จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : NAM ต่อยอดธุรกิจบุกตลาด “ทำความสะอาด-ฆ่าเชื้ออุปกรณ์”สร้างรายได้ประจำ
31 พฤษภาคม 2567
นโยบาย Medical Hub ของรัฐบาลหนุนธุรกิจการแพทย์ในไทย เปิดโอกาส บมจ.นำวิวัฒน์ เมดิคอล คอร์ปอเรชั่น (NAM) บุกตลาด บริการทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ และให้บริการบำบัดมูลฝอยติดเชื้อทางการแพทย์ สร้างการเติบโตของรายได้ประจำ
รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ได้ประกาศวิสัยทัศน์ Thailand Vision IGNITE THAILAND : จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง โดยมีเป้าหมายพัฒนาประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน ผ่าน 8 วิสัยทัศน์ ซึ่งที่สำคัญ 3 อันดัน แรกได้แก่
วิสัยทัศน์ 1 ไทยเป็นศูนย์กลางเมืองท่องเที่ยว (Tourism Hub)
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้กับคนไทยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนประชากร คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 2.3 ล้านล้านบาท พร้อมดัน Soft Power ชูจุดขายเป็นเสน่ห์ของประเทศไทย ให้โดดเด่นในสายตาประชาคมโลก
วิสัยทัศน์ที่ 2 ศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพ (Wellness & Medical Hub)
รัฐบาลจะผลักดันอุตสาหกรรมสาธารณสุข ให้เป็นศูนย์ดูแลสุขภาพครบวงจรของโลก จากข้อมูลในปี 2566 พบว่า การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ สร้างเม็ดเงินได้กว่า 4 หมื่นล้านบาท
วิสัยทัศน์ที่ 3 ศูนย์กลางอาหาร (Agriculture & Food Hub)
ยกระดับการผลิตอุตสาหกรรมการเกษตร ทำให้ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ในกระเป๋าต้องมีเงิน ดูแลความมั่นคงทางอาหารของโลก รวมทั้งไทยมีร้านอาหารที่ได้รับตรามิชลินกว่า 196 ร้าน และมีร้านที่ได้รับดาวมิชลินกว่า 35 ร้าน
ในส่วนของวิสัยทัศน์การเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพของรัฐบาล ย่อมส่งผลดีต่อธุรกิจในแวดวงการแพทย์ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการแพทย์ รวมทั้งสินค้าของ บมจ.นำวิวัฒน์ เมดิคอล คอร์ปอเรชั่น (NAM) ซึ่งล่าสุดบริษัทย่อย "วิมุต โฮลดิ้ง" (VMH) ได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพภายใต้ "พฤกษา โฮลดิ้ง" (PSH) ตั้งบริษัทร่วมกัน โดยมีทุนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท 50 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจให้บริการทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ และให้บริการบำบัดมูลฝอยติดเชื้อทางการแพทย์
นพ.พิชิต กังวลกิจ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม PSH และรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร VMH กล่าวว่า กลุ่มวิมุตได้เล็งเห็นถึงศักยภาพและวิสัยทัศน์ในการดำเนินงานที่มีความสอดคล้องกัน เนื่องจาก NAM ถือเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังของวงการสาธารณสุขในประเทศไทยมายาวนานถึง 53 ปี และเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านงานเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ ดังนั้น จึงทำให้เชื่อมั่นว่าการร่วมมือครั้งนี้จะสามารถพัฒนามาตรฐานบริการและยกระดับความปลอดภัยให้แก่ผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น
นายวิโรจน์ ชัยเทอดเกียรติ กรรมการบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร NAM กล่าวว่า เซอร์วิโซ เฮลท์แคร์ โซลูชั่น จะมีทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่ไตรมาส 2/67 เป็นต้นไป พร้อมตั้งเป้ารายได้ 3 ปีข้างหน้าแตะ 500 ล้านบาท
ซึ่งวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัท เพื่อดำเนินธุรกิจการให้บริการงานสนับสนุนทางการแพทย์ ให้แก่โรงพยาบาล คลินิก บริษัท หรือหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมไปถึง 1) การให้บริการทำให้เครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ (Sterile Processing Service) 2) การให้บริการบำบัดมูลฝอยติดเชื้อทางการแพทย์ (Medical Waste Sterilization Service) และ 3) การให้บริการด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering Service) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ทั้งนี้คาดว่า ความร่วมมือครั้งนี้จะผลักดันให้การเติบโตของรายได้ในธุรกิจการให้บริการสูงขึ้น จากเดิมมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 12% ต่อปี เป็น 15% ในปีนี้ และจะเติบโตมากขึ้นในปีถัดไป นอกจากนี้ ยังมีแผนขยายธุรกิจการให้บริการเพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อทำให้รายได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด และในอนาคตมีโอกาสที่จะแยกธุรกิจบริการออกมาเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ขณะที่แนวโน้มผลการดำเนินงานของ NAM ในไตรมาส 2/67 คาดว่าจะดีขึ้นจากไตรมาส 1/67 จากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐปี 67 นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรเพื่อดำเนินธูรกิจร่วมกันอีก 2-3 รายคาดว่าจะเห็นความชัดเจนในเร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้ยังคงเป้าหมายการเติบโตของรายได้ปี 67 12-15% โดยมาจากการเติบโตแบบ organic ขณะที่ดีลต่าง ๆ ที่จะดำเนินการในปีนี้หากมีการเดินหน้าได้เร็วจะเป็นส่วนหนุนรายได้ให้เติบโตมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบัน NAM ได้เข้ามาให้บริการทำให้เครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ (Sterile Processing Service) และการให้บริการบำบัดมูลฝอยติดเชื้อทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยีนึ่งและฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำ (Medical Waste Sterilization Service) ให้กับโรงพยาบาลในเครือก่อนเป็นลำดับแรก และขยายไปสู่การให้บริการกับโรงพยาบาลและหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงการเริ่มให้บริการด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering Service) ในลำดับถัดไป เพื่อให้ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ด้วยรูปแบบ Hub and Spoke โดยช่วงลดต้นทุนในการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ประมาณ 30% และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำความสะอาด
นอกจากนี้ปี 67 ยังมีแผนการขยายการให้บริการในต่างประเทศผ่านกลุ่มพันธมิตรของ PSH ในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์
รัฐบาลเศรษฐา ทวีสิน ได้ประกาศวิสัยทัศน์ Thailand Vision IGNITE THAILAND : จุดพลัง รวมใจ ไทยต้องเป็นหนึ่ง โดยมีเป้าหมายพัฒนาประเทศไทยให้กลายเป็นศูนย์กลางเมืองแห่งอุตสาหกรรมระดับโลก เพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยสู่อนาคตที่ยั่งยืน ผ่าน 8 วิสัยทัศน์ ซึ่งที่สำคัญ 3 อันดัน แรกได้แก่
วิสัยทัศน์ 1 ไทยเป็นศูนย์กลางเมืองท่องเที่ยว (Tourism Hub)
อุตสาหกรรมท่องเที่ยวสร้างรายได้ให้กับคนไทยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวนประชากร คิดเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจกว่า 2.3 ล้านล้านบาท พร้อมดัน Soft Power ชูจุดขายเป็นเสน่ห์ของประเทศไทย ให้โดดเด่นในสายตาประชาคมโลก
วิสัยทัศน์ที่ 2 ศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพ (Wellness & Medical Hub)
รัฐบาลจะผลักดันอุตสาหกรรมสาธารณสุข ให้เป็นศูนย์ดูแลสุขภาพครบวงจรของโลก จากข้อมูลในปี 2566 พบว่า การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ สร้างเม็ดเงินได้กว่า 4 หมื่นล้านบาท
วิสัยทัศน์ที่ 3 ศูนย์กลางอาหาร (Agriculture & Food Hub)
ยกระดับการผลิตอุตสาหกรรมการเกษตร ทำให้ประเทศไทยอุดมสมบูรณ์ ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว ในกระเป๋าต้องมีเงิน ดูแลความมั่นคงทางอาหารของโลก รวมทั้งไทยมีร้านอาหารที่ได้รับตรามิชลินกว่า 196 ร้าน และมีร้านที่ได้รับดาวมิชลินกว่า 35 ร้าน
ในส่วนของวิสัยทัศน์การเป็นศูนย์กลางด้านการแพทย์และสุขภาพของรัฐบาล ย่อมส่งผลดีต่อธุรกิจในแวดวงการแพทย์ และธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับการแพทย์ รวมทั้งสินค้าของ บมจ.นำวิวัฒน์ เมดิคอล คอร์ปอเรชั่น (NAM) ซึ่งล่าสุดบริษัทย่อย "วิมุต โฮลดิ้ง" (VMH) ได้ร่วมมือกับผู้ให้บริการด้านสุขภาพภายใต้ "พฤกษา โฮลดิ้ง" (PSH) ตั้งบริษัทร่วมกัน โดยมีทุนจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท 50 ล้านบาท เพื่อดำเนินธุรกิจให้บริการทำความสะอาดและฆ่าเชื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์ และให้บริการบำบัดมูลฝอยติดเชื้อทางการแพทย์
นพ.พิชิต กังวลกิจ รองประธานเจ้าหน้าที่บริหารกลุ่ม PSH และรักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร VMH กล่าวว่า กลุ่มวิมุตได้เล็งเห็นถึงศักยภาพและวิสัยทัศน์ในการดำเนินงานที่มีความสอดคล้องกัน เนื่องจาก NAM ถือเป็นผู้ที่อยู่เบื้องหลังของวงการสาธารณสุขในประเทศไทยมายาวนานถึง 53 ปี และเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีความเชี่ยวชาญด้านงานเวชภัณฑ์ปลอดเชื้อ ดังนั้น จึงทำให้เชื่อมั่นว่าการร่วมมือครั้งนี้จะสามารถพัฒนามาตรฐานบริการและยกระดับความปลอดภัยให้แก่ผู้ป่วยได้ดียิ่งขึ้น
นายวิโรจน์ ชัยเทอดเกียรติ กรรมการบริษัทและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร NAM กล่าวว่า เซอร์วิโซ เฮลท์แคร์ โซลูชั่น จะมีทุนจดทะเบียน 50 ล้านบาท คาดว่าจะเริ่มรับรู้รายได้ตั้งแต่ไตรมาส 2/67 เป็นต้นไป พร้อมตั้งเป้ารายได้ 3 ปีข้างหน้าแตะ 500 ล้านบาท
ซึ่งวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งบริษัท เพื่อดำเนินธุรกิจการให้บริการงานสนับสนุนทางการแพทย์ ให้แก่โรงพยาบาล คลินิก บริษัท หรือหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ซึ่งรวมไปถึง 1) การให้บริการทำให้เครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ (Sterile Processing Service) 2) การให้บริการบำบัดมูลฝอยติดเชื้อทางการแพทย์ (Medical Waste Sterilization Service) และ 3) การให้บริการด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering Service) ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
ทั้งนี้คาดว่า ความร่วมมือครั้งนี้จะผลักดันให้การเติบโตของรายได้ในธุรกิจการให้บริการสูงขึ้น จากเดิมมีอัตราการเติบโตเฉลี่ย 12% ต่อปี เป็น 15% ในปีนี้ และจะเติบโตมากขึ้นในปีถัดไป นอกจากนี้ ยังมีแผนขยายธุรกิจการให้บริการเพิ่มขึ้นทั้งในและต่างประเทศ เพื่อทำให้รายได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด และในอนาคตมีโอกาสที่จะแยกธุรกิจบริการออกมาเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
ขณะที่แนวโน้มผลการดำเนินงานของ NAM ในไตรมาส 2/67 คาดว่าจะดีขึ้นจากไตรมาส 1/67 จากการเร่งเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐปี 67 นอกจากนี้ยังอยู่ระหว่างการเจรจากับพันธมิตรเพื่อดำเนินธูรกิจร่วมกันอีก 2-3 รายคาดว่าจะเห็นความชัดเจนในเร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้ยังคงเป้าหมายการเติบโตของรายได้ปี 67 12-15% โดยมาจากการเติบโตแบบ organic ขณะที่ดีลต่าง ๆ ที่จะดำเนินการในปีนี้หากมีการเดินหน้าได้เร็วจะเป็นส่วนหนุนรายได้ให้เติบโตมากยิ่งขึ้น
ปัจจุบัน NAM ได้เข้ามาให้บริการทำให้เครื่องมือแพทย์ปราศจากเชื้อ (Sterile Processing Service) และการให้บริการบำบัดมูลฝอยติดเชื้อทางการแพทย์ด้วยเทคโนโลยีนึ่งและฆ่าเชื้อด้วยไอน้ำ (Medical Waste Sterilization Service) ให้กับโรงพยาบาลในเครือก่อนเป็นลำดับแรก และขยายไปสู่การให้บริการกับโรงพยาบาลและหน่วยงานภาครัฐ รวมถึงการเริ่มให้บริการด้านวิศวกรรมชีวการแพทย์ (Biomedical Engineering Service) ในลำดับถัดไป เพื่อให้ครอบคลุมทั่วทุกพื้นที่ด้วยรูปแบบ Hub and Spoke โดยช่วงลดต้นทุนในการทำความสะอาดเครื่องมือแพทย์ประมาณ 30% และเพิ่มประสิทธิภาพในการทำความสะอาด
นอกจากนี้ปี 67 ยังมีแผนการขยายการให้บริการในต่างประเทศผ่านกลุ่มพันธมิตรของ PSH ในประเทศสิงคโปร์ มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์