ราคาทองคำ ปัจจุบันขึ้นไปเกือบ 42,000 บาทต่อน้ำหนักทองหนึ่งบาท ราคาทองคำพุ่งอย่างน่าตกใจในรอบ 3-4 เดือนที่ผ่านมา
โดยตั้งแต่ปี 2565 ถึงปัจจุบันราคาสูงขึ้นกว่า 50% ทำให้หลายคนอดคิดไม่ได้ว่าจะขายทองคำที่มีอยู่หรือซื้อเพื่อเก็งกำไรดี ราคาจะขึ้นไปมากกว่านี้ไหม ซึ่งไม่มีใครตอบได้
แต่หากพอเห็นภาพว่าอะไรที่ทำให้ราคาพุ่งขึ้นครั้งนี้ก็พอจะเข้าใจการทำงานของปัจจัยต่างๆ และอาจช่วยให้ตัดสินใจได้ผิดพลาดน้อยลงกระมัง
ทองคำมีลักษณะพิเศษคือมีสีเหลืองสุกปลั่ง ไม่เป็นสนิม อ่อนตัวมาก (ทอง 1 กรัม สามารถทุบให้แบนเป็นแผ่นได้พื้นที่ถึง 1 ตารางเมตร และถ้าทำเป็นเส้นลวดเล็กๆ ก็ยาวได้ถึง 1 กิโลเมตร) มันเป็นตัวนำไฟฟ้าและความร้อนที่ยอดเยี่ยม มีความหนาแน่นสูง โดยหนักเป็น 19.3 เท่าของน้ำ ทองเข้ากันได้กับชิ้นส่วนอวัยวะจนไม่เป็นพิษ เช่นใช้อุดฟัน ฝังในร่างกาย ฯลฯ
นอกจากนี้ ทองสะท้อนรังสีอินฟราเรดได้อย่างดีมาก จึงเป็นประโยชน์ในการป้องกันความร้อนจนเอามาเคลือบผิวยานอวกาศและหน้ากากพนักงานดับเพลิง หน่วยน้ำหนักทองคำคือ troy ounce ซึ่ง 1 หน่วย หนัก 31 กรัม
บ้านเรามีหน่วยน้ำหนักทองคำเป็นบาท ซึ่งทองคำ 1 บาท หนัก 15.244 กรัม ดังนั้น ทองคำ 1 กิโลกรัมจึงหนักเท่ากับน้ำหนัก 65.6 บาท หากคำนวณเป็นกรัม ทองคำ 1 กรัม มีมูลค่าประมาณ 2,500 บาท หรือ 1 กิโลกรัม มีมูลค่าประมาณ 2.5 ล้านบาท
ปัจจัยใดที่ทำให้ราคาของทองคำพุ่งอย่างน่ากลัว? ราคาของทองคำถูกกำหนดโดยดีมานด์และซัพพลายของทองคำอย่างซับซ้อนมากกว่าสินค้าอื่นๆ เพราะทองคำเป็นวัสดุสำคัญของสารพัดเครื่องประดับของมนุษย์ ถูกใช้ในการผลิตเหรียญกษาปณ์ไหลเวียนในเศรษฐกิจ ถูกใช้ในงานอุตสาหกรรมเพราะคุณสมบัติพิเศษและประการสำคัญ เป็นสิ่งที่ถูกใช้เป็นเครื่องป้องกันความเสี่ยงในอนาคตได้ดีกว่าเพชรนิลจินดา
เพราะทองคำมีลักษณะของความกลมกลืนเดียวกันของการเป็นทองคำจึงมีมาตรฐานเดียวในการตีราคา ซึ่งต่างจากเพชรพลอยทั้งหลายที่แต่ละเม็ดก็มีลักษณะเฉพาะตัว การกำหนดราคาของแต่ละหน่วยจึงแตกต่างกัน ทองคำจึงเป็นสิ่งมีค่าที่มี “มาตรฐาน” ในการตีราคาเหนือกว่าเพชรพลอย จนทำให้เกิดความคล่องตัวในการซื้อขาย
ถึงทองคำจะเป็นวัสดุพิเศษที่มีค่า ให้ทั้งความงาม ความมั่นคงและความคล่องตัว แต่มีข้อเสียก็คือเมื่อซื้อมาในลักษณะทองรูปพรรณหรือเป็นแท่งก็ดี เงินจะจมอยู่ในนั้นอย่างไม่มีผลตอบแทน หากแม้นนำจำนวนเงินเท่ากันที่ซื้อทองไปฝากธนาคารหรือลงทุนในหุ้น หรืออสังหาริมทรัพย์ ก็จะได้ดอกเบี้ยหรือเงินปันผล หรือค่าเช่ากลับมาเป็นผลตอบแทน
