Talk of The Town
วันนี้ลุ้น สมาคม บลจ.-FETCO-ก.ล.ต. ร่วมหารือกองทุนลดภาษี-ฟื้นกอง LTF โบรกฯมองหนุนหุ้นกลุ่ม SET50-SET100
21 พฤษภาคม 2567
จากรณีที่วันนี้ 21 พ.ค.67 สมาคม บลจ. ได้เตรียมเข้าพบ สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) และสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ในการยื่นข้อเสนอเกี่ยวกับ Tax Saving Fund (กองทุนรวมลดหย่อนภาษี) ที่เน้นเจาะจงหุ้นไทย
รวมถึงการนำกองทุนเพื่อการออมระยะยาว (LTF) กลับมาใช้อีกครั้ง ซึ่งหากได้ข้อสรุปที่ชัดเจน หลังจากนั้นจะนำเสนอต่อกระทรวงการคลังพิจารณาอีกครั้ง เพื่อให้สามารถมีผลได้ทันภายในปีนี้
นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) มองจิตวิทยาบวกต่อ SET หุ้นในกลุ่ม SET50/100หากอิงเม็ดเงิน LTF ในช่วง 3ปีสุดท้าย (2017-19)ที่สูงเฉลี่ยปีละ 6.8 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ เราอิงผลศึกษารอบวงจรเศรษฐกิจคล้ายปัจจุบันปี 2012-13 พบว่า จากการศึกษาความสัมพันธ์ ส่วนต่างเม็ดเงิน LTF ที่เข้ามารายวัน กับส่วนต่างดัชนีรายวันที่ปรับขึ้นภายใต้วิธีสัมประสิทธิ์ถดถอย ทุกๆ1 หมื่นล้านบาท จะหนุน SET ปรับตัวขึ้นราว 20จุด
ส่วนกรณีที่ใช้ความสัมพันธ์ยอดเงิน LTF สะสมกับ ระดับดัชนีสะสม ทุกๆ1หมื่นล้านบาท จะหนุน SET 50จุด เบื้องต้นเรามองเป็นจิตวิทยาบวกต่อหุ้น SET50/100
โดยกลุ่มที่มีสถานะขาย Short แต่ยังไม่ซื้อคืนหุ้น (> 1.0% ของจำนวนหุ้นชำระแล้ว) ที่มีพื้นฐานแข็งแกร่งมองมีโอกาสตอบรับทางบวก มอง HANA (3.23%), KCE (1.72%), BBL( 1.06%), KBANK (1.06%), MINT (1.03%)
ขณะที่นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด ระบุว่า ติดตามการหารือกันระหว่างสมาคมบริษัทจัดการกองทุน (AIMC), สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) และก.ล.ต. ในวันนี้ เกี่ยวกับแนวทางการอฟื้นกองทุนรวมลดหย่อนภาษี ซึ่งอาจมีรูปแบบคล้ายเดิมกับกองทุน LTF ที่เคยออกมาในอดีต ว่าจะได้ข้อสรุปออกมาในวันนี้เลยหรือไม่
เพื่อเตรียมเสนอให้กับภาครัฐเร็วที่สุด ทั้งนี้ จากการคาดการณ์ของเรา ประเมินว่ารายละเอียดหน้าตาของกองทุนรูปแบบใหม่ อาจมีความเป็นไปได้ดังนี้
1)ลดระยะเวลาการถือครองลง เมื่อเทียบกับกองทุนจำพวก SSF/Thai ESG ที่บังคับการถือครองครบ 10 1/8 ปีนับจากวันที่ซื้อ เช่นอาจลดลงเหลือ 5 ปีจากวันที่ซื้อ หรือเปลี่ยนกลับมาเป็น 7 ปีปฏิทินคล้ายรูปแบบกองทุน LTF เดิม
2) มีนโยบายการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเท่านั้น คล้ายกับกองทุน LTF/SSFX/Thai ESG ก่อนหน้านี้
3) เพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีต่อรายให้มากขึ้นกว่าเดิม อาทิเช่น ไม่เกิน 5 แสนบาท/2แสนบาท คล้ายกับกองทุน LTF/SSFX ในอดีต และเป็นวงเงินที่ไม่นำไปนับรวมกับโควตาของกองทุน RMF/SSF อื่น
หากออกมามีการปรับเปลี่ยนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งตามข้างต้นหรือมากกว่า มองเป็นประโยชน์ต่อ SET ในแง่ของสภาพคล่องที่จะถูกงดูดให้เข้ามามากขึ้นได้ (Pull factor)
