมัย ยั่งยืน และเรายังปรับโครงสร้างการบริหารงาน โดยเพิ่มแผนก New Business ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการรับผู้บริหารงาน และคาดว่าภายใน 1-2 ปี จะเห็นภาพธุรกิจใหม่ที่ส่งผลดีต่อบริษัท
[วัตถุประสงค์การตั้ง บริษัท เอ สยาม อินฟรา จำกัด]
ในปี 2566 ที่ผ่านมาได้จัดตั้ง บริษัท เอ สยาม อินฟรา จำกัดร่วมกับนักลงทุนชาวญี่ปุ่น โดยDMT ถือหุ้นใหญ่ 68.5% เพื่อประกอบธุรกิจตรวจสอบและซ่อมบำรุงด้านงานวิศวกรรมโยธา เพราะเราคิดว่าในอนาคตอันใกล้ประเทศไทยจะมีการซ่อมแซมงานด้านโครงสร้างพื้นฐานค่อนข้างเยอะ ซึ่งจะสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอให้กับบริษัท
ส่วนการดำเนินธุรกิจหลัก ปัจจุบันบริษัทได้เตรียมความพร้อมเข้าร่วมประมูลโครงการภาครัฐทุกส่วน ทั้งงานทางด่วน-ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง-ส่วนต่อขยายทางยกระดับ และโครงการทางด่วนอื่น ๆ รวมไปถึงทางเชื่อมและโครงการที่ไม่ใช่ทางด่วนหรือทางพิเศษ
[แผนการเข้าประมูลงาน]
ปีนี้ภาครัฐจะเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้าร่วมประมูลงาน มี 2 โครงการ ได้แก่ โครงการยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน ระยะทาง 22 กม. โดยเป็นโครงการที่ต่อจากดอนเมืองโทลเวย์ และโครการที่ 2 เป็นทางพิเศษระหว่างเมือง บางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ระยะทาง 25 กม. ซึ่งทั้ง 2 โครงการ บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาข้อมูล เงื่อนไขในการเข้าร่วมประมูล
[ตั้งเป้าบริษัทในช่วง 3-5 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร]
ปัจจุบันเรามีเป้าหมายที่จะยกระดับมาตรการด้านวิศวกรรม ทำให้3-5 ปีข้างหน้า บริษัทจึงน่าจะได้ร่วมประมูลงานที่ภาครัฐเปิดให้เอกชนเข้าร่วมประมูลหรือ PPP บ้างอย่างน้อย 1 เส้นทาง ส่วนบริษัท เอ สยาม ก็น่าจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ก้าวกระโดด และการลงทุนในธุรกิจใหม่ตามวิสัยทัศน์ น่าจะอยู่ในระดับที่น่าพอใจและพนักงานมีความเชี่ยวชาญมากขึ้น
[ฝาก DMT กับนักลงทุน]
DMT เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และมีปันผลที่ดีต่อเนื่องประมาณปีละ 7-8 % หรือไม่น้อยกว่า 90% ของกำไรสุทธิ ถือว่าอยู่ใน Top 10 ของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งอยากให้ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนมั่นใจในทีมบริหารของ DMT ว่าเราทำงานยกระดับประสิทธิภาพ ทั้งมาตรฐานด้านวิศวกรรม ด้านการเงินและการบริหารจัดการ เพื่อมุ่งมั่นในการสร้างผลประกอบการที่ดีต่อนักลงทุนและผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม
[บริษัท DMT ทำธุรกิจอะไร]
