จิปาถะ

โลกกำลังจะเจอพายุอีก 25 ลูก ภายใน 5 เดือนข้างหน้า มากกว่าเดิมเกือบ 2 เท่า


06 มิถุนายน 2567
โลกอาจเจอ ‘เฮอริเคน’ 25 ลูกภายใน 5 เดือน มากกว่าเดิมเกือบ 2 เท่า ผู้เชี่ยวชาญเตือน ฤดูกาลพายุในปีนี้จะสร้างความเสียนับไม่ถ้วน โดยเป็นผลมาจากอุณหภูมิในมหาสมุทรเพิ่มขึ้น

โลกกำลังจะเจอพายุอีก 25 ลูก copy.jpg

หน่วยงานบริหารชั้นบรรยากาศและมหาสมุทรศาสตร์แห่งชาติ สหรัฐฯ (NOAA) กล่าวว่าในช่วงเดือนมิถุนายนถึงปลายเดือนพฤศจิกายนนี้ ซึ่งเป็นช่วงฤดูพายุเฮอริเคนปกติของมหาสมุทรแอตแลนติด คาดว่าจะมีพายุประมาณ 17-25 ลูกเกิดขึ้นในช่วงเวลาดังกล่าว

นับเป็นจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยมีการศึกษามา ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วฤดูกาลพายุในมหาสมุทรแอตแลนติกจะมีเฮอร์ริเคนอยู่ที่ 14 ลูกเท่านั้น นักวิทยาศาสตร์คาดว่าจะมีอย่างน้อย 8-13 ลูกจะมีความเร็วลมอย่างน้อย 119 กิโลเมตรต่อชั่วโมง และ 4-7 ลูกจะมีความเร็วลมอย่างน้อย 179 กิโลเมตรต่อชั่วโมง

“ฤดูกาลนี้ดูเหมือนจะเป็นฤดุกาลที่ไม่ธรรมดา” Rick Spinrad ผู้บริหาร NOAA กล่าว

รายงานระบุเพิ่มเติมว่า พายุจำนวนมากขนาดและมีพลังงานสูงเหล่านี้มีสาเหตุมาจากอุณหภูมิผิวน้ำของมหาสมุทรแอตแลนติกสูงขึ้น ขณะเดียวกันลานีญาก็ทำให้มหาสมุทรแปซิฟิกเย็นตัวลง ความแตกต่างดังกล่าวทำให้ลมมีความเร็วสูงขึ้นจนกลายเป็นพายุรุนแรง

กล่าวโดยสรุปมหาสมุทรแอตแลนติกร้อนเกินไป ซึ่งเป็นปัจจัยใหญ่ที่สุด เจอกับมหาสมุทรแปซิฟิกที่กำลังเย็นลงด้วยลานีญา พวกมันเลยสร้างพายุได้เป็นจำนวนมากและยิ่งทำให้พายุรุนแรงขึ้นอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน

“ทุกอย่างต้องมารวมกันเพื่อจนเกิดการคาดการณ์เช่นนี้” Ken Graham กรมอุตุนิยมวิทยาแห่งชาติสหรัฐฯ กล่าว

การคาดการณ์เหล่านี้สอดคล้องกับหลายหน่วยงานทั่วโลก ทางกรมอุตุนิยมวิทยาแห่งสหราชอาณาจักรได้เผยว่าอาจมีพายุได้มากถึง 28 ลูก ทางมหาวิทยาลัยเพนซิลวาเนียเองก็คาดว่าจะมีมากกว่านั้นอีก โดยอยู่ที่ 27-39 ลูก แต่ไม่ว่าจะเป็นยังไง ปีนี้โลกจะได้เจอกับพายุจำนวนมาเป็นประวัติการณ์

“มันเป็น ‘คำสาปแช่ง 2 เท่า’ ของปัจจัยที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการพยากรณ์อากาศ และปัจจัยเหล่านั้นก็ได้รับการสนับสนุนจากการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศที่มาจากมนุษย์” Michael Mann

การเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศกำลังทำให้มหาสมุทรทั่วโลกร้อนขึ้น มหาสมุทรเหล่านั้นได้ดูดซับความร้อนส่วนเกินที่มาจากก๊าซเรือนกระจกและการเผาไหม้เชื้อเพลิงฟอสซิล อุหภูมิที่ร้อนนั้นได้กลายเป็นเชื้อเพลิงแก่ลม และน้ำที่อุ่นกว่าก็สร้างความชื้นมากกว่า นำไปสู่พายุลูกใหญ่และฝนที่ตกมากขึ้น

ขณะที่ทิศทางของพายุว่าจะพัดไปที่แห่งใดยังคงเป็นเรื่องยากที่จะคาดการณ์ได้ เนื่องจากขึ้นอยู่กับสภาพอากาศระยะสั้น ในทางเดียวกัน มลพิษทางอากาศ การปะทุของภูเขาไฟ(เมื่อเร็ว ๆ นี้) ฝุ่นที่มาจากทะเลทราย และอื่น ๆ ก็อาจมีผลต่อพายุได้ทั้งหมด นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่าสิ่งที่ดีสุดคือต้องมีแผนรับมืออย่างเร่งด่วน และแผนระยะยาวในการสร้างโลกที่ปลอดภัย

“สภาพอากาศเลวร้ายและเหตุฉุกเฉินสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเวลา ซึ่งเป็นเหตุผลว่าทำไมบุคคลและชุมชนจึงต้องเตรียมพร้อมตั้งแต่วันนี้” Erik A. Hooks รองผู้อำนวยการหน่วยงานจัดการเหตุฉุกเฉินของรัฐบาลกลาง (FEMA) กล่าว

“การใช้แนวทางเชิงรุกเพื่อรับมือกับสภาพอากาศที่ท้าทายมากขึ้นของเราในปัจจุบัน สามารถสร้างความแตกต่างในการฟื้นตัวของผู้คนในวันพรุ่งนี้ได้”

ขอขอบคุณ เพจ Environman