กทม. ติดตามเฝ้าระวัง "โรคโควิด-ไข้หวัดใหญ่-ไข้เลือดออก" เพิ่มสูงขึ้นช่วงหน้าฝนระหว่างเดือนมิถุนายน - สิงหาคม แนะประชาชนกลุ่มเสี่ยงเข้ารับบริการฉีดวัคซีนป้องกัน
รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 3/2567 ณ ห้องนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า และผ่านระบบออนไลน์ โดยในที่ประชุมสำนักอนามัย รายงานสถานการณ์โรคติดต่อที่สำคัญ เช่น โควิด-19 โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก และโรคติดเชื้อฝีดาษวานร ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
สถานการณ์โรคโควิด-19 ในกรุงเทพมหานคร
มีลักษณะติดเชื้อตามฤดูกาล (Seasonality) ซึ่งคาดว่าจำนวนการป่วยรายสัปดาห์จะยังเพิ่มขึ้นและน่าจะสูงสุดในช่วงเดือน มิ.ย. - ก.ค. เป็นสายพันธุ์ JN.1 จึงขอเน้นย้ำให้ประชาชนดูแลสุขอนามัย สวมหน้ากากอนามัย พบแพทย์หากมีอาการรุนแรงและหลีกเลี่ยงการนำเชื้อไปสู่กลุ่มเปราะบาง
สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ กรุงเทพมหานคร
ในปี 2567 มีผู้ป่วย 21,406 ราย จากจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา พบว่า สูงกว่าปี 2566 รายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่มีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนฤดูกาล คาดว่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม แนะนำให้ประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยงเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาล
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก กรุงเทพมหานคร
ในปี 2567 สัปดาห์ที่ 21 (ตั้งแต่วันที่ 7 ม.ค. - 1 มิ.ย. 2567) มีผู้ป่วยสะสม จำนวน 1,973 ราย เสียชีวิต 3 ราย เมื่อเทียบกับประเทศไทย กทม.มีอัตราป่วยเป็นลำดับที่ 46 และมีอัตราป่วยเป็นลำดับที่ 6 เมื่อเทียบกับปริมณฑล
สำหรับมาตรการในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลาย สำนักอนามัยแนะนำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยสงสัยโรคไข้เลือดออกควรทายากันยุงป้องกันยุงกัดทุกรายเพื่อลดการแพร่โรค ตลอดจนผู้ที่อยู่ร่วมบ้านและผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่มีการระบาด เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อจากผู้ป่วยโรคติดต่อนำโดยยุงลายไปสู่ชุมชน
ทั้งนี้ รองผู้ว่าฯ ทวิดา ได้เน้นย้ำในการรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก แม้ว่าปี 67 จะสามารถควบคุมยอดผู้ป่วยได้มากกว่าปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคาดว่าปีนี้จะมีฝนตกหนัก
ฉะนั้น การรณรงค์เรื่องโรคไข้เลือดออกต้องมีกิจกรรมเพิ่มเติมและทำอย่างเข้มข้นในพื้นที่ที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่องลงพื้นที่ตามชุมชน นอกจากนี้ยังต้องรณรงค์เพิ่มเติมในกลุ่มอื่น ๆ เช่น กลุ่มวัยทำงานด้วย
ที่มา : https://www.thansettakij.com/health/health/598430
รศ.ทวิดา กมลเวชช รองผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อกรุงเทพมหานคร ครั้งที่ 3/2567 ณ ห้องนพรัตน์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า และผ่านระบบออนไลน์ โดยในที่ประชุมสำนักอนามัย รายงานสถานการณ์โรคติดต่อที่สำคัญ เช่น โควิด-19 โรคไข้หวัดใหญ่ โรคไข้เลือดออก และโรคติดเชื้อฝีดาษวานร ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
สถานการณ์โรคโควิด-19 ในกรุงเทพมหานคร
มีลักษณะติดเชื้อตามฤดูกาล (Seasonality) ซึ่งคาดว่าจำนวนการป่วยรายสัปดาห์จะยังเพิ่มขึ้นและน่าจะสูงสุดในช่วงเดือน มิ.ย. - ก.ค. เป็นสายพันธุ์ JN.1 จึงขอเน้นย้ำให้ประชาชนดูแลสุขอนามัย สวมหน้ากากอนามัย พบแพทย์หากมีอาการรุนแรงและหลีกเลี่ยงการนำเชื้อไปสู่กลุ่มเปราะบาง
สถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ กรุงเทพมหานคร
ในปี 2567 มีผู้ป่วย 21,406 ราย จากจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา พบว่า สูงกว่าปี 2566 รายงานผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่มีแนวโน้มสูงขึ้น เนื่องจากเป็นช่วงเปลี่ยนฤดูกาล คาดว่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้นมากในช่วงเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม แนะนำให้ประชาชน 7 กลุ่มเสี่ยงเข้ารับการฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่ประจำฤดูกาล
สถานการณ์โรคไข้เลือดออก กรุงเทพมหานคร
ในปี 2567 สัปดาห์ที่ 21 (ตั้งแต่วันที่ 7 ม.ค. - 1 มิ.ย. 2567) มีผู้ป่วยสะสม จำนวน 1,973 ราย เสียชีวิต 3 ราย เมื่อเทียบกับประเทศไทย กทม.มีอัตราป่วยเป็นลำดับที่ 46 และมีอัตราป่วยเป็นลำดับที่ 6 เมื่อเทียบกับปริมณฑล
สำหรับมาตรการในการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคติดต่อนำโดยยุงลาย สำนักอนามัยแนะนำให้ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยสงสัยโรคไข้เลือดออกควรทายากันยุงป้องกันยุงกัดทุกรายเพื่อลดการแพร่โรค ตลอดจนผู้ที่อยู่ร่วมบ้านและผู้ที่อาศัยอยู่ในชุมชนที่มีการระบาด เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อจากผู้ป่วยโรคติดต่อนำโดยยุงลายไปสู่ชุมชน
ทั้งนี้ รองผู้ว่าฯ ทวิดา ได้เน้นย้ำในการรณรงค์ป้องกันควบคุมโรคไข้เลือดออก แม้ว่าปี 67 จะสามารถควบคุมยอดผู้ป่วยได้มากกว่าปีที่ผ่านมาในช่วงเวลาเดียวกัน แต่ด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศคาดว่าปีนี้จะมีฝนตกหนัก
ฉะนั้น การรณรงค์เรื่องโรคไข้เลือดออกต้องมีกิจกรรมเพิ่มเติมและทำอย่างเข้มข้นในพื้นที่ที่มีการระบาดอย่างต่อเนื่องลงพื้นที่ตามชุมชน นอกจากนี้ยังต้องรณรงค์เพิ่มเติมในกลุ่มอื่น ๆ เช่น กลุ่มวัยทำงานด้วย
ที่มา : https://www.thansettakij.com/health/health/598430