ดังนั้น คนซื้อทองคำเก็บไว้ต้องตระหนักในประเด็นนี้ว่าการถือทองคำมีค่าเสียโอกาสเสมอ ถึงแม้จะหวังว่าต่อไปราคาทองคำจะสูงขึ้นและเกิดกำไรก็ตาม แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะกำไรเมื่อใด มากน้อยเพียงใด และได้รับผลตอบแทนรวมมากกว่าอีกเส้นทางของการลงทุนหรือไม่
ปัจจัยแรกที่มีอิทธิพลต่อราคาทองคำก็คือ การคาดคะเนสภาวการณ์เงินเฟ้อที่ราคาสินค้าโดยทั่วไปจะสูงขึ้น ขณะนี้ผู้คนทั่วโลกกังวลเรื่องราคาสินค้าสูงในด้านอาหาร ด้านต้นทุนการผลิต และค่าแรง
การคาดคะเนเช่นนี้ทำให้ผู้คนหันมาถือทองคำกันมากขึ้น เพื่อคานกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการที่เงินจะมีค่าที่แท้จริงน้อยลง (เมื่อสินค้ามีราคาแพงขึ้น เงินจำนวนเท่าเดิมก็ซื้อปริมาณสินค้าได้น้อยลง)
ปัจจัยสอง ความไม่แน่นอนในโลก อันเกิดจากความตึงเครียดจากสงครามยูเครน และกาซา อีกทั้งการเผชิญหน้าของสหรัฐและจีน การเกิดนานาปัญหาในแทบทุกภูมิภาคซึ่งมีผลกระทบอย่างกว้างไกลในหลายลักษณะ จนทำให้เกิดความหวาดหวั่นในด้านเศรษฐกิจและสังคมไปทั่ว ดังนั้น จึงต้องการทองคำเพื่อลดความเสี่ยง
ปัจจัยที่สาม ตลาดกำลังคาดคะเนว่า ธนาคารกลางสหรัฐจะประกาศลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอำนาจซื้อในสหรัฐ จนส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นของโลก (อัตราดอกเบี้ยนี้ที่เรียกว่า Fed Rate ถูกใช้เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับโลกการเงินที่ถือว่ามีสภาพความเสี่ยงน้อย การกู้ยืมอื่นๆ ในโลกมีความเสี่ยงมากแค่ไหนก็ไปบวกอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีกในแต่ละกรณีไป)
การลดลงของ Fed Rate มีโอกาสสูงที่จะทำให้อำนาจซื้อในประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้นโดยปริยาย จนสร้างแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงทำให้ค่าเสียโอกาสของการถือทองลดลงด้วย ผู้คนจึงแห่กันซื้อทองมากขึ้น
ปัจจัยที่สี่ ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ หันมาซื้อทองคำกันมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการถือดอลลาร์สหรัฐ ไว้ในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นสัดส่วนที่สูงกันมานาน การซื้อทองเป็นการกระจายความเสี่ยงจากความไม่แน่นอน จีนและอินเดียซื้อทองคำอย่างมากเพื่อเอาไปเพิ่มสัดส่วนในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศโดยลดการถือดอลลาร์สหรัฐลง
