จับประเด็นหุ้นเด่น

รายงานพิเศษ : รัฐบาลเร่งผลิตพลังงานสีเขียวหนุน นโยบาย SUPER ลุยแผนผลิตไฟในประเทศ


03 พฤษภาคม 2567
รัฐบาลสนับสนุนหน่วยงานรัฐและภาคธุรกิจผลิตไฟฟ้าพลังงานสีเขียว  มั่นใจเป็นจุดแข็งประเทศดึงดูดความสนใจลงทุนของต่างชาติ สอดคล้องแนวคิด SUPER  “จอมทรัพย์ โลจายะ” ตั้งเป้าขยายฐานผลิตไฟฟ้าในประเทศ ดันผลประกอบการปี 67 สร้างสถิติสูงสุดใหม่

รายงานพิเศษ รัฐบาลเร่งผลิตพลังงานสีเขียว .jpg

นโยบายการผลิตไฟฟ้าหรือ พลังงานสีเขียวเป็นสิ่งที่ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ให้ความสำคัญมากเป็นอันดับต้นๆ ซึ่งเป็นผลจากการเดินทางไปต่างประเทศ  เพื่อดึงดูดการลงทุนของบริษัทข้ามชาติขนาดใหญ่และเพื่อสร้างจุดแข็งให้กับประเทศไทย  

โดยนายกรัฐมนตรี ระบุว่าตั้งแต่เข้ารับตำแหน่งได้ดำเนินนโยบายสำคัญหลายประการ รวมทั้งเดินหน้าสนับสนุนการเปลี่ยนแปลงสีเขียว ซึ่งไทยตระหนักดีถึงความต้องการโดยตรงของภาคธุรกิจในด้านพลังงานหมุนเวียน เพื่อบรรลุเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (net-zero)  

โดยรัฐบาลให้ความสำคัญกับการบรรลุพันธกรณีด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก ทั้งความเป็นกลางทางคาร์บอน และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ รวมถึง นโยบายที่จะทำให้ ครึ่งหนึ่งของการผลิตพลังงานในประเทศเป็นพลังงานหมุนเวียนภายในปี 2040 (พ.ศ. 2583)

นอกจากนี้ รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะจัดหากำลังการผลิตพลังงานสีเขียวใหม่มากกว่า 9 กิกะวัตต์ผ่านระบบ Utility Green Tariff  ภายในปี 2030 (พ.ศ. 2573) ซึ่งจะช่วยให้ภาคธุรกิจมั่นใจได้ว่าการลงทุนในไทยจะสามารถเข้าถึงพลังงานสะอาดได้ง่าย และในราคาที่เข้าถึงได้ 

แนวทางการสนับสนุนเอกชนผลิตไฟฟ้าจากพลังงานสีเขียว สอดคล้องกับนโยบายของบมจ.ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น (SUPER)  ซึ่ง “จอมทรัพย์ โลจายะ”  คาดว่าภายใน 2-3 ปีข้างหน้าเทรนด์พลังงานหมุนเวียนจะเติบโตสูงมากทั้งในไทยและเวียดนาม จากการเข้ามาลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ รวมทั้งมาตรการ CBAM และ Net Zero ที่ทำให้ผู้ประกอบการต้องพิจารณาด้านพลังงานหมุนเวียนเป็นหนึ่งในเงื่อนไขในการลงทุน ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีโดยเฉพาะในไทย เนื่องจากเวียดนามยังมีข้อจำกัดภายในประเทศ

ซึ่งจะเห็นได้ว่า SUPER ได้ขยายการผลิตไฟฟ้าในประเทศเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  เช่น การเป็นพันธมิตร ร่วม กับSUS Thailand Holding Limited ภายใต้กลุ่ม Shanghai SUS Environment Co., Ltdสาธารณรัฐประชาชนจีน ในโครงการพลังงานสะอาด จังหวัดนนทบุรี กำลังการผลิตติดตั้ง 20 เมกะวัตต์ เนื่องจาก SUS มีความเชี่ยวชาญด้านพลังงานความร้อนจากขยะยักษ์ใหญ่ในจีน  และดำเนินงานโรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากขยะ78โครงการ ซึ่งมีกำลังการผลิตไฟฟ้าพลังงานความร้อนจากขยะ 110,000ตันต่อวัน นับเป็นการเพิ่มโอกาสในการต่อยอดธุรกิจให้กับSUPERรวมทั้งโอกาสในการพัฒนาธุรกิจโรงไฟฟ้าร่วมกัน
 
นอกจากนี้ บริษัทฯมีแผนเข้าประมูลขายไฟฟ้าในส่วนของพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังการผลิตติดตั้งประมาณ 3,600- 5,000 เมกะวัตต์ ของภาครัฐ โดยตั้งเป้าได้งานไม่น้อยกว่า 10% ของกำลังการผลิตทั้งหมด

ซึ่งปัจจุบันบริษัทฯมีกำลังการผลิตตามปริมาณเสนอขายตาม PPA ที่ 2,369.79 เมกะวัตต์ COD ไปแล้ว 1,626.11 เมกะวัตต์ และปี 2570 ตั้งเป้ามีกำลังการผลิตไฟฟ้ากว่า 2,200 เมกะวัตต์ และมีรายได้เติบโตแบบก้าวกระโดดสร้างสถิติสูงสุดใหม่

ส่วนแนวโน้มผลประกอบการปี 2567 นายจอมทรัพย์ คาดว่า จะสร้างสถิติสูงสุดใหม่ รายได้เติบโตเกิน10%จากปี2566 มาจากการทยอยรับรู้รายได้เชิงพาณิชย์ (COD) วินด์ฟาร์มในเวียดนาม กำลังการผลิต 30 เมกะวัตต์ และในปี 2568 จำนวน 100  141 เมกะวัตต์  รวมทั้งโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานขยะ โซลาร์รูฟท็อป โครงการการขยายงานสัญญาซื้อขายไฟฟ้าภาคเอกชน (Private PPA) และโครงการ SPP HYBRID เป็นต้น