บมจ.เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น (TPS) เปิดผลการดำเนินงานปี 65 กำไรสุทธิ 75.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 95.73% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน อานิสงส์รับรู้รายได้ส่งมอบงานภาครัฐ-เอกชน ตามนัด บอร์ดไฟเขียวจ่ายปันผลปี 65 เป็นเงินสด 0.10 บาท/หุ้น ฟากผู้บริหาร “บุญสม กิจเกษตรสถาพร” ระบุเดินหน้าเข้าประมูลงานใหญ่ โดยเฉพาะภาครัฐต่อเนื่อง พร้อมรุกธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้เต็มเหนี่ยว โชว์ Backlog กว่า 1,369 ล้านบาท หวังดันผลงานปีนี้โต 50%
นายบุญสม กิจเกษตรสถาพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น จำกัด (มหาชน) (TPS) ดำเนินธุรกิจเป็นผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา ออกแบบ จัดหา ติดตั้ง และจำหน่ายผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดเผยว่า ภาพรวมผลการดำเนินงานในปี 2565 (สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565) บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 75.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 37.09 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 95.73% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสุทธิ 38.74 ล้านบาท และมีรายได้รวม 986.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 397.61 ล้านบาท หรือ 67.48% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีรายได้รวม 589.25 ล้านบาท
ปัจจัยที่สนับสนุนให้รายได้และกำไรปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากรับรู้รายได้จากธุรกิจจำหน่าย และวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งรายได้จากการให้บริการดูแลและบำรุงรักษาระบบภายหลังการขายและรายได้จากงานให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น
“ภาพรวมผลประกอบการปี 2565 บริษัทฯ ยังสามารถทำผลงานเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง จากการที่สามารถส่งมอบงานให้ภาครัฐและเอกชนได้ตามกำหนด พร้อมกับงานให้บริการดูแลและบำรุงรักษาระบบภายหลังการขายที่มีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้มีการรับรู้รายได้เพิ่มขึ้น”
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา มีการอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลงวดประจำปี 2565 ให้กับผู้ถือหุ้นเป็นเงินสด ในอัตรา 0.10 บาท/หุ้น เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 41,999,984.00 บาท และกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผล (Record Date)ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 และกำหนดจ่ายเงินปันผลวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 ทั้งนี้ สิทธิในการรับเงินปันผลดังกล่าวขึ้นอยู่กับการอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทในวันที่ 27 เมษายน 2566
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TPS กล่าวถึงแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2566 ว่าบริษัทฯ ยังคงเดินหน้าเข้าประมูลงานใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะงานของภาครัฐขนาดใหญ่ โดยมีการเข้าประมูลงานทั้งของ TPS และในส่วนของบริษัท เดอะวิน เทเลคอม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ขณะนี้อยู่ระหว่างการเข้าร่วมประมูลงานและรอประกาศผลอีกหลายโครงการ พร้อมมุ่งเน้นขยายธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้อย่างครบวงจร เป็นการต่อยอดจากธุรกิจเดิม โดยเป็นการเพิ่มในส่วนของการบริการติดตั้งระบบป้องกันการแฮ็กข้อมูลทางธุรกิจและตรวจสอบภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าให้ความสนใจอีกหลายราย
สำหรับธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ภายใต้บริษัท เอ็กซ์-ซีเคียว จำกัด (X-Secure Co.,Ltd) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ปัจจุบันมีลูกค้าให้ความสนใจหลายราย โดยเฉพาะลูกค้าจากภาคเอกชน และเริ่มทยอยรับรู้รายได้อย่างต่อเนื่องขณะเดียวกัน ยังมองหาโอกาสการลงทุนในโครงการใหม่ๆ รวมทั้ง การขยายธุรกิจ โดยเน้นการทำ M&A กับบริษัทที่มีผลงานการดำเนินงานที่ดี ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาธุรกิจ คาดว่า จะเห็นความชัดเจนภายในปีนี้
