Talk of The Town
สรุปประเด็น! มาตรการขับเคลื่อนตลาดทุน อัดยาเเรงปรับสูตร ThaiESG ปัดฝุ่นกองวายุภักษ์หวังช่วยดึงเม็ดเงิน
25 มิถุนายน 2567
วานนี้ (วันที่ 24 มิ.ย.67) ตลาดทุนไทยได้มีความเคลื่อนไหวที่น่าจับตามองอีกครั้งกับการร่วมมือ 3 องค์กร ประกอบไปด้วย กระทรวงการคลัง, สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยการเตรียมออกมาตรการขับเคลื่อนตลาดทุน ดังนั้น วันนี้ทางสำนักข่าว Share2Trade จึงจะมาสรุปเหตุการณ์ดังกล่าวให้ผู้อ่านและนักลงทุนได้ชมกัน
ก.คลังซุ่มศึกษา เล็งปัดฝุ่นกองวายุภักษ์
นายพิชัย ชุนหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษารูปแบบการดึงเม็ดเงินเข้าสู่ตลาดทุนและจะเห็นความชัดเจนหรือกรอบระยะเวลาในการพิจารณาราว 1 เดือนครึ่ง
ซึ่งหนึ่งในแนวทางหรือความเป็นไปได้คือการจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์เหมือนในอดีต และจากการประกันผลตอบแทนแบบ waterfall ที่มีการประกันผลตอบแทนราว 3% สามารถดึงเม็ดเงินลงทุนอยู่ที่ 3.5 แสนล้านบาท โดยในครั้งนี้คาดหวังจะสามารถดึงเม็ดเงินได้เพิ่มอีก 1.5 แสนล้านบาท
แก้เกม TESG ปรับเงื่อนไขดึงเงินเข้าตลาดหุ้น 3 หมื่นลบ.
นางพรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า จากการหารือกับกระทรวงการคลังถึงกองทุนสิทธิประโยชน์ทางภาษีในปัจจุบัน จึงได้เรียมปรับเงื่อนไขกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (TESG)
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการออมไปสู่การลงทุนอย่างยั่งยืน โดยได้ขยายวงเงินลดหย่อนภาษีเงินได้จากไม่เกิน 1 แสนบาท เป็นสูงสุดไม่เกิน 3 แสนบาท ปรับลดระยะเวลาถือครองจาก 8 ปี เหลือ 5 ปีนับจากวันที่ซื้อ
นอกจากนี้ ยังเตรียมปรับเพิ่มเงื่อนไขหุ้นเข้าเกณฑ์กองทุน TESG โดยเป็นหุ้นที่โดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม (E) และธรรมาภิบาล (G) ซึ่งจะช่วยเพิ่มหุ้นเข้าเกณฑ์ได้ถึง 300 หุ้น จากเดิมที่มีอยู่ราว 128 หุ้นซึ่งจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า และคาดหวังว่าจะมีเม็ดเงินไหลเข้ามาไม่น้อยกว่า 30,000 ล้านบาทภายในปีนี้
ยกระดับความเชื่อมั่นตลาดทุน
นายภากร ปีตธวัชชัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. เปิดเผยว่ามาตรการขับเคลื่อนการลงทุนจะต้องควบคู่กับการแก้ไขปัญหาที่ท้าทายทั้งจากธุรกรรมขายชอร์ตและการซื้อขายของโปรแกรมเทรดที่อาจกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ก.ล.ต.ร่วมกับ ตลาดหลักทรัพย์ฯ และสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (ASCO) จึงได้ผลักดันมาตรการต่าง ๆ และเร่งรัดให้เกิดการดำเนินการที่คำนึงถึงผลกระทบในหลายด้านอย่างรอบคอบ และให้มีการดำเนินการอย่างชัดเจน โดยส่วนใหญ่จะดำเนินการได้ต้นเดือนกรกฎาคม 2567
พร้อมกับติดตามผลของการดำเนินการและมีการทบทวนมาตรการให้เหมาะสมกับสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และขอให้มั่นใจว่าพฤติกรรมการกระทำผิดในลักษณะที่เข้าข่ายการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ (Market Misconduct) เมื่อเกิดขึ้นจะมีการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด และระดับความรุนแรงของความผิดจะสูงขึ้นจากมาตรการที่ขับเคลื่อนครั้งนี้ รวมทั้งการกำหนดปรับปรุงค่าปรับจากการกระทำผิดที่สูงขึ้นและการปรับแก้กฎหมายให้เข้มข้นขึ้น เพื่อป้องปรามการกระทำที่ไม่เหมาะสม
นอกเหนือจากการขับเคลื่อนในมิติการลงทุนระยะยาว การกำกับที่เข้มข้นมากขึ้นยังมีการขับเคลื่อนให้มีการพัฒนาตลาดทุนให้เป็นกลไกสำคัญสอดคล้องกับสังคมดิจิทัลและเศรษฐกิจสีเขียวอีกด้วย
ตัวอย่างโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตลาดทุนในทุกขั้นตอนทั้งระบบ (end to end) ให้เป็นดิจิทัล การระดมทุนจากสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) ตลอดจนการส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดที่มีการกำกับดูแลเพื่อคุ้มครองนักลงทุนและสร้างความโปร่งใสที่เชื่อถือได้ให้เกิดขึ้น
นอกจากนี้ ด้วยการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากภาครัฐและ การวางโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเพื่ออนาคตของตลาดทุนไทยจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เอาชนะความท้าทายต่าง ๆ ที่มาเผชิญกับเศรษฐกิจไทย และสามารถสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับผู้เกี่ยวข้องและผู้ลงทุนได้ วานนี้ (วันที่ 24 มิ.ย.67) ตลาดทุนไทยได้มีความเคลื่อนไหวที่น่าจับตามองอีกครั้งกับการร่วมมือ 3 องค์กร ประกอบไปด้วย กระทรวงการคลัง, สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยการเตรียมออกมาตรการขับเคลื่อนตลาดทุน ดังนั้น วันนี้ทางสำนักข่าว Share2Trade จึงจะมาสรุปเหตุการณ์ดังกล่าวให้ผู้อ่านและนักลงทุนได้ชมกัน
ก.คลังซุ่มศึกษา เล็งปัดฝุ่นกองวายุภักษ์
นายพิชัย ชุนหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษารูปแบบการดึงเม็ดเงินเข้าสู่ตลาดทุนและจะเห็นความชัดเจนหรือกรอบระยะเวลาในการพิจารณาราว 1 เดือนครึ่ง
ซึ่งหนึ่งในแนวทางหรือความเป็นไปได้คือการจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์เหมือนในอดีต และจากการประกันผลตอบแทนแบบ waterfall ที่มีการประกันผลตอบแทนราว 3% สามารถดึงเม็ดเงินลงทุนอยู่ที่ 3.5 แสนล้านบาท โดยในครั้งนี้คาดหวังจะสามารถดึงเม็ดเงินได้เพิ่มอีก 1.5 แสนล้านบาท
แก้เกม TESG ปรับเงื่อนไขดึงเงินเข้าตลาดหุ้น 3 หมื่นลบ.
นางพรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า จากการหารือกับกระทรวงการคลังถึงกองทุนสิทธิประโยชน์ทางภาษีในปัจจุบัน จึงได้เรียมปรับเงื่อนไขกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (TESG)
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการออมไปสู่การลงทุนอย่างยั่งยืน โดยได้ขยายวงเงินลดหย่อนภาษีเงินได้จากไม่เกิน 1 แสนบาท เป็นสูงสุดไม่เกิน 3 แสนบาท ปรับลดระยะเวลาถือครองจาก 8 ปี เหลือ 5 ปีนับจากวันที่ซื้อ
นอกจากนี้ ยังเตรียมปรับเพิ่มเงื่อนไขหุ้นเข้าเกณฑ์กองทุน TESG โดยเป็นหุ้นที่โดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม (E) และธรรมาภิบาล (G) ซึ่งจะช่วยเพิ่มหุ้นเข้าเกณฑ์ได้ถึง 300 หุ้น จากเดิมที่มีอยู่ราว 128 หุ้นซึ่งจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า และคาดหวังว่าจะมีเม็ดเงินไหลเข้ามาไม่น้อยกว่า 30,000 ล้านบาทภายในปีนี้
ยกระดับความเชื่อมั่นตลาดทุน
นายภากร ปีตธวัชชัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. เปิดเผยว่ามาตรการขับเคลื่อนการลงทุนจะต้องควบคู่กับการแก้ไขปัญหาที่ท้าทายทั้งจากธุรกรรมขายชอร์ตและการซื้อขายของโปรแกรมเทรดที่อาจกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ก.ล.ต.ร่วมกับ ตลาดหลักทรัพย์ฯ และสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (ASCO) จึงได้ผลักดันมาตรการต่าง ๆ และเร่งรัดให้เกิดการดำเนินการที่คำนึงถึงผลกระทบในหลายด้านอย่างรอบคอบ และให้มีการดำเนินการอย่างชัดเจน โดยส่วนใหญ่จะดำเนินการได้ต้นเดือนกรกฎาคม 2567
พร้อมกับติดตามผลของการดำเนินการและมีการทบทวนมาตรการให้เหมาะสมกับสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และขอให้มั่นใจว่าพฤติกรรมการกระทำผิดในลักษณะที่เข้าข่ายการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ (Market Misconduct) เมื่อเกิดขึ้นจะมีการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด และระดับความรุนแรงของความผิดจะสูงขึ้นจากมาตรการที่ขับเคลื่อนครั้งนี้ รวมทั้งการกำหนดปรับปรุงค่าปรับจากการกระทำผิดที่สูงขึ้นและการปรับแก้กฎหมายให้เข้มข้นขึ้น เพื่อป้องปรามการกระทำที่ไม่เหมาะสม
นอกเหนือจากการขับเคลื่อนในมิติการลงทุนระยะยาว การกำกับที่เข้มข้นมากขึ้นยังมีการขับเคลื่อนให้มีการพัฒนาตลาดทุนให้เป็นกลไกสำคัญสอดคล้องกับสังคมดิจิทัลและเศรษฐกิจสีเขียวอีกด้วย
ตัวอย่างโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตลาดทุนในทุกขั้นตอนทั้งระบบ (end to end) ให้เป็นดิจิทัล การระดมทุนจากสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) ตลอดจนการส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดที่มีการกำกับดูแลเพื่อคุ้มครองนักลงทุนและสร้างความโปร่งใสที่เชื่อถือได้ให้เกิดขึ้น
นอกจากนี้ ด้วยการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากภาครัฐและ การวางโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเพื่ออนาคตของตลาดทุนไทยจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เอาชนะความท้าทายต่าง ๆ ที่มาเผชิญกับเศรษฐกิจไทย และสามารถสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับผู้เกี่ยวข้องและผู้ลงทุนได้
ก.คลังซุ่มศึกษา เล็งปัดฝุ่นกองวายุภักษ์
นายพิชัย ชุนหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษารูปแบบการดึงเม็ดเงินเข้าสู่ตลาดทุนและจะเห็นความชัดเจนหรือกรอบระยะเวลาในการพิจารณาราว 1 เดือนครึ่ง
ซึ่งหนึ่งในแนวทางหรือความเป็นไปได้คือการจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์เหมือนในอดีต และจากการประกันผลตอบแทนแบบ waterfall ที่มีการประกันผลตอบแทนราว 3% สามารถดึงเม็ดเงินลงทุนอยู่ที่ 3.5 แสนล้านบาท โดยในครั้งนี้คาดหวังจะสามารถดึงเม็ดเงินได้เพิ่มอีก 1.5 แสนล้านบาท
แก้เกม TESG ปรับเงื่อนไขดึงเงินเข้าตลาดหุ้น 3 หมื่นลบ.
นางพรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า จากการหารือกับกระทรวงการคลังถึงกองทุนสิทธิประโยชน์ทางภาษีในปัจจุบัน จึงได้เรียมปรับเงื่อนไขกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (TESG)
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการออมไปสู่การลงทุนอย่างยั่งยืน โดยได้ขยายวงเงินลดหย่อนภาษีเงินได้จากไม่เกิน 1 แสนบาท เป็นสูงสุดไม่เกิน 3 แสนบาท ปรับลดระยะเวลาถือครองจาก 8 ปี เหลือ 5 ปีนับจากวันที่ซื้อ
นอกจากนี้ ยังเตรียมปรับเพิ่มเงื่อนไขหุ้นเข้าเกณฑ์กองทุน TESG โดยเป็นหุ้นที่โดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม (E) และธรรมาภิบาล (G) ซึ่งจะช่วยเพิ่มหุ้นเข้าเกณฑ์ได้ถึง 300 หุ้น จากเดิมที่มีอยู่ราว 128 หุ้นซึ่งจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า และคาดหวังว่าจะมีเม็ดเงินไหลเข้ามาไม่น้อยกว่า 30,000 ล้านบาทภายในปีนี้
ยกระดับความเชื่อมั่นตลาดทุน
นายภากร ปีตธวัชชัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. เปิดเผยว่ามาตรการขับเคลื่อนการลงทุนจะต้องควบคู่กับการแก้ไขปัญหาที่ท้าทายทั้งจากธุรกรรมขายชอร์ตและการซื้อขายของโปรแกรมเทรดที่อาจกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ก.ล.ต.ร่วมกับ ตลาดหลักทรัพย์ฯ และสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (ASCO) จึงได้ผลักดันมาตรการต่าง ๆ และเร่งรัดให้เกิดการดำเนินการที่คำนึงถึงผลกระทบในหลายด้านอย่างรอบคอบ และให้มีการดำเนินการอย่างชัดเจน โดยส่วนใหญ่จะดำเนินการได้ต้นเดือนกรกฎาคม 2567
พร้อมกับติดตามผลของการดำเนินการและมีการทบทวนมาตรการให้เหมาะสมกับสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และขอให้มั่นใจว่าพฤติกรรมการกระทำผิดในลักษณะที่เข้าข่ายการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ (Market Misconduct) เมื่อเกิดขึ้นจะมีการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด และระดับความรุนแรงของความผิดจะสูงขึ้นจากมาตรการที่ขับเคลื่อนครั้งนี้ รวมทั้งการกำหนดปรับปรุงค่าปรับจากการกระทำผิดที่สูงขึ้นและการปรับแก้กฎหมายให้เข้มข้นขึ้น เพื่อป้องปรามการกระทำที่ไม่เหมาะสม
นอกเหนือจากการขับเคลื่อนในมิติการลงทุนระยะยาว การกำกับที่เข้มข้นมากขึ้นยังมีการขับเคลื่อนให้มีการพัฒนาตลาดทุนให้เป็นกลไกสำคัญสอดคล้องกับสังคมดิจิทัลและเศรษฐกิจสีเขียวอีกด้วย
ตัวอย่างโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตลาดทุนในทุกขั้นตอนทั้งระบบ (end to end) ให้เป็นดิจิทัล การระดมทุนจากสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) ตลอดจนการส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดที่มีการกำกับดูแลเพื่อคุ้มครองนักลงทุนและสร้างความโปร่งใสที่เชื่อถือได้ให้เกิดขึ้น
นอกจากนี้ ด้วยการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากภาครัฐและ การวางโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเพื่ออนาคตของตลาดทุนไทยจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เอาชนะความท้าทายต่าง ๆ ที่มาเผชิญกับเศรษฐกิจไทย และสามารถสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับผู้เกี่ยวข้องและผู้ลงทุนได้ วานนี้ (วันที่ 24 มิ.ย.67) ตลาดทุนไทยได้มีความเคลื่อนไหวที่น่าจับตามองอีกครั้งกับการร่วมมือ 3 องค์กร ประกอบไปด้วย กระทรวงการคลัง, สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยการเตรียมออกมาตรการขับเคลื่อนตลาดทุน ดังนั้น วันนี้ทางสำนักข่าว Share2Trade จึงจะมาสรุปเหตุการณ์ดังกล่าวให้ผู้อ่านและนักลงทุนได้ชมกัน
ก.คลังซุ่มศึกษา เล็งปัดฝุ่นกองวายุภักษ์
นายพิชัย ชุนหวชิร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยว่า ปัจจุบันอยู่ระหว่างศึกษารูปแบบการดึงเม็ดเงินเข้าสู่ตลาดทุนและจะเห็นความชัดเจนหรือกรอบระยะเวลาในการพิจารณาราว 1 เดือนครึ่ง
ซึ่งหนึ่งในแนวทางหรือความเป็นไปได้คือการจัดตั้งกองทุนรวมวายุภักษ์เหมือนในอดีต และจากการประกันผลตอบแทนแบบ waterfall ที่มีการประกันผลตอบแทนราว 3% สามารถดึงเม็ดเงินลงทุนอยู่ที่ 3.5 แสนล้านบาท โดยในครั้งนี้คาดหวังจะสามารถดึงเม็ดเงินได้เพิ่มอีก 1.5 แสนล้านบาท
แก้เกม TESG ปรับเงื่อนไขดึงเงินเข้าตลาดหุ้น 3 หมื่นลบ.
นางพรอนงค์ บุษราตระกูล เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ หรือ ก.ล.ต. เปิดเผยว่า จากการหารือกับกระทรวงการคลังถึงกองทุนสิทธิประโยชน์ทางภาษีในปัจจุบัน จึงได้เรียมปรับเงื่อนไขกองทุนรวมไทยเพื่อความยั่งยืน (TESG)
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวทางการออมไปสู่การลงทุนอย่างยั่งยืน โดยได้ขยายวงเงินลดหย่อนภาษีเงินได้จากไม่เกิน 1 แสนบาท เป็นสูงสุดไม่เกิน 3 แสนบาท ปรับลดระยะเวลาถือครองจาก 8 ปี เหลือ 5 ปีนับจากวันที่ซื้อ
นอกจากนี้ ยังเตรียมปรับเพิ่มเงื่อนไขหุ้นเข้าเกณฑ์กองทุน TESG โดยเป็นหุ้นที่โดดเด่นด้านสิ่งแวดล้อม (E) และธรรมาภิบาล (G) ซึ่งจะช่วยเพิ่มหุ้นเข้าเกณฑ์ได้ถึง 300 หุ้น จากเดิมที่มีอยู่ราว 128 หุ้นซึ่งจะเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ภายใน 2 สัปดาห์ข้างหน้า และคาดหวังว่าจะมีเม็ดเงินไหลเข้ามาไม่น้อยกว่า 30,000 ล้านบาทภายในปีนี้
ยกระดับความเชื่อมั่นตลาดทุน
นายภากร ปีตธวัชชัย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือ ตลท. เปิดเผยว่ามาตรการขับเคลื่อนการลงทุนจะต้องควบคู่กับการแก้ไขปัญหาที่ท้าทายทั้งจากธุรกรรมขายชอร์ตและการซื้อขายของโปรแกรมเทรดที่อาจกระทบต่อความเชื่อมั่นของนักลงทุน ก.ล.ต.ร่วมกับ ตลาดหลักทรัพย์ฯ และสมาคมบริษัทหลักทรัพย์ไทย (ASCO) จึงได้ผลักดันมาตรการต่าง ๆ และเร่งรัดให้เกิดการดำเนินการที่คำนึงถึงผลกระทบในหลายด้านอย่างรอบคอบ และให้มีการดำเนินการอย่างชัดเจน โดยส่วนใหญ่จะดำเนินการได้ต้นเดือนกรกฎาคม 2567
พร้อมกับติดตามผลของการดำเนินการและมีการทบทวนมาตรการให้เหมาะสมกับสถานการณ์อย่างใกล้ชิด และขอให้มั่นใจว่าพฤติกรรมการกระทำผิดในลักษณะที่เข้าข่ายการกระทำอันไม่เป็นธรรมเกี่ยวกับการซื้อขายหลักทรัพย์ (Market Misconduct) เมื่อเกิดขึ้นจะมีการดำเนินการบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด และระดับความรุนแรงของความผิดจะสูงขึ้นจากมาตรการที่ขับเคลื่อนครั้งนี้ รวมทั้งการกำหนดปรับปรุงค่าปรับจากการกระทำผิดที่สูงขึ้นและการปรับแก้กฎหมายให้เข้มข้นขึ้น เพื่อป้องปรามการกระทำที่ไม่เหมาะสม
นอกเหนือจากการขับเคลื่อนในมิติการลงทุนระยะยาว การกำกับที่เข้มข้นมากขึ้นยังมีการขับเคลื่อนให้มีการพัฒนาตลาดทุนให้เป็นกลไกสำคัญสอดคล้องกับสังคมดิจิทัลและเศรษฐกิจสีเขียวอีกด้วย
ตัวอย่างโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตลาดทุนในทุกขั้นตอนทั้งระบบ (end to end) ให้เป็นดิจิทัล การระดมทุนจากสินทรัพย์ดิจิทัล (Digital Asset) ตลอดจนการส่งเสริมการซื้อขายคาร์บอนเครดิตในตลาดที่มีการกำกับดูแลเพื่อคุ้มครองนักลงทุนและสร้างความโปร่งใสที่เชื่อถือได้ให้เกิดขึ้น
นอกจากนี้ ด้วยการสนับสนุนอย่างเต็มที่จากภาครัฐและ การวางโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญเพื่ออนาคตของตลาดทุนไทยจะเป็นแรงขับเคลื่อนให้เอาชนะความท้าทายต่าง ๆ ที่มาเผชิญกับเศรษฐกิจไทย และสามารถสร้างความเติบโตอย่างยั่งยืนให้กับผู้เกี่ยวข้องและผู้ลงทุนได้