โลกธุรกิจ
เงินเฟ้อไทยเดือนพ.ค.พุ่งอีก 1.54% ส่งสัญญาบอกแบงก์ชาติให้คงดอกเบี้ยอีกยาว
09 มิถุนายน 2567
จากกรณีที่กระทรวงพาณิชย์ รายงานตัวเลขเงินเฟ้อของไทยเดือนพ.ค.2567 อยู่ที่ 1.54% ซึ่งมากกว่าที่ตลาดคาดการณ์ไว้ที่ 1.20% และเร่งตัวขึ้นจากเดือนเม.ย.2567 ที่ 0.19% จากฐานราคาที่ต่ำของค่ากระแสไฟฟ้าในปีที่ผ่านมา
รวมทั้งการสูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน ได้แก่ น้ำมันเบนซิน และแก๊ซโซฮอล์ ประกอบกับการสูงขึ้นของราคากลุ่มอาหารสด ผัดสด และไข่ไก่
อย่างไรก็ตามตัวเลขเงินเฟ้อของไทยในเดือนพ.ค.ล่าสุดที่ออกมานั้น เสมือนเป็นสัญญาณที่ทำให้แบ่งชาติอาจจะยังต้องคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเท่าเดิม
ซึ่งกำลังสวนทางกับฝั่งรัฐบาลที่จะพยายามจะให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง หลังจากที่รัฐบาลได้พยายามงัดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการคลังมาอย่างสุดฤทธิ์แต่เศรษฐกิจไทยก็ยังไม่กระเตื้องขึ้น
โดยบริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุว่า เงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นในเดือนพ.ค.67 โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจากทางฝั่งอุปทาน (Cost Push) ส่งผลให้ทางฝ่ายมองเป็น Sentiment ทางลบต่อ SET Index
ตามกำลังซื้อของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มถูกฉุดรั้งจากค่าครองชีพที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น กอปรกับเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นจะเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อมุมมองในการคงอัตราดอกเบี้ยของกนง. ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนของภาคธุรกิจและผู้โภคคงอยู่ในระดับสูง
[กนง. วันที่ 12 มิ.ย. 2567 นี้ คาดกนง. ยังมีมติไม่เป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ย]
สอดคล้องไปกับมุมมองของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่ระบุว่า การประชุมกนง. วันที่ 12 มิ.ย. 2567 นี้ คาดกนง. ยังมีมติไม่เป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50% ต่อเนื่อง และมีแนวโน้มส่งสัญญาณไม่แตกต่างจากผลการประชุมรอบที่แล้ว
โดย กนง. ส่งสัญญาณในการประชุมรอบที่แล้วว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงิน และเพื่อรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงิน (Policy Space) ในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า
เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าเป็นผลจากปัญหาเชิงโครงสร้าง อาทิ การสูญเสียความสามารถทางการแข่งขัน การเข้าสู่สังคมสูงอายุและหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งนโยบายการเงินมีประสิทธิผลจำกัดในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีศักยภาพขยายตัวต่ำลง
กนง. มีแนวโน้มให้น้ำหนักต่อเสถียรภาพระบบการเงิน รวมถึงความผันผวนสูงของค่าเงินบาท จากตลาดที่มองว่าเฟดมีแนวโน้มคงดอกเบี้ยในระดับสูงยาวนานกว่าที่คาด
ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่ากนง. มีแนวโน้มที่จะตรึงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50% ไปตลอดทั้งปีนี้ แม้ว่าผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ ล่าสุดส่วนใหญ่มองมีโอกาสที่กนง. อาจปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย 1 ครั้งในปีนี้
อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่ากนง. คงจะรอให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายก่อน จากทิศทางเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้จากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว การเบิกจ่ายของภาครัฐที่เร่งตัวขึ้น
ประกอบกับการส่งออกที่มีแนวโน้มกลับมาขยายตัวตามการค้าโลกและฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า แม้การส่งออกจะยังมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า อีกทั้งยังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นจากทางภาครัฐ
ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปของไทยมีแนวโน้มกลับสู่เป้าหมายของกนง. ที่ 1-3% ภายในสิ้นปีนี้ ท่ามกลางแรงกดดันจากราคาพลังงานในตลาดโลกและราคาสินค้าเกษตรในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวน แม้แรงกดดันเงินเฟ้อจากอุปสงค์จะยังอยู่ในระดับต่ำ
