จิปาถะ
ผ่าขุมทรัพย์ 'ค่าทางด่วน' 2 หมื่นล้าน เส้นทางไหนเก็บ 'ค่าผ่านทาง' ได้มากสุด ?
20 พฤษภาคม 2567
ผ่าขุมทรัพย์การทางพิเศษฯ จัดเก็บรายได้ค่าผ่านทางปี 2566 พุ่งสูงกว่า 2.3 หมื่นล้านบาท ทางพิเศษศรีรัชทำสถิติสูงสุด โกยรายได้รวมกว่า 7.3 พันบาท เฉลี่ยวันละ 20 ล้านบาท
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 มีบทบาทหน้าที่ในการก่อสร้างหรือจัดให้มีทางพิเศษด้วยวิธีใดๆ ตลอดจนบํารุงและรักษาทางพิเศษ พร้อมทั้งดําเนินงานหรือธุรกิจเกี่ยวกับทางพิเศษและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับทางพิเศษหรือที่เป็นประโยชน์แก่ กทพ. โดยปัจจุบันได้เปิดให้บริการระบบทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และระบบทางพิเศษระหว่างเมืองแล้วทั้งสิ้น 8 สายทาง รวมระยะทาง 224.6 กิโลเมตร ได้แก่
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
- ทางพิเศษศรีรัช (ส่วน A ช่วงประชาชื่น -พญาไท -อโศก ส่วน B ช่วงพญาไท -บางโคล่ส่วน C ช่วงประชาชื่น -แจ้งวัฒนะ ส่วน D ช่วงอโศก -ศรีนครินทร์)
- ทางพิเศษฉลองรัช
- ทางพิเศษบูรพาวิถี
- ทางพิเศษอุดรรัถยา
- ทางพิเศษสายบางนา -อาจณรงค์
- ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี -สุขสวัสดิ์)
- ทางพิเศษประจิมรัถยา
โดยล่าสุด กทพ.เปิดสถิติปริมาณจราจรบนทางพิเศษ รวมทุกสายทาง ประจำปีงบประมาณ 2566 พบว่ามีปริมาณการจราจรสูงถึง 601,712,916 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีปริมาณ 546,725,445 คัน สอดคล้องไปกับรายได้ค่าผ่านทางพิเศษบนทางพิเศษทุกสายทาง ประจำปีงบประมาณ 2566 มีจำนวน 23,428,780,715 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีจำนวน 21,268,553,759 บาท
โดยรายได้ค่าผ่านทางพิเศษ ปีงบประมาณ 2566 หากแยกตามสายทางพิเศษ พบว่ามีรายได้แบ่งเป็น
ศรีรัช : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษรวม 7,390,407,428 บาท
เฉลิมมหานคร : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษรวม 5,593,738,069 บาท
กาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษรวม 2,825,592,315 บาท
ฉลองรัช : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษรวม 2,806,873,114 บาท
บูรพาวิถี : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษรวม 2,005,199,309 บาท
ประจิมรัถยา : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษรวม 1,460,056,315 บาท
อุดรรัถยา : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษรวม 1,346,914,165 บาท
ขณะเดียวกันหากแบ่งรายได้ค่าทางพิเศษเฉลี่ยต่อวัน แยกตามสายทางพิเศษ ในปีงบประมาณ 2566 จะพบว่ามีรายได้รวมเฉลี่ยต่อวัน 64,188,440 บาท แบ่งเป็น
ศรีรัช : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษเฉลี่ยต่อวัน 20,247,691 บาท
เฉลิมมหานคร : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษเฉลี่ยต่อวัน 15,325,310 บาท
กาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษเฉลี่ยต่อวัน 7,741,349 บาท
ฉลองรัช : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษเฉลี่ยต่อวัน 7,690,063 บาท
บูรพาวิถี : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษเฉลี่ยต่อวัน 5,493,697 บาท
ประจิมรัถยา : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษเฉลี่ยต่อวัน 4,000,154 บาท
อุดรรัถยา : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษเฉลี่ยต่อวัน 3,690,176 บาท
ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1127580
การทางพิเศษแห่งประเทศไทย (กทพ.) จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2515 มีบทบาทหน้าที่ในการก่อสร้างหรือจัดให้มีทางพิเศษด้วยวิธีใดๆ ตลอดจนบํารุงและรักษาทางพิเศษ พร้อมทั้งดําเนินงานหรือธุรกิจเกี่ยวกับทางพิเศษและธุรกิจอื่นที่เกี่ยวเนื่องกับทางพิเศษหรือที่เป็นประโยชน์แก่ กทพ. โดยปัจจุบันได้เปิดให้บริการระบบทางพิเศษในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และระบบทางพิเศษระหว่างเมืองแล้วทั้งสิ้น 8 สายทาง รวมระยะทาง 224.6 กิโลเมตร ได้แก่
- ทางพิเศษเฉลิมมหานคร
- ทางพิเศษศรีรัช (ส่วน A ช่วงประชาชื่น -พญาไท -อโศก ส่วน B ช่วงพญาไท -บางโคล่ส่วน C ช่วงประชาชื่น -แจ้งวัฒนะ ส่วน D ช่วงอโศก -ศรีนครินทร์)
- ทางพิเศษฉลองรัช
- ทางพิเศษบูรพาวิถี
- ทางพิเศษอุดรรัถยา
- ทางพิเศษสายบางนา -อาจณรงค์
- ทางพิเศษกาญจนาภิเษก (บางพลี -สุขสวัสดิ์)
- ทางพิเศษประจิมรัถยา
โดยล่าสุด กทพ.เปิดสถิติปริมาณจราจรบนทางพิเศษ รวมทุกสายทาง ประจำปีงบประมาณ 2566 พบว่ามีปริมาณการจราจรสูงถึง 601,712,916 คัน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีปริมาณ 546,725,445 คัน สอดคล้องไปกับรายได้ค่าผ่านทางพิเศษบนทางพิเศษทุกสายทาง ประจำปีงบประมาณ 2566 มีจำนวน 23,428,780,715 บาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนที่มีจำนวน 21,268,553,759 บาท
โดยรายได้ค่าผ่านทางพิเศษ ปีงบประมาณ 2566 หากแยกตามสายทางพิเศษ พบว่ามีรายได้แบ่งเป็น
ศรีรัช : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษรวม 7,390,407,428 บาท
เฉลิมมหานคร : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษรวม 5,593,738,069 บาท
กาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษรวม 2,825,592,315 บาท
ฉลองรัช : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษรวม 2,806,873,114 บาท
บูรพาวิถี : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษรวม 2,005,199,309 บาท
ประจิมรัถยา : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษรวม 1,460,056,315 บาท
อุดรรัถยา : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษรวม 1,346,914,165 บาท
ขณะเดียวกันหากแบ่งรายได้ค่าทางพิเศษเฉลี่ยต่อวัน แยกตามสายทางพิเศษ ในปีงบประมาณ 2566 จะพบว่ามีรายได้รวมเฉลี่ยต่อวัน 64,188,440 บาท แบ่งเป็น
ศรีรัช : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษเฉลี่ยต่อวัน 20,247,691 บาท
เฉลิมมหานคร : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษเฉลี่ยต่อวัน 15,325,310 บาท
กาญจนาภิเษก (บางพลี - สุขสวัสดิ์) : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษเฉลี่ยต่อวัน 7,741,349 บาท
ฉลองรัช : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษเฉลี่ยต่อวัน 7,690,063 บาท
บูรพาวิถี : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษเฉลี่ยต่อวัน 5,493,697 บาท
ประจิมรัถยา : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษเฉลี่ยต่อวัน 4,000,154 บาท
อุดรรัถยา : รายได้ค่าผ่านทางพิเศษเฉลี่ยต่อวัน 3,690,176 บาท
ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1127580