Wealth Sharing
EXIM BANK ลุ้นส่งออกฟื้นตัวครั้งแรกรอบ 2 ปี หนุนผู้ส่งออกยกระดับการผลิตเน้นรักษ์โลก
02 พฤษภาคม 2567
EXIM BANK ลุ้นส่งออกฟื้นตัวครั้งแรกรอบ 2 ปี หนุนผู้ประกอบการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้สะอาดขึ้น เน้นใช้พลังงานหมุนเวียน และการช่วยให้ Suppliers ดำเนินธุรกิจเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ผ่านสินเชื่อดอกเบี้ยพิเศษ Greenovation รับเทรนด์รักษ์โลก
นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เชื่อว่า เศรษฐกิจไทยปี 2567 มีแนวโน้มกลับมาขยายตัวอยู่ที่ระดับ 2-3% เนื่องจากเครื่องยนต์สำคัญกลับมาขยายตัวพร้อมกันในรอบ 6 ปี ได้แก่ การบริโภคและการลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน การท่องเที่ยว ตลอดจนเครื่องยนต์สำคัญอย่างการส่งออก มีแนวโน้มขยายตัวครั้งแรกในรอบ 2 ปี หลังจากหดตัวในปีที่ผ่านมา ท่ามกลางความไม่แน่นอนด้านความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ การฟื้นตัวช้าของภาคการผลิต และหนี้ครัวเรือนในระดับสูง
รวมทั้งเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัว 3.2% และการค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัว 2.8% ราคาน้ำมันโลกและราคาโภคภัณฑ์ต่าง ๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาสินค้าส่งออกปรับตัวสูงขึ้นตาม
ดังนั้นผู้ประกอบการไทยควรต้องปรับตัวและแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ในตลาดโลก โดยยกระดับคุณภาพและมูลค่าสินค้า เพื่อเจาะตลาดที่มีความต้องการสินค้าไทย โดยเฉพาะสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องใช้ในบ้าน อุปกรณ์ Gadgets และสินค้ารักษ์โลก และปฏิบัติตามมาตรการทางการค้าด้านสิ่งแวดล้อมในการส่งออกไปตลาดสำคัญของโลก เช่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป (EU) จีน ญี่ปุ่น และอินเดีย ซึ่งคิดเป็น 51% ของมูลค่าส่งออกรวมของไทยในปี 2566
ซึ่งจากข้อมูลกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า ในปี 2564 สัดส่วนการส่งออกสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของไทยอยู่ที่ 7.6% ของมูลค่าส่งออกรวมต่ำกว่าหลายประเทศ อาทิ เยอรมนี (15.4%) ญี่ปุ่น (15%) จีน (10.4%) และเกาหลีใต้ (10.2%)
ดังนั้น EXIM BANK จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมทางการเงิน (Greenovation) เป็นสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษ ที่มุ่งยกระดับสินค้าส่งออกของไทยเป็นสินค้ารักษ์โลก (Green Products) ควบคู่กับการสร้าง Green Export Supply Chain ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบที่ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม กระบวนการผลิตที่ลดการปล่อยมลภาวะ บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ และการขนส่งที่ใช้พลังงานสะอาด เป็นต้น
โดย EXIM BANK นับเป็นธนาคารแรก ๆ (Lead Bank) ที่มี Solution ทางการเงินช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ครบทุก Scope ทั้ง 1-2-3 กล่าวคือ สนับสนุนการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้สะอาดขึ้น การใช้พลังงานหมุนเวียน และการช่วยให้ Suppliers ดำเนินธุรกิจอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และปีนี้ธนาคารยังเดินหน้า Go the Extra Mile ชูบทบาท Green Development Bank สร้าง Greenovation ช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยทุกขนาดธุรกิจใน Green Export Supply Chain ให้ได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ โดยอ้างอิงกับผู้ประกอบการรายใหญ่ พัฒนาสินค้ารักษ์โลกของไทยสู่ตลาดโลก เร่งเครื่องภาคส่งออกของไทยขยายตัวครั้งแรกในรอบ 2 ปี สร้างสังคมคาร์บอนต่ำ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก
สำหรับผลการดำเนินงานของ EXIM BANK ในเดือนมกราคม-มีนาคม 2567
• สนับสนุนธุรกิจไทยสู่เวทีโลก : มีวงเงินอนุมัติสินเชื่อใหม่ 5,853 ล้านบาท มีสินเชื่อคงค้างและภาระผูกพัน 174,196 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11,474 ล้านบาท หรือ 7.05% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
• ส่งต่อความยั่งยืนเพื่อสังคม : มีสินเชื่อคงค้างและภาระผูกพันที่เป็น ESG 67,310 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 38.64% ของยอดทั้งหมด และเพิ่มขึ้นถึง 55.19% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในจำนวนนี้เป็น SMEs จำนวน 12,475 ล้านบาท
• สร้างโอกาสการลงทุน : มีสินเชื่อคงค้างและภาระผูกพันเพื่อการลงทุน 127,516 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.14% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีสินเชื่อคงค้างและภาระผูกพันในโครงการระหว่างประเทศทั้งสิ้น 50,210 ล้านบาท เมื่อจำแนกเป็นรายตลาดที่สำคัญ EXIM BANK สนับสนุนธุรกิจไทยให้ขยายไปกลุ่มประเทศ CLMV และ New Frontiers ที่มีศักยภาพอย่างต่อเนื่อง โดยมีสินเชื่อคงค้างและภาระผูกพันในกลุ่ม CLMV และ New Frontiers จำนวน 43,257 ล้านบาท
• เสริมเกราะป้องกันความเสี่ยง : EXIM BANK มีปริมาณธุรกิจบริการประกันการส่งออกและการลงทุนเท่ากับ 54,092 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.45% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน
นายรักษ์ วรกิจโภคาทร กรรมการผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (EXIM BANK) เชื่อว่า เศรษฐกิจไทยปี 2567 มีแนวโน้มกลับมาขยายตัวอยู่ที่ระดับ 2-3% เนื่องจากเครื่องยนต์สำคัญกลับมาขยายตัวพร้อมกันในรอบ 6 ปี ได้แก่ การบริโภคและการลงทุนทั้งภาครัฐและภาคเอกชน การท่องเที่ยว ตลอดจนเครื่องยนต์สำคัญอย่างการส่งออก มีแนวโน้มขยายตัวครั้งแรกในรอบ 2 ปี หลังจากหดตัวในปีที่ผ่านมา ท่ามกลางความไม่แน่นอนด้านความขัดแย้งภูมิรัฐศาสตร์ การฟื้นตัวช้าของภาคการผลิต และหนี้ครัวเรือนในระดับสูง
รวมทั้งเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มขยายตัว 3.2% และการค้าโลกมีแนวโน้มขยายตัว 2.8% ราคาน้ำมันโลกและราคาโภคภัณฑ์ต่าง ๆ มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ทำให้ราคาสินค้าส่งออกปรับตัวสูงขึ้นตาม
ดังนั้นผู้ประกอบการไทยควรต้องปรับตัวและแสวงหาโอกาสใหม่ๆ ในตลาดโลก โดยยกระดับคุณภาพและมูลค่าสินค้า เพื่อเจาะตลาดที่มีความต้องการสินค้าไทย โดยเฉพาะสินค้าอาหาร เครื่องดื่ม เครื่องใช้ในบ้าน อุปกรณ์ Gadgets และสินค้ารักษ์โลก และปฏิบัติตามมาตรการทางการค้าด้านสิ่งแวดล้อมในการส่งออกไปตลาดสำคัญของโลก เช่น สหรัฐฯ สหภาพยุโรป (EU) จีน ญี่ปุ่น และอินเดีย ซึ่งคิดเป็น 51% ของมูลค่าส่งออกรวมของไทยในปี 2566
