บีทีเอสช็อตแรง กทม.ยังใช้หนี้ไม่หมด พบยังมีหนี้ค้างชำระกว่า 3 หมื่นล้านบาท รอศาลปกครองสูงสุดตัดสิน
ภายหลังการติดสติกเกอร์ใหม่ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) บนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส บริเวณแยกปทุมวัน เขตปทุมวัน ได้มีการแสดงความเห็นมากมายภายในโลกโซเชียลทั้งทางบวกและทางลบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม เพจเฟซบุ๊ค “กรุงเทพมหานคร” โพสต์ข้อความพร้อมรูปประกอบ เรื่องการใช้งาน “ฟอนต์ Sao Chingcha” พร้อมรูปที่นำมาโพสต์ประกอบมีข้อความต่างๆที่ระบุเป็นนโยบายที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. และคณะ ได้ทำมา 2 ปี ของการดำรงตำแหน่ง เช่น ไล่ออกข้าราชการทุจริต 29 ราย, มีสวน 15 นาทีใกล้บ้าน 100+ แห่ง, มี Pride Clinic 31 แห่ง, ปลูกต้นไม้แล้ว 9.4 แสนต้น, ฟองดูว์แก้แล้ว 4.7 แสนเรื่อง, ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก HPV ฟรี, แจกผ้าอนามัยฟรี 341 โรงเรียน
ซึ่งหนึ่งในรูปที่นำมาโพสต์นั้นมีข้อความระบุว่า “ใช้หนี้ BTS แล้ว” ต่อมาทางเพจ “รถไฟฟ้าบีทีเอส” ได้แชร์รูปนั้นพร้อมข้อความประกอบว่า
“หนี้ยังไม่หมดนะครั้บบบผม😁😆😅😂 #หยอกน๊าคุณน้าา”
ทั้งนี้ชาวโซเชียลได้เมนต์แสดงความเห็นไปในทางเดียวกันว่า “แรงมากก” “แรงเกินคุณน้า5555” “ช๊อตแรงจัด”
ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า เมื่อย้อนกลับไปวันที่ 4 เมษายน 2567 นายชัชชาติ เปิดเผยถึงความคืบหน้า การชำระหนี้ให้กับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ในงานระบบการเดินรถ (ไฟฟ้า และเครื่องกล หรือ E&M) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2
นายชัชชาติกล่าวว่า กทม.ได้สั่งจ่ายเช็คให้กับ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) ไปเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา ก็ถือว่า มีการกลั่นกรองอย่างละเอียด โดยสภา กทม.มีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาจนออกเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร รวมถึงตนยังได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนที่จะมีการจ่ายเงิน เพื่อประโยชน์สูงสุดของพี่น้องประชาชน
“ก็หวังว่า จะสร้างความมั่นใจ จริงๆ แล้วภาคเอกชนมีความสำคัญในการพัฒนาเมือง อนาคตจะมีผู้มาลงทุนทำโครงการต่างๆ เพราะงบประมาณของ กทม.อาจจะไม่เพียงพอ การสร้างความร่วมมือ การสร้างความไว้ใจซึ่งกันและกัน ความโปร่งใส และตรวจสอบได้ เป็นเรื่องสำคัญ” นายชัชชาติกล่าว
โดยจำนวนเงินที่ชำระคืนให้กับบีทีเอส เป็นจำนวน 23,312,577,476.49 บาท
ทั้งนี้ ยังเหลือการชำระหนี้อีก 1 ก้อนคือ ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง หรือ ค่า O&M รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 (อ่อนนุช-แบริ่ง และสะพานตากสิน-บางหว้า) และส่วนต่อขยายที่ 2 (แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ที่ทางบีทีเอสซีได้ยื่นฟ้อง ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาชั้นศาลปกครองสูงสุด วงเงินเกือบ 3 หมื่นล้านบาท ยังไม่รวมดอกเบี้ย
โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การฟ้องครั้งที่ 1 วงเงิน 11,755.06 ล้านบาท ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้ กทม. และเคที ร่วมกันจ่ายหนี้ให้กับบีทีเอสซี ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด ส่วนการฟ้องครั้งที่ 2 วงเงิน 11,068.5 ล้านบาท ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2565
นอกจากนี้ กทม.อยู่ระหว่างดำเนินการรับโอนทรัพย์สินและหนี้สิน ในส่วนของงานโครงสร้างพื้นฐาน หรืองานโยธารถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 วงเงินรวม 65,307.08 ล้านบาท แบ่งเป็น ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ 20,967.48 ล้านบาท และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต 44,339.60 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินการนี้ เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อเดือน พ.ย. 2561ที่กำหนดให้ กทม.รับโอนทั้งหนี้สินและทรัพย์สินจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งหนี้ก้อนนี้เป็นหนี้ทางบัญชี และเป็นหนี้ระหว่างรัฐกับรัฐ มีกระทรวงการคลังเป็นเจ้าของ
โดยนายชัชชาติเคยออกมาระบุว่า ได้ทำหนังสือตอบกลับกระทรวงมหาดไทย ขอให้ทางรัฐบาลช่วยเหลือ สนับสนุนค่าโครงสร้างพื้นฐานกว่า 6.5 หมื่นล้านบาท
ที่มา : https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_4603181
ภายหลังการติดสติกเกอร์ใหม่ของกรุงเทพมหานคร (กทม.) บนรางรถไฟฟ้าบีทีเอส บริเวณแยกปทุมวัน เขตปทุมวัน ได้มีการแสดงความเห็นมากมายภายในโลกโซเชียลทั้งทางบวกและทางลบ
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม เพจเฟซบุ๊ค “กรุงเทพมหานคร” โพสต์ข้อความพร้อมรูปประกอบ เรื่องการใช้งาน “ฟอนต์ Sao Chingcha” พร้อมรูปที่นำมาโพสต์ประกอบมีข้อความต่างๆที่ระบุเป็นนโยบายที่นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. และคณะ ได้ทำมา 2 ปี ของการดำรงตำแหน่ง เช่น ไล่ออกข้าราชการทุจริต 29 ราย, มีสวน 15 นาทีใกล้บ้าน 100+ แห่ง, มี Pride Clinic 31 แห่ง, ปลูกต้นไม้แล้ว 9.4 แสนต้น, ฟองดูว์แก้แล้ว 4.7 แสนเรื่อง, ฉีดวัคซีนมะเร็งปากมดลูก HPV ฟรี, แจกผ้าอนามัยฟรี 341 โรงเรียน
ซึ่งหนึ่งในรูปที่นำมาโพสต์นั้นมีข้อความระบุว่า “ใช้หนี้ BTS แล้ว” ต่อมาทางเพจ “รถไฟฟ้าบีทีเอส” ได้แชร์รูปนั้นพร้อมข้อความประกอบว่า
“หนี้ยังไม่หมดนะครั้บบบผม😁😆😅😂 #หยอกน๊าคุณน้าา”
ทั้งนี้ชาวโซเชียลได้เมนต์แสดงความเห็นไปในทางเดียวกันว่า “แรงมากก” “แรงเกินคุณน้า5555” “ช๊อตแรงจัด”
ผู้สื่อข่าวรายงานต่อว่า เมื่อย้อนกลับไปวันที่ 4 เมษายน 2567 นายชัชชาติ เปิดเผยถึงความคืบหน้า การชำระหนี้ให้กับ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) หรือบีทีเอสซี ผู้ให้บริการรถไฟฟ้าบีทีเอส ในงานระบบการเดินรถ (ไฟฟ้า และเครื่องกล หรือ E&M) โครงการรถไฟฟ้าสายสีเขียว ส่วนต่อขยายที่ 2
นายชัชชาติกล่าวว่า กทม.ได้สั่งจ่ายเช็คให้กับ บริษัท กรุงเทพธนาคม จำกัด (เคที) ไปเรียบร้อยแล้ว เมื่อวันที่ 2 เมษายนที่ผ่านมา ก็ถือว่า มีการกลั่นกรองอย่างละเอียด โดยสภา กทม.มีการตั้งคณะกรรมการพิจารณาจนออกเป็นข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร รวมถึงตนยังได้ตั้งคณะกรรมการตรวจสอบความถูกต้อง ก่อนที่จะมีการจ่ายเงิน เพื่อประโยชน์สูงสุดของพี่น้องประชาชน
“ก็หวังว่า จะสร้างความมั่นใจ จริงๆ แล้วภาคเอกชนมีความสำคัญในการพัฒนาเมือง อนาคตจะมีผู้มาลงทุนทำโครงการต่างๆ เพราะงบประมาณของ กทม.อาจจะไม่เพียงพอ การสร้างความร่วมมือ การสร้างความไว้ใจซึ่งกันและกัน ความโปร่งใส และตรวจสอบได้ เป็นเรื่องสำคัญ” นายชัชชาติกล่าว
โดยจำนวนเงินที่ชำระคืนให้กับบีทีเอส เป็นจำนวน 23,312,577,476.49 บาท
ทั้งนี้ ยังเหลือการชำระหนี้อีก 1 ก้อนคือ ค่าจ้างเดินรถและซ่อมบำรุง หรือ ค่า O&M รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 1 (อ่อนนุช-แบริ่ง และสะพานตากสิน-บางหว้า) และส่วนต่อขยายที่ 2 (แบริ่ง-สมุทรปราการ และหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต) ที่ทางบีทีเอสซีได้ยื่นฟ้อง ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาชั้นศาลปกครองสูงสุด วงเงินเกือบ 3 หมื่นล้านบาท ยังไม่รวมดอกเบี้ย
โดยแบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ การฟ้องครั้งที่ 1 วงเงิน 11,755.06 ล้านบาท ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาให้ กทม. และเคที ร่วมกันจ่ายหนี้ให้กับบีทีเอสซี ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาลปกครองสูงสุด ส่วนการฟ้องครั้งที่ 2 วงเงิน 11,068.5 ล้านบาท ได้ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองกลาง เมื่อวันที่ 22 พ.ย. 2565
นอกจากนี้ กทม.อยู่ระหว่างดำเนินการรับโอนทรัพย์สินและหนี้สิน ในส่วนของงานโครงสร้างพื้นฐาน หรืองานโยธารถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยายที่ 2 วงเงินรวม 65,307.08 ล้านบาท แบ่งเป็น ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ 20,967.48 ล้านบาท และช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต 44,339.60 ล้านบาท ซึ่งการดำเนินการนี้ เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อเดือน พ.ย. 2561ที่กำหนดให้ กทม.รับโอนทั้งหนี้สินและทรัพย์สินจากการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ซึ่งหนี้ก้อนนี้เป็นหนี้ทางบัญชี และเป็นหนี้ระหว่างรัฐกับรัฐ มีกระทรวงการคลังเป็นเจ้าของ
โดยนายชัชชาติเคยออกมาระบุว่า ได้ทำหนังสือตอบกลับกระทรวงมหาดไทย ขอให้ทางรัฐบาลช่วยเหลือ สนับสนุนค่าโครงสร้างพื้นฐานกว่า 6.5 หมื่นล้านบาท
ที่มา : https://www.matichon.co.th/local/quality-life/news_4603181