นอกจากนี้ แรงกดดันค่าเงินบาทอ่อนค่าจากแนวโน้มการคงดอกเบี้ยสูงยาวนานกว่าคาดของเฟดเป็นอีกปัจจัยสนับสนุนให้กนง. มีแนวโน้มคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50% ไปตลอดทั้งปีนี้
รวมทั้งการสูงขึ้นของราคาสินค้าในกลุ่มพลังงาน ได้แก่ น้ำมันเบนซิน และแก๊ซโซฮอล์ ประกอบกับการสูงขึ้นของราคากลุ่มอาหารสด ผัดสด และไข่ไก่
อย่างไรก็ตามตัวเลขเงินเฟ้อของไทยในเดือนพ.ค.ล่าสุดที่ออกมานั้น เสมือนเป็นสัญญาณที่ทำให้แบ่งชาติอาจจะยังต้องคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ระดับเท่าเดิม
ซึ่งกำลังสวนทางกับฝั่งรัฐบาลที่จะพยายามจะให้แบงก์ชาติลดดอกเบี้ยเพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจอีกทางหนึ่ง หลังจากที่รัฐบาลได้พยายามงัดนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจด้านการคลังมาอย่างสุดฤทธิ์แต่เศรษฐกิจไทยก็ยังไม่กระเตื้องขึ้น
โดยบริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุว่า เงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นในเดือนพ.ค.67 โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนหลักมาจากทางฝั่งอุปทาน (Cost Push) ส่งผลให้ทางฝ่ายมองเป็น Sentiment ทางลบต่อ SET Index
ตามกำลังซื้อของผู้บริโภคที่มีแนวโน้มถูกฉุดรั้งจากค่าครองชีพที่มีแนวโน้มปรับตัวสูงขึ้น กอปรกับเงินเฟ้อที่เร่งตัวขึ้นจะเป็นปัจจัยสนับสนุนต่อมุมมองในการคงอัตราดอกเบี้ยของกนง. ซึ่งจะส่งผลให้ต้นทุนของภาคธุรกิจและผู้โภคคงอยู่ในระดับสูง
[กนง. วันที่ 12 มิ.ย. 2567 นี้ คาดกนง. ยังมีมติไม่เป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ย]
สอดคล้องไปกับมุมมองของศูนย์วิจัยกสิกรไทย ที่ระบุว่า การประชุมกนง. วันที่ 12 มิ.ย. 2567 นี้ คาดกนง. ยังมีมติไม่เป็นเอกฉันท์คงอัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50% ต่อเนื่อง และมีแนวโน้มส่งสัญญาณไม่แตกต่างจากผลการประชุมรอบที่แล้ว
โดย กนง. ส่งสัญญาณในการประชุมรอบที่แล้วว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปัจจุบันอยู่ในระดับที่เหมาะสมกับการรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจและการเงิน และเพื่อรักษาขีดความสามารถของนโยบายการเงิน (Policy Space) ในการรองรับความไม่แน่นอนในระยะข้างหน้า
เศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มฟื้นตัวช้าเป็นผลจากปัญหาเชิงโครงสร้าง อาทิ การสูญเสียความสามารถทางการแข่งขัน การเข้าสู่สังคมสูงอายุและหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ซึ่งนโยบายการเงินมีประสิทธิผลจำกัดในการแก้ปัญหาเชิงโครงสร้างที่ส่งผลให้เศรษฐกิจไทยมีศักยภาพขยายตัวต่ำลง
กนง. มีแนวโน้มให้น้ำหนักต่อเสถียรภาพระบบการเงิน รวมถึงความผันผวนสูงของค่าเงินบาท จากตลาดที่มองว่าเฟดมีแนวโน้มคงดอกเบี้ยในระดับสูงยาวนานกว่าที่คาด
ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่ากนง. มีแนวโน้มที่จะตรึงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50% ไปตลอดทั้งปีนี้ แม้ว่าผลสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ ล่าสุดส่วนใหญ่มองมีโอกาสที่กนง. อาจปรับลดดอกเบี้ยนโยบาย 1 ครั้งในปีนี้
อย่างไรก็ดี ศูนย์วิจัยกสิกรไทยมองว่ากนง. คงจะรอให้ธนาคารกลางสหรัฐฯ (เฟด) ปรับลดดอกเบี้ยนโยบายก่อน จากทิศทางเศรษฐกิจไทยที่มีแนวโน้มขยายตัวเร่งขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังของปีนี้จากการฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องของภาคการท่องเที่ยว การเบิกจ่ายของภาครัฐที่เร่งตัวขึ้น
ประกอบกับการส่งออกที่มีแนวโน้มกลับมาขยายตัวตามการค้าโลกและฐานที่ต่ำในปีก่อนหน้า แม้การส่งออกจะยังมีแนวโน้มฟื้นตัวช้า อีกทั้งยังมีความไม่แน่นอนเกี่ยวกับมาตรการกระตุ้นจากทางภาครัฐ
ขณะที่เงินเฟ้อทั่วไปของไทยมีแนวโน้มกลับสู่เป้าหมายของกนง. ที่ 1-3% ภายในสิ้นปีนี้ ท่ามกลางแรงกดดันจากราคาพลังงานในตลาดโลกและราคาสินค้าเกษตรในประเทศที่ได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่แปรปรวน แม้แรงกดดันเงินเฟ้อจากอุปสงค์จะยังอยู่ในระดับต่ำ
นอกจากนี้ แรงกดดันค่าเงินบาทอ่อนค่าจากแนวโน้มการคงดอกเบี้ยสูงยาวนานกว่าคาดของเฟดเป็นอีกปัจจัยสนับสนุนให้กนง. มีแนวโน้มคงดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 2.50% ไปตลอดทั้งปีนี้