ปัจจัยที่ห้า เงินดอลลาร์มีค่าอ่อนลงจากภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐและความจำเป็นที่จะต้องรักษาอัตราดอกเบี้ยไว้ไม่ลดลงเพื่อแก้ไขเงินเฟ้อ ทำให้ทองคำซึ่งราคากำหนดกันในรูปดอลลาร์มีราคาถูกลงในราคาของเงินสกุลอื่น ดังนั้น จึงพากันซื้อทองคำมากขึ้น จนช่วยผลักดันราคาให้ขยับขึ้น
ชาวโลกที่หวาดหวั่นเรื่องความไม่แน่นอนของโลกต่างต้องการทองคำมากขึ้นเพื่อเอาไว้ต่อสู้กับความเสี่ยง จีนขายทองคำออนไลน์ ก้อนเล็กเท่าเม็ดถั่วหนัก 1 ใน 13 ของออนซ์ในราคาประมาณ 87 ดอลลาร์ หรือ 2,900 บาท ขายดีมาก
บางคนซื้อหนึ่งก้อนต่ออาทิตย์ เก็บเล็กผสมน้อยสะสมไว้จนเป็นปอนด์ๆ ในอินเดียและประเทศอื่นๆ ไม่ช้าก็จะมีโครงการเก็บทองในลักษณะนี้อีกเช่นกัน
ถ้ามีความไม่แน่นอนของโลกยิ่งขึ้น ดีมานด์ของทองคำจากประชาชนธรรมดาในลักษณะนี้ก็จะช่วยกดดันราคาทองคำโลกให้สูงขึ้น ในภาพรวมการบริโภคทองคำมาจากอุตสาหกรรมเครื่องประดับประมาณครึ่งหนึ่ง อีกหนึ่งในสี่มาจากการซื้อของธนาคารกลางและสถาบันการเงิน และอีกหนึ่งในสี่มาจากการลงทุนในทองคำเป็นแท่งและใช้ในการผลิตเหรียญ
ความตึงเครียดในโลกอันเกิดจากข้อขัดแย้งจนเป็นสงคราม ภาวะเงินเฟ้อ สภาวอากาศที่รุนแรง ภัยจากโรคระบาด ภัยจากมลภาวะ ฯลฯ นับวันจะมากขึ้น จิตใจของมนุษย์ที่หวั่นไหวจึงต้องพยายามป้องกันตนเองและครอบครัวทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้สภาวการณ์เช่นนี้จะมีอะไรช่วยได้ดีเท่าทองคำเล่าในระยะยาว
ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1128666
โดยตั้งแต่ปี 2565 ถึงปัจจุบันราคาสูงขึ้นกว่า 50% ทำให้หลายคนอดคิดไม่ได้ว่าจะขายทองคำที่มีอยู่หรือซื้อเพื่อเก็งกำไรดี ราคาจะขึ้นไปมากกว่านี้ไหม ซึ่งไม่มีใครตอบได้
แต่หากพอเห็นภาพว่าอะไรที่ทำให้ราคาพุ่งขึ้นครั้งนี้ก็พอจะเข้าใจการทำงานของปัจจัยต่างๆ และอาจช่วยให้ตัดสินใจได้ผิดพลาดน้อยลงกระมัง
ทองคำมีลักษณะพิเศษคือมีสีเหลืองสุกปลั่ง ไม่เป็นสนิม อ่อนตัวมาก (ทอง 1 กรัม สามารถทุบให้แบนเป็นแผ่นได้พื้นที่ถึง 1 ตารางเมตร และถ้าทำเป็นเส้นลวดเล็กๆ ก็ยาวได้ถึง 1 กิโลเมตร) มันเป็นตัวนำไฟฟ้าและความร้อนที่ยอดเยี่ยม มีความหนาแน่นสูง โดยหนักเป็น 19.3 เท่าของน้ำ ทองเข้ากันได้กับชิ้นส่วนอวัยวะจนไม่เป็นพิษ เช่นใช้อุดฟัน ฝังในร่างกาย ฯลฯ
นอกจากนี้ ทองสะท้อนรังสีอินฟราเรดได้อย่างดีมาก จึงเป็นประโยชน์ในการป้องกันความร้อนจนเอามาเคลือบผิวยานอวกาศและหน้ากากพนักงานดับเพลิง หน่วยน้ำหนักทองคำคือ troy ounce ซึ่ง 1 หน่วย หนัก 31 กรัม
