หมอค้นพบ สาเหตุโรคมะเร็งลำไส้เพิ่มขึ้นในคนหนุ่มสาว ผู้เชี่ยวชาญชี้ เป้าหมายอยู่ที่อาหาร กากใยต่ำและของหวาน เร่งความเสื่อมของเซลล์
วันที่ 5 มิถุนายน 2567 สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน นักวิจัยอาจใกล้ไขปริศนาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เพิ่มขึ้นในคนอายุน้อยได้แล้ว โดยนักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐฯ ระบุว่า การบริโภคน้ำตาลมากเกินไปและใยอาหารไม่เพียงพอ ทำให้ลำไส้ผลิตแบคทีเรียที่ “เร่งความเสื่อม” ของเซลล์
จากงานวิจัยเบื้องต้นนี้นำเสนอในการประชุมโรคมะเร็งที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อเร็ว ๆ นี้ พบว่าภาวะดังกล่าวอาจทำให้เซลล์อ่อนแอต่อการกลายพันธุ์ที่นำไปสู่โรคมะเร็ง และลดความสามารถในการต่อสู้กับการเติบโตของเซลล์มะเร็ง
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ใหญ่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มสูงขึ้น โดยที่ผู้เชี่ยวชาญยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ ได้ศึกษาตัวอย่างพันธุกรรมของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ทั้งกลุ่มอายุต่ำกว่า 50 ปี และกลุ่มผู้สูงอายุ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยอายุน้อยที่รับประทานอาหารที่มีใยอาหารต่ำและน้ำตาลสูง จะผลิตแบคทีเรียชนิดหนึ่งชื่อ Fusobacterium ซึ่งเพิ่มการอักเสบในลำไส้
ในทางกลับกัน ใยอาหารจะช่วยชะลอการปล่อยน้ำตาลกลูโคสในเลือด และเป็นอาหารของแบคทีเรียทดีในลำไส้ ช่วยลดการอักเสบ
การอักเสบเรื้อรังทำให้เซลล์ “เสื่อม” เร็วขึ้น และนักวิจัยประเมินว่า ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่อายุน้อยและมีพฤติกรรมการกินที่ไม่ดีเป็นประจำ จะมีเซลล์ที่เสื่อมสภาพเร็วกว่าอายุจริงถึง 15 ปี
นักวิจัยจากสมาคมเนื้องอกวิทยาคลินิกแห่งอเมริกา (ASCO) ประมาณการว่า ในขณะที่ประมาณ 5% ของกรณีโรคมะเร็งลำไส้เกิดจากพันธุกรรม ส่วนที่เหลือยัง “ไม่เป็นที่แน่ชัด”
“ข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า จุลชีพก่อโรคอาจทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งนำไปสู่การแก่เร็วในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่อายุน้อย” นักวิจัยกล่าว
ทีมวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า ผลการวิจัยสอดคล้องกับข้อมูลล่าสุดอื่น ๆ ที่ชี้ให้เห็นว่า อาหารแปรรูปที่มีใยอาหารต่ำ ทำให้สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้เสียไป เรียกว่า ภาวะลำไส้ไม่สมดุล (intestinal dysbiosis)
จากข้อมูลของ USDA พบว่า 95% ของชาวอเมริกันไม่ได้รับใยอาหารเพียงพอ หน่วยงานแนะนำว่า ผู้ใหญ่ควรรับประทานใยอาหาร 25 ถึง 30 กรัมต่อวัน เทียบเท่ากับข้าวโอ๊ตประมาณ 2 ถึง 3 ชาม หรือถั่วลูกไก่ 1 ถ้วย อย่างไรก็ตาม ชาวอเมริกันส่วนใหญ่บริโภคใยอาหารเพียง 10 ถึง 15 กรัมต่อวันเท่านั้น
ในขณะเดียวกัน มีเพียง 9% ของคนในสหราชอาณาจักรที่บริโภคใยอาหาร 30 กรัมต่อวันตามที่แนะนำ จำนวนผู้ป่วยมะเร็งที่อายุต่ำกว่า 50 ปีในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้น 24% ในช่วงสองทศวรรษ ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มอายุอื่น ๆ และแพทย์ที่พยายามหาสาเหตุของการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น สงสัยมานานแล้วว่าอาหารสมัยใหม่มีส่วนทำให้เกิดโรค
มะเร็งในคนอายุน้อยยังคงพบได้ไม่บ่อยนัก ประมาณ 90% ของมะเร็งทั้งหมดเกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ชาร์ลส์ สแวนตัน ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งของสหราชอาณาจักร แสดงความกังวลเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่เพิ่มขึ้นในคนอายุน้อย
เขากล่าวว่า “ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา คนวัยหนุ่มสาวป่วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดของอัตราการเกิดโรคมะเร็งในผู้ใหญ่วัยหนุ่มสาว หลักฐานบ่งชี้ว่า ผู้ใหญ่อายุต่ำกว่า 50 ปีอาจเป็นมะเร็งมากกว่าที่เคย แม้ว่ากรณีเหล่านี้จะเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของประชากรทั้งหมดและยังคงพบได้ค่อนข้างน้อย แนวโน้มนี้มีความสำคัญและต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติม
“การได้รับปัจจัยเสี่ยงที่ทราบและไม่ทราบ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและอาหารการกินเมื่อเวลาผ่านไป และโรคอ้วนที่เพิ่มขึ้น ล้วนอาจนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของโรคมะเร็ง”
เขากล่าวเสริมว่า ปัจจุบัน ผู้ใหญ่ 2 ใน 3 คนในสหราชอาณาจักรมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน “พันธุกรรม การปรับปรุงในการวินิจฉัยและการคัดกรอง และจุลินทรีย์ในลำไส้ ก็อาจมีบทบาทเช่นกัน เราเห็นพวกเขาผ่านคลินิกของเรา และมันน่าเป็นห่วง และเราไม่มีคำตอบที่ดีว่าทำไมสิ่งนี้ถึงเกิดขึ้น”
สำหรับอัตราโรคมะเร็งลำไส้ในประเทศไทย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยพบคนไข้เสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเฉลี่ยวันละ 15 คน หรือปีละ 5,476 คน และมีผู้ป่วยใหม่ปีละกว่า 15,000 คน
มะเร็งชนิดนี้พบมากเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย และอันดับสองในเพศหญิง อัตราการเกิดโรคมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทุก ๆ วันมีมีผู้ป่วยรายใหม่วันละ 44 คน
ข้อมูลจากกรมการแพทย์ของไทยระบุข้อมูลสอดคล้องกับงานวิจัยข้างต้นว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงมีสาเหตุการเกิดโรคที่หลากหลาย แต่ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในปัจจุบันคือการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารกลุ่มเนื้อแดง ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อหมูที่ผ่านการแปรรูป หรือปรุงด้วยความร้อนสูงเป็นเวลานานเช่นการปิ้งย่างจนไหม้เกรียม และมีมันสูง รับประทานอาหารกากใยน้อย การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ นอกจากนี้มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงยังเกิดในคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจากการมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง คนที่เคยตรวจพบติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่แบบอะดีโนมา หรือทำการรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
ที่มา : https://thethaiger.com/th/news/1156959/
วันที่ 5 มิถุนายน 2567 สำนักข่าวต่างประเทศรายงาน นักวิจัยอาจใกล้ไขปริศนาโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่เพิ่มขึ้นในคนอายุน้อยได้แล้ว โดยนักวิทยาศาสตร์จากสหรัฐฯ ระบุว่า การบริโภคน้ำตาลมากเกินไปและใยอาหารไม่เพียงพอ ทำให้ลำไส้ผลิตแบคทีเรียที่ “เร่งความเสื่อม” ของเซลล์
จากงานวิจัยเบื้องต้นนี้นำเสนอในการประชุมโรคมะเร็งที่ใหญ่ที่สุดในโลกเมื่อเร็ว ๆ นี้ พบว่าภาวะดังกล่าวอาจทำให้เซลล์อ่อนแอต่อการกลายพันธุ์ที่นำไปสู่โรคมะเร็ง และลดความสามารถในการต่อสู้กับการเติบโตของเซลล์มะเร็ง
ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา จำนวนผู้ใหญ่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่เพิ่มสูงขึ้น โดยที่ผู้เชี่ยวชาญยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัดว่าเกิดจากอะไร
ทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยแห่งรัฐโอไฮโอ ได้ศึกษาตัวอย่างพันธุกรรมของผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ทั้งกลุ่มอายุต่ำกว่า 50 ปี และกลุ่มผู้สูงอายุ ผลการศึกษาพบว่า ผู้ป่วยอายุน้อยที่รับประทานอาหารที่มีใยอาหารต่ำและน้ำตาลสูง จะผลิตแบคทีเรียชนิดหนึ่งชื่อ Fusobacterium ซึ่งเพิ่มการอักเสบในลำไส้
ในทางกลับกัน ใยอาหารจะช่วยชะลอการปล่อยน้ำตาลกลูโคสในเลือด และเป็นอาหารของแบคทีเรียทดีในลำไส้ ช่วยลดการอักเสบ
การอักเสบเรื้อรังทำให้เซลล์ “เสื่อม” เร็วขึ้น และนักวิจัยประเมินว่า ผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่อายุน้อยและมีพฤติกรรมการกินที่ไม่ดีเป็นประจำ จะมีเซลล์ที่เสื่อมสภาพเร็วกว่าอายุจริงถึง 15 ปี
นักวิจัยจากสมาคมเนื้องอกวิทยาคลินิกแห่งอเมริกา (ASCO) ประมาณการว่า ในขณะที่ประมาณ 5% ของกรณีโรคมะเร็งลำไส้เกิดจากพันธุกรรม ส่วนที่เหลือยัง “ไม่เป็นที่แน่ชัด”
“ข้อมูลเหล่านี้ชี้ให้เห็นว่า จุลชีพก่อโรคอาจทำให้เกิดการอักเสบ ซึ่งนำไปสู่การแก่เร็วในผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่อายุน้อย” นักวิจัยกล่าว
ทีมวิจัยตั้งข้อสังเกตว่า ผลการวิจัยสอดคล้องกับข้อมูลล่าสุดอื่น ๆ ที่ชี้ให้เห็นว่า อาหารแปรรูปที่มีใยอาหารต่ำ ทำให้สมดุลของจุลินทรีย์ในลำไส้เสียไป เรียกว่า ภาวะลำไส้ไม่สมดุล (intestinal dysbiosis)
จากข้อมูลของ USDA พบว่า 95% ของชาวอเมริกันไม่ได้รับใยอาหารเพียงพอ หน่วยงานแนะนำว่า ผู้ใหญ่ควรรับประทานใยอาหาร 25 ถึง 30 กรัมต่อวัน เทียบเท่ากับข้าวโอ๊ตประมาณ 2 ถึง 3 ชาม หรือถั่วลูกไก่ 1 ถ้วย อย่างไรก็ตาม ชาวอเมริกันส่วนใหญ่บริโภคใยอาหารเพียง 10 ถึง 15 กรัมต่อวันเท่านั้น
ในขณะเดียวกัน มีเพียง 9% ของคนในสหราชอาณาจักรที่บริโภคใยอาหาร 30 กรัมต่อวันตามที่แนะนำ จำนวนผู้ป่วยมะเร็งที่อายุต่ำกว่า 50 ปีในสหราชอาณาจักรเพิ่มขึ้น 24% ในช่วงสองทศวรรษ ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่ากลุ่มอายุอื่น ๆ และแพทย์ที่พยายามหาสาเหตุของการเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วนั้น สงสัยมานานแล้วว่าอาหารสมัยใหม่มีส่วนทำให้เกิดโรค
มะเร็งในคนอายุน้อยยังคงพบได้ไม่บ่อยนัก ประมาณ 90% ของมะเร็งทั้งหมดเกิดขึ้นในผู้ที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป
อย่างไรก็ตาม เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ศาสตราจารย์ชาร์ลส์ สแวนตัน ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งของสหราชอาณาจักร แสดงความกังวลเกี่ยวกับโรคมะเร็งที่เพิ่มขึ้นในคนอายุน้อย
เขากล่าวว่า “ในช่วงไม่กี่ทศวรรษที่ผ่านมา คนวัยหนุ่มสาวป่วยโรคมะเร็งเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดของอัตราการเกิดโรคมะเร็งในผู้ใหญ่วัยหนุ่มสาว หลักฐานบ่งชี้ว่า ผู้ใหญ่อายุต่ำกว่า 50 ปีอาจเป็นมะเร็งมากกว่าที่เคย แม้ว่ากรณีเหล่านี้จะเป็นเพียงส่วนเล็ก ๆ ของประชากรทั้งหมดและยังคงพบได้ค่อนข้างน้อย แนวโน้มนี้มีความสำคัญและต้องมีการตรวจสอบเพิ่มเติม
“การได้รับปัจจัยเสี่ยงที่ทราบและไม่ทราบ การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตและอาหารการกินเมื่อเวลาผ่านไป และโรคอ้วนที่เพิ่มขึ้น ล้วนอาจนำไปสู่การเพิ่มขึ้นของโรคมะเร็ง”
เขากล่าวเสริมว่า ปัจจุบัน ผู้ใหญ่ 2 ใน 3 คนในสหราชอาณาจักรมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน “พันธุกรรม การปรับปรุงในการวินิจฉัยและการคัดกรอง และจุลินทรีย์ในลำไส้ ก็อาจมีบทบาทเช่นกัน เราเห็นพวกเขาผ่านคลินิกของเรา และมันน่าเป็นห่วง และเราไม่มีคำตอบที่ดีว่าทำไมสิ่งนี้ถึงเกิดขึ้น”
สำหรับอัตราโรคมะเร็งลำไส้ในประเทศไทย สถาบันมะเร็งแห่งชาติ กรมการแพทย์ เปิดเผยว่า ประเทศไทยพบคนไข้เสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงเฉลี่ยวันละ 15 คน หรือปีละ 5,476 คน และมีผู้ป่วยใหม่ปีละกว่า 15,000 คน
มะเร็งชนิดนี้พบมากเป็นอันดับ 3 ในเพศชาย และอันดับสองในเพศหญิง อัตราการเกิดโรคมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทุก ๆ วันมีมีผู้ป่วยรายใหม่วันละ 44 คน
ข้อมูลจากกรมการแพทย์ของไทยระบุข้อมูลสอดคล้องกับงานวิจัยข้างต้นว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงมีสาเหตุการเกิดโรคที่หลากหลาย แต่ปัจจัยหนึ่งที่สำคัญในปัจจุบันคือการรับประทานอาหาร โดยเฉพาะอาหารกลุ่มเนื้อแดง ได้แก่ เนื้อวัว เนื้อหมูที่ผ่านการแปรรูป หรือปรุงด้วยความร้อนสูงเป็นเวลานานเช่นการปิ้งย่างจนไหม้เกรียม และมีมันสูง รับประทานอาหารกากใยน้อย การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ นอกจากนี้มะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรงยังเกิดในคนที่เป็นกลุ่มเสี่ยงจากการมีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และไส้ตรง คนที่เคยตรวจพบติ่งเนื้อในลำไส้ใหญ่แบบอะดีโนมา หรือทำการรักษาโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง
ที่มา : https://thethaiger.com/th/news/1156959/