จากกรณีศาล รธน.มีเสียงข้างมากรับคำร้อง 40 สว. ถอดถอนนายกเศรษฐา และมีมติ 5:4 เสียง ให้นายกไม่ต้องหยุดปฎิบัติหน้าที่นั้น นักวิเคราะห์มองเป็นปัจจัยบวกต่อ Sentiment ตลาดหุ้นไทย จากการคลายความกังวลการเมืองไทย และการปฏิบัติหน้าที่ต่อได้ของนายก ทำให้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจมีแนวโน้มเดินหน้าต่อ
วันนี้ (23 พ.ค.) ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาคดีที่สำคัญและเป็นที่สนใจ โดยในประเด็นประธานวุฒิสภาส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคสาม ประกอบมาตรา ๘๒ ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และนายพิชิตชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗ วรรคหนึ่ง (๔) ประกอบมาตรา ๑๖ (๔) และ (๕) หรือไม่ (เรื่องพิจารณาที่ ๑๗/๒๕๖๗)
สมาชิกวุฒิสภา จำนวน ๔๐ คน ยื่นคำร้องต่อประธานวุฒิสภา (ผู้ร้อง) ว่านายเศรษฐา ทวีสินนายกรัฐมนตรี (ผู้ถูกร้องที่ ๑) ได้นำความกราบบังคมทูลฯ เพื่อโปรดเกล้าแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ผู้ถูกร้องที่ ๒) เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้ง ๆ ที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า
ผู้ถูกร้องที่ ๒ ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากผู้ถูกร้องที่ ๒ เคยถูกศาลฎีกามีคำสั่งจำคุกเป็นเวลาหกเดือน ในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล เป็นบุคคลที่กระทำการอันไม่ซื่อสัตย์สุจริต และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๖๐ (๔) และ (๕)
เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องทั้งสองสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๗๐ วรรคหนึ่ง (๔) ประกอบมาตรา ๑๖ (๔) และ (๕) หรือไม่ ผู้ร้องจึงส่งคำร้องเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗ วรรคสาม ประกอบมาตรา ๘๒
ผลการพิจารณาศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้วเห็นว่า กรณีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคสาม ประกอบมาตรา ๘๒ วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๗ (๙) ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก (๖ ต่อ ๓)
(ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ นายอุดม รัฐอมฤต และนายสุเมธ รอยกุลเจริญ) มีคำสั่งรับคำร้องผู้ถูกร้องที่ ๑ ไว้พิจารณา และให้ผู้ถูกร้องที่ ๑ ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้องตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๕๔
สำหรับกรณีของผู้ถูกร้องที่ ๒ ได้มีคำร้องของผู้ถูกร้องที่ ๒ ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗ แจ้งว่า เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ผู้ถูกร้องที่ ๒ ได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ ๒ สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๗๐ วรรคหนึ่ง (๒) กรณีไม่มีเหตุที่จะต้องวินิจฉัยคดีต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๕๑ ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก (๘ ต่อ ๑) (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม) มีคำสั่งไม่รับคำร้องเฉพาะส่วนของผู้ถูกร้องที่ ๒ไว้พิจารณาวินิจฉัย
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณากรณีขอให้ผู้ถูกร้องที่ ๑ หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๒ วรรคสอง แล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้อง ในชั้นนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก (๕ ต่อ ๔) (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย นายปัญญา อุดชาชน นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม นายวิรุฬห์ แสงเทียน และนายจิรนิติ หะวานนท์)ไม่สั่งให้ผู้ถูกร้องที่ ๑ หยุดปฏิบัติหน้าที่
ด้านนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า มองเป็นปัจจัยบวกต่อ Sentiment ตลาดหุ้นไทย จากการคลายความกังวลการเมืองไทย และการปฏิบัติหน้าที่ต่อได้ของนายก
ทำให้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะมีแนวโน้มเดินหน้าต่อ เช่นโครงการเงินดิจิทัลฯ เป็นต้น ทางฝ่ายมองเป็นแรงหนุนต่อตลาด นำโดยหุ้นกลุ่ม อุปโภคบริโภค, จับจ่ายใช้สอย และกลุ่มท่องเที่ยว
ส่วนนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) มองกรณีดังกล่าว โดยรวมมองเป็นกลางต่อตลาด แต่ยัง Overhang จนกว่าจะมีคำวินิจฉัย ภาพรวมยังมองตลาด Sideways กรอบ 1,365-1,375 จุด
วันนี้ (23 พ.ค.) ศาลรัฐธรรมนูญประชุมปรึกษาคดีที่สำคัญและเป็นที่สนใจ โดยในประเด็นประธานวุฒิสภาส่งคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคสาม ประกอบมาตรา ๘๒ ว่า ความเป็นรัฐมนตรีของนายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี และนายพิชิตชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗ วรรคหนึ่ง (๔) ประกอบมาตรา ๑๖ (๔) และ (๕) หรือไม่ (เรื่องพิจารณาที่ ๑๗/๒๕๖๗)
สมาชิกวุฒิสภา จำนวน ๔๐ คน ยื่นคำร้องต่อประธานวุฒิสภา (ผู้ร้อง) ว่านายเศรษฐา ทวีสินนายกรัฐมนตรี (ผู้ถูกร้องที่ ๑) ได้นำความกราบบังคมทูลฯ เพื่อโปรดเกล้าแต่งตั้งนายพิชิต ชื่นบาน รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (ผู้ถูกร้องที่ ๒) เป็นรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ทั้ง ๆ ที่รู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่า
ผู้ถูกร้องที่ ๒ ขาดคุณสมบัติหรือมีลักษณะต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ เนื่องจากผู้ถูกร้องที่ ๒ เคยถูกศาลฎีกามีคำสั่งจำคุกเป็นเวลาหกเดือน ในความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล เป็นบุคคลที่กระทำการอันไม่ซื่อสัตย์สุจริต และมีพฤติกรรมอันเป็นการฝ่าฝืน หรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐานทางจริยธรรมอย่างร้ายแรงตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๖๐ (๔) และ (๕)
เป็นเหตุให้ความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องทั้งสองสิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๗๐ วรรคหนึ่ง (๔) ประกอบมาตรา ๑๖ (๔) และ (๕) หรือไม่ ผู้ร้องจึงส่งคำร้องเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗ วรรคสาม ประกอบมาตรา ๘๒
ผลการพิจารณาศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้องแล้วเห็นว่า กรณีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๑๗๐ วรรคสาม ประกอบมาตรา ๘๒ วรรคหนึ่ง และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๗ (๙) ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก (๖ ต่อ ๓)
(ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์ นายอุดม รัฐอมฤต และนายสุเมธ รอยกุลเจริญ) มีคำสั่งรับคำร้องผู้ถูกร้องที่ ๑ ไว้พิจารณา และให้ผู้ถูกร้องที่ ๑ ยื่นคำชี้แจงแก้ข้อกล่าวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญภายในสิบห้าวันนับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำร้องตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๕๔
สำหรับกรณีของผู้ถูกร้องที่ ๒ ได้มีคำร้องของผู้ถูกร้องที่ ๒ ลงวันที่ ๒๓ พฤษภาคม ๒๕๖๗ แจ้งว่า เมื่อวันที่ ๒๑ พฤษภาคม ๒๕๖๗ ผู้ถูกร้องที่ ๒ ได้ลาออกจากตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว ศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า เมื่อความเป็นรัฐมนตรีของผู้ถูกร้องที่ ๒ สิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๗๐ วรรคหนึ่ง (๒) กรณีไม่มีเหตุที่จะต้องวินิจฉัยคดีต่อไปตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. ๒๕๖๑ มาตรา ๕๑ ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก (๘ ต่อ ๑) (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม) มีคำสั่งไม่รับคำร้องเฉพาะส่วนของผู้ถูกร้องที่ ๒ไว้พิจารณาวินิจฉัย
ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณากรณีขอให้ผู้ถูกร้องที่ ๑ หยุดปฏิบัติหน้าที่นายกรัฐมนตรีจนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา ๘๒ วรรคสอง แล้วเห็นว่า ข้อเท็จจริงตามคำร้องและเอกสารประกอบคำร้อง ในชั้นนี้ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเสียงข้างมาก (๕ ต่อ ๔) (ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเสียงข้างน้อย นายปัญญา อุดชาชน นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม นายวิรุฬห์ แสงเทียน และนายจิรนิติ หะวานนท์)ไม่สั่งให้ผู้ถูกร้องที่ ๑ หยุดปฏิบัติหน้าที่
ด้านนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า มองเป็นปัจจัยบวกต่อ Sentiment ตลาดหุ้นไทย จากการคลายความกังวลการเมืองไทย และการปฏิบัติหน้าที่ต่อได้ของนายก
ทำให้นโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลจะมีแนวโน้มเดินหน้าต่อ เช่นโครงการเงินดิจิทัลฯ เป็นต้น ทางฝ่ายมองเป็นแรงหนุนต่อตลาด นำโดยหุ้นกลุ่ม อุปโภคบริโภค, จับจ่ายใช้สอย และกลุ่มท่องเที่ยว
ส่วนนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ฟินันเซีย ไซรัส จำกัด (มหาชน) มองกรณีดังกล่าว โดยรวมมองเป็นกลางต่อตลาด แต่ยัง Overhang จนกว่าจะมีคำวินิจฉัย ภาพรวมยังมองตลาด Sideways กรอบ 1,365-1,375 จุด