จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : รัฐบาลผลักดันขับเคลื่อน Smart Grid เข้าทางธุรกิจ PCC หนุนผลงานเติบโตแข็งแกร่ง
19 มิถุนายน 2567
นโยบายการปรับปรุงประสิทธิภาพการบริหารจัดการและการใช้ไฟฟ้าในประเทศเป็นสิ่งที่สำคัญในการดึงดูดการลงทุนของต่างชาติ ซึ่งส่งผลดีต่อ บมจ.พรีไซซ คอร์ปอเรชั่น (PCC) ผู้นำในธุรกิจเทคโนโลยีแพลตฟอร์มครอบคลุมอุตสาหกรรมสมาร์ทกริดของประเทศไทย
โลกยุคปัจจุบันกระแสไฟฟ้ามีความสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวันมากขึ้นเป็นลำดับ จึงเกิดแนวคิดการบริหารจัดการไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ หรือ สมาร์ทกริด (Smart Grid) ซึ่งก็คือ ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ที่สามารถตอบสนองต่อการบริหารจัดการด้านไฟฟ้าอย่างชาญฉลาดมากขึ้น โดยใช้ทรัพยากรที่น้อยลง (Doing More with Less) ส่งผลให้ระบบไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น เชื่อถือได้ ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถรองรับการขยายตัวของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่มีความผันผวนและไม่แน่นอนได้
ระบบสมาร์ทกริดเกิดจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ทั้งระบบสื่อสารสารสนเทศ ระบบเซ็นเซอร์ ระบบเก็บข้อมูลและเทคโนโลยีการควบคุมแบบอัตโนมัติที่ช่วยให้เข้าใจสถานะต่าง ๆ ในระบบมากขึ้น และนำมาใช้ประกอบการบริหารจัดการด้านไฟฟ้าได้อย่างอัตโนมัติ
รัฐบาลเองก็ให้ความสำคัญในเรื่องไฟฟ้าอัจฉริยะ โดยนางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนแผนระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ของประเทศไทยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ
โดยกระทรวงพลังงาน ได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเห็นชอบกับข้อเสนอแนะของกรรมาธิการฯ ซึ่งข้อเสนอแนะของ 5 หน่วยงาน ได้แก่
- สำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้ดำเนินการต่าง ๆ ตามแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทย ระยะปานกลาง โดยได้มีแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการตอบสนองด้านโหลด (Demaznd Response: DR) และระบบการบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System: EMS) รวมทั้งจะมีการพิจารณานำระบบดิจิทัลมาช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อบริหารจัดการในกิจการไฟฟ้า
- สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำข้อกำหนดการเปิดใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม (Third Party Access Code TPA Code: TPA Code)
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ดำเนินการพยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) เสร็จแล้ว และมีการพัฒนาระบบการพยากรณ์ให้มีความแม่นยำเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งได้มีแนวคิดที่จะขยายการดำเนินการพยากรณ์ไปยังกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็ก (VSPP) ตั้งแต่ปี 2565
- การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) อยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนาการเชื่อมต่อข้อมูลจากโครงการ Smart Metro Grid กับ Application เพื่อใช้ในการบริการข้อมูลต่าง ๆ เช่น การให้บริการข้อมูลการใช้ไฟฟ้า 15 นาที ผ่าน Application Smart Life ทั้งปัจจุบันและย้อนหลัง เพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้าใช้ในการบริหารจัดการค่าไฟฟ้าให้ลดลง แจ้งเตือนไฟฟ้าขัดข้องพร้อมระยะเวลาแก้ไขผ่าน Application Smart Life
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้มีมีความเห็นสอดคล้องกับข้อเสนอของคณะกรรมาธิการการพลังงาน ในประเด็นของการนำข้อมูลสมาร์ทมิเตอร์มาใช้ในการบริหารจัดการค่าไฟฟ้า และเป็นทิศทางที่ กฟภ. อยู่ระหว่างดำเนินการเนื่องจากการดำเนินการของ กฟภ. จะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลัก แต่ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้ไฟฟ้าจะเป็นการที่ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถบริหารจัดการใช้ไฟฟ้าของตนเองได้ทั้งการลดการไฟฟ้าสูงสุด และลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้า ทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ
ซึ่งบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องSmart Grid ต้องยกให้ บมจ.พรีไซซ คอร์ปอเรชั่น (PCC) ผู้นำในธุรกิจเทคโนโลยีแพลตฟอร์มครอบคลุมอุตสาหกรรมสมาร์ทกริดของประเทศไทย สะท้อนจากผลการดำเนินงานไตรมาสแรกที่เติบโตกว่า 10%
“กิตติ สัมฤทธิ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ PCC ระบุผลประกอบการงวดไตรมาส 1/2567 มีรายได้รวมอยู่ที่ 1,202.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.25% จากปีก่อนที่มีรายได้ 1,052.60 ล้านบาท
โดยปีนี้บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้เติบโต 10% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้ 4.63 พันล้านบาท เนื่องจากมองเห็นศักยภาพในการเติบโตจากอุตสาหกรรมไฟฟ้าระบบ Smart Grid หรือระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ที่นำเทคโนโลยีหลากหลายประเภทเข้ามาทำงานร่วมกัน ทำให้ระบบไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยในปัจจุบันจำนวนรถไฟฟ้า (EV) ที่เพิ่มมากขึ้น จากนโยบายสนับสนุนจากทางภาครัฐ
ทั้งนี้ PCC บริษัทประกอบธุรกิจโดยการเข้าถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company)ที่ประกอบธุรกิจหลัก 3 ธุรกิจ ได้แก่ 1) ธุรกิจผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ในระบบจำหน่ายไฟฟ้า 2) ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงและสายส่งไฟฟ้าแรงสูง 3) ธุรกิจลงทุนผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน
โลกยุคปัจจุบันกระแสไฟฟ้ามีความสำคัญในการดำรงชีวิตประจำวันมากขึ้นเป็นลำดับ จึงเกิดแนวคิดการบริหารจัดการไฟฟ้าอย่างมีประสิทธิภาพ หรือ สมาร์ทกริด (Smart Grid) ซึ่งก็คือ ระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ที่สามารถตอบสนองต่อการบริหารจัดการด้านไฟฟ้าอย่างชาญฉลาดมากขึ้น โดยใช้ทรัพยากรที่น้อยลง (Doing More with Less) ส่งผลให้ระบบไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากขึ้น เชื่อถือได้ ปลอดภัย และเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม สามารถรองรับการขยายตัวของโรงไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่มีความผันผวนและไม่แน่นอนได้
ระบบสมาร์ทกริดเกิดจากการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ ทั้งระบบสื่อสารสารสนเทศ ระบบเซ็นเซอร์ ระบบเก็บข้อมูลและเทคโนโลยีการควบคุมแบบอัตโนมัติที่ช่วยให้เข้าใจสถานะต่าง ๆ ในระบบมากขึ้น และนำมาใช้ประกอบการบริหารจัดการด้านไฟฟ้าได้อย่างอัตโนมัติ
รัฐบาลเองก็ให้ความสำคัญในเรื่องไฟฟ้าอัจฉริยะ โดยนางรัดเกล้า อินทวงศ์ สุวรรณคีรี รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ระบุว่า คณะรัฐมนตรีมีมติรับทราบผลการพิจารณารายงานการพิจารณาศึกษา เรื่อง แนวทางการขับเคลื่อนแผนระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ (Smart Grid) ของประเทศไทยเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ของคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภา ตามที่กระทรวงพลังงาน (พน.) เสนอ
โดยกระทรวงพลังงาน ได้พิจารณาร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยเห็นชอบกับข้อเสนอแนะของกรรมาธิการฯ ซึ่งข้อเสนอแนะของ 5 หน่วยงาน ได้แก่
- สำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) ได้ดำเนินการต่าง ๆ ตามแผนการขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านสมาร์ทกริดของประเทศไทย ระยะปานกลาง โดยได้มีแนวทางในการพัฒนาเทคโนโลยีในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านการตอบสนองด้านโหลด (Demaznd Response: DR) และระบบการบริหารจัดการพลังงาน (Energy Management System: EMS) รวมทั้งจะมีการพิจารณานำระบบดิจิทัลมาช่วยพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน เพื่อบริหารจัดการในกิจการไฟฟ้า
- สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ขณะนี้อยู่ระหว่างดำเนินการจัดทำข้อกำหนดการเปิดใช้ระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม (Third Party Access Code TPA Code: TPA Code)
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ได้ดำเนินการพยากรณ์การผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนของผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) เสร็จแล้ว และมีการพัฒนาระบบการพยากรณ์ให้มีความแม่นยำเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งได้มีแนวคิดที่จะขยายการดำเนินการพยากรณ์ไปยังกลุ่มผู้ผลิตไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนขนาดเล็ก (VSPP) ตั้งแต่ปี 2565
- การไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) อยู่ระหว่างดำเนินการพัฒนาการเชื่อมต่อข้อมูลจากโครงการ Smart Metro Grid กับ Application เพื่อใช้ในการบริการข้อมูลต่าง ๆ เช่น การให้บริการข้อมูลการใช้ไฟฟ้า 15 นาที ผ่าน Application Smart Life ทั้งปัจจุบันและย้อนหลัง เพื่อให้ผู้ใช้ไฟฟ้าใช้ในการบริหารจัดการค่าไฟฟ้าให้ลดลง แจ้งเตือนไฟฟ้าขัดข้องพร้อมระยะเวลาแก้ไขผ่าน Application Smart Life
- การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้มีมีความเห็นสอดคล้องกับข้อเสนอของคณะกรรมาธิการการพลังงาน ในประเด็นของการนำข้อมูลสมาร์ทมิเตอร์มาใช้ในการบริหารจัดการค่าไฟฟ้า และเป็นทิศทางที่ กฟภ. อยู่ระหว่างดำเนินการเนื่องจากการดำเนินการของ กฟภ. จะเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นหลัก แต่ประโยชน์ที่เกิดขึ้นกับผู้ใช้ไฟฟ้าจะเป็นการที่ผู้ใช้ไฟฟ้าสามารถบริหารจัดการใช้ไฟฟ้าของตนเองได้ทั้งการลดการไฟฟ้าสูงสุด และลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้า ทำให้เกิดการใช้ประโยชน์จากโครงสร้างพื้นฐานต่าง ๆ
ซึ่งบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญในเรื่องSmart Grid ต้องยกให้ บมจ.พรีไซซ คอร์ปอเรชั่น (PCC) ผู้นำในธุรกิจเทคโนโลยีแพลตฟอร์มครอบคลุมอุตสาหกรรมสมาร์ทกริดของประเทศไทย สะท้อนจากผลการดำเนินงานไตรมาสแรกที่เติบโตกว่า 10%
“กิตติ สัมฤทธิ์” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ PCC ระบุผลประกอบการงวดไตรมาส 1/2567 มีรายได้รวมอยู่ที่ 1,202.61 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 14.25% จากปีก่อนที่มีรายได้ 1,052.60 ล้านบาท
โดยปีนี้บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้เติบโต 10% เมื่อเทียบกับระยะเดียวกันของปีก่อนที่มีรายได้ 4.63 พันล้านบาท เนื่องจากมองเห็นศักยภาพในการเติบโตจากอุตสาหกรรมไฟฟ้าระบบ Smart Grid หรือระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะ ที่นำเทคโนโลยีหลากหลายประเภทเข้ามาทำงานร่วมกัน ทำให้ระบบไฟฟ้ามีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยในปัจจุบันจำนวนรถไฟฟ้า (EV) ที่เพิ่มมากขึ้น จากนโยบายสนับสนุนจากทางภาครัฐ
ทั้งนี้ PCC บริษัทประกอบธุรกิจโดยการเข้าถือหุ้นในบริษัทอื่น (Holding Company)ที่ประกอบธุรกิจหลัก 3 ธุรกิจ ได้แก่ 1) ธุรกิจผลิตและจำหน่ายอุปกรณ์ในระบบจำหน่ายไฟฟ้า 2) ธุรกิจรับเหมาก่อสร้างสถานีไฟฟ้าแรงสูงและสายส่งไฟฟ้าแรงสูง 3) ธุรกิจลงทุนผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน