จับประเด็นหุ้นเด่น
สัมภาษณ์พิเศษ : SA จับกระแสรักษ์โลก เปิดวิสัยทัศน์ปี 67 “THE SUSTAINOVATIVE LIVING”
03 พฤษภาคม 2567
“ขจรศิษฐ์ สิ่งสรรเสริญ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บมจ.ไซมิส แอสเสท (SA) โชว์วิสัยทัศน์ทำธุรกิจปี 2567 มุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมตามหลัก THE SUSTAINOVATIVE LIVING ซึ่งจะเป็นอย่างไรและส่งผลดีต่อบริษัทอย่างไร เราไปติดตามการเจาะลึกมุมมองในเรื่องนี้กัน
[วิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจปี 2567]
ปีนี้บริษัทฯ มุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมตามหลักการ THE SUSTAINOVATIVE LIVING เพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้อยู่อาศัย โดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เทคโนโลยีพลังงานทดแทน การใช้งานทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งได้จัดตั้ง บริษัท ไซมิส เทคโนโลยี จำกัด พัฒนานวัตกรรม ควบคู่กับการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย และมีเป้าหมายการติดตั้ง EV charger 30 สถานี และ Solar Roof ที่มีกำลังผลิตรวมกว่า 50,000 KWh ต่อเดือน
[โครงการของ SA มีส่วนในการลดภาวะโลกร้อน]
การลดภาวะโลกร้อนเป็นสิ่งที่บริษัทให้น้ำหนักอย่างมากในการก่อสร้างบ้านหรืออาคารแต่ละหลัง ซึ่งทุกโครงการของบริษัทจะคัดสรรวัสดุที่ประหยัดพลังงาน ทำให้บ้านของSA ใช้พลังงานในการก่อสร้างน้อยกว่าคู่แข่งประมาณ 40-50% ขณะเดียวกันบ้านของเราก็ประหยัดพลังงาน เนื่องจากเราใช้ผนังที่กั้นความร้อน กระจกก็กันความร้อน กันเสียง ทำให้การใช้พลังงานลดลงกว่า คู่แข่งมาก และทุกหลังเราติดตั้งโซลาร์ รูฟให้หมด มีระบบ EV ชาร์ตเจอร์ และบ้านทุกหลังจะได้รับใบประกาศเรื่อง Green ช่วยรักษ์โลก
[ตั้งเป้ารายได้ปีนี้มีรายได้ 7,000 ล้านบาท]
ปีนี้เราเน้นโครงการเดิมที่กำลังพัฒนา โดยคาดว่าจะมีรายได้ 6,000-7,000 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 3 เท่า เมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่มีรายได้ 2,000 ล้านบาท ซึ่งเป็น New High และรายได้จะอยู่ในระดับนี้ไปอีก 3 ปี โดยรายได้หลัก มาจาก
1.โครงการใหญ่ คือตรงพระราม 9 มูลค่าโครงการ 12,000 ล้านบาท ตอนนี้โอนแล้วประมาณ 2,000 ล้านบาท มี backlog ประมาณ 4,000 ล้านบาท
2.โครงการแถวแฟชั่นไอร์แลนด์ซึ่งกำลังก่อสร้าง มีมูลค่าโครงการ 4,000-5,000 ล้านบาท แต่ยอดขายตอนนี้กว่า 50%
3. โครงการแถวทุ่งสองห้องกำลังก่อสร้าง เป็นโนโวเทล
ส่วนโครงการที่เป็นหมู่บ้านมี 3 แห่ง เริ่มมีการส่งมอบแล้ว ได้แก่ 1. โครงการแถวพรานนก ทยอยส่งมอบแล้วกว่า 10% มูลค่า 2,000 ล้านบาท 2. โครงการถนนราชพฤกษ์มูลค่าโครงการประมาณ 4,000 ล้านบาท และโครงการแถวรังสิตเป็นการก่อสร้าง 2 หมู่บ้าน
[แนวคิดการก่อสร้างซีเนียร์ ลิฟวิ่ง]
โครงการสุดท้ายที่กำลังออกแบบอยู่ที่ตลิ่งชันเป็น โครงการซีเนียร์ ลิฟวิ่ง เป็นโรงแรมพร้อมที่พักอาศัยผู้สูงอายุ เป็นตึกสูงประมาณ 20 ชั้น และมีเนอส์ซิ่งโฮม เป็นที่พักของผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือและมีคลินิกพิเศษ ซึ่งเราได้เซ็น MOU กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกลุ่มโรงพยาบาล มาร่วมกันเปิดโรงแรกที่พักอาศัย ซึ่งคาดว่าในช่วง 3-4 ปีข้างหน้าจะเป็นตัวที่สร้างรายได้ให้บริษัทเติบโตได้ตามเป้าหมายปีละ 6,000-7,000 ล้านบาท
[มองไตรมาสแรกปี 67 นี้อย่างไร]
ค่อนข้างชัดเจนว่า ไตรมาสแรกยอดรับรู้รายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเบื้องต้นที่ผู้ตรวจสอบทางบัญชีกำลังตรวจสอบอยู่ที่ 1,050 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี2566 ทั้งปีที่มีรายได้ส่วนนี้ 1,122 ล้านบาท
[การกระตุ้นธุรกิจอสังหาฯต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนอะไรบ้าง]
อยากให้สนับสนุนเรื่องการลดค่าใช้จ่ายให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะการเก็บภาษีห้องหรืออาคารที่ยังไม่ได้ขายออก ซึ่งตามปกติการเก็บภาษีจะคิดเมื่อผู้ประกอบการเมื่อมีการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้ลูกค้า แต่ปัจจุบันแม้จะสร้างเสร็จแต่ยังไม่ได้โอน ภาครัฐก็มีการเรียกเก็บภาษี ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนกับผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษี 2 ครั้ง
[แนวคิดการลดสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E)]
ตอนนี้ทุกบริษัทในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีปัญหาในเรื่องการระดมทุน แม้แต่บริษัทเราแม้จะมี Project Finance ทุกโครงการ แต่เนื่องจากบริษัทที่นักลงทุนจะเลือกลงทุนได้ต้องมีสุขภาพทางการเงินที่ดี SA จึงมีความมุ่งมั่นที่จะลดหนี้สินต่อทุนของเราลง โดยปลายปี 2566 อยู่ที่ 1.9 เท่า และปีนี้อยากลดให้เหลือ 1.4-1.5 เท่า และปี2568- 2569 จะพยายามลดให้เหลือต่ำกว่า 1 เท่า ซึ่งจะทำให้เรตติ้งของ SA ปรับเพิ่มขึ้นเป็น BBB+ หรือ Investment Grade จากปัจจุบันอยู่ที่ BBB ซึ่งจะทำให้การระดมทุนทำได้ง่ายขึ้น มีต้นทุนลดลง และผลกำไรก็จะดีขึ้น
[สาเหตุที่บริษัทตั้งเป้าสร้างรายได้ประจำในสัดส่วน 15%]
ปกติทุกบริษัทอยากให้ธุรกิจมีรายได้ที่สม่ำเสมอ เพราะบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายได้จะขึ้นๆลงๆ ตามการส่งมอบโครงการ ดังนั้นรายได้ที่สำคัญคือรายได้ที่เข้ามาสม่ำเสมอ เช่น รายได้จากโรงแรม รายได้จากร้านอาหาร หรือรายได้จากธุรกิจอื่น แต่เนื่องจากธุรกิจกลุ่มนี้ใช้เงินลงทุนสูง ดังนั้น โรงแรมที่เราสร้างมา ก็จะสร้างสมดุลให้มีระหว่างการขายและการสร้างได้ประจำ
ซึ่งปีนี้บริษัทพัฒนาโรงแรม 6-7 แห่ง เปิดแล้ว 5 แห่ง ซึ่งอาจต้องมีการขายโรงแรมบางแห่ง เพื่อสร้างกระแสเงินสด ทำให้ตั้งเป้ารายได้ที่สม่ำเสมอในสัดส่วน 15% หรือประมาณ 800-900 ล้านบาท จากรายได้รวมที่ 6-7,000 ล้านบาท
[ความคืบหน้าของธุรกิจ AMC]
การบริหารหนี้เสียหรือ AMC เราเข้าประมูลเพื่อซื้อหนี้เสียมาพัฒนาเป็นทรัพย์สินที่ขายได้ ซึ่งปัจจุบันที่พอร์ตอยู่ที่ 2,000 ล้านบาท สร้างรายได้ให้SA ประมาณ 20% หรือ 40 ล้านบาท
[วิสัยทัศน์การดำเนินธุรกิจปี 2567]
ปีนี้บริษัทฯ มุ่งมั่นพัฒนานวัตกรรมตามหลักการ THE SUSTAINOVATIVE LIVING เพิ่มความสะดวกสบายให้กับผู้อยู่อาศัย โดยการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น เทคโนโลยีพลังงานทดแทน การใช้งานทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งได้จัดตั้ง บริษัท ไซมิส เทคโนโลยี จำกัด พัฒนานวัตกรรม ควบคู่กับการพัฒนาโครงการที่อยู่อาศัย และมีเป้าหมายการติดตั้ง EV charger 30 สถานี และ Solar Roof ที่มีกำลังผลิตรวมกว่า 50,000 KWh ต่อเดือน
[โครงการของ SA มีส่วนในการลดภาวะโลกร้อน]
การลดภาวะโลกร้อนเป็นสิ่งที่บริษัทให้น้ำหนักอย่างมากในการก่อสร้างบ้านหรืออาคารแต่ละหลัง ซึ่งทุกโครงการของบริษัทจะคัดสรรวัสดุที่ประหยัดพลังงาน ทำให้บ้านของSA ใช้พลังงานในการก่อสร้างน้อยกว่าคู่แข่งประมาณ 40-50% ขณะเดียวกันบ้านของเราก็ประหยัดพลังงาน เนื่องจากเราใช้ผนังที่กั้นความร้อน กระจกก็กันความร้อน กันเสียง ทำให้การใช้พลังงานลดลงกว่า คู่แข่งมาก และทุกหลังเราติดตั้งโซลาร์ รูฟให้หมด มีระบบ EV ชาร์ตเจอร์ และบ้านทุกหลังจะได้รับใบประกาศเรื่อง Green ช่วยรักษ์โลก
[ตั้งเป้ารายได้ปีนี้มีรายได้ 7,000 ล้านบาท]
ปีนี้เราเน้นโครงการเดิมที่กำลังพัฒนา โดยคาดว่าจะมีรายได้ 6,000-7,000 ล้านบาท เติบโตเพิ่มขึ้น 3 เท่า เมื่อเทียบกับปีที่แล้วที่มีรายได้ 2,000 ล้านบาท ซึ่งเป็น New High และรายได้จะอยู่ในระดับนี้ไปอีก 3 ปี โดยรายได้หลัก มาจาก
1.โครงการใหญ่ คือตรงพระราม 9 มูลค่าโครงการ 12,000 ล้านบาท ตอนนี้โอนแล้วประมาณ 2,000 ล้านบาท มี backlog ประมาณ 4,000 ล้านบาท
2.โครงการแถวแฟชั่นไอร์แลนด์ซึ่งกำลังก่อสร้าง มีมูลค่าโครงการ 4,000-5,000 ล้านบาท แต่ยอดขายตอนนี้กว่า 50%
3. โครงการแถวทุ่งสองห้องกำลังก่อสร้าง เป็นโนโวเทล
ส่วนโครงการที่เป็นหมู่บ้านมี 3 แห่ง เริ่มมีการส่งมอบแล้ว ได้แก่ 1. โครงการแถวพรานนก ทยอยส่งมอบแล้วกว่า 10% มูลค่า 2,000 ล้านบาท 2. โครงการถนนราชพฤกษ์มูลค่าโครงการประมาณ 4,000 ล้านบาท และโครงการแถวรังสิตเป็นการก่อสร้าง 2 หมู่บ้าน
[แนวคิดการก่อสร้างซีเนียร์ ลิฟวิ่ง]
โครงการสุดท้ายที่กำลังออกแบบอยู่ที่ตลิ่งชันเป็น โครงการซีเนียร์ ลิฟวิ่ง เป็นโรงแรมพร้อมที่พักอาศัยผู้สูงอายุ เป็นตึกสูงประมาณ 20 ชั้น และมีเนอส์ซิ่งโฮม เป็นที่พักของผู้สูงอายุที่ต้องการความช่วยเหลือและมีคลินิกพิเศษ ซึ่งเราได้เซ็น MOU กับมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และกลุ่มโรงพยาบาล มาร่วมกันเปิดโรงแรกที่พักอาศัย ซึ่งคาดว่าในช่วง 3-4 ปีข้างหน้าจะเป็นตัวที่สร้างรายได้ให้บริษัทเติบโตได้ตามเป้าหมายปีละ 6,000-7,000 ล้านบาท
[มองไตรมาสแรกปี 67 นี้อย่างไร]
ค่อนข้างชัดเจนว่า ไตรมาสแรกยอดรับรู้รายได้จากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ในเบื้องต้นที่ผู้ตรวจสอบทางบัญชีกำลังตรวจสอบอยู่ที่ 1,050 ล้านบาท เมื่อเทียบกับปี2566 ทั้งปีที่มีรายได้ส่วนนี้ 1,122 ล้านบาท
[การกระตุ้นธุรกิจอสังหาฯต้องการให้ภาครัฐสนับสนุนอะไรบ้าง]
อยากให้สนับสนุนเรื่องการลดค่าใช้จ่ายให้ผู้ประกอบการ โดยเฉพาะการเก็บภาษีห้องหรืออาคารที่ยังไม่ได้ขายออก ซึ่งตามปกติการเก็บภาษีจะคิดเมื่อผู้ประกอบการเมื่อมีการโอนอสังหาริมทรัพย์ให้ลูกค้า แต่ปัจจุบันแม้จะสร้างเสร็จแต่ยังไม่ได้โอน ภาครัฐก็มีการเรียกเก็บภาษี ทำให้เกิดความซ้ำซ้อนกับผู้ประกอบการที่ต้องเสียภาษี 2 ครั้ง
[แนวคิดการลดสัดส่วนหนี้สินต่อทุน (D/E)]
ตอนนี้ทุกบริษัทในธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีปัญหาในเรื่องการระดมทุน แม้แต่บริษัทเราแม้จะมี Project Finance ทุกโครงการ แต่เนื่องจากบริษัทที่นักลงทุนจะเลือกลงทุนได้ต้องมีสุขภาพทางการเงินที่ดี SA จึงมีความมุ่งมั่นที่จะลดหนี้สินต่อทุนของเราลง โดยปลายปี 2566 อยู่ที่ 1.9 เท่า และปีนี้อยากลดให้เหลือ 1.4-1.5 เท่า และปี2568- 2569 จะพยายามลดให้เหลือต่ำกว่า 1 เท่า ซึ่งจะทำให้เรตติ้งของ SA ปรับเพิ่มขึ้นเป็น BBB+ หรือ Investment Grade จากปัจจุบันอยู่ที่ BBB ซึ่งจะทำให้การระดมทุนทำได้ง่ายขึ้น มีต้นทุนลดลง และผลกำไรก็จะดีขึ้น
[สาเหตุที่บริษัทตั้งเป้าสร้างรายได้ประจำในสัดส่วน 15%]
ปกติทุกบริษัทอยากให้ธุรกิจมีรายได้ที่สม่ำเสมอ เพราะบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายได้จะขึ้นๆลงๆ ตามการส่งมอบโครงการ ดังนั้นรายได้ที่สำคัญคือรายได้ที่เข้ามาสม่ำเสมอ เช่น รายได้จากโรงแรม รายได้จากร้านอาหาร หรือรายได้จากธุรกิจอื่น แต่เนื่องจากธุรกิจกลุ่มนี้ใช้เงินลงทุนสูง ดังนั้น โรงแรมที่เราสร้างมา ก็จะสร้างสมดุลให้มีระหว่างการขายและการสร้างได้ประจำ
ซึ่งปีนี้บริษัทพัฒนาโรงแรม 6-7 แห่ง เปิดแล้ว 5 แห่ง ซึ่งอาจต้องมีการขายโรงแรมบางแห่ง เพื่อสร้างกระแสเงินสด ทำให้ตั้งเป้ารายได้ที่สม่ำเสมอในสัดส่วน 15% หรือประมาณ 800-900 ล้านบาท จากรายได้รวมที่ 6-7,000 ล้านบาท
[ความคืบหน้าของธุรกิจ AMC]
การบริหารหนี้เสียหรือ AMC เราเข้าประมูลเพื่อซื้อหนี้เสียมาพัฒนาเป็นทรัพย์สินที่ขายได้ ซึ่งปัจจุบันที่พอร์ตอยู่ที่ 2,000 ล้านบาท สร้างรายได้ให้SA ประมาณ 20% หรือ 40 ล้านบาท