บ้านเรามีหน่วยน้ำหนักทองคำเป็นบาท ซึ่งทองคำ 1 บาท หนัก 15.244 กรัม ดังนั้น ทองคำ 1 กิโลกรัมจึงหนักเท่ากับน้ำหนัก 65.6 บาท หากคำนวณเป็นกรัม ทองคำ 1 กรัม มีมูลค่าประมาณ 2,500 บาท หรือ 1 กิโลกรัม มีมูลค่าประมาณ 2.5 ล้านบาท
ปัจจัยใดที่ทำให้ราคาของทองคำพุ่งอย่างน่ากลัว? ราคาของทองคำถูกกำหนดโดยดีมานด์และซัพพลายของทองคำอย่างซับซ้อนมากกว่าสินค้าอื่นๆ เพราะทองคำเป็นวัสดุสำคัญของสารพัดเครื่องประดับของมนุษย์ ถูกใช้ในการผลิตเหรียญกษาปณ์ไหลเวียนในเศรษฐกิจ ถูกใช้ในงานอุตสาหกรรมเพราะคุณสมบัติพิเศษและประการสำคัญ เป็นสิ่งที่ถูกใช้เป็นเครื่องป้องกันความเสี่ยงในอนาคตได้ดีกว่าเพชรนิลจินดา
เพราะทองคำมีลักษณะของความกลมกลืนเดียวกันของการเป็นทองคำจึงมีมาตรฐานเดียวในการตีราคา ซึ่งต่างจากเพชรพลอยทั้งหลายที่แต่ละเม็ดก็มีลักษณะเฉพาะตัว การกำหนดราคาของแต่ละหน่วยจึงแตกต่างกัน ทองคำจึงเป็นสิ่งมีค่าที่มี “มาตรฐาน” ในการตีราคาเหนือกว่าเพชรพลอย จนทำให้เกิดความคล่องตัวในการซื้อขาย
ถึงทองคำจะเป็นวัสดุพิเศษที่มีค่า ให้ทั้งความงาม ความมั่นคงและความคล่องตัว แต่มีข้อเสียก็คือเมื่อซื้อมาในลักษณะทองรูปพรรณหรือเป็นแท่งก็ดี เงินจะจมอยู่ในนั้นอย่างไม่มีผลตอบแทน หากแม้นนำจำนวนเงินเท่ากันที่ซื้อทองไปฝากธนาคารหรือลงทุนในหุ้น หรืออสังหาริมทรัพย์ ก็จะได้ดอกเบี้ยหรือเงินปันผล หรือค่าเช่ากลับมาเป็นผลตอบแทน
ดังนั้น คนซื้อทองคำเก็บไว้ต้องตระหนักในประเด็นนี้ว่าการถือทองคำมีค่าเสียโอกาสเสมอ ถึงแม้จะหวังว่าต่อไปราคาทองคำจะสูงขึ้นและเกิดกำไรก็ตาม แต่ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าจะกำไรเมื่อใด มากน้อยเพียงใด และได้รับผลตอบแทนรวมมากกว่าอีกเส้นทางของการลงทุนหรือไม่
ปัจจัยแรกที่มีอิทธิพลต่อราคาทองคำก็คือ การคาดคะเนสภาวการณ์เงินเฟ้อที่ราคาสินค้าโดยทั่วไปจะสูงขึ้น ขณะนี้ผู้คนทั่วโลกกังวลเรื่องราคาสินค้าสูงในด้านอาหาร ด้านต้นทุนการผลิต และค่าแรง
การคาดคะเนเช่นนี้ทำให้ผู้คนหันมาถือทองคำกันมากขึ้น เพื่อคานกับความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นอันเนื่องมาจากการที่เงินจะมีค่าที่แท้จริงน้อยลง (เมื่อสินค้ามีราคาแพงขึ้น เงินจำนวนเท่าเดิมก็ซื้อปริมาณสินค้าได้น้อยลง)
ปัจจัยสอง ความไม่แน่นอนในโลก อันเกิดจากความตึงเครียดจากสงครามยูเครน และกาซา อีกทั้งการเผชิญหน้าของสหรัฐและจีน การเกิดนานาปัญหาในแทบทุกภูมิภาคซึ่งมีผลกระทบอย่างกว้างไกลในหลายลักษณะ จนทำให้เกิดความหวาดหวั่นในด้านเศรษฐกิจและสังคมไปทั่ว ดังนั้น จึงต้องการทองคำเพื่อลดความเสี่ยง
