Smart Investment
เปิดสถิติราคาทองพุ่งพรวด 6 ปีติด บวกแรง 20,400บาท/บาททองคำ ธนาคารกลางแห่ตุน หนุนครึ่งปีหลังไปต่อ
05 พฤษภาคม 2567
หลังจากราคาทองคำภายในประเทศขึ้นไปทำสถิติสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ในช่วงกลางเดือนเมษายน 2567 โดยราคาทองคำแท่งอยู่ที่ 42,000 บาท/บาททองคำ ตามทิศทางราคาทองคำในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นจากความกังวลสถานการณ์ความตึงเครียดในตะวันออกกลาง
...แม้ราคาทองคำจะพุ่งทำสถิติสูงสุดใหม่ แต่การทะยานขึ้นของราคาทองในปีนี้ ไม่ได้สร้างปรากฎการณ์คนแห่ขายทอง ในทางกลับกันนักลงทุนส่วนใหญ่ต่างแห่ซื้อทองคำเพิ่ม เพราะมองว่าแนวโน้มราคาทองยังมีโอกาสไปต่อ!
Mr.Data พามาสำรวจข้อมูลย้อนหลังราคาทองคำในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา พบว่า ราคาปรับตัวเพิ่มติดต่อกัน 6 ปีติด (2562-2567) โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 20,400 บาท
ล่าสุด ราคาทองคำตามประกาศของสมาคมค้าทองคำในวันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2567 ประกาศครั้งที่ 1 (เปิดตลาด) เมื่อเวลา 09.03 น. ปรับตัวลดลงต่อเนื่องอีก 100 บาท เมื่อเทียบกับประกาศราคาซื้อขายครั้งสุดท้ายของเมื่อวาน (พฤหัสบดี) ที่ระหว่างวันมีการประกาศราคาทองทั้งหมด 10 รอบ รวมปรับลดลง 100 บาท แตะระดับ 40,250 บาท/บาททองคำ
โดยราคาทองคํา Spot ได้รับแรงกดดันจากความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานาน
“ราคาทองคำเคลื่อนไหวอยู่บริเวณแถวๆ 2,300 ดอลลาร์ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่เฟดอาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานขึ้น เนื่องจากยังมีความกังวลว่าข้อมูลที่มีการเปิดเผยนับตั้งแต่ต้นปี 2567 ยังไม่ได้ทำให้เฟดมีความมั่นใจมากขึ้นว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวลงสู่เป้าหมายที่ระดับ 2% รวมทั้งภาพรวมของสถานการณ์ในตะวันออกกลางที่ผ่อนคลายลง หลังกลุ่มฮามาสได้ยืนยันถึงการตอบรับในแง่บวกจากการศึกษาข้อเสนอในการหยุดยิงกับอิสราเอล”
ด้าน ฮั่วเซ่งเฮง วิเคราะห์แนวโน้มราคาทองคำ Spot คาดว่า มีแนวโน้มปรับตัวลงแต่จะปรับตัวลดลงได้ไม่มากนัก ทั้งนี้ได้ประเมินแนวรับไว้ที่บริเวณ 2,280 และ 2,267 ดอลลาร์ ตามลำดับ ส่วนแนวต้านประเมินไว้ที่บริเวณ 2,320 และ 2,325 ดอลลาร์ ตามลำดับ
...แล้วแนวโน้มครึ่งปีหลัง ทิศทางราคาทองคำจะเป็นอย่างไร ไปต่อหรือพอแค่นี้ โดย จิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ มองว่า ยังมีโอกาสไปต่อถึง 2,500 ดอลลาร์/ออนซ์ หากราคาไม่หลุดแนวรับที่ 2,305 ดอลลาร์/ออนซ์ เพราะราคาทองทะลุแนวต้านระดับ 2,345 ไปแล้ว และแนวโน้มขยับต่อ 2,375 ดอลลาร์/ออนซ์ ได้ในระยะถัดไป และในไตรมาส 3 มีโอกาสได้เห็นราคาขยับแตะ 43,000 บาท/บาททองคำ สำหรับปัจจัยหนุนที่ทำให้ราคาทองคำในประเทศขยับขึ้นแรง ส่วนหนึ่งมาจากการอ่อนค่าของเงินบาท ขณะที่ธนาคารกลางทั่วโลกต่างเพิ่มน้ำหนักในการเข้าซื้อทองคำเข้าเก็บระยะยาว
...แม้ราคาทองคำจะพุ่งทำสถิติสูงสุดใหม่ แต่การทะยานขึ้นของราคาทองในปีนี้ ไม่ได้สร้างปรากฎการณ์คนแห่ขายทอง ในทางกลับกันนักลงทุนส่วนใหญ่ต่างแห่ซื้อทองคำเพิ่ม เพราะมองว่าแนวโน้มราคาทองยังมีโอกาสไปต่อ!
Mr.Data พามาสำรวจข้อมูลย้อนหลังราคาทองคำในช่วง 6 ปีที่ผ่านมา พบว่า ราคาปรับตัวเพิ่มติดต่อกัน 6 ปีติด (2562-2567) โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 20,400 บาท
ล่าสุด ราคาทองคำตามประกาศของสมาคมค้าทองคำในวันศุกร์ที่ 3 พฤษภาคม 2567 ประกาศครั้งที่ 1 (เปิดตลาด) เมื่อเวลา 09.03 น. ปรับตัวลดลงต่อเนื่องอีก 100 บาท เมื่อเทียบกับประกาศราคาซื้อขายครั้งสุดท้ายของเมื่อวาน (พฤหัสบดี) ที่ระหว่างวันมีการประกาศราคาทองทั้งหมด 10 รอบ รวมปรับลดลง 100 บาท แตะระดับ 40,250 บาท/บาททองคำ
โดยราคาทองคํา Spot ได้รับแรงกดดันจากความกังวลว่าธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) จะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานาน
“ราคาทองคำเคลื่อนไหวอยู่บริเวณแถวๆ 2,300 ดอลลาร์ โดยได้รับแรงกดดันจากความกังวลที่เฟดอาจจะตรึงอัตราดอกเบี้ยที่ระดับสูงเป็นเวลานานขึ้น เนื่องจากยังมีความกังวลว่าข้อมูลที่มีการเปิดเผยนับตั้งแต่ต้นปี 2567 ยังไม่ได้ทำให้เฟดมีความมั่นใจมากขึ้นว่าเงินเฟ้อจะปรับตัวลงสู่เป้าหมายที่ระดับ 2% รวมทั้งภาพรวมของสถานการณ์ในตะวันออกกลางที่ผ่อนคลายลง หลังกลุ่มฮามาสได้ยืนยันถึงการตอบรับในแง่บวกจากการศึกษาข้อเสนอในการหยุดยิงกับอิสราเอล”
ด้าน ฮั่วเซ่งเฮง วิเคราะห์แนวโน้มราคาทองคำ Spot คาดว่า มีแนวโน้มปรับตัวลงแต่จะปรับตัวลดลงได้ไม่มากนัก ทั้งนี้ได้ประเมินแนวรับไว้ที่บริเวณ 2,280 และ 2,267 ดอลลาร์ ตามลำดับ ส่วนแนวต้านประเมินไว้ที่บริเวณ 2,320 และ 2,325 ดอลลาร์ ตามลำดับ
...แล้วแนวโน้มครึ่งปีหลัง ทิศทางราคาทองคำจะเป็นอย่างไร ไปต่อหรือพอแค่นี้ โดย จิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำ มองว่า ยังมีโอกาสไปต่อถึง 2,500 ดอลลาร์/ออนซ์ หากราคาไม่หลุดแนวรับที่ 2,305 ดอลลาร์/ออนซ์ เพราะราคาทองทะลุแนวต้านระดับ 2,345 ไปแล้ว และแนวโน้มขยับต่อ 2,375 ดอลลาร์/ออนซ์ ได้ในระยะถัดไป และในไตรมาส 3 มีโอกาสได้เห็นราคาขยับแตะ 43,000 บาท/บาททองคำ สำหรับปัจจัยหนุนที่ทำให้ราคาทองคำในประเทศขยับขึ้นแรง ส่วนหนึ่งมาจากการอ่อนค่าของเงินบาท ขณะที่ธนาคารกลางทั่วโลกต่างเพิ่มน้ำหนักในการเข้าซื้อทองคำเข้าเก็บระยะยาว