บริหารโครงการสัมปทานทางยกระดับดอนเมืองช่วงดินแดงจนถึงอนุสรณ์สถานแห่งชาติ โดยมีรายได้หลักจากการจัดเก็บค่าผ่านทางภายใต้สัญญาสัมปทานในรูปแบบ Build-Transfer-Operate (BTO) อายุสัมปทานสิ้นสุดวันที่ 11 ก.ย. 2577 ปัจจุบันบริษัทกำลังย่างเข้าสู่ปีที่ 37 ถือเป็นวัยกำลังทำงาน และปีนี้เป็นปีที่เราเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์เป็นปีที่ 3 ซึ่งหลังเข้าจดทะเบียนทำให้เป็นบริษัทที่มีความภูมิฐานมากขึ้น และเราได้ทำงานหลายอย่างทั้งวิศวกรรม ขณะที่งานด้านทางยกระดับได้ปรับเข้าสู่มาตรฐานสากล ทั้ง ISO 9001 หรือ ISO 14001 ด้านสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ผู้ใช้ทางมั่นใจในความสะดวก รวดเร็วและปลอดภัย
[แนวทางในการสร้างความมั่นใจให้กับผู้ใช้ทาง]
บริษัทได้ติดตั้งระบบอำนวยการจราจรด้วยการระบบอัจฉริยะบนเส้นทาง มีการติดตั้งกล้องทุก 300 เมตร ทำให้มั่นใจได้ว่าเราพร้อมให้การช่วยเหลือผู้ใช้ทางตลอดเวลา ไม่ว่าจะเกิดอุบัติเหตุ หรือรถเสีย
[มาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยวส่งผลดีต่อบริษัท]
การที่รัฐบาลมีนโยบายกระตุ้นการท่องเที่ยว ส่งผลดีต่อการใช้ทางของเรา เพื่อเข้าสู่สนามบิน โดยเฉพาะนักท่องเที่ยวที่เดินทางผ่านสนามบินดอนเมือง ส่วนนักท่องเที่ยวทั่วไปก็ใช้บริการผ่านทางของเราเพื่อเดินทางไปทางภาคเหนือ แม้จำนวนนักท่องเที่ยวในปัจจุบันจะยังไม่เท่ากับช่วงก่อนเกิดโควิด แต่เป็นสัญญาณที่ดีขึ้น
[ตั้งเป้าการเติบโตของรายได้ปีนี้อย่างไร]
ปี 2567 เราตั้งเป้าเติบโตเพิ่มขึ้น 10% เมื่อเทียบกับปีก่อน คิดเป็นรายได้ประมาณ 2,600 -2,700 ล้านบาท ขณะที่การจราจรปกติจะเติบโตประมาณปีละ 3-5%
บริษัทฯตั้งเป้ารายได้เติบโตประมาณ 10% จากปีก่อน ตามคาดการณ์ปริมาณการจราจรเฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 116,000 คันต่อวัน จากปี 2566 เฉลี่ยทั้งปีอยู่ที่ 106,907 คันต่อวัน สอดคล้องกับแนวโน้มจำนวนนักท่องเที่ยวที่จะเพิ่มมากขึ้นจากมาตรการกระตุ้นการท่องเที่ยว เช่น มาตรการฟรีวีซ่าเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจีน จำนวน 8.5 ล้านคนในปีนี้ ส่งผลให้คาดว่า ภาพรวมการท่องเที่ยวของไทยปี 2567 จะฟื้นตัวขึ้นมาอยู่ในระดับเดียวกับก่อนสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19
[แผนการสร้างการเติบโตระยะยาว]
เนื่องจากอายุสัมปทานบริษัทจะหมดลงในอีก 10 ปีข้างหน้า ผู้บริหารและฝ่ายจัดการจึงได้ปรับแผนการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างการเติบโตของรายได้ในระยะยาว
[กลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจ]
1.แผนการเพิ่มประสิทธิภาพ โดยทำให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดทั้ง พนักงาน นักลงทุน ผู้ถือหุ้น เจ้าของสัมปทาน เช่น การลงทุน เราไม่ได้ดูมิติเดียว เราดูถึงการคุ้มค่าของการลงทุน ดูว่าประชาชนผู้ใช้ทางได้ประโยชน์อะไรมากขึ้น และดูว่า เจ้าของสัมปทานหรือประเทศได้อะไร เช่นการติดตั้ง โซลาร์รูฟท็อป แต่ละส่วนได้ประโยชน์อะไรบ้าง
2. การเข้าประมูลโครงการ PPP ซึ่งถ้าแผนด้านประสิทธิภาพประสบความสำเร็จก็จะส่งผลดีต่อการเข้าประมูลโครงการที่มีความได้เปรียบ มีต้นทุนที่ต่ำ มีโอกาสชนะประมูลมากขึ้น
3.การป้องกันความเสี่ยงด้านรายได้ โดยการหาแหล่งรายได้เพิ่มขึ้น ซึ่งปัจจุบันบริษัทถือว่ามีกระแสเงินสดมาก จึงพร้อมที่จะลงทุนในธุรกิจอื่น ทำให้ปัจจุบันกรรมการบริษัทได้ปรับเปลี่ยนวิสัยทัศน์ของบริษัทเป็น บริษัทที่ประกอบกิจการธุรกิจ คมนาคมขนส่ง และธุรกิจอื่นอย่างมีประสิทธิภาพ ล้ำสมัย ยั่งยืน และเรายังปรับโครงสร้างการบริหารงาน โดยเพิ่มแผนก New Business ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการรับผู้บริหารงาน และคาดว่าภายใน 1-2 ปี จะเห็นภาพธุรกิจใหม่ที่ส่งผลดีต่อบริษัท
[วัตถุประสงค์การตั้ง บริษัท เอ สยาม อินฟรา จำกัด]
ในปี 2566 ที่ผ่านมาได้จัดตั้ง บริษัท เอ สยาม อินฟรา จำกัดร่วมกับนักลงทุนชาวญี่ปุ่น โดยDMT ถือหุ้นใหญ่ 68.5% เพื่อประกอบธุรกิจตรวจสอบและซ่อมบำรุงด้านงานวิศวกรรมโยธา เพราะเราคิดว่าในอนาคตอันใกล้ประเทศไทยจะมีการซ่อมแซมงานด้านโครงสร้างพื้นฐานค่อนข้างเยอะ ซึ่งจะสร้างรายได้ที่สม่ำเสมอให้กับบริษัท
ส่วนการดำเนินธุรกิจหลัก ปัจจุบันบริษัทได้เตรียมความพร้อมเข้าร่วมประมูลโครงการภาครัฐทุกส่วน ทั้งงานทางด่วน-ทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง-ส่วนต่อขยายทางยกระดับ และโครงการทางด่วนอื่น ๆ รวมไปถึงทางเชื่อมและโครงการที่ไม่ใช่ทางด่วนหรือทางพิเศษ
[แผนการเข้าประมูลงาน]
ปีนี้ภาครัฐจะเปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้าร่วมประมูลงาน มี 2 โครงการ ได้แก่ โครงการยกระดับอุตราภิมุข ช่วงรังสิต-บางปะอิน ระยะทาง 22 กม. โดยเป็นโครงการที่ต่อจากดอนเมืองโทลเวย์ และโครการที่ 2 เป็นทางพิเศษระหว่างเมือง บางขุนเทียน-บ้านแพ้ว ระยะทาง 25 กม. ซึ่งทั้ง 2 โครงการ บริษัทอยู่ระหว่างศึกษาข้อมูล เงื่อนไขในการเข้าร่วมประมูล
[ตั้งเป้าบริษัทในช่วง 3-5 ปีข้างหน้าเป็นอย่างไร]
ปัจจุบันเรามีเป้าหมายที่จะยกระดับมาตรการด้านวิศวกรรม ทำให้3-5 ปีข้างหน้า บริษัทจึงน่าจะได้ร่วมประมูลงานที่ภาครัฐเปิดให้เอกชนเข้าร่วมประมูลหรือ PPP บ้างอย่างน้อย 1 เส้นทาง ส่วนบริษัท เอ สยาม ก็น่าจะเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง ก้าวกระโดด และการลงทุนในธุรกิจใหม่ตามวิสัยทัศน์ น่าจะอยู่ในระดับที่น่าพอใจและพนักงานมีความเชี่ยวชาญมากขึ้น
[ฝาก DMT กับนักลงทุน]
DMT เป็นบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์และมีปันผลที่ดีต่อเนื่องประมาณปีละ 7-8 % หรือไม่น้อยกว่า 90% ของกำไรสุทธิ ถือว่าอยู่ใน Top 10 ของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งอยากให้ผู้ถือหุ้นและนักลงทุนมั่นใจในทีมบริหารของ DMT ว่าเราทำงานยกระดับประสิทธิภาพ ทั้งมาตรฐานด้านวิศวกรรม ด้านการเงินและการบริหารจัดการ เพื่อมุ่งมั่นในการสร้างผลประกอบการที่ดีต่อนักลงทุนและผู้ถือหุ้น และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกกลุ่ม