ปัจจัยที่สาม ตลาดกำลังคาดคะเนว่า ธนาคารกลางสหรัฐจะประกาศลดอัตราดอกเบี้ย ซึ่งจะนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของอำนาจซื้อในสหรัฐ จนส่งผลกระทบต่อส่วนอื่นของโลก (อัตราดอกเบี้ยนี้ที่เรียกว่า Fed Rate ถูกใช้เป็นอัตราดอกเบี้ยอ้างอิงสำหรับโลกการเงินที่ถือว่ามีสภาพความเสี่ยงน้อย การกู้ยืมอื่นๆ ในโลกมีความเสี่ยงมากแค่ไหนก็ไปบวกอัตราดอกเบี้ยเพิ่มขึ้นอีกในแต่ละกรณีไป)
การลดลงของ Fed Rate มีโอกาสสูงที่จะทำให้อำนาจซื้อในประเทศต่างๆ เพิ่มขึ้นโดยปริยาย จนสร้างแรงกดดันด้านเงินเฟ้อ นอกจากนี้อัตราดอกเบี้ยที่ลดลงทำให้ค่าเสียโอกาสของการถือทองลดลงด้วย ผู้คนจึงแห่กันซื้อทองมากขึ้น
ปัจจัยที่สี่ ธนาคารกลางของประเทศต่างๆ หันมาซื้อทองคำกันมากขึ้น เพื่อลดความเสี่ยงจากการถือดอลลาร์สหรัฐ ไว้ในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศ เป็นสัดส่วนที่สูงกันมานาน การซื้อทองเป็นการกระจายความเสี่ยงจากความไม่แน่นอน จีนและอินเดียซื้อทองคำอย่างมากเพื่อเอาไปเพิ่มสัดส่วนในเงินทุนสำรองระหว่างประเทศโดยลดการถือดอลลาร์สหรัฐลง
ปัจจัยที่ห้า เงินดอลลาร์มีค่าอ่อนลงจากภาวะเศรษฐกิจของสหรัฐและความจำเป็นที่จะต้องรักษาอัตราดอกเบี้ยไว้ไม่ลดลงเพื่อแก้ไขเงินเฟ้อ ทำให้ทองคำซึ่งราคากำหนดกันในรูปดอลลาร์มีราคาถูกลงในราคาของเงินสกุลอื่น ดังนั้น จึงพากันซื้อทองคำมากขึ้น จนช่วยผลักดันราคาให้ขยับขึ้น
ชาวโลกที่หวาดหวั่นเรื่องความไม่แน่นอนของโลกต่างต้องการทองคำมากขึ้นเพื่อเอาไว้ต่อสู้กับความเสี่ยง จีนขายทองคำออนไลน์ ก้อนเล็กเท่าเม็ดถั่วหนัก 1 ใน 13 ของออนซ์ในราคาประมาณ 87 ดอลลาร์ หรือ 2,900 บาท ขายดีมาก
บางคนซื้อหนึ่งก้อนต่ออาทิตย์ เก็บเล็กผสมน้อยสะสมไว้จนเป็นปอนด์ๆ ในอินเดียและประเทศอื่นๆ ไม่ช้าก็จะมีโครงการเก็บทองในลักษณะนี้อีกเช่นกัน
ถ้ามีความไม่แน่นอนของโลกยิ่งขึ้น ดีมานด์ของทองคำจากประชาชนธรรมดาในลักษณะนี้ก็จะช่วยกดดันราคาทองคำโลกให้สูงขึ้น ในภาพรวมการบริโภคทองคำมาจากอุตสาหกรรมเครื่องประดับประมาณครึ่งหนึ่ง อีกหนึ่งในสี่มาจากการซื้อของธนาคารกลางและสถาบันการเงิน และอีกหนึ่งในสี่มาจากการลงทุนในทองคำเป็นแท่งและใช้ในการผลิตเหรียญ
ความตึงเครียดในโลกอันเกิดจากข้อขัดแย้งจนเป็นสงคราม ภาวะเงินเฟ้อ สภาวอากาศที่รุนแรง ภัยจากโรคระบาด ภัยจากมลภาวะ ฯลฯ นับวันจะมากขึ้น จิตใจของมนุษย์ที่หวั่นไหวจึงต้องพยายามป้องกันตนเองและครอบครัวทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม ภายใต้สภาวการณ์เช่นนี้จะมีอะไรช่วยได้ดีเท่าทองคำเล่าในระยะยาว
ที่มา : https://www.bangkokbiznews.com/business/economic/1128666