“ในปีนี้ TPS ยังมุ่งมั่นในการทำผลงานให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเข้าประมูลงานใหม่ โดยเฉพาะงานภาครัฐ ในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) โครงการด้านสาธารณูปโภค และงานวางระบบภายใน ที่บริษัทฯ มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว รวมถึงการต่อยอดจากธุรกิจเดิม อย่าง ธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ รองรับความต้องการของลูกค้าในระบบไอทีและความปลอดภัยอย่างครบวงจร และด้วยปัจจุบันมีงานในมือรอรับรู้รายได้ (Backlog) กว่า 1,369 ล้านบาท จะทยอยรับรู้รายได้ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป จึงมั่นใจว่า จะเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนผลงานของปี 2566 ให้เติบโตที่ 50% จากปีก่อน ได้อย่างแน่นอน” นายบุญสมกล่าวในที่สุด
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ได้มีการอนุมัติโครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (Employee Joint Investment Program-EJIP) ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่ สจ. 38/2561 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2561 เรื่องการจัดทำรายงานการเปลี่ยนแปลง การถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของ กรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชีผู้ทำแผน และผู้บริหารแผน โดย EJIP เป็นโครงการลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทสะสมเป็นรายงวด เพื่อเป็นรูปแบบหนึ่งของการให้ผลตอบแทนกับพนักงานของบริษัท และบริษัทย่อย โดยมีบริษัท เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ระยะเวลาการดำเนินโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 – 31 มีนาคม 2568 (รวมระยะเวลา 2 ปี) ผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ พนักงานประจำของ TPS ที่มีอายุงาน 1 ปี ขึ้นไป
นับตั้งแต่วันเริ่มงาน (โดยสมัครใจ) ผู้บริหารระดับผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไปของ TPS และบริษัทย่อย (โดยสมัครใจและพิจารณา อนุมัติโดยคณะกรรมการบริหาร) รูปแบบโครงการ 1. เงินลงทุนของลูกจ้าง บริษัทฯ จะหักเงินเดือนของพนักงานหรือผู้บริหารที่มีสิทธิและสมัครใจเข้าร่วมโครงการใน อัตราร้อยละ 5 จากฐานเงินเดือนเป็นประจำทุกเดือน จนครบกำหนดระยะเวลาจ่ายเงินสะสม 2. เงินสมทบของนายจ้าง บริษัทฯ จะจ่ายเงินสมทบในอัตราร้อยละ 150 ของเงินสมทบของพนักงานหรือผู้บริหาร ที่จ่ายเข้าโครงการ โดยดำเนินการผ่านบริษัท หลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (PST) และนำเงินดังกล่าวไปซื้อหุ้นสามัญฯของบริษัทฯ (TPS) ทุกวันที่ 7 ของทุกเดือน ภายในระยะเวลาที่กำหนด สำหรับเงื่อนไขการถือครองหลักทรัพย์ (Silent Period) ผู้เข้าร่วมโครงการมีสิทธิขายหุ้น TPS ที่ซื้อสะสมในโครงการได้ ดังนี้ ปีที่ 1 ถึง 2 ( 1 เมษายน 2566 ถึง 31 มีนาคม 2568) : ไม่สามารถขายหุ้นได้, อายุโครงการครบ 2 ปี (ณ วันที่ 1 เมษายน 2568) : สามารถขายหุ้นได้ทั้งหมดของจำนวนที่สะสม
นายบุญสม กิจเกษตรสถาพร ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น จำกัด (มหาชน) (TPS) ดำเนินธุรกิจเป็นผู้เชี่ยวชาญให้คำปรึกษา ออกแบบ จัดหา ติดตั้ง และจำหน่ายผลิตภัณฑ์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เปิดเผยว่า ภาพรวมผลการดำเนินงานในปี 2565 (สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2565) บริษัทฯ มีกำไรสุทธิ 75.83 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 37.09 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 95.73% เทียบช่วงเดียวกันของปีก่อน มีกำไรสุทธิ 38.74 ล้านบาท และมีรายได้รวม 986.86 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 397.61 ล้านบาท หรือ 67.48% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีรายได้รวม 589.25 ล้านบาท
ปัจจัยที่สนับสนุนให้รายได้และกำไรปรับตัวเพิ่มขึ้น เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน เนื่องจากรับรู้รายได้จากธุรกิจจำหน่าย และวางระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ รวมทั้งรายได้จากการให้บริการดูแลและบำรุงรักษาระบบภายหลังการขายและรายได้จากงานให้บริการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ เพิ่มมากขึ้น
“ภาพรวมผลประกอบการปี 2565 บริษัทฯ ยังสามารถทำผลงานเติบโตได้ดีอย่างต่อเนื่อง จากการที่สามารถส่งมอบงานให้ภาครัฐและเอกชนได้ตามกำหนด พร้อมกับงานให้บริการดูแลและบำรุงรักษาระบบภายหลังการขายที่มีรายได้เข้ามาอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้มีการรับรู้รายได้เพิ่มขึ้น”
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา มีการอนุมัติให้จ่ายเงินปันผลงวดประจำปี 2565 ให้กับผู้ถือหุ้นเป็นเงินสด ในอัตรา 0.10 บาท/หุ้น เป็นจำนวนเงินไม่เกิน 41,999,984.00 บาท และกำหนดรายชื่อผู้ถือหุ้นที่มีสิทธิได้รับเงินปันผล (Record Date)ในวันที่ 9 พฤษภาคม 2566 และกำหนดจ่ายเงินปันผลวันที่ 23 พฤษภาคม 2566 ทั้งนี้ สิทธิในการรับเงินปันผลดังกล่าวขึ้นอยู่กับการอนุมัติจากที่ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นของบริษัทในวันที่ 27 เมษายน 2566
ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร TPS กล่าวถึงแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2566 ว่าบริษัทฯ ยังคงเดินหน้าเข้าประมูลงานใหม่อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะงานของภาครัฐขนาดใหญ่ โดยมีการเข้าประมูลงานทั้งของ TPS และในส่วนของบริษัท เดอะวิน เทเลคอม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ขณะนี้อยู่ระหว่างการเข้าร่วมประมูลงานและรอประกาศผลอีกหลายโครงการ พร้อมมุ่งเน้นขยายธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้อย่างครบวงจร เป็นการต่อยอดจากธุรกิจเดิม โดยเป็นการเพิ่มในส่วนของการบริการติดตั้งระบบป้องกันการแฮ็กข้อมูลทางธุรกิจและตรวจสอบภัยคุกคามทางไซเบอร์ ซึ่งปัจจุบันมีลูกค้าให้ความสนใจอีกหลายราย
สำหรับธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ภายใต้บริษัท เอ็กซ์-ซีเคียว จำกัด (X-Secure Co.,Ltd) ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ปัจจุบันมีลูกค้าให้ความสนใจหลายราย โดยเฉพาะลูกค้าจากภาคเอกชน และเริ่มทยอยรับรู้รายได้อย่างต่อเนื่องขณะเดียวกัน ยังมองหาโอกาสการลงทุนในโครงการใหม่ๆ รวมทั้ง การขยายธุรกิจ โดยเน้นการทำ M&A กับบริษัทที่มีผลงานการดำเนินงานที่ดี ขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาธุรกิจ คาดว่า จะเห็นความชัดเจนภายในปีนี้
“ในปีนี้ TPS ยังมุ่งมั่นในการทำผลงานให้เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งการเข้าประมูลงานใหม่ โดยเฉพาะงานภาครัฐ ในโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) โครงการด้านสาธารณูปโภค และงานวางระบบภายใน ที่บริษัทฯ มีประสบการณ์และความเชี่ยวชาญอยู่แล้ว รวมถึงการต่อยอดจากธุรกิจเดิม อย่าง ธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ รองรับความต้องการของลูกค้าในระบบไอทีและความปลอดภัยอย่างครบวงจร และด้วยปัจจุบันมีงานในมือรอรับรู้รายได้ (Backlog) กว่า 1,369 ล้านบาท จะทยอยรับรู้รายได้ตั้งแต่ปีนี้เป็นต้นไป จึงมั่นใจว่า จะเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนผลงานของปี 2566 ให้เติบโตที่ 50% จากปีก่อน ได้อย่างแน่นอน” นายบุญสมกล่าวในที่สุด
นอกจากนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 1/2566 เมื่อวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2566 ได้มีการอนุมัติโครงการร่วมลงทุนระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง (Employee Joint Investment Program-EJIP) ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในประกาศสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ที่ สจ. 38/2561 เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม 2561 เรื่องการจัดทำรายงานการเปลี่ยนแปลง การถือหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้าของ กรรมการ ผู้บริหาร ผู้สอบบัญชีผู้ทำแผน และผู้บริหารแผน โดย EJIP เป็นโครงการลงทุนซื้อหุ้นของบริษัทสะสมเป็นรายงวด เพื่อเป็นรูปแบบหนึ่งของการให้ผลตอบแทนกับพนักงานของบริษัท และบริษัทย่อย โดยมีบริษัท เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย ระยะเวลาการดำเนินโครงการ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2566 – 31 มีนาคม 2568 (รวมระยะเวลา 2 ปี) ผู้มีสิทธิเข้าร่วมโครงการ พนักงานประจำของ TPS ที่มีอายุงาน 1 ปี ขึ้นไป
นับตั้งแต่วันเริ่มงาน (โดยสมัครใจ) ผู้บริหารระดับผู้อำนวยการฝ่ายขึ้นไปของ TPS และบริษัทย่อย (โดยสมัครใจและพิจารณา อนุมัติโดยคณะกรรมการบริหาร) รูปแบบโครงการ 1. เงินลงทุนของลูกจ้าง บริษัทฯ จะหักเงินเดือนของพนักงานหรือผู้บริหารที่มีสิทธิและสมัครใจเข้าร่วมโครงการใน อัตราร้อยละ 5 จากฐานเงินเดือนเป็นประจำทุกเดือน จนครบกำหนดระยะเวลาจ่ายเงินสะสม 2. เงินสมทบของนายจ้าง บริษัทฯ จะจ่ายเงินสมทบในอัตราร้อยละ 150 ของเงินสมทบของพนักงานหรือผู้บริหาร ที่จ่ายเข้าโครงการ โดยดำเนินการผ่านบริษัท หลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) (PST) และนำเงินดังกล่าวไปซื้อหุ้นสามัญฯของบริษัทฯ (TPS) ทุกวันที่ 7 ของทุกเดือน ภายในระยะเวลาที่กำหนด สำหรับเงื่อนไขการถือครองหลักทรัพย์ (Silent Period) ผู้เข้าร่วมโครงการมีสิทธิขายหุ้น TPS ที่ซื้อสะสมในโครงการได้ ดังนี้ ปีที่ 1 ถึง 2 ( 1 เมษายน 2566 ถึง 31 มีนาคม 2568) : ไม่สามารถขายหุ้นได้, อายุโครงการครบ 2 ปี (ณ วันที่ 1 เมษายน 2568) : สามารถขายหุ้นได้ทั้งหมดของจำนวนที่สะสม