Fund / Insurance
KKP คงประมาณการ GDP ปีนี้ที่ 2.6% เตือน ศก.ไทยยังอ่อนแอมีปัญหาเชิงโครงสร้างในภาคการผลิต
28 พฤษภาคม 2567
KKP คงประมาณการตัวเลข GDP เท่าเดิมที่2.6% แม้ไตรมาสแรกเติบโตสูงกว่าคาด ผลจากเศรษฐกิจไทยยังฟื้นช้า และ GDP ไม่สะท้อนความอ่อนแอหลายภาคส่วน มีปัญหาเชิงโครงสร้างในภาคการผลิต
KKP Research ระบุว่า ช่วงที่ผ่านมามีการประกาศอัตราการเติบโตของ GDP ในไตรมาส 1 ของไทยที่ระดับ 1.5% YoY ซึ่งออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 0.6% ค่อนข้างมาก แต่ KKP Research ยังคงตัวเลขการคาดการณ์เศรษฐกิจทั้งปี 2024 ไว้ที่ 2.6% โดยคาดว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจะทยอยปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี แต่ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังคงอ่อนแอและถูกรุมเร้าด้วยปัญหาเชิงโครงสร้างในภาคการผลิต ไทยยังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ช้ามากที่สุดในภูมิภาค หลังเศรษฐกิจโตติดลบ 6.1% ในปี 2020 เศรษฐกิจไทยกลับมาเติบโตได้เพียง 1.6%, 2.5%, และ 1.9% ในปี 2021, 2022 และ 2023 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการเติบโตที่ต่ำกว่าระดับศักยภาพเดิมของไทยที่ 3-3.5% แม้การท่องเที่ยวที่เคยเป็นแรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจไทยจะกลับมาเติบโตได้ดีแล้วก็ตาม
การใช้จ่ายภาครัฐหนุนเศรษฐกิจครึ่งหลัง
ในช่วงที่เหลือของปีนี้ KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ดีขึ้นกว่าในช่วงครึ่งปีแรก จาก 3 ปัจจัยสนับสนุนสำคัญ คือ 1) การเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้าและจะเร่งตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี จะส่งผลบวกต่อตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจชั่วคราว โดยการลงทุนภาครัฐในช่วงที่ผ่านมาหดตัวลงประมาณ 20% ในไตรมาส 4 ปี 2023 และ 30% ในไตรมาส 1 ปี 2024 การใช้จ่ายที่จะกลับมาเป็นปกติจะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ดีขึ้นจากปัจจัยด้านฐานต่ำ 2) ภาคการผลิตบางส่วนฟื้นตัวได้ตามวัฏจักรสินค้าคงคลังที่ทยอยปรับตัวลดลง เช่น การผลิตอาหาร โดยในภาพรวมการส่งออกไทยยังฟื้นตัวได้ในระดับต่ำ 3) จำนวนนักท่องเที่ยวและการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น โดยคาดการณ์นักท่องเที่ยวที่ 35.2 ล้านคนจาก 28 ล้านคนในปีก่อน
สัญญาณเปลี่ยน 3 ปัจจัยโครงสร้างฉุดเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยที่โตได้ต่ำกว่า 3% นับตั้งแต่หลังโควิดมาจนถึงปัจจุบัน นับว่าต่ำกว่าศักยภาพเดิมของเศรษฐกิจอย่างมาก KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยถูกฉุดรั้งจาก 3 ปัจจัยเชิงโครงสร้าง ส่งผลให้สัญญาณทางเศรษฐกิจเปลี่ยนไป คือ
1) การผลิตในภาคอุตสาหกรรมเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง เป็นปัจจัยฉุดสำคัญต่อเศรษฐกิจ โดย KKP Research ประเมินว่าการฟื้นตัวของแต่ละอุตสาหกรรมมีความแตกต่างกันอย่างมาก อุตสาหกรรมกว่า 1 ใน 3 ของมูลค่าเพิ่มทั้งหมด หรือกว่า 10% ของ GDP มีแนวโน้มเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและอุปสงค์โลก ส่งผลให้แม้การส่งออกจะปรับตัวดีขึ้นแต่สินค้ากลุ่มนี้อาจยังไม่ฟื้นตัว และการผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาพรวมจะยังคงเติบโตติดลบในปีนี้แม้จะทยอยปรับตัวดีขึ้น
2) มูลค่าเพิ่มจากการส่งออกมีแนวโน้มปรับตัวลดลง เพราะแม้ตัวเลขการส่งออกไทยจะฟื้นตัวขึ้นได้ แต่เศรษฐกิจไทยอาจไม่ได้ประโยชน์มากเท่าเดิมจากการฟื้นตัวของภาคการส่งออก เนื่องจากการส่งออกบางส่วนเป็นเพียงการเปลี่ยนเส้นทางการขนส่งสินค้าจากจีนไปยังสหรัฐอเมริกา (re-routing) เพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการกีดกันทางการค้า ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การส่งออก solar panel ซึ่งไม่ได้ผลิตในประเทศไทย
3) เศรษฐกิจไทยอาจกำลังเข้าสู่วัฏจักรการจ่ายหนี้คืน (Deleveraging Cycle) สะท้อนจากยอดสินเชื่อปล่อยใหม่ที่หดตัวลงต่อเนื่อง เป็นผลมาจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงมากในปัจจุบันและรายได้ครัวเรือนที่เติบโตช้าส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์เข้มงวดมากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อ การชะลอตัวส่งผลให้แม้การบริโภคในภาพรวมขยายตัวได้ดีขึ้นจากภาคบริการ แต่การบริโภคสินค้าคงทนโดยเฉพาะการบริโภครถยนต์เติบโตติดลบอย่างหนักและยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัว
ติดตามเฉพาะ GDP ไม่เพียงพอ
แม้ในช่วงที่ผ่านมาการเติบโตของ GDP จะยังคงเป็นบวก นักท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัว ทำให้หลายฝ่ายคาดว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวได้ดี อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวดังกล่าวสะท้อนภาพที่แตกต่างกันอย่างมากในแต่ละภาคส่วน โดยยังมีหลายภาคเศรษฐกิจที่ยังหดตัวหรือเติบโตได้ช้าอย่างมีนัยสำคัญ โดย KKP Research พบว่า
1) เศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาถูกขับเคลื่อนด้วยภาคบริการเป็นหลัก โดยในช่วงหลังโควิดเป็นต้นมาในระหว่างปี 2021–2024 การผลิตในภาคบริการเติบโตเฉลี่ยปีละ 3.0% เทียบกับภาคการผลิตที่ยังเติบโตติดลบ -0.5% ทั้งนี้ การเติบโตของการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรไม่ได้เพิ่งชะลอตัวลง แต่ส่งสัญญาณชะลอตัวมาตั้งแต่ช่วงก่อนโควิด
2) เศรษฐกิจไทยถูกขับเคลื่อนด้วยอุปสงค์จากต่างประเทศเป็นหลัก โดยอุปสงค์ในประเทศมีทิศทางชะลอตัวลงมาโดยตลอด เปรียบเทียบกับอุปสงค์ต่างชาติที่นับรวมการส่งออกสินค้าและการส่งออกบริการ (ภาคการท่องเที่ยว) ที่ขยายตัวได้ดีกว่ามากและเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย
3)ภาคการผลิตในหลายส่วนของไทยเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างและชะลอตัวมาตั้งแต่ช่วงก่อนโควิด -19 และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงปลายปี 2019 กับปัจจุบันแม้ GDP กลับมาที่จุดที่ใกล้เคียงกับระดับก่อนโควิดแล้ว แต่ภาคการผลิตกว่า 66% ของมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิตทั้งหมด ณ สิ้นปี 2023 ยังมีปริมาณการผลิตที่อยู่ในระดับต่ำกว่าก่อนโควิด ปี 2019
KKP Research ระบุว่า ช่วงที่ผ่านมามีการประกาศอัตราการเติบโตของ GDP ในไตรมาส 1 ของไทยที่ระดับ 1.5% YoY ซึ่งออกมาสูงกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 0.6% ค่อนข้างมาก แต่ KKP Research ยังคงตัวเลขการคาดการณ์เศรษฐกิจทั้งปี 2024 ไว้ที่ 2.6% โดยคาดว่าอัตราการเติบโตของเศรษฐกิจจะทยอยปรับตัวดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี แต่ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยยังคงอ่อนแอและถูกรุมเร้าด้วยปัญหาเชิงโครงสร้างในภาคการผลิต ไทยยังคงเป็นหนึ่งในประเทศที่เศรษฐกิจฟื้นตัวได้ช้ามากที่สุดในภูมิภาค หลังเศรษฐกิจโตติดลบ 6.1% ในปี 2020 เศรษฐกิจไทยกลับมาเติบโตได้เพียง 1.6%, 2.5%, และ 1.9% ในปี 2021, 2022 และ 2023 ตามลำดับ ซึ่งเป็นการเติบโตที่ต่ำกว่าระดับศักยภาพเดิมของไทยที่ 3-3.5% แม้การท่องเที่ยวที่เคยเป็นแรงขับเคลื่อนของเศรษฐกิจไทยจะกลับมาเติบโตได้ดีแล้วก็ตาม
การใช้จ่ายภาครัฐหนุนเศรษฐกิจครึ่งหลัง
ในช่วงที่เหลือของปีนี้ KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้ดีขึ้นกว่าในช่วงครึ่งปีแรก จาก 3 ปัจจัยสนับสนุนสำคัญ คือ 1) การเบิกจ่ายงบประมาณที่ล่าช้าและจะเร่งตัวขึ้นตั้งแต่ช่วงกลางปี จะส่งผลบวกต่อตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจชั่วคราว โดยการลงทุนภาครัฐในช่วงที่ผ่านมาหดตัวลงประมาณ 20% ในไตรมาส 4 ปี 2023 และ 30% ในไตรมาส 1 ปี 2024 การใช้จ่ายที่จะกลับมาเป็นปกติจะทำให้เศรษฐกิจไทยเติบโตได้ดีขึ้นจากปัจจัยด้านฐานต่ำ 2) ภาคการผลิตบางส่วนฟื้นตัวได้ตามวัฏจักรสินค้าคงคลังที่ทยอยปรับตัวลดลง เช่น การผลิตอาหาร โดยในภาพรวมการส่งออกไทยยังฟื้นตัวได้ในระดับต่ำ 3) จำนวนนักท่องเที่ยวและการใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวคาดว่าจะปรับตัวดีขึ้น โดยคาดการณ์นักท่องเที่ยวที่ 35.2 ล้านคนจาก 28 ล้านคนในปีก่อน
สัญญาณเปลี่ยน 3 ปัจจัยโครงสร้างฉุดเศรษฐกิจ
เศรษฐกิจไทยที่โตได้ต่ำกว่า 3% นับตั้งแต่หลังโควิดมาจนถึงปัจจุบัน นับว่าต่ำกว่าศักยภาพเดิมของเศรษฐกิจอย่างมาก KKP Research ประเมินว่าเศรษฐกิจไทยถูกฉุดรั้งจาก 3 ปัจจัยเชิงโครงสร้าง ส่งผลให้สัญญาณทางเศรษฐกิจเปลี่ยนไป คือ
1) การผลิตในภาคอุตสาหกรรมเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง เป็นปัจจัยฉุดสำคัญต่อเศรษฐกิจ โดย KKP Research ประเมินว่าการฟื้นตัวของแต่ละอุตสาหกรรมมีความแตกต่างกันอย่างมาก อุตสาหกรรมกว่า 1 ใน 3 ของมูลค่าเพิ่มทั้งหมด หรือกว่า 10% ของ GDP มีแนวโน้มเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้าง เช่น การเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีและอุปสงค์โลก ส่งผลให้แม้การส่งออกจะปรับตัวดีขึ้นแต่สินค้ากลุ่มนี้อาจยังไม่ฟื้นตัว และการผลิตภาคอุตสาหกรรมในภาพรวมจะยังคงเติบโตติดลบในปีนี้แม้จะทยอยปรับตัวดีขึ้น
2) มูลค่าเพิ่มจากการส่งออกมีแนวโน้มปรับตัวลดลง เพราะแม้ตัวเลขการส่งออกไทยจะฟื้นตัวขึ้นได้ แต่เศรษฐกิจไทยอาจไม่ได้ประโยชน์มากเท่าเดิมจากการฟื้นตัวของภาคการส่งออก เนื่องจากการส่งออกบางส่วนเป็นเพียงการเปลี่ยนเส้นทางการขนส่งสินค้าจากจีนไปยังสหรัฐอเมริกา (re-routing) เพื่อหลีกเลี่ยงมาตรการกีดกันทางการค้า ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คือ การส่งออก solar panel ซึ่งไม่ได้ผลิตในประเทศไทย
3) เศรษฐกิจไทยอาจกำลังเข้าสู่วัฏจักรการจ่ายหนี้คืน (Deleveraging Cycle) สะท้อนจากยอดสินเชื่อปล่อยใหม่ที่หดตัวลงต่อเนื่อง เป็นผลมาจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงมากในปัจจุบันและรายได้ครัวเรือนที่เติบโตช้าส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์เข้มงวดมากขึ้นในการปล่อยสินเชื่อ การชะลอตัวส่งผลให้แม้การบริโภคในภาพรวมขยายตัวได้ดีขึ้นจากภาคบริการ แต่การบริโภคสินค้าคงทนโดยเฉพาะการบริโภครถยนต์เติบโตติดลบอย่างหนักและยังไม่มีสัญญาณฟื้นตัว
ติดตามเฉพาะ GDP ไม่เพียงพอ
แม้ในช่วงที่ผ่านมาการเติบโตของ GDP จะยังคงเป็นบวก นักท่องเที่ยวกลับมาฟื้นตัว ทำให้หลายฝ่ายคาดว่าเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวได้ดี อย่างไรก็ตาม การฟื้นตัวดังกล่าวสะท้อนภาพที่แตกต่างกันอย่างมากในแต่ละภาคส่วน โดยยังมีหลายภาคเศรษฐกิจที่ยังหดตัวหรือเติบโตได้ช้าอย่างมีนัยสำคัญ โดย KKP Research พบว่า
1) เศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาถูกขับเคลื่อนด้วยภาคบริการเป็นหลัก โดยในช่วงหลังโควิดเป็นต้นมาในระหว่างปี 2021–2024 การผลิตในภาคบริการเติบโตเฉลี่ยปีละ 3.0% เทียบกับภาคการผลิตที่ยังเติบโตติดลบ -0.5% ทั้งนี้ การเติบโตของการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและภาคเกษตรไม่ได้เพิ่งชะลอตัวลง แต่ส่งสัญญาณชะลอตัวมาตั้งแต่ช่วงก่อนโควิด
2) เศรษฐกิจไทยถูกขับเคลื่อนด้วยอุปสงค์จากต่างประเทศเป็นหลัก โดยอุปสงค์ในประเทศมีทิศทางชะลอตัวลงมาโดยตลอด เปรียบเทียบกับอุปสงค์ต่างชาติที่นับรวมการส่งออกสินค้าและการส่งออกบริการ (ภาคการท่องเที่ยว) ที่ขยายตัวได้ดีกว่ามากและเป็นแรงขับเคลื่อนหลักของเศรษฐกิจไทย
3)ภาคการผลิตในหลายส่วนของไทยเผชิญปัญหาเชิงโครงสร้างและชะลอตัวมาตั้งแต่ช่วงก่อนโควิด -19 และเมื่อเปรียบเทียบกับช่วงปลายปี 2019 กับปัจจุบันแม้ GDP กลับมาที่จุดที่ใกล้เคียงกับระดับก่อนโควิดแล้ว แต่ภาคการผลิตกว่า 66% ของมูลค่าเพิ่มในภาคการผลิตทั้งหมด ณ สิ้นปี 2023 ยังมีปริมาณการผลิตที่อยู่ในระดับต่ำกว่าก่อนโควิด ปี 2019