อย่างไรก็ตาม โดยธรรมชาติของเม็ดเงินลงทุนลดหย่อนภาษีนั้น จะไหลเข้ามาในช่วงไตรมาส 4 ของทุกปีมากกว่า ดังนั้นกว่าจะเห็นผลจากปัจจัยนี้ คงต้องรอไปยังช่วงเวลาดังกล่าวเสียก่อน ซึ่ง ณ ช่วงนั้น เราคาดว่าจะมีปัจจัยผลักดันสภาพคล่องให้เข้ามา (Push factor) จากอานิสงส์เรื่องของการลดดอกเบี้ย Fed Funds ด้วยเช่นกัน
รวมถึงการนำกองทุนเพื่อการออมระยะยาว (LTF) กลับมาใช้อีกครั้ง ซึ่งหากได้ข้อสรุปที่ชัดเจน หลังจากนั้นจะนำเสนอต่อกระทรวงการคลังพิจารณาอีกครั้ง เพื่อให้สามารถมีผลได้ทันภายในปีนี้
นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) มองจิตวิทยาบวกต่อ SET หุ้นในกลุ่ม SET50/100หากอิงเม็ดเงิน LTF ในช่วง 3ปีสุดท้าย (2017-19)ที่สูงเฉลี่ยปีละ 6.8 หมื่นล้านบาท
ทั้งนี้ เราอิงผลศึกษารอบวงจรเศรษฐกิจคล้ายปัจจุบันปี 2012-13 พบว่า จากการศึกษาความสัมพันธ์ ส่วนต่างเม็ดเงิน LTF ที่เข้ามารายวัน กับส่วนต่างดัชนีรายวันที่ปรับขึ้นภายใต้วิธีสัมประสิทธิ์ถดถอย ทุกๆ1 หมื่นล้านบาท จะหนุน SET ปรับตัวขึ้นราว 20จุด
ส่วนกรณีที่ใช้ความสัมพันธ์ยอดเงิน LTF สะสมกับ ระดับดัชนีสะสม ทุกๆ1หมื่นล้านบาท จะหนุน SET 50จุด เบื้องต้นเรามองเป็นจิตวิทยาบวกต่อหุ้น SET50/100
โดยกลุ่มที่มีสถานะขาย Short แต่ยังไม่ซื้อคืนหุ้น (> 1.0% ของจำนวนหุ้นชำระแล้ว) ที่มีพื้นฐานแข็งแกร่งมองมีโอกาสตอบรับทางบวก มอง HANA (3.23%), KCE (1.72%), BBL( 1.06%), KBANK (1.06%), MINT (1.03%)
ขณะที่นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ ทรีนีตี้ จำกัด ระบุว่า ติดตามการหารือกันระหว่างสมาคมบริษัทจัดการกองทุน (AIMC), สภาธุรกิจตลาดทุนไทย (FETCO) และก.ล.ต. ในวันนี้ เกี่ยวกับแนวทางการอฟื้นกองทุนรวมลดหย่อนภาษี ซึ่งอาจมีรูปแบบคล้ายเดิมกับกองทุน LTF ที่เคยออกมาในอดีต ว่าจะได้ข้อสรุปออกมาในวันนี้เลยหรือไม่
เพื่อเตรียมเสนอให้กับภาครัฐเร็วที่สุด ทั้งนี้ จากการคาดการณ์ของเรา ประเมินว่ารายละเอียดหน้าตาของกองทุนรูปแบบใหม่ อาจมีความเป็นไปได้ดังนี้
1)ลดระยะเวลาการถือครองลง เมื่อเทียบกับกองทุนจำพวก SSF/Thai ESG ที่บังคับการถือครองครบ 10 1/8 ปีนับจากวันที่ซื้อ เช่นอาจลดลงเหลือ 5 ปีจากวันที่ซื้อ หรือเปลี่ยนกลับมาเป็น 7 ปีปฏิทินคล้ายรูปแบบกองทุน LTF เดิม
2) มีนโยบายการลงทุนในตลาดหุ้นไทยเท่านั้น คล้ายกับกองทุน LTF/SSFX/Thai ESG ก่อนหน้านี้
3) เพิ่มวงเงินลดหย่อนภาษีต่อรายให้มากขึ้นกว่าเดิม อาทิเช่น ไม่เกิน 5 แสนบาท/2แสนบาท คล้ายกับกองทุน LTF/SSFX ในอดีต และเป็นวงเงินที่ไม่นำไปนับรวมกับโควตาของกองทุน RMF/SSF อื่น
หากออกมามีการปรับเปลี่ยนในรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งตามข้างต้นหรือมากกว่า มองเป็นประโยชน์ต่อ SET ในแง่ของสภาพคล่องที่จะถูกงดูดให้เข้ามามากขึ้นได้ (Pull factor)
อย่างไรก็ตาม โดยธรรมชาติของเม็ดเงินลงทุนลดหย่อนภาษีนั้น จะไหลเข้ามาในช่วงไตรมาส 4 ของทุกปีมากกว่า ดังนั้นกว่าจะเห็นผลจากปัจจัยนี้ คงต้องรอไปยังช่วงเวลาดังกล่าวเสียก่อน ซึ่ง ณ ช่วงนั้น เราคาดว่าจะมีปัจจัยผลักดันสภาพคล่องให้เข้ามา (Push factor) จากอานิสงส์เรื่องของการลดดอกเบี้ย Fed Funds ด้วยเช่นกัน