ซึ่งจากข้อมูลกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ระบุว่า ในปี 2564 สัดส่วนการส่งออกสินค้าที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมของไทยอยู่ที่ 7.6% ของมูลค่าส่งออกรวมต่ำกว่าหลายประเทศ อาทิ เยอรมนี (15.4%) ญี่ปุ่น (15%) จีน (10.4%) และเกาหลีใต้ (10.2%)
ดังนั้น EXIM BANK จึงได้พัฒนาผลิตภัณฑ์นวัตกรรมทางการเงิน (Greenovation) เป็นสินเชื่ออัตราดอกเบี้ยพิเศษ ที่มุ่งยกระดับสินค้าส่งออกของไทยเป็นสินค้ารักษ์โลก (Green Products) ควบคู่กับการสร้าง Green Export Supply Chain ตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบที่ไม่ทำร้ายสิ่งแวดล้อม กระบวนการผลิตที่ลดการปล่อยมลภาวะ บรรจุภัณฑ์ที่ย่อยสลายเองได้ตามธรรมชาติ และการขนส่งที่ใช้พลังงานสะอาด เป็นต้น
โดย EXIM BANK นับเป็นธนาคารแรก ๆ (Lead Bank) ที่มี Solution ทางการเงินช่วยลดก๊าซเรือนกระจกได้ครบทุก Scope ทั้ง 1-2-3 กล่าวคือ สนับสนุนการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตให้สะอาดขึ้น การใช้พลังงานหมุนเวียน และการช่วยให้ Suppliers ดำเนินธุรกิจอย่างเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และปีนี้ธนาคารยังเดินหน้า Go the Extra Mile ชูบทบาท Green Development Bank สร้าง Greenovation ช่วยเหลือผู้ประกอบการไทยทุกขนาดธุรกิจใน Green Export Supply Chain ให้ได้รับอัตราดอกเบี้ยพิเศษ โดยอ้างอิงกับผู้ประกอบการรายใหญ่ พัฒนาสินค้ารักษ์โลกของไทยสู่ตลาดโลก เร่งเครื่องภาคส่งออกของไทยขยายตัวครั้งแรกในรอบ 2 ปี สร้างสังคมคาร์บอนต่ำ แก้ปัญหาสิ่งแวดล้อมโลก
สำหรับผลการดำเนินงานของ EXIM BANK ในเดือนมกราคม-มีนาคม 2567
• สนับสนุนธุรกิจไทยสู่เวทีโลก : มีวงเงินอนุมัติสินเชื่อใหม่ 5,853 ล้านบาท มีสินเชื่อคงค้างและภาระผูกพัน 174,196 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 11,474 ล้านบาท หรือ 7.05% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน
• ส่งต่อความยั่งยืนเพื่อสังคม : มีสินเชื่อคงค้างและภาระผูกพันที่เป็น ESG 67,310 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 38.64% ของยอดทั้งหมด และเพิ่มขึ้นถึง 55.19% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน ในจำนวนนี้เป็น SMEs จำนวน 12,475 ล้านบาท
• สร้างโอกาสการลงทุน : มีสินเชื่อคงค้างและภาระผูกพันเพื่อการลงทุน 127,516 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.14% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน มีสินเชื่อคงค้างและภาระผูกพันในโครงการระหว่างประเทศทั้งสิ้น 50,210 ล้านบาท เมื่อจำแนกเป็นรายตลาดที่สำคัญ EXIM BANK สนับสนุนธุรกิจไทยให้ขยายไปกลุ่มประเทศ CLMV และ New Frontiers ที่มีศักยภาพอย่างต่อเนื่อง โดยมีสินเชื่อคงค้างและภาระผูกพันในกลุ่ม CLMV และ New Frontiers จำนวน 43,257 ล้านบาท
• เสริมเกราะป้องกันความเสี่ยง : EXIM BANK มีปริมาณธุรกิจบริการประกันการส่งออกและการลงทุนเท่ากับ 54,092 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 7.45% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน