“สว. 2567” เปิดเงินเดือนสมาชิกวุฒิสภา สิทธิประโยชน์ และสวัสดิการ ภายหลัง กกต. เปิดรับสมัครสว. เมื่อช่วงวันที่ 20 - 24 พ.ค.67 ที่ผ่านมา มีตัวเลขผู้สมัครรวมเกือบห้าหมื่นราย คือ 48,117 คน รวมถึงเงินเดือนประธานวุฒิสภา รองประธาน ค่าเดินทาง ค่าเบี้ยเลี้ยง และค่ารักษาพยาบาล
ปฏิทิน ‘เลือก สว.2567’ ขั้นตอนต่อไป มีดังนี้
เข้าสู่กระบวนการเลือกแบบไต่ระดับ
- วันที่ 9 มิ.ย.2567 เลือก สว. : ระดับอำเภอ
- วันที่ 16 มิ.ย.2567 เลือก สว. : ระดับจังหวัด
- วันที่ 26 มิ.ย.2567 เลือก สว. : ระดับประเทศ
- วันที่ 2 ก.ค.2567 วันประกาศผล
สว. 2567 ได้เงินเดือนเท่าไหร่
- เงินเดือนสมาชิกวุฒิสภา หรือ เงินเดือน สว. คือเดือนละ 113,560 บาท แบ่งเป็น
- เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 71,230 บาท
- ได้รับเงินเพิ่มอีกเดือนละ 42,330 บาท
- เงินเดือนประธานวุฒิสภา เดือนละ 119,920 บาท แบ่งเป็น
- เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 74,420 บาท
- ได้รับเงินเพิ่มอีกเดือนละ 45,500 บาท
- เงินเดือนรองประธานวุฒิสภา เดือนละ 115,740 บาท แบ่งเป็น
- เงินประจำตำแหน่งเดือนละ 73,240 บาท
- ได้รับเงินเพิ่มอีก เดือนละ 42,500 บาท
สมาชิกวุฒิสภา จะได้รับเงินประจำตำแหน่งและเงินเพิ่มรายเดือน นับแต่วันที่เริ่มต้นมีสมาชิกภาพ หรือกรณีที่มี สว. คนก่อนสิ้นสมาชิกภาพ เช่น ลาออก เสียชีวิต คนที่เป็นตัวสำรอง จะถูกเลื่อนขึ้นมาแทน จะได้รับเงินประจำแหน่งถัดจากวันที่ประธานวุฒิสภาประกาศเลื่อนมาแทน
สิทธิประโยชน์ สวัสดิการ สว. 2567ค่าเดินทางในประเทศ
- เบี้ยเลี้ยง 270 บาท/วัน/คน
- ค่าที่พักกรณี
- พักคนเดียว 2,500 บาท/วัน/คน (เบิกตามจริง), พักคู่ 1,400 บาท/วัน/คน (เบิกตามจริง), พักแบบเหมาจ่าย 1,200 บาท/วัน/คน
- ค่าเดินทางไป-กลับประชุมรัฐสภา เบิกตามระยะทางจริง
- เบี้ยเลี้ยงกรณีเบิกเหมาจ่าย 3,100 บาท/วัน/คน
- กรณีไม่ได้เบิกเหมาจ่าย ค่าอาหาร เครื่องดื่ม โรงแรม 4,500 บาท/วัน/คน
- ค่าทำความสะอาดเสื้อผ้า 500 บาท/วัน/คน
- ค่าใช้สอยเบ็ดเตล็ด 500 บาท/วัน/คน
ผู้ป่วยใน
- ค่าห้องและค่าอาหาร (ไม่เกิน 31 วัน/ครั้ง) 4,000 บาท/วัน
- ค่าห้อง ICU/CCU (สูงสุดไม่เกิน 7 วัน/ครั้ง) 10,000 บาท/วัน
- ค่ารักษาพยาบาลทั่วไป 100,000 บาท/ครั้ง
- ค่ารถพยาบาล 1,000 บาท/ครั้ง
- ค่าแพทย์ผ่าตัด 120,000 บาท/ครั้ง
- ค่าแพทย์เยี่ยมไข้ (ไม่เกิน 31 วัน/ครั้ง) 1,000 บาท/วัน
- ค่าปรึกษาแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค 4,000 บาท/ครั้ง
- การรักษาทันตกรรม 5,000 บาท/ปี
- การคลอดบุตร
- คลอดธรรมชาติ 20,000 บาท
- คลอดโดยการผ่าตัด 40,000 บาท
ผู้ป่วยนอก
- ค่ารักษาพยาบาลทั่วไป 90,000 บาท/ปี
- อุบัติเหตุฉุกเฉิน 20,000 บาท/ครั้ง
- ค่าการตรวจสุขภาพประจำปี 7,000 บาท/ปี
- เบี้ยประชุม กรรมาธิการในฐานะประธาน 1,500 บาท/ครั้ง
- ร่วมประชุมกรรมาธิการ 1,200 บาท/ครั้ง
- ประชุมอนุกรรมาธิการ 800 บาท/ครั้ง
สมาชิกวุฒิสภา ยังมีกองทุนเลี้ยงชีพ หลังจากที่ไม่ได้เป็น สว.แล้ว เรียกว่า "กองทุนเพื่อผู้เคยเป็นสมาชิกรัฐสภา"
โดยสำหรับสิทธิประโยชน์ที่อดีต สว. จะได้จากกองทุน มีดังนี้
- การจ่ายเงินช่วยเหลือในการรักษาพยาบาล
- การจ่ายเงินทุนเลี้ยงชีพ
- การจ่ายเงินช่วยเหลือในกรณีทุพพลภาพ
- การจ่ายเงินช่วยเหลือในกรณีถึงแก่กรรม
- การจ่ายเงินช่วยเหลือในกรณีการให้การศึกษาบุตร
- สวัสดิการและสิทธิประโยชน์อื่นตามระเบียบที่คณะกรรมการกำหนด
นอกจากนี้ สว. สามารถขอพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ได้อีกด้วย
ข้อมูลอ้างอิง ilaw, สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร