Wealth Sharing
โบรกฯ แนะ “ขาย” KEX หั่นราคาเป้าหมายเหลือแค่ 2.50 บาท เสี่ยงอาจเพิ่มทุน ส่อแววขาดทุนอีก 3 ปี
12 มิถุนายน 2567
ราคาหุ้น บริษัท เคอรี่ เอ็กซ์เพรส (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) KEX ปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง หลังผลประกอบการยังไม่มีแนวโน้มสดใส โดยนักวิเคราะห์คาดอาจเห็นผลขาดทุนยาวไปอีก 3 ปี ฐานทุน จะพลิกเป็นติดลบในครึ่งหลังปี 2567 จึงคาดว่า KEX จำเป็นต้องเพิ่มทุน
โดยนักวิเคราะห์บริษัท หลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) คงคำแนะนำ “ขาย” และให้ราคาเป้าหมายลดลงเหลือ 2.5 บาท (จาก 9 บาท) โดย KEX มีผลขาดทุนต่อเนื่อง และปริมาณขนส่ง ในไตรมาส 1/67 ลดลงอีก 18% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จึงคาดว่าจะมีการขาดทุนอย่างมีนัยสำคัญมากขึ้นในปี 2567-69 โดยจุดคุ้มทุนขยับออกไปที่ปี 2571
ทั้งนี้ KEX รายงานผลขาดทุนจากการดำเนินงานอีก 1.05 พันล้านบาท ในไตรมาส 1/67 เทียบกับขาดทุน 790 ล้านบาทในไตรมาส 1/66 และขาดทุน 1.15 พันล้านบาท ในไตรมาส 4/66 จึงยังคงคำแนะนำ “ขาย” โดยให้ราคาเป้าหมายลดลงดังกล่าว ด้วยปริมาณขนส่งที่ยังอยู่ภายใต้แรงกดดันปัจจุบัน
จึงคาดว่าจะมีผลขาดทุนจำนวนมากต่อเนื่อง 3 ปี โดยปี 2567 คาดขาดทุน 3.9 พันล้านบาท ปี 2568 คาดขาดทุนที่ 2.8 ล้านบาท และปี 2569 คาดขาดทุน 2.4 พันล้านบาท (เทียบกับประมาณการครั้งก่อนที่คาดว่าจะขาดทุน 947 ล้านบาทในปี 2567 และพลิกเป็นกำไร 247 ล้านบาท และ 521 ล้านบาทในปี 2568-69)
ดังนั้นจึงคาดว่า KEX จะถึงจุดคุ้มทุนในปี 2571 (จากเดิมคาดไว้ในไตรมาส 4/67) และคาดว่าฐานทุนของ KEX จะพลิกมาติดลบในครึ่งหลังของปี 2567 และจำเป็นต้องเพิ่มทุน
สำหรับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ KEX เปลี่ยนจาก Kerry Logistics (KLN; 636 HK) เป็น S.F. Holdings ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ KLN และเป็นผู้ให้บริการขนส่งโลจิสติกส์ด่วนครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน พร้อมบริการธุรกิจอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน (CBEC) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเทียบกับ KLN, SF มีฐานทุนใหญ่กว่าราว 5 เท่า และมี EBITDA สูงกว่าถึง 6 เท่า
อย่างไรก็ตามยังคงมองลบจากภาวะการแข่งขันที่ดุเดือดในธุรกิจขนส่งสินค้าด่วนจากร้านค้าส่งถึงที่อยู่ปลายทางลูกค้าโดยตรง (last-mile express delivery) ในประเทศไทย ด้วยผู้ถือหุ้นที่แข็งแกร่งทางการเงิน KEX อาจสามารถทนต่อการขาดทุนได้นานขึ้น
แต่นั่นไม่ได้บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของธุรกิจในเร็วๆ นี้ในมุมมองของฝ่ายวิจัย คู่แข่งอย่าง Flash Express และ Shopee Express ยังคงได้แรงหนุนทางการเงินที่แข็งแกร่งจากผู้ถือหุ้นกระเป๋าหนักเพื่อต่อสู้กับศึกครั้งนี้ รวมถึงรัฐวิสาหกิจอย่างไปรษณีย์ไทย
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ขาดทุนตั้งแต่ไตรมาส 4/64 ฐานทุนของ KEX ก็หดตัวลงจาก 9.3 พันล้านบาทในไตรมาส 4/64 เป็น 1.4 พันล้านบาท ในไตรมาส 1/67 ส่วนเงินสดในมืออยู่ที่ 1.3 พันล้านบาท โดยมี EBITDA ติดลบ 552 ล้านบาท ในไตรมาส 1/67 และจากประมาณการขาดทุนของฝ่ายวิจัยในช่วง 3 ปีดังกล่าว ฐานทุนของบริษัทฯ จะพลิกเป็นติดลบในครึ่งหลังปี 2567 จึงคาดว่า KEX จำเป็นต้องเพิ่มทุน
โดยนักวิเคราะห์บริษัท หลักทรัพย์ ธนชาต จำกัด (มหาชน) คงคำแนะนำ “ขาย” และให้ราคาเป้าหมายลดลงเหลือ 2.5 บาท (จาก 9 บาท) โดย KEX มีผลขาดทุนต่อเนื่อง และปริมาณขนส่ง ในไตรมาส 1/67 ลดลงอีก 18% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน จึงคาดว่าจะมีการขาดทุนอย่างมีนัยสำคัญมากขึ้นในปี 2567-69 โดยจุดคุ้มทุนขยับออกไปที่ปี 2571
ทั้งนี้ KEX รายงานผลขาดทุนจากการดำเนินงานอีก 1.05 พันล้านบาท ในไตรมาส 1/67 เทียบกับขาดทุน 790 ล้านบาทในไตรมาส 1/66 และขาดทุน 1.15 พันล้านบาท ในไตรมาส 4/66 จึงยังคงคำแนะนำ “ขาย” โดยให้ราคาเป้าหมายลดลงดังกล่าว ด้วยปริมาณขนส่งที่ยังอยู่ภายใต้แรงกดดันปัจจุบัน
จึงคาดว่าจะมีผลขาดทุนจำนวนมากต่อเนื่อง 3 ปี โดยปี 2567 คาดขาดทุน 3.9 พันล้านบาท ปี 2568 คาดขาดทุนที่ 2.8 ล้านบาท และปี 2569 คาดขาดทุน 2.4 พันล้านบาท (เทียบกับประมาณการครั้งก่อนที่คาดว่าจะขาดทุน 947 ล้านบาทในปี 2567 และพลิกเป็นกำไร 247 ล้านบาท และ 521 ล้านบาทในปี 2568-69)
ดังนั้นจึงคาดว่า KEX จะถึงจุดคุ้มทุนในปี 2571 (จากเดิมคาดไว้ในไตรมาส 4/67) และคาดว่าฐานทุนของ KEX จะพลิกมาติดลบในครึ่งหลังของปี 2567 และจำเป็นต้องเพิ่มทุน
สำหรับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของ KEX เปลี่ยนจาก Kerry Logistics (KLN; 636 HK) เป็น S.F. Holdings ซึ่งเป็นบริษัทแม่ของ KLN และเป็นผู้ให้บริการขนส่งโลจิสติกส์ด่วนครบวงจรที่ใหญ่ที่สุดในประเทศจีน พร้อมบริการธุรกิจอีคอมเมิร์ซข้ามพรมแดน (CBEC) ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อเทียบกับ KLN, SF มีฐานทุนใหญ่กว่าราว 5 เท่า และมี EBITDA สูงกว่าถึง 6 เท่า
อย่างไรก็ตามยังคงมองลบจากภาวะการแข่งขันที่ดุเดือดในธุรกิจขนส่งสินค้าด่วนจากร้านค้าส่งถึงที่อยู่ปลายทางลูกค้าโดยตรง (last-mile express delivery) ในประเทศไทย ด้วยผู้ถือหุ้นที่แข็งแกร่งทางการเงิน KEX อาจสามารถทนต่อการขาดทุนได้นานขึ้น
แต่นั่นไม่ได้บ่งชี้ถึงการฟื้นตัวของธุรกิจในเร็วๆ นี้ในมุมมองของฝ่ายวิจัย คู่แข่งอย่าง Flash Express และ Shopee Express ยังคงได้แรงหนุนทางการเงินที่แข็งแกร่งจากผู้ถือหุ้นกระเป๋าหนักเพื่อต่อสู้กับศึกครั้งนี้ รวมถึงรัฐวิสาหกิจอย่างไปรษณีย์ไทย
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ขาดทุนตั้งแต่ไตรมาส 4/64 ฐานทุนของ KEX ก็หดตัวลงจาก 9.3 พันล้านบาทในไตรมาส 4/64 เป็น 1.4 พันล้านบาท ในไตรมาส 1/67 ส่วนเงินสดในมืออยู่ที่ 1.3 พันล้านบาท โดยมี EBITDA ติดลบ 552 ล้านบาท ในไตรมาส 1/67 และจากประมาณการขาดทุนของฝ่ายวิจัยในช่วง 3 ปีดังกล่าว ฐานทุนของบริษัทฯ จะพลิกเป็นติดลบในครึ่งหลังปี 2567 จึงคาดว่า KEX จำเป็นต้องเพิ่มทุน