จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : รัฐ-เอกชนทุ่มงบลงทุน Cyber Security ดันรายได้ TPS ปี67 ทำสถิติสูงสุด
20 มิถุนายน 2567
ผู้ประกอบการในไทยยังมีความพร้อมรับมือความเสี่ยง Cyber Security ในระดับต่ำ เป็นโอกาส บมจ.เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น (TPS) ขยายธุรกิจด้าน Cyber Security และBlockchain สร้างการเติบโต ดันรายได้ปี 67 ทำสถิติสูงสุด
Krungthai COMPASS ระบุว่าปัจจุบัน องค์กรทั่วโลก รวมถึงองค์กรไทยมีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินธุรกิจไปสู่ระบบดิจิทัลมากขึ้น จึงมีโอกาสที่จะถูกโจมตีทางไซเบอร์และโจรกรรมข้อมูลต่างๆ ได้สูงขึ้น ผนวกกับสถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์มีความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้น จึงทำให้ความเสียหายจากภัยดังกล่าวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
โดย Cybersecurity Ventures ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยด้าน Cybersecurity ของสหรัฐฯ คาดว่ามูลค่าความเสียหายจากภัยคุกคามทางไซเบอร์จะเพิ่มขึ้นจาก 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2558 เป็น 10.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2568 ขณะที่ CISCO พบว่า ผู้ประกอบการในไทยที่มีความพร้อมในการรับมือกับความเสี่ยงด้าน Cybersecurity ยุคใหม่มีเพียง 9%เท่านั้น
ทำให้องค์กรต่างๆ ในไทยตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยทาง Cyber มากขึ้น และยังมีแนวโน้มที่จะลงทุนระบบ Cybersecurity เพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจของ CISCO ในปี 2567 ที่พบว่า 86% ของบริษัทในไทยมีแผนที่จะเพิ่มงบประมาณในการลงทุนระบบ Cybersecurity อย่างน้อย 10% ในอีก 1 ปีข้างหน้า ซึ่งจะเป็นผลดีต่อธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในอุตสาหกรรมระบบ Cybersecurity ในอนาคต
และคาดว่ามูลค่าการลงทุนด้าน Cybersecurity ของไทยจากปี 2565 คาดว่าจะเติบโตปีละ 13 % CAGR ไปอยู่ที่ 1.8 หมื่นล้านบาทในปี 2568 เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐ สถาบันเงิน ธุรกิจ Healthcare และอุตสาหกรรมการผลิต มีแนวโน้มจะติดตั้งระบบ Cybersecurity ประเภท Infrastructure Protection Network Security และ Identity and Access Management มากขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของการให้บริการผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลและการใช้เทคโนโลยี IoT ในกระบวนการผลิต
แนวโน้มการลงทุนดังกล่าวคาดว่าจะทำให้รายได้รวมของอุตสาหกรรมระบบ Cybersecurity ของไทยเพิ่มขึ้นจาก 4.4 พันล้านบาทในปี 2565 เป็น 6.3 พันล้านบาทในปี 2568 หรือมีอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละ 12.3% CAGR โดยธุรกิจที่มีโอกาสขยายตัวโดดเด่นที่สุด คือ ธุรกิจให้บริการติดตั้งระบบ Cybersecurity ซึ่งคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยของรายได้อยู่ที่ปีละ 14.5 %CAGR
ขณะเดียวกัน Krungthai COMPASS มองว่า ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจอยู่ยังสามารถขยายธุรกิจไปยังกลุ่มสินค้า Cybersecurity ประเภท Cloud Security และData Security เพราะความต้องการใช้ระบบดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามการใช้ระบบคลาวด์ในไทย ประกอบกับ สัดส่วนรายได้จากสินค้าในกลุ่มนี้ยังอยู่ในระดับที่ต่ำมาก
ทั้งนี้บริษัทที่มีความชำนาญในการทำธุรกิจ Cybersecurity ซึ่งรวมถึง บมจ.เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น (TPS) โดย “นายบุญสม กิจเกษตรสถาพร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ระบุ แนวโน้มการดำเนินธุรกิจในปีนี้ยังมีทิศทางที่ดี เนื่องจากมีงานที่รอรับรู้รายได้ (Backlog) จำนวน 2,065 ล้านบาท คาดว่า จะทยอยรับรู้รายได้อย่างต่อเนื่อง โดย TPS และ บริษัท เดอะวิน เทเลคอม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ยังเดินหน้าเข้าประมูลงานใหม่ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
โดยเฉพาะงานภาครัฐที่มีความชัดเจนมากขึ้น หลังจากผ่านร่างพ.ร.บ.งบประมาณปี 67 และภาคเอกชนเริ่มทยอยลงทุนในโครงการใหม่ๆ เพิ่มขึ้น โดยตั้งเป้าการเข้าประมูลงานใหม่ประมาณ 7,000 ล้านบาท และยังมีงานที่รอเซ็นสัญญาอีกหลายโครงการ ปัจจุบันมีสัดส่วนรายได้จากภาครัฐ 44.48% และภาคเอกชน 55.52%
ขณะเดียวกัน ธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ (Cyber Security) และบล็อกเชน (Blockchain) ที่ให้บริการครอบคลุมในกลุ่มลูกค้าเดิม พร้อมรุกขยายไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ เพื่อมุ่งสู่การเป็น เทค-คอมพานี (Tech company) อย่างครบวงจร จึงมั่นใจว่า จะเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนรายได้ในปีนี้เติบโต 35% จากปีก่อน สร้างสถิติสูงสุดใหม่
Krungthai COMPASS ระบุว่าปัจจุบัน องค์กรทั่วโลก รวมถึงองค์กรไทยมีแนวโน้มที่จะปรับเปลี่ยนแนวทางการดำเนินธุรกิจไปสู่ระบบดิจิทัลมากขึ้น จึงมีโอกาสที่จะถูกโจมตีทางไซเบอร์และโจรกรรมข้อมูลต่างๆ ได้สูงขึ้น ผนวกกับสถานการณ์ภัยคุกคามทางไซเบอร์มีความซับซ้อนและรุนแรงมากขึ้น จึงทำให้ความเสียหายจากภัยดังกล่าวเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
โดย Cybersecurity Ventures ซึ่งเป็นศูนย์วิจัยด้าน Cybersecurity ของสหรัฐฯ คาดว่ามูลค่าความเสียหายจากภัยคุกคามทางไซเบอร์จะเพิ่มขึ้นจาก 3 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2558 เป็น 10.5 ล้านล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2568 ขณะที่ CISCO พบว่า ผู้ประกอบการในไทยที่มีความพร้อมในการรับมือกับความเสี่ยงด้าน Cybersecurity ยุคใหม่มีเพียง 9%เท่านั้น
ทำให้องค์กรต่างๆ ในไทยตระหนักถึงความสำคัญของความปลอดภัยทาง Cyber มากขึ้น และยังมีแนวโน้มที่จะลงทุนระบบ Cybersecurity เพิ่มขึ้นในระยะข้างหน้า ซึ่งสอดคล้องกับผลสำรวจของ CISCO ในปี 2567 ที่พบว่า 86% ของบริษัทในไทยมีแผนที่จะเพิ่มงบประมาณในการลงทุนระบบ Cybersecurity อย่างน้อย 10% ในอีก 1 ปีข้างหน้า ซึ่งจะเป็นผลดีต่อธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องในอุตสาหกรรมระบบ Cybersecurity ในอนาคต
และคาดว่ามูลค่าการลงทุนด้าน Cybersecurity ของไทยจากปี 2565 คาดว่าจะเติบโตปีละ 13 % CAGR ไปอยู่ที่ 1.8 หมื่นล้านบาทในปี 2568 เนื่องจากหน่วยงานภาครัฐ สถาบันเงิน ธุรกิจ Healthcare และอุตสาหกรรมการผลิต มีแนวโน้มจะติดตั้งระบบ Cybersecurity ประเภท Infrastructure Protection Network Security และ Identity and Access Management มากขึ้น เพื่อรองรับการเติบโตของการให้บริการผ่านแพลตฟอร์มดิจิทัลและการใช้เทคโนโลยี IoT ในกระบวนการผลิต
แนวโน้มการลงทุนดังกล่าวคาดว่าจะทำให้รายได้รวมของอุตสาหกรรมระบบ Cybersecurity ของไทยเพิ่มขึ้นจาก 4.4 พันล้านบาทในปี 2565 เป็น 6.3 พันล้านบาทในปี 2568 หรือมีอัตราเติบโตเฉลี่ยปีละ 12.3% CAGR โดยธุรกิจที่มีโอกาสขยายตัวโดดเด่นที่สุด คือ ธุรกิจให้บริการติดตั้งระบบ Cybersecurity ซึ่งคาดว่าจะมีอัตราการเติบโตโดยเฉลี่ยของรายได้อยู่ที่ปีละ 14.5 %CAGR
ขณะเดียวกัน Krungthai COMPASS มองว่า ผู้ประกอบการที่ดำเนินธุรกิจอยู่ยังสามารถขยายธุรกิจไปยังกลุ่มสินค้า Cybersecurity ประเภท Cloud Security และData Security เพราะความต้องการใช้ระบบดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วตามการใช้ระบบคลาวด์ในไทย ประกอบกับ สัดส่วนรายได้จากสินค้าในกลุ่มนี้ยังอยู่ในระดับที่ต่ำมาก
ทั้งนี้บริษัทที่มีความชำนาญในการทำธุรกิจ Cybersecurity ซึ่งรวมถึง บมจ.เดอะแพรคทิเคิลโซลูชั่น (TPS) โดย “นายบุญสม กิจเกษตรสถาพร” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ระบุ แนวโน้มการดำเนินธุรกิจในปีนี้ยังมีทิศทางที่ดี เนื่องจากมีงานที่รอรับรู้รายได้ (Backlog) จำนวน 2,065 ล้านบาท คาดว่า จะทยอยรับรู้รายได้อย่างต่อเนื่อง โดย TPS และ บริษัท เดอะวิน เทเลคอม จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทย่อย ยังเดินหน้าเข้าประมูลงานใหม่ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน
โดยเฉพาะงานภาครัฐที่มีความชัดเจนมากขึ้น หลังจากผ่านร่างพ.ร.บ.งบประมาณปี 67 และภาคเอกชนเริ่มทยอยลงทุนในโครงการใหม่ๆ เพิ่มขึ้น โดยตั้งเป้าการเข้าประมูลงานใหม่ประมาณ 7,000 ล้านบาท และยังมีงานที่รอเซ็นสัญญาอีกหลายโครงการ ปัจจุบันมีสัดส่วนรายได้จากภาครัฐ 44.48% และภาคเอกชน 55.52%
ขณะเดียวกัน ธุรกิจไซเบอร์ซีเคียวริตี้ (Cyber Security) และบล็อกเชน (Blockchain) ที่ให้บริการครอบคลุมในกลุ่มลูกค้าเดิม พร้อมรุกขยายไปยังกลุ่มลูกค้าใหม่ เพื่อมุ่งสู่การเป็น เทค-คอมพานี (Tech company) อย่างครบวงจร จึงมั่นใจว่า จะเป็นส่วนสำคัญในการสนับสนุนรายได้ในปีนี้เติบโต 35% จากปีก่อน สร้างสถิติสูงสุดใหม่