“เจ้าสัว” แบรนด์ของฝากสุดฮิต เร็วๆ นี้กำลังจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (SET) โดยมีแผนเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้กับประชาชนทั่วไปเป็นครั้งแรก (IPO) จำนวนไม่เกิน 87.7 ล้านหุ้น และมีบริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย จำกัด (มหาชน) เป็นที่ปรึกษาทางการเงิน
นักลงทุนเคยสงสัยกันหรือไม่ว่า จุดเริ่มต้นของ “เจ้าสัว” เป็นอย่างไร และการเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นครั้งนี้ “เจ้าสัว” มีความน่าสนใจแค่ไหน คอลัมน์ The IPO หาคำตอบให้แล้ว
ประวัติความเห็นมาของ บริษัท เจ้าสัว ฟู้ดส์ อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ CHAO ก่อตั้งเมื่อปี 2501 โดยนายเพิ่ม โมรินทร์ (แซ่เตีย) เดิมมีอาชีพขายของชำ ในย่านคลองเตย และได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา
ทั้งนี้ได้สังเกตเห็นว่ากลุ่มชาวบ้านนิยมเลี้ยงหมูจำนวนมากและมีราคาสูง ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมองว่าจังหวัดนครราชสีมาเปรียบเสมือนประตูสู่อีสาน ซึ่งน่าจะมีการพัฒนาได้อีกมาก จึงได้มีการแปรรูปเนื้อหมูมาเป็นหมูหยอง หมูแผ่น และขยาย ผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย และเป็นสินค้ายอดนิยมในปัจจุบัน
CHAO ประกอบธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายขนมขบเคี้ยวและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ ที่ขึ้นชื่อเรื่องความอร่อย ผสานกับการปรุงอย่างพิถีพิถันและเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ
อีกทั้งยังมีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย พกพาง่าย สามารถรับประทานได้ทุกวัน (Everyday Consumption) โดยสินค้าที่จำหน่ายส่วนใหญ่เป็นสินค้าภายใต้ตราสินค้าของกลุ่มบริษัท ภายใต้แบรนด์ “เจ้าสัว” และแบรนด์ “โฮลซัม (Wholesome)”
ทั้งนี้ มีสินค้าที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์การรับประทานของผู้บริโภคในทุกโอกาส แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ (1) ขนมขบเคี้ยว (Snacks) โดยมีตัวอย่างผลิตภัณฑ์เด่นที่ประสบความสำเร็จในการผลักดันเข้าสู่ตลาด อาทิ ข้าวตัง และหมูแท่ง เป็นต้น และ (2) ผลิตภัณฑ์อาหาร (Meal) พร้อมทานและพร้อมปรุง อาทิ หมูหยอง และกุนเชียง เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า บริษัท มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายทั้งขนมขบเคี้ยว อาหารพร้อมปรุง และอาหารพร้อมทาน ที่อร่อยและมีคุณค่าทางสารอาหาร โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คือ กลุ่มคนวัยทำงานอายุ 25 ปีขึ้นไป ที่เลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ของบริษัททั้งขนมขบเคี้ยวและผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อรับประทานและนำไปเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารทานเอง ซึ่งตอบโจทย์การใช้ชีวิตประจำวัน
CHAO มีข้อได้เปรียบการแข่งขันอย่างน่าสนใจ โดยเป็นผู้นำตลาดในผลิตภัณฑ์หลัก อาทิ เป็นผู้นำตลาดอันดับ 1 ในตลาดข้าวตัง โดยมีส่วนแบ่งการตลาด 78.5% ในปี 2565 และเป็นผู้นำในตลาดอันดับ 1 ในตลาดขนมขบเคี้ยวแปรรูปจากเนื้อหมู (Pork Snack) โดยมีส่วนแบ่งการตลาด 57.2% ในปี 2565 ตามข้อมูลรายงานภาวะอุตสาหกรรมของบริษัท ฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน (ประเทศไทย) จำกัด (Frost & Sullivan)
อีกทั้งแบรนด์ “เจ้าสัว” ที่เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมสูง โดยที่ผ่านมาบริษัทให้ความสำคัญกับการลงทุนสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้มีการจ้างแบรนด์แอมบาสเดอร์ (Brand Ambassador) ที่มีภาพลักษณ์เหมาะสมกับกลยุทธ์การเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย อาทิ นักร้องชื่อดังอย่าง “ลิเดีย ศรัณย์รัชต์” (ในปี 2564-2565) สำหรับลูกค้ากลุ่มครอบครัว และซุปเปอร์สตาร์เมืองไทยอย่าง “เจมส์ จิรายุ” (ตั้งแต่ปี 2566)
อีกประเด็นคือ มีเครือข่ายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าที่หลากหลาย แบ่งเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มร้านค้าปลีกและค้าส่งสมัยใหม่ (Modern Trade) ร้านค้าปลีกดั้งเดิม (Traditional Trade) การส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ และ ช่องทางอื่นๆ
นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการทำกำไรที่ดี เมื่อเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรม โดยบริษัทมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบ (Supplier) ในประเทศหลายราย มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจมาอย่างยาวนาน ส่งผลให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุดิบประเภทต่างๆ
รวมถึงโครงสร้างต้นทุนของสินค้าแต่ละประเภทเป็นอย่างดี จึงสามารถคัดสรรและเจรจาต่อรองกับผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบ ที่สามารถรักษามาตรฐานและคุณภาพของวัตถุดิบในต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้ รวมทั้งยังมีความสามารถในการบริหารสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
ขณะที่ อุตสาหกรรมขนมขบเคี้ยว (Snack) ในส่วนSegment ที่บริษัทจัดจำหน่ายเป็น Segment ที่มีอัตราการเติบโตสูง โดยข้าวตัง มีมูลค่าตลาดเท่ากับ 995.0 ล้านบาท ในปี 2565 เพิ่มขึ้นจาก 644.4 ล้านบาท ในปี 2563 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่ 21.7%
ทั้งนี้ ตามข้อมูลประมาณการโดย Frost & Sullivan ตลาดข้าวตังจะมีมูลค่าเท่ากับ 1,963.0 ล้านบาทในปี 2570 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) เท่ากับ 14.6% ระหว่างปี 2565 – 2570
และ 2.ขนมขบเคี้ยวแปรรูปจากเนื้อหมู (Pork Snack) มีมูลค่าตลาดเท่ากับ 500.2 ล้านบาท ในปี 2565 เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 256 ล้านบาท ในปี 2563 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่ 39.8%
โดยมูลค่าตลาดของขนมขบเคี้ยวแปรรูปจากเนื้อหมู (Pork Snack) จะมีมูลค่าตลาดเท่ากับ 1,407.0 ล้านบาทในปี 2570 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) เท่ากับ 23% ระหว่างปี 2565 – 2570
ตามข้อมูลประมาณการโดย Frost & Sullivan ประเทศไทยมีปริมาณการบริโภคขนมขบเคี้ยวเฉลี่ยต่อคน (Snack Consumption Per Capita) อยู่ที่ 2.2 กิโลกรัม/ปี ในปี 2565 ต่ำกว่าการบริโภคขนมขบเคี้ยวในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งอยู่ที่ 32.2 กิโลกรัม/ปี 10.4 กิโลกรัม/ปี และ 10.3 กิโลกรัม/ปี ตามลำดับ
