จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : เวียดนามเร่งสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน หนุนผลงาน EP ปี 67 โตก้าวกระโดด
28 พฤษภาคม 2567
รัฐบาลเวียดนามเร่งสร้างความมั่นคงด้านพลังงาน เรียกความเชื่อมั่นนักลงทุน หนุนธุรกิจ บมจ.อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป (EP) ปี 67 เติบโตแข็งแกร่ง สะท้อนผลงานไตรมาสแรกกำไรก้าวกระโดดพุ่งขึ้น 240.72%
สำนักข่าวนิกเกอิเอเชียรายงานว่า เวียดนามได้เผชิญกับปัญหาด้านพลังงานที่ไม่มั่นคง เนื่องจากไม่มีการลงทุนอย่างเพียงพอในด้านโครงสร้างพื้นฐานมายาวนาน ส่งผลกระทบกับเวียดนามอย่างมากในช่วงที่เผชิญกับคลื่นความร้อน
อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อบทบาทของเวียดนามในฐานะฐานการผลิตของบริษัทระดับโลกต่าง ๆ เช่น ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ (Samsung Electronics) และฟอกซ์คอนน์ (Foxconn)
ขณะที่นายมิงห์ ไค รองนายกรัฐมนตรีเวียดนามยอมรับว่า ปัญหาการขาดแคลนพลังงานเมื่อปีที่แล้วเป็นปัญหาคอขวดต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งหากอ้างอิงจากการประมาณการเบื้องต้นของธนาคารโลกพบว่า ต้นทุนทางเศรษฐกิจจากเหตุไฟฟ้าดับของเวียดนามเมื่อเดือนพ.ค.-มิ.ย. 2566 อยู่ที่ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 0.3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)
ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีเวียดนาม มั่นใจว่า การปรับปรุงโครงข่ายไฟฟ้าจะช่วยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าซ้ำรอยปีที่แล้ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในช่วงฤดูร้อนปีที่แล้ว โดยโครงการโครงข่ายไฟฟ้าทางตอนเหนือของเวียดนามมีกำหนดเสร็จในเดือน มิ.ย.
ทั้งนี้การเกิดปัญหาไฟฟ้าดับในช่วงที่สภาพอากาศร้อนจัดนั้นได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจต่าง ๆ ในปี 2566 โดยที่โรงงานต่าง ๆ จำเป็นต้องลดการใช้พลังงานลง และทางภาคเหนือของเวียดนามที่พึ่งพาไฟฟ้าพลังน้ำเป็นหลัก ต้องประสบปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าในเดือนพ.ค.-มิ.ย. 2566 เนื่องจากทรัพยากรน้ำที่ลดลงในพื้นที่ภูเขา
นโยบายสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าของรัฐบาลเวียดนาม ส่งผลดีต่อภาคเอกชนของไทย โดยเฉพาะ บมจ.อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป (EP) ในฐานะผู้ผลิตโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในเวียดนาม
โดยผลงานไตรมาส 1/2567 ของบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้รวม จำนวน 535.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 159.55% จากช่วงเดียวกันปีก่อนมีรายได้รวม 206.14 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ จำนวน 188.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 240.72% จากงวดเดียวกันปีก่อนขาดทุนสุทธิ 133.99 ล้านบาท
ซึ่ง “ยุทธ ชินสุภัคกุล” ประธานกรรมการ EP มั่นใจแนวโน้มผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2567 ยังสดใสต่อเนื่องจากไตรมาสแรกปีนี้ และตลอดทั้งปี 2567 โดยคาดการณ์ว่า ไตรมาส 2/2567 นี้ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในเวียดนาม 3 โครงการ กำลังการผลิต 130 เมกะวัตต์ จะได้รับอนุมัติ COD จาก EVN ตามด้วยการทยอยลงนามในสัญญาเงินกู้ในวงเงินรวมกว่า 4,000 ล้านบาท หลังก่อนหน้านี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารลงทุนและการพัฒนาเวียดนาม หรือ BIDV ที่ให้ข้อเสนอ Project Finance
สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม HL3 เป็นจำนวน 597,500 ล้านดอง หรือประมาณ 870 ล้านบาท โดยสามารถเบิกเงินกู้ได้ทันที ร้อยละ 60 ของวงเงิน และส่วนที่เหลือจะเบิกได้ เมื่อสามารถบรรลุข้อตกลงเรื่องอัตราค่าไฟฟ้าถาวร (FIT) กับทาง EVN ซึ่งคาดว่าน่าจะประมาณต้นปี 2568
ทั้งนี้ปี 2567 บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายรายได้รวมปีนี้เติบโตได้เกือบ 4 เท่าจากปี 2566 ทั้งในส่วนธุรกิจสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ที่ได้มีการปรับปรุงทั้งด้านการขายบริการ และการบริหารต้นทุนการดำเนินงาน และธุรกิจพลังงาน ที่ในปีที่ผ่านมาอัตราการเจริญเติบโตด้านการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลบนหลังคา (Solar Rooftop) ที่สูงมาก รวมไปถึงการทยอยจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ (COD) ของโครงการไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศเวียดนาม และมั่นใจว่าในอนาคตบริษัทฯ มีศักยภาพที่ก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในเวียดนามได้
สำนักข่าวนิกเกอิเอเชียรายงานว่า เวียดนามได้เผชิญกับปัญหาด้านพลังงานที่ไม่มั่นคง เนื่องจากไม่มีการลงทุนอย่างเพียงพอในด้านโครงสร้างพื้นฐานมายาวนาน ส่งผลกระทบกับเวียดนามอย่างมากในช่วงที่เผชิญกับคลื่นความร้อน
อีกทั้งยังส่งผลกระทบต่อบทบาทของเวียดนามในฐานะฐานการผลิตของบริษัทระดับโลกต่าง ๆ เช่น ซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ (Samsung Electronics) และฟอกซ์คอนน์ (Foxconn)
ขณะที่นายมิงห์ ไค รองนายกรัฐมนตรีเวียดนามยอมรับว่า ปัญหาการขาดแคลนพลังงานเมื่อปีที่แล้วเป็นปัญหาคอขวดต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจ ซึ่งหากอ้างอิงจากการประมาณการเบื้องต้นของธนาคารโลกพบว่า ต้นทุนทางเศรษฐกิจจากเหตุไฟฟ้าดับของเวียดนามเมื่อเดือนพ.ค.-มิ.ย. 2566 อยู่ที่ 1.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือ 0.3% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP)
ซึ่งรองนายกรัฐมนตรีเวียดนาม มั่นใจว่า การปรับปรุงโครงข่ายไฟฟ้าจะช่วยหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าซ้ำรอยปีที่แล้ว ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในช่วงฤดูร้อนปีที่แล้ว โดยโครงการโครงข่ายไฟฟ้าทางตอนเหนือของเวียดนามมีกำหนดเสร็จในเดือน มิ.ย.
ทั้งนี้การเกิดปัญหาไฟฟ้าดับในช่วงที่สภาพอากาศร้อนจัดนั้นได้ส่งผลกระทบต่อธุรกิจต่าง ๆ ในปี 2566 โดยที่โรงงานต่าง ๆ จำเป็นต้องลดการใช้พลังงานลง และทางภาคเหนือของเวียดนามที่พึ่งพาไฟฟ้าพลังน้ำเป็นหลัก ต้องประสบปัญหาการขาดแคลนไฟฟ้าในเดือนพ.ค.-มิ.ย. 2566 เนื่องจากทรัพยากรน้ำที่ลดลงในพื้นที่ภูเขา
นโยบายสนับสนุนการผลิตไฟฟ้าของรัฐบาลเวียดนาม ส่งผลดีต่อภาคเอกชนของไทย โดยเฉพาะ บมจ.อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป (EP) ในฐานะผู้ผลิตโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในเวียดนาม
โดยผลงานไตรมาส 1/2567 ของบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้รวม จำนวน 535.04 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 159.55% จากช่วงเดียวกันปีก่อนมีรายได้รวม 206.14 ล้านบาท และมีกำไรสุทธิ จำนวน 188.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 240.72% จากงวดเดียวกันปีก่อนขาดทุนสุทธิ 133.99 ล้านบาท
ซึ่ง “ยุทธ ชินสุภัคกุล” ประธานกรรมการ EP มั่นใจแนวโน้มผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2567 ยังสดใสต่อเนื่องจากไตรมาสแรกปีนี้ และตลอดทั้งปี 2567 โดยคาดการณ์ว่า ไตรมาส 2/2567 นี้ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในเวียดนาม 3 โครงการ กำลังการผลิต 130 เมกะวัตต์ จะได้รับอนุมัติ COD จาก EVN ตามด้วยการทยอยลงนามในสัญญาเงินกู้ในวงเงินรวมกว่า 4,000 ล้านบาท หลังก่อนหน้านี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารลงทุนและการพัฒนาเวียดนาม หรือ BIDV ที่ให้ข้อเสนอ Project Finance
สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม HL3 เป็นจำนวน 597,500 ล้านดอง หรือประมาณ 870 ล้านบาท โดยสามารถเบิกเงินกู้ได้ทันที ร้อยละ 60 ของวงเงิน และส่วนที่เหลือจะเบิกได้ เมื่อสามารถบรรลุข้อตกลงเรื่องอัตราค่าไฟฟ้าถาวร (FIT) กับทาง EVN ซึ่งคาดว่าน่าจะประมาณต้นปี 2568
ทั้งนี้ปี 2567 บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายรายได้รวมปีนี้เติบโตได้เกือบ 4 เท่าจากปี 2566 ทั้งในส่วนธุรกิจสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ที่ได้มีการปรับปรุงทั้งด้านการขายบริการ และการบริหารต้นทุนการดำเนินงาน และธุรกิจพลังงาน ที่ในปีที่ผ่านมาอัตราการเจริญเติบโตด้านการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลบนหลังคา (Solar Rooftop) ที่สูงมาก รวมไปถึงการทยอยจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ (COD) ของโครงการไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศเวียดนาม และมั่นใจว่าในอนาคตบริษัทฯ มีศักยภาพที่ก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในเวียดนามได้