Wealth Sharing
ซีอีโอใหม่ PTTGC เล็งดึง allnex ลงทุนในมาบตาพุด ยกระดับเป็น Hub เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
18 มิถุนายน 2567
“ณะรงค์ศักดิ์ จิวากานันต์” ซีอีโอคนใหม่ PTTGC ภายหลังได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการในเดือนพฤษภาคม 2567 ที่ผ่านมา ล่าสุดได้แสดงวิสัยทัศน์สร้างการเติบโตที่ยั่งยืน ด้วยการเดินหน้าสานต่อกลยุทธ์ 3 Steps Plus รักษาฐานให้แข็งแรง พร้อมปรับตัวให้มีความแข็งแกร่ง และสอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลง
นายณะรงค์ศักดิ์ จิวากานันต์ เปิดเผยว่า ก้าวต่อไปในการสร้างความเติบโตที่ยั่งยืนของบริษัท พร้อมสานต่อกลยุทธ์ 3 Steps Plus ประกอบด้วย Step Change - Step Out - Step Up เพื่อเสริมศักยภาพในการแข่งขัน และการเติบโตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
โดยนำความพร้อมด้านนวัตกรรม ศักยภาพการผลิตผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ และพลาสติกชีวภาพที่มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญ มาต่อยอดและตอบสนอง แนวโน้มความต้องการของอุตสาหกรรมใหม่ตามเทรนด์โลก
ทั้งนี้กลยุทธ์ Step Out หรือการสร้างการเติบโตในกลุ่มธุรกิจต่างประเทศ มีบทบาทอย่างมากต่อการเติบโตในอนาคต โดยกลุ่มธุรกิจที่มีมูลค่าสูง และคาร์บอนต่ำ (High Value & Low Carbon Business) จะมุ่งเน้นการขยายตลาด และสร้างสรรค์เคมีภัณฑ์ผ่าน allnex ที่มีโรงงานและฐานธุรกิจสารเคลือบผิว (Coating Resins) อยู่ 34 แห่งทั่วโลก
กลยุทธ์ Step Up หรือการสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ GC สานต่อแนวทางการบูรณาการหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ภายใต้กรอบของ ESG พร้อมเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Target) ภายในปี 2593
และกลยุทธ์ Step Change เน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดต้นทุนการผลิตและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม เชื่อมโยง Value Chain ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด รวมถึงสามารถรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เคมีมูลค่าสูงที่เกิดจากความร่วมมือกับพันธมิตรต่าง ๆ ในอนาคตได้เป็นอย่างดี นับเป็นการบริหารการลงทุนอย่างครบวงจรเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
สำหรับ allnex และ โรงงานผลิต PLA ครบวงจรแห่งใหม่ ที่นครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ ถือเป็นธุรกิจเรือธงของบริษัท โดย PTTGC มีแผนดึง allnex เข้ามาลงทุนในโรงงานมาบตาพุด ประเทศไทย เบื้องต้นคาดว่าจะเห็นความชัดเจนในอีกประมาณ 1 ปีข้างหน้า
โดยการพัฒนาฐานการผลิต (Hub) ของ allnex ในทวีปต่างๆ นั้น allnex ประสบความสำเร็จในการพัฒนา China Hub จึงได้นำมาต่อยอดขยายฐานผลิตในกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพการเติบโต ได้แก่ โรงงาน Mahad รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย และแห่งใหม่ในอนาคต โรงงานมาบตาพุด ประเทศไทย เพื่อเป็น Hub ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ในตลาดเคลือบผิวในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตสูง ได้แก่ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์ บรรจุภัณฑ์ โลหะอุตสาหกรรม เฟอร์นิเจอร์และการตกแต่งเคลือบผิวอาคารแบบพิเศษ (Special Decoration)
ด้าน การก่อสร้างโรงงานผลิต PLA ครบวงจรแห่งใหม่ ที่นครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ ที่บริษัทถือหุ้น ถือหุ้น 50% ร่วมกับ Cargill มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2568 โดยจะเป็น Bio Complex แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งใช้น้ำตาลจากอ้อยเป็นวัตถุดิบหลักเพื่อผลิต Lactic Acid ซึ่งนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต PLA มีกำลังการผลิต 75,000 ตันต่อปี
ทั้งนี้ช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้าน Bio และ Green ของประเทศ สร้างโอกาสแก่ภาคเกษตรกรรมและพัฒนาเศรษฐกิจไปอีกขั้น จะทำให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกเพื่อตอบสนองความต้องการวัสดุเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Material) สู่ตลาดโลก
นายณะรงค์ศักดิ์ กล่าวต่อว่า แนวโน้มผลการดำเนินงานปี 2567 ประเมินยอดขายจะทรงตัวจากปีก่อน เนื่องจากปริมาณการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำกว่าปีก่อน แต่ยังคาดยืนเหนือระดับ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล อีกทั้งประเมินว่าธุรกิจโรงกลั่น อะโรเมติกส์ และ allnex ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีอย่างต่อเนื่อง ส่วนธุรกิจโอเลฟินส์ คาดว่าจะปรับตัวลดลง จากปัจจัยภายนอกที่กดดัน
โดยปัจจัยภายนอกที่กระทบธุรกิจ อาทิ กำลังการผลิตที่ล้นตลาด จากผู้ผลิตในต่างประเทศที่ต้นทุนต่ำ รวมทั้งยุโรปยังฟื้นตัวช้าจากประเด็นภูมิรัฐศาสตร์และราคาพลังงานสูง การแข่งขันจากผู้เล่น ที่ได้เปรียบด้านวัตถุดิบ ความซับซ้อนด้านภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผลต่อ Supply Chain และการลงทุน และ ภาวะเศรษฐกิจกดถอยส่งผลต่อการเติบโตของ Demand
อย่างไรก็ตามบริษัทยังเดินหน้ากลยุทธ์ ตัวเบา ปรับตัวเร็ว เติบโตอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจาก Down Cycle รอบนี้ จะอยู่นาน จึงมุ่งมั่นช่วยกันดำเนินแผนงานต่างๆ ด้วยการรักษาความเชื่อมั่นกับสถาบันการเงินและนักลงทุน ใช้ประโยชน์จากสินเชื่อสำหรับธุรกิจ Green บริหารสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดผ่าน Asset-Light Strategy
รวมทั้ง ประหยัด และควบคุมต้นทุน (OPEX / CAPEX) และ Cash Is King เน้นสะสมเงินสดรวมถึงบริหารในกลุ่มให้มีประสิทธิภาพ และลดภาระหนี้ทางการเงิน โดยคาดไตรมาส 2/67 จะสามารถลดดอกเบี้ยได้สูงถึง 750 ล้านบาท และคาดทั้งปี 67 ทำได้ระดับ 1,000 ล้านบาท หลังจากมีมาตรการประหยัดทุนต้น และลดดอกเบี้ยจ่าย รวมทั้งมีการซื้อคืนหุ้นกู้อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้แนวทางการสร้างการเติบโตในช่วงครึ่งปีหลัง ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์มูลค่าสูง (High Value) และคาร์บอนต่ำ (Low Carbon) โดยการต่อยอดธุรกิจผ่าน allnex ตามแนวทางกลยุทธ์การปรับพอร์ตธุรกิจ ให้มีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นจากธุรกิจผลิตภัณฑ์ High Value ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง
รวมทั้งยกระดับสร้างโอกาสการลงทุนในมาบตาพุด รองรับการขยายตัวการลงทุนและเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว และคาดว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีรายได้ประชาชาติ (GDP) เติบโตที่ 4.6%
ดังนั้นจึงวางแผนสรรหา และพัฒนา Strategic Partnership ดึงดูดการลงทุนธุรกิจ High Value/ Specialty Chemicals สนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีแนวโน้มจะสร้างฐานการผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
“ด้วยจุดแข็งของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดในด้านความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานและทำเลที่ตั้งอันเป็นศูนย์กลางการส่งออกสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตลาดโลก วันนี้จึงได้เห็นแนวโน้มความสนใจการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ทันสมัยเกิดขึ้นมากมายในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ อัตราการใช้เคมีภัณฑ์ต่อประชากรยังมีโอกาสเติบโตอีกมากเมื่อเทียบกับทวีปอื่นๆ ซึ่ง PTTGC มีศักยภาพและความพร้อมตอบสนองความต้องการและสามารถร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์กับลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมได้หลากหลาย จึงเป็นโอกาสทางธุรกิจของบริษัท” นายณะรงค์ศักดิ์ กล่าว
นายณะรงค์ศักดิ์ จิวากานันต์ เปิดเผยว่า ก้าวต่อไปในการสร้างความเติบโตที่ยั่งยืนของบริษัท พร้อมสานต่อกลยุทธ์ 3 Steps Plus ประกอบด้วย Step Change - Step Out - Step Up เพื่อเสริมศักยภาพในการแข่งขัน และการเติบโตให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่เปลี่ยนไป
โดยนำความพร้อมด้านนวัตกรรม ศักยภาพการผลิตผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์ และพลาสติกชีวภาพที่มีประสบการณ์ มีความเชี่ยวชาญ มาต่อยอดและตอบสนอง แนวโน้มความต้องการของอุตสาหกรรมใหม่ตามเทรนด์โลก
ทั้งนี้กลยุทธ์ Step Out หรือการสร้างการเติบโตในกลุ่มธุรกิจต่างประเทศ มีบทบาทอย่างมากต่อการเติบโตในอนาคต โดยกลุ่มธุรกิจที่มีมูลค่าสูง และคาร์บอนต่ำ (High Value & Low Carbon Business) จะมุ่งเน้นการขยายตลาด และสร้างสรรค์เคมีภัณฑ์ผ่าน allnex ที่มีโรงงานและฐานธุรกิจสารเคลือบผิว (Coating Resins) อยู่ 34 แห่งทั่วโลก
กลยุทธ์ Step Up หรือการสร้างความยั่งยืนทางธุรกิจ GC สานต่อแนวทางการบูรณาการหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน ภายใต้กรอบของ ESG พร้อมเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Target) ภายในปี 2593
และกลยุทธ์ Step Change เน้นการปรับปรุงประสิทธิภาพการดำเนินงานของโรงงานในนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดต้นทุนการผลิตและลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม เชื่อมโยง Value Chain ให้เกิดประโยชน์และคุ้มค่าที่สุด รวมถึงสามารถรองรับการพัฒนาผลิตภัณฑ์เคมีมูลค่าสูงที่เกิดจากความร่วมมือกับพันธมิตรต่าง ๆ ในอนาคตได้เป็นอย่างดี นับเป็นการบริหารการลงทุนอย่างครบวงจรเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน
สำหรับ allnex และ โรงงานผลิต PLA ครบวงจรแห่งใหม่ ที่นครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ ถือเป็นธุรกิจเรือธงของบริษัท โดย PTTGC มีแผนดึง allnex เข้ามาลงทุนในโรงงานมาบตาพุด ประเทศไทย เบื้องต้นคาดว่าจะเห็นความชัดเจนในอีกประมาณ 1 ปีข้างหน้า
โดยการพัฒนาฐานการผลิต (Hub) ของ allnex ในทวีปต่างๆ นั้น allnex ประสบความสำเร็จในการพัฒนา China Hub จึงได้นำมาต่อยอดขยายฐานผลิตในกลุ่มประเทศที่มีศักยภาพการเติบโต ได้แก่ โรงงาน Mahad รัฐมหาราษฏระ ประเทศอินเดีย และแห่งใหม่ในอนาคต โรงงานมาบตาพุด ประเทศไทย เพื่อเป็น Hub ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมุ่งเน้นผลิตภัณฑ์ในตลาดเคลือบผิวในกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีแนวโน้มเติบโตสูง ได้แก่ ยานยนต์ อิเล็กทรอนิกส์และเซมิคอนดักเตอร์ บรรจุภัณฑ์ โลหะอุตสาหกรรม เฟอร์นิเจอร์และการตกแต่งเคลือบผิวอาคารแบบพิเศษ (Special Decoration)
ด้าน การก่อสร้างโรงงานผลิต PLA ครบวงจรแห่งใหม่ ที่นครสวรรค์ไบโอคอมเพล็กซ์ ที่บริษัทถือหุ้น ถือหุ้น 50% ร่วมกับ Cargill มีกำหนดแล้วเสร็จในปี 2568 โดยจะเป็น Bio Complex แห่งแรกของประเทศไทย ซึ่งใช้น้ำตาลจากอ้อยเป็นวัตถุดิบหลักเพื่อผลิต Lactic Acid ซึ่งนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิต PLA มีกำลังการผลิต 75,000 ตันต่อปี
ทั้งนี้ช่วยเสริมความแข็งแกร่งด้าน Bio และ Green ของประเทศ สร้างโอกาสแก่ภาคเกษตรกรรมและพัฒนาเศรษฐกิจไปอีกขั้น จะทำให้ประเทศไทยเป็นฐานการผลิตและส่งออกเพื่อตอบสนองความต้องการวัสดุเพื่อความยั่งยืน (Sustainable Material) สู่ตลาดโลก
นายณะรงค์ศักดิ์ กล่าวต่อว่า แนวโน้มผลการดำเนินงานปี 2567 ประเมินยอดขายจะทรงตัวจากปีก่อน เนื่องจากปริมาณการผลิตปรับตัวเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม ราคาน้ำมันอยู่ในระดับต่ำกว่าปีก่อน แต่ยังคาดยืนเหนือระดับ 80 ดอลลาร์ต่อบาร์เรล อีกทั้งประเมินว่าธุรกิจโรงกลั่น อะโรเมติกส์ และ allnex ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ดีอย่างต่อเนื่อง ส่วนธุรกิจโอเลฟินส์ คาดว่าจะปรับตัวลดลง จากปัจจัยภายนอกที่กดดัน
โดยปัจจัยภายนอกที่กระทบธุรกิจ อาทิ กำลังการผลิตที่ล้นตลาด จากผู้ผลิตในต่างประเทศที่ต้นทุนต่ำ รวมทั้งยุโรปยังฟื้นตัวช้าจากประเด็นภูมิรัฐศาสตร์และราคาพลังงานสูง การแข่งขันจากผู้เล่น ที่ได้เปรียบด้านวัตถุดิบ ความซับซ้อนด้านภูมิรัฐศาสตร์ ส่งผลต่อ Supply Chain และการลงทุน และ ภาวะเศรษฐกิจกดถอยส่งผลต่อการเติบโตของ Demand
อย่างไรก็ตามบริษัทยังเดินหน้ากลยุทธ์ ตัวเบา ปรับตัวเร็ว เติบโตอย่างแข็งแกร่ง เนื่องจาก Down Cycle รอบนี้ จะอยู่นาน จึงมุ่งมั่นช่วยกันดำเนินแผนงานต่างๆ ด้วยการรักษาความเชื่อมั่นกับสถาบันการเงินและนักลงทุน ใช้ประโยชน์จากสินเชื่อสำหรับธุรกิจ Green บริหารสินทรัพย์ให้เกิดประโยชน์สูงสุดผ่าน Asset-Light Strategy
รวมทั้ง ประหยัด และควบคุมต้นทุน (OPEX / CAPEX) และ Cash Is King เน้นสะสมเงินสดรวมถึงบริหารในกลุ่มให้มีประสิทธิภาพ และลดภาระหนี้ทางการเงิน โดยคาดไตรมาส 2/67 จะสามารถลดดอกเบี้ยได้สูงถึง 750 ล้านบาท และคาดทั้งปี 67 ทำได้ระดับ 1,000 ล้านบาท หลังจากมีมาตรการประหยัดทุนต้น และลดดอกเบี้ยจ่าย รวมทั้งมีการซื้อคืนหุ้นกู้อย่างต่อเนื่อง
นอกจากนี้แนวทางการสร้างการเติบโตในช่วงครึ่งปีหลัง ไม่ว่าจะเป็น ผลิตภัณฑ์เคมีภัณฑ์มูลค่าสูง (High Value) และคาร์บอนต่ำ (Low Carbon) โดยการต่อยอดธุรกิจผ่าน allnex ตามแนวทางกลยุทธ์การปรับพอร์ตธุรกิจ ให้มีสัดส่วนรายได้เพิ่มขึ้นจากธุรกิจผลิตภัณฑ์ High Value ซึ่งจำเป็นต้องอาศัยนวัตกรรมและเทคโนโลยีการผลิตขั้นสูง
รวมทั้งยกระดับสร้างโอกาสการลงทุนในมาบตาพุด รองรับการขยายตัวการลงทุนและเศรษฐกิจในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งนี้ด้วยสภาวะเศรษฐกิจที่กำลังฟื้นตัว และคาดว่าภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีรายได้ประชาชาติ (GDP) เติบโตที่ 4.6%
ดังนั้นจึงวางแผนสรรหา และพัฒนา Strategic Partnership ดึงดูดการลงทุนธุรกิจ High Value/ Specialty Chemicals สนับสนุนการลงทุนในอุตสาหกรรมต่าง ๆ ที่มีแนวโน้มจะสร้างฐานการผลิตในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
“ด้วยจุดแข็งของนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดในด้านความพร้อมของโครงสร้างพื้นฐานและทำเลที่ตั้งอันเป็นศูนย์กลางการส่งออกสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้และตลาดโลก วันนี้จึงได้เห็นแนวโน้มความสนใจการลงทุนในอุตสาหกรรมที่ทันสมัยเกิดขึ้นมากมายในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน นอกจากนี้ อัตราการใช้เคมีภัณฑ์ต่อประชากรยังมีโอกาสเติบโตอีกมากเมื่อเทียบกับทวีปอื่นๆ ซึ่ง PTTGC มีศักยภาพและความพร้อมตอบสนองความต้องการและสามารถร่วมพัฒนาผลิตภัณฑ์กับลูกค้าในกลุ่มอุตสาหกรรมได้หลากหลาย จึงเป็นโอกาสทางธุรกิจของบริษัท” นายณะรงค์ศักดิ์ กล่าว