รวมถึงต่ำกว่าการบริโภคขนมขบเคี้ยวของประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย เช่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ ฮ่องกง และจีน ซึ่งอยู่ที่ 15.4 กิโลกรัม/ปี 7.4 กิโลกรัม/ปี 6.7 กิโลกรัม/ปี และ 3.8 กิโลกรัม/ปี ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมขนมขบเคี้ยวในประเทศไทยยังมีโอกาสเติบโตในอนาคตอีกมาก
มาถึงตรงนี้แล้ว ต้องจับตากันต่อว่า การเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นครั้งนี้ของ CHAO จะสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุนมากน้อยแค่ไหน แต่ที่แน่ๆ ต้องยอมรับว่าแบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้าง จนก้าวขึ้นสู่เบอร์หนึ่งของตลาดทั้งในตลาดข้าวตัง ตลาดขนมขบเคี้ยวแปรรูปจากเนื้อหมู
นักลงทุนเคยสงสัยกันหรือไม่ว่า จุดเริ่มต้นของ “เจ้าสัว” เป็นอย่างไร และการเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นครั้งนี้ “เจ้าสัว” มีความน่าสนใจแค่ไหน คอลัมน์ The IPO หาคำตอบให้แล้ว
ประวัติความเห็นมาของ บริษัท เจ้าสัว ฟู้ดส์ อินดัสทรี จำกัด (มหาชน) หรือ CHAO ก่อตั้งเมื่อปี 2501 โดยนายเพิ่ม โมรินทร์ (แซ่เตีย) เดิมมีอาชีพขายของชำ ในย่านคลองเตย และได้ย้ายถิ่นฐานมาอยู่ที่จังหวัดนครราชสีมา
ทั้งนี้ได้สังเกตเห็นว่ากลุ่มชาวบ้านนิยมเลี้ยงหมูจำนวนมากและมีราคาสูง ด้วยวิสัยทัศน์ที่กว้างไกลมองว่าจังหวัดนครราชสีมาเปรียบเสมือนประตูสู่อีสาน ซึ่งน่าจะมีการพัฒนาได้อีกมาก จึงได้มีการแปรรูปเนื้อหมูมาเป็นหมูหยอง หมูแผ่น และขยาย ผลิตภัณฑ์ให้มีความหลากหลาย และเป็นสินค้ายอดนิยมในปัจจุบัน
CHAO ประกอบธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายขนมขบเคี้ยวและผลิตภัณฑ์แปรรูปจากเนื้อสัตว์ ที่ขึ้นชื่อเรื่องความอร่อย ผสานกับการปรุงอย่างพิถีพิถันและเลือกใช้วัตถุดิบที่มีคุณภาพ
อีกทั้งยังมีการออกแบบบรรจุภัณฑ์ที่ทันสมัย พกพาง่าย สามารถรับประทานได้ทุกวัน (Everyday Consumption) โดยสินค้าที่จำหน่ายส่วนใหญ่เป็นสินค้าภายใต้ตราสินค้าของกลุ่มบริษัท ภายใต้แบรนด์ “เจ้าสัว” และแบรนด์ “โฮลซัม (Wholesome)”
ทั้งนี้ มีสินค้าที่หลากหลายเพื่อตอบโจทย์การรับประทานของผู้บริโภคในทุกโอกาส แบ่งออกเป็น 2 กลุ่มหลัก ได้แก่ (1) ขนมขบเคี้ยว (Snacks) โดยมีตัวอย่างผลิตภัณฑ์เด่นที่ประสบความสำเร็จในการผลักดันเข้าสู่ตลาด อาทิ ข้าวตัง และหมูแท่ง เป็นต้น และ (2) ผลิตภัณฑ์อาหาร (Meal) พร้อมทานและพร้อมปรุง อาทิ หมูหยอง และกุนเชียง เป็นต้น
จะเห็นได้ว่า บริษัท มีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายทั้งขนมขบเคี้ยว อาหารพร้อมปรุง และอาหารพร้อมทาน ที่อร่อยและมีคุณค่าทางสารอาหาร โดยกลุ่มลูกค้าเป้าหมาย คือ กลุ่มคนวัยทำงานอายุ 25 ปีขึ้นไป ที่เลือกบริโภคผลิตภัณฑ์ของบริษัททั้งขนมขบเคี้ยวและผลิตภัณฑ์อาหารเพื่อรับประทานและนำไปเป็นวัตถุดิบในการประกอบอาหารทานเอง ซึ่งตอบโจทย์การใช้ชีวิตประจำวัน
CHAO มีข้อได้เปรียบการแข่งขันอย่างน่าสนใจ โดยเป็นผู้นำตลาดในผลิตภัณฑ์หลัก อาทิ เป็นผู้นำตลาดอันดับ 1 ในตลาดข้าวตัง โดยมีส่วนแบ่งการตลาด 78.5% ในปี 2565 และเป็นผู้นำในตลาดอันดับ 1 ในตลาดขนมขบเคี้ยวแปรรูปจากเนื้อหมู (Pork Snack) โดยมีส่วนแบ่งการตลาด 57.2% ในปี 2565 ตามข้อมูลรายงานภาวะอุตสาหกรรมของบริษัท ฟรอส์ท แอนด์ ซัลลิวัน (ประเทศไทย) จำกัด (Frost & Sullivan)
อีกทั้งแบรนด์ “เจ้าสัว” ที่เป็นที่รู้จักและได้รับความนิยมสูง โดยที่ผ่านมาบริษัทให้ความสำคัญกับการลงทุนสร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จักอย่างต่อเนื่อง ซึ่งได้มีการจ้างแบรนด์แอมบาสเดอร์ (Brand Ambassador) ที่มีภาพลักษณ์เหมาะสมกับกลยุทธ์การเข้าถึงลูกค้ากลุ่มเป้าหมาย อาทิ นักร้องชื่อดังอย่าง “ลิเดีย ศรัณย์รัชต์” (ในปี 2564-2565) สำหรับลูกค้ากลุ่มครอบครัว และซุปเปอร์สตาร์เมืองไทยอย่าง “เจมส์ จิรายุ” (ตั้งแต่ปี 2566)
อีกประเด็นคือ มีเครือข่ายช่องทางการจัดจำหน่ายสินค้าที่หลากหลาย แบ่งเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มร้านค้าปลีกและค้าส่งสมัยใหม่ (Modern Trade) ร้านค้าปลีกดั้งเดิม (Traditional Trade) การส่งออกสินค้าไปยังต่างประเทศ และ ช่องทางอื่นๆ
นอกจากนี้ยังมีความสามารถในการทำกำไรที่ดี เมื่อเทียบกับคู่แข่งในอุตสาหกรรม โดยบริษัทมีความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบ (Supplier) ในประเทศหลายราย มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจมาอย่างยาวนาน ส่งผลให้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวัตถุดิบประเภทต่างๆ
รวมถึงโครงสร้างต้นทุนของสินค้าแต่ละประเภทเป็นอย่างดี จึงสามารถคัดสรรและเจรจาต่อรองกับผู้จัดจำหน่ายวัตถุดิบ ที่สามารถรักษามาตรฐานและคุณภาพของวัตถุดิบในต้นทุนที่สามารถแข่งขันได้ รวมทั้งยังมีความสามารถในการบริหารสินค้าคงคลังได้อย่างมีประสิทธิภาพอีกด้วย
ขณะที่ อุตสาหกรรมขนมขบเคี้ยว (Snack) ในส่วนSegment ที่บริษัทจัดจำหน่ายเป็น Segment ที่มีอัตราการเติบโตสูง โดยข้าวตัง มีมูลค่าตลาดเท่ากับ 995.0 ล้านบาท ในปี 2565 เพิ่มขึ้นจาก 644.4 ล้านบาท ในปี 2563 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่ 21.7%
ทั้งนี้ ตามข้อมูลประมาณการโดย Frost & Sullivan ตลาดข้าวตังจะมีมูลค่าเท่ากับ 1,963.0 ล้านบาทในปี 2570 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) เท่ากับ 14.6% ระหว่างปี 2565 – 2570
และ 2.ขนมขบเคี้ยวแปรรูปจากเนื้อหมู (Pork Snack) มีมูลค่าตลาดเท่ากับ 500.2 ล้านบาท ในปี 2565 เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดจาก 256 ล้านบาท ในปี 2563 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) ที่ 39.8%
โดยมูลค่าตลาดของขนมขบเคี้ยวแปรรูปจากเนื้อหมู (Pork Snack) จะมีมูลค่าตลาดเท่ากับ 1,407.0 ล้านบาทในปี 2570 หรือคิดเป็นอัตราการเติบโตเฉลี่ยต่อปี (CAGR) เท่ากับ 23% ระหว่างปี 2565 – 2570
ตามข้อมูลประมาณการโดย Frost & Sullivan ประเทศไทยมีปริมาณการบริโภคขนมขบเคี้ยวเฉลี่ยต่อคน (Snack Consumption Per Capita) อยู่ที่ 2.2 กิโลกรัม/ปี ในปี 2565 ต่ำกว่าการบริโภคขนมขบเคี้ยวในประเทศพัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ซึ่งอยู่ที่ 32.2 กิโลกรัม/ปี 10.4 กิโลกรัม/ปี และ 10.3 กิโลกรัม/ปี ตามลำดับ
รวมถึงต่ำกว่าการบริโภคขนมขบเคี้ยวของประเทศอื่นๆ ในภูมิภาคเอเชีย เช่น มาเลเซีย เกาหลีใต้ ฮ่องกง และจีน ซึ่งอยู่ที่ 15.4 กิโลกรัม/ปี 7.4 กิโลกรัม/ปี 6.7 กิโลกรัม/ปี และ 3.8 กิโลกรัม/ปี ตามลำดับ แสดงให้เห็นว่าอุตสาหกรรมขนมขบเคี้ยวในประเทศไทยยังมีโอกาสเติบโตในอนาคตอีกมาก
มาถึงตรงนี้แล้ว ต้องจับตากันต่อว่า การเข้าซื้อขายในตลาดหุ้นครั้งนี้ของ CHAO จะสร้างผลตอบแทนที่ดีให้กับนักลงทุนมากน้อยแค่ไหน แต่ที่แน่ๆ ต้องยอมรับว่าแบรนด์เป็นที่รู้จักในวงกว้าง จนก้าวขึ้นสู่เบอร์หนึ่งของตลาดทั้งในตลาดข้าวตัง ตลาดขนมขบเคี้ยวแปรรูปจากเนื้อหมู