กระดานข่าว

ยอดผลิตรถยนต์เดือร พ.ค. ร่วง 16.19%


25 มิถุนายน 2567

2V0A3527_0.jpg

นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ ที่ปรึกษาประธานกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์และโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนพฤษภาคม 2567 ดังต่อไปนี้


การผลิต

จำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ในเดือนพฤษภาคม 2567 มีทั้งสิ้น 126,161 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 16.19 ลดลงจากการผลิตรถกระบะขายในประเทศลดลงร้อยละ 54.66 และผลิตรถยนต์นั่งขายในประเทศลดลงร้อยละ 14.35 ตามยอดขายในประเทศที่ลดลงจากเศรษฐกิจในประเทศที่เติบโตในอัตราต่ำและการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่พร้อมเต็มที่ แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 20.54

จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 644,951 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 16.88

รถยนต์นั่ง เดือนพฤษภาคม 2567 ผลิตได้ 46,951 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 7.74 โดยแบ่งเป็น

  • รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 29,935 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 70

  • รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 865 คัน เพิ่มขึ้น จากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 7,763.64

  • รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 797 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 12

  • รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 15,354 คัน เพิ่มขึ้น จากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 71

ยอดผลิตของรถยนต์นั่ง ตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2567 มีจำนวน 240,190 คัน เท่ากับร้อยละ 37.24 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 11.29 โดยแบ่งเป็น

  • รถยนต์นั่ง Internal Combustion Engine มีจำนวน 147,426 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 19

  • รถยนต์นั่ง Battery Electric Vehicle มีจำนวน 4,156 คัน เพิ่มขึ้น จากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 3,48

  • รถยนต์นั่ง Plug-in Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 2,591 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 77

  • รถยนต์นั่ง Hybrid Electric Vehicle มีจำนวน 86,017 คัน เพิ่มขึ้น จากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 17

รถยนต์โดยสารขนาดต่ำกว่า 10 ตัน และมากกว่า 10 ตัน ขึ้นไป ในเดือนพฤษภาคม 2567 ไม่มีการผลิต รวมเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2567 ผลิตได้ 10 คัน ลดลงจากปีที่แล้วร้อยละ 83.87

รถยนต์บรรทุก เดือนพฤษภาคม 2567 ผลิตได้ทั้งหมด 79,210 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 20.49 และตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 404,751 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 19.87

รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนพฤษภาคม 2567 ผลิตได้ทั้งหมด 78,319 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 19.05 และตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 394,321 คัน เท่ากับร้อยละ 61.14 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 19.87 โดยแบ่งเป็น

  • รถกระบะบรรทุก 67,956 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 22

  • รถกระบะดับเบิลแค็บ 260,088 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 98

  • รถกระบะ PPV 66,277 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 41

รถบรรทุกขนาดต่ำกว่า 5 ตัน - มากกว่า 10 ตัน เดือนพฤษภาคม 2567 ผลิตได้ 891 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 69.03 รวมเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2567 ผลิตได้ 10,430 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 19.78

ผลิตเพื่อส่งออก

เดือนพฤษภาคม 2567 ผลิตได้ 88,808 คัน เท่ากับร้อยละ 70.39 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 1 ส่วนเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ 434,416 คัน เท่ากับร้อยละ 67.36 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 2.54

รถยนต์นั่ง เดือนพฤษภาคม 2567 ผลิตเพื่อการส่งออก 25,284 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 1.21 และตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 127,881 คัน เท่ากับร้อยละ 53.24 ของยอดผลิตรถยนต์นั่ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 3.13

รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนพฤษภาคม 2567 มียอดการผลิตเพื่อการส่งออก 63,524 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 0.92 และตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2567 ผลิตเพื่อส่งออกได้ทั้งสิ้น 306,535 คัน เท่ากับร้อยละ 77.74 ของยอดการผลิตรถกระบะ ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 4.73 โดยแบ่งเป็น

  • รถกระบะบรรทุก 26,474 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 36

  • รถกระบะดับเบิลแค็บ 225,458 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 75

  • รถกระบะ PPV 54,603 คัน เพิ่มขึ้น จากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 62

ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ

เดือนพฤษภาคม 2567 ผลิตได้ 37,353 คัน เท่ากับร้อยละ 29.61 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 38.57 และเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2567 ผลิตได้ 210,525 คัน เท่ากับร้อยละ 32.64 ของยอดการผลิตทั้งหมด ลดลงจากเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 36.23

รถยนต์นั่ง เดือนพฤษภาคม 2567 ผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 21,667 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 14.35 แต่ตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2566 ผลิตได้ 112,309 คัน เท่ากับร้อยละ 46.76 ของยอดการผลิตรถยนต์นั่ง โดยเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2566 ลดลงร้อยละ 23.47

รถกระบะขนาด 1 ตัน เดือนพฤษภาคม 2567 มียอดการผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศ 14,795 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 54.66 และตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2567 ผลิตได้ทั้งสิ้น 87,786 คัน เท่ากับร้อยละ 22.26 ของยอดการผลิตรถกระบะ และลดลงจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 48.48 ซึ่งแบ่งเป็น

  • รถกระบะบรรทุก 41,482 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 37

  • รถกระบะดับเบิลแค็บ 34,630 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 57

  • รถกระบะ PPV 11,674 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม-พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 34

รถจักรยานยนต์

เดือนพฤษภาคม 2567 ผลิตรถจักรยานยนต์ได้ทั้งสิ้น 191,970 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 12.30 แยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 168,190 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 15.62 แต่ชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 23,780 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 21.51

ยอดการผลิตรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม – พฤษภาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 1,013,665 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 5.64 โดยแยกเป็นรถจักรยานยนต์สำเร็จรูป (CBU) 837,975 คัน ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 8.96 แต่ชิ้นส่วนประกอบรถจักรยานยนต์ (CKD) 175,690 คัน เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 14.21

ยอดขาย

ยอดขายรถยนต์ภายในประเทศของเดือนพฤษภาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 49,871 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 6.70 แต่ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 23.38 เพราะสถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง รวมทั้งเศรษฐกิจในประเทศขยายตัวในอัตราต่ำจากการล่าช้าของงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 ทำให้การลงทุนของภาครัฐลดลง ดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรมลดลงติดต่อกันมากกว่าสิบเดือน โรงงานหลายแห่งลดเวลาทำงานลงและมีการเลิกจ้างพนักงานหลายหมื่นคน ทำให้ขาดรายได้ ประชาชนจึงระมัดระวังการใช้จ่ายเพราะความไม่แน่นอนในเรื่องรายได้รวมทั้งค่าอาหาร ค่าเดินทางและพลังงานมีราคาสูงขึ้น คาดว่าเศรษฐกิจไทยน่าจะดีขึ้นในช่วงครึ่งปีหลังปีนี้จากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2567 และปี 2568 ที่่กำลังพิจารณาในสภาฯ แต่เศรษฐกิจจะขยายตัวถึงร้อยละ 3 หรือไม่ ยังน่ากังวลถ้ายอดผลิตรถยนต์และขายรถยนต์ และขายอสังหาริมทรัพย์ยังติดลบ เพราะทั้งสองอุตสาหกรรมมีอุตสาหกรรมต่อเนื่องและแรงงานมากซึ่งจะส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศมาก

รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 29,679 คัน เท่ากับร้อยละ 59.51 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 13.71

  • รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 13,343 คัน เท่ากับร้อยละ 76 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 36.94

  • รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 5,117 คัน เท่ากับร้อยละ 26 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 30.94

  • รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 222 คัน เท่ากับร้อยละ 45 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 1.77

  • รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 10,997 คัน เท่ากับร้อยละ05 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้น จากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 96.34

รถกระบะมีจำนวน 14,832 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 33.87 รถ PPV มีจำนวน 2,819 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 42.42 รถบรรทุก 5 – 10 ตัน มีจำนวน 1,280 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 35.90 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน 1,261 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้ว 8.09

ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 165,339 คัน เพิ่มขึ้น จากเดือนเมษายน 2566 ร้อยละ 30.14 แต่ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 10.19

ตั้งแต่เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2567 รถยนต์มียอดขาย 260,365 คัน ลดลงจากปี 2566 ในระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 23.80 แยกเป็น

รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ มีจำนวน 156,386 คันเท่ากับร้อยละ 60.06 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 7.60

  • รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์สันดาปภายใน (ICE) 69,993 คัน เท่ากับร้อยละ88 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 36.26

  • รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้า (BEV) 28,148 คัน เท่ากับร้อยละ81 ของยอดขายทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วที่ร้อยละ 12.89

  • รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสมแบบเสียบปลั๊ก (PHEV) 981 คัน เท่ากับร้อยละ 38 ของยอดขายทั้งหมด ลดลงจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 12.80

  • รถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ไฟฟ้าผสม (HEV) 57,264 คัน เท่ากับร้อยละ99 ของยอดขายรถยนต์นั่งและรถยนต์นั่งตรวจการณ์ เพิ่มขึ้นจากเดือนเดียวกันปีที่แล้วร้อยละ 71.53

รถกระบะมีจำนวน 75,510 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 40.80 รถ PPV มีจำนวน 16,255 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 42.09 รถบรรทุก 5 – 10 ตัน มีจำนวน 6,807 คัน ลดลงจากเดือนเดียวกันในปีที่แล้วร้อยละ 35.33 และรถประเภทอื่นๆ มีจำนวน  5,407  คัน ลดลงจากเดือนช่วงกันในปีที่แล้ว 14.28

ส่วนรถจักรยานยนต์ มียอดขาย 739,988 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 9.16 แบ่งเป็นรถจักรยานยนต์ ICE จำนวน 739,788 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 9.08 รถจักรยานยนต์ HEV จำนวน 200 คัน ลดลงจากช่วงเวลาเดียวกันร้อยละ 1.96

การส่งออก

รถยนต์สำเร็จรูป

เดือนพฤษภาคม 2567 ส่งออกได้  89,284 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนที่แล้วร้อยละ 27.26 และเพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 3.39 เพิ่มขึ้นทั้งที่ผลิตเพื่อส่งออกลดลง เพราะมีรถยนต์ที่ยังไม่ได้ส่งออกเดือนที่แล้วมาส่งออกเดือนนี้ จึงส่งออกเพิ่มขึ้นในตลาดเอเชีย ตลาดออสเตรเลีย ตลาด ตะวันออกกลาง ตลาดอเมริกาเหนือ ตลาดอเมริกากลางและอเมริกาใต้ แบ่งเป็น

  • รถกระบะ 50,159 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 18 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 6.13

  • รถยนต์นั่ง ICE 22,400 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 09 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 0.89

  • รถยนต์นั่ง HEV 4,404 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 93 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 373.04

  • รถ PPV 12,321 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 80 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 31.24

มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 63,073.52 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 14.74

  • เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 3,107.31 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 56

  • ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 15,403.92 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 78

  • อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 2,169.35 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 03

รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนพฤษภาคม 2567 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 83,754.09 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 12.93

เดือนมกราคม – พฤษภาคม 2567 ส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 429,969 คัน ลดลงจากช่วงระยะเวลาเดียวกันร้อยละ 2.28 แบ่งเป็น

  • รถกระบะ ICE 246,943 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 43 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 5.15

  • รถยนต์นั่ง ICE 100,034 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 27 ของการส่งออกทั้งหมด ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 23.32

  • รถยนต์นั่ง HEV 23,822 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 54 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 536.10

  • รถ PPV 59,170 คัน มีสัดส่วนร้อยละ 76 ของการส่งออกทั้งหมด เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 30.22

มูลค่าการส่งออกรถยนต์ 300,375.07 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 9.92 โดยมีรายละเอียด ดังนี้

  • เครื่องยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 12,776.39 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 54

  • ชิ้นส่วนรถยนต์อื่นๆ มีมูลค่าการส่งออก 77,989.66 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 63

  • อะไหล่รถยนต์ มีมูลค่าการส่งออก 10,496.25 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 83

รวมมูลค่าส่งออกรถยนต์เดือนมกราคม – พฤษภาคม 2567 เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนรถยนต์ และอะไหล่ มีมูลค่า 401,637.37 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 9.23

รถจักรยานยนต์

เดือนพฤษภาคม 2567 มีจำนวนส่งออก 53,105 คัน (รวม CBU + CKD) ลดลงจากเดือนเมษายน 2567 ร้อยละ 0.63 และลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 7.96 โดยมีมูลค่า 4,608.60 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 14.41

  • ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น45 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 30.64

  • อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 12 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 74.68

รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์ เดือนพฤษภาคม 2567 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ 4,826.17 ล้านบาท ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 17.34

เดือนมกราคม – พฤษภาคม 2567 รถจักรยานยนต์ มีจำนวนส่งออก 359,603 คัน (รวม CBU + CKD) ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 0.74 มีมูลค่า 28,584.82 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 5.53

  • ชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 1,002.05 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 68

  • อะไหล่รถจักรยานยนต์ มีมูลค่าการส่งออกทั้งสิ้น 31 ล้านบาท ลดลงจากปี 2566 ร้อยละ 19.49

รวมมูลค่าการส่งออกรถจักรยานยนต์เดือนมกราคม – พฤษภาคม 2567 ชิ้นส่วนและอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 30,313.17 ล้านบาท ลดลงจากเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 6.47

เดือนพฤษภาคม 2567 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่น ๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 88,580.26 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 10.72

เดือนมกราคม – พฤษภาคม 2567 รวมมูลค่าการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เครื่องยนต์ ชิ้นส่วนอื่นๆ อะไหล่รถยนต์ รถจักรยานยนต์ ชิ้นส่วน และอะไหล่รถจักรยานยนต์ มีทั้งสิ้น 431,950.54 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2566 ร้อยละ 7.95

ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท BEV เดือนพฤษภาคม 2567

เดือนพฤษภาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 8,166 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วร้อยละ 14.50 โดยแบ่งเป็น

  • รถยนต์นั่งและรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 5,455 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 17

    • รถยนต์นั่งจำนวน 5,274 คัน

    • รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คนจำนวน 167 คัน

    • รถยนต์บริการธุรกิจจำนวน 1 คัน

    • รถยนต์บริการทัศนาจรจำนวน 13 คัน

  • รถกระบะ รถแวนมีทั้งสิ้น 10 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 100

  • รถยนต์สามล้อรับจ้างมีทั้งสิ้น 22 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 14

    • รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลจำนวน 3 คัน

    • รถยนต์รับจ้างสามล้อจำนวน 14 คัน

  • รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 2,580 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 50

    • รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน 2,481 คัน

    • รถจักรยานยนต์สาธารณะจำนวน 99 คัน

  • รถโดยสารมีทั้งสิ้น 74 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 35

  • รถบรรทุกมีทั้งสิ้น 25 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วร้อยละ 71

เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 43,921 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคมปีที่แล้วร้อยละ 31.64 โดยแบ่งเป็น

  • รถยนต์นั่งและรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 31,732 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 10

    • รถยนต์นั่งจำนวน 30,857 คัน                

    • รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คนจำนวน 819 คัน

    • รถยนต์บริการธุรกิจจำนวน 6 คัน

    • รถยนต์บริการทัศนาจรจำนวน 47 คัน

    • รถยนต์บริการให้เช่าจำนวน 3 คัน

  • รถกระบะ รถแวนมีทั้งสิ้น 162 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 71

  • รถยนต์สามล้อมีทั้งสิ้น 51 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 54

    • รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลจำนวน 12 คัน

    • รถยนต์รับจ้างสามล้อจำนวน 39 คัน

  • รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 11,639 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 87

    • รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน 11,538 คัน

    • รถจักรยานยนต์สาธารณะจำนวน 101 คัน

  • รถโดยสารมีทั้งสิ้น 181 คัน ซึ่งลดลงเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2566 ร้อยละ35

  • รถบรรทุกมีทั้งสิ้น 156 คัน ซึ่งเพิ่มขึ้นเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2566 ร้อยละ59

ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท HEV เดือนพฤษภาคม 2567

เดือนพฤษภาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 10,789 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วร้อยละ 34.64 โดยแบ่งเป็น

  • รถยนต์นั่งและรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 10,729 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 82

    • รถยนต์นั่งจำนวน 10,721 คัน

    • รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คนจำนวน 2 คัน

    • รถยนต์บริการธุรกิจจำนวน 1 คัน

    • รถยนต์บริการทัศนาจรจำนวน 5 คัน

  • รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 60 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ 09

    • รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน 60 คัน

เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (HEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน 59,317 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม - พฤษภาคมปีที่แล้วร้อยละ 53.48 โดยแบ่งเป็น

  • รถยนต์นั่งและรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 59,126 คัน เพิ่มขึ้นจากเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 08

    • รถยนต์นั่งจำนวน 59,064 คัน

    • รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คนจำนวน 12 คัน

    • รถยนต์บริการธุรกิจจำนวน 13 คัน

    • รถยนต์บริการทัศนาจรจำนวน 34 คัน

    • รถยนต์บริการให้เช่าจำนวน 3 คัน

  • รถจักรยานยนต์มีทั้งสิ้น 191 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2566 ร้อยละ04

    • รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลจำนวน 191 คัน

ยานยนต์ไฟฟ้าป้ายแดงประเภท PHEV เดือนพฤษภาคม 2567

เดือนพฤษภาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่มีจำนวน 704 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคมปีที่แล้วร้อยละ 31.32 โดยแบ่งเป็น

  • รถยนต์นั่งและรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 704 คัน ลดลงจากเดือนพฤษภาคม 2566 ร้อยละ -31.32

    • รถยนต์นั่งจำนวน  704 คัน

เดือนมกราคม - พฤษภาคม 2567 มียานยนต์ประเภทไฟฟ้า (PHEV) จดทะเบียนใหม่สะสมมีจำนวน  4,053 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม - พฤษภาคมปีที่แล้วร้อยละ 22.01 โดยแบ่งเป็น

  • รถยนต์นั่งและรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 4,053 คัน ลดลงจากเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2566 ร้อยละ 01

    • รถยนต์นั่งจำนวน 4,051 คัน    

    • รถยนต์บริการทัศนาจรจำนวน 2 คัน

ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2567

ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท BEV มีจำนวนทั้งสิ้น 175,316 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 168.34 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้

  • รถยนต์นั่งและรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 121,310 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 45

  • รถยนต์นั่งมีจำนวน 119,457 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 27

  • รถยนต์โดยสารไม่เกิน 7 คนมีจำนวน 1,426 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 58

  • รถยนต์บริการธุรกิจมีจำนวน 66 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 500

  • รถยนต์บริการทัศนาจรมีจำนวน 108 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 1,100

  • รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มีจำนวน 253 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ37

  • รถกระบะและรถแวนมีจำนวน 447 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 52

  • รถยนต์ 3 ล้อมีจำนวนทั้งสิ้น 941 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 26

  • รถยนต์สามล้อส่วนบุคคลมีจำนวน 92 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 43

  • รถยนต์รับจ้างสามล้อมีจำนวน 849 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 07

  • รถจักรยานยนต์มีจำนวนทั้งสิ้น 49,556 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 42

  • รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลมีจำนวน 49,425 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 71

  • รถจักรยานยนต์สาธารณะมีจำนวน 131 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 70

  • อื่นๆ

  • รถโดยสารมีจำนวนทั้งสิ้น 2,601 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 27

  • รถบรรทุกมีจำนวนทั้งสิ้น 461 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 85

ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2567

ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท HEV มีจำนวนทั้งสิ้น 402,414คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 35.06 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้

  • รถยนต์นั่งและรถยนต์ประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 393,218 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 15

  • รถยนต์นั่งมีจำนวน 392,313 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 15

  • รถยนต์รับจ้างบรรทุกคนโดยสารฯ มีจำนวน 487 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 67

  • รถยนต์บริการธุรกิจ มีจำนวน 66 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ25

  • รถยนต์บริการทัศนาจร มีจำนวน 186 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 86

  • รถยนต์บริการให้เช่า มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 67

  • รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มีจำนวน 161 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 222

  • รถกระบะและรถแวนมีจำนวน 1 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566

  • รถจักรยานยนต์มีจำนวนทั้งสิ้น 9,193 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 65

  • รถจักรยานยนต์ส่วนบุคคลมีจำนวน 9,193 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 65

  • อื่นๆ

  • รถโดยสารมีจำนวนทั้งสิ้น 2 คัน ซึ่งเท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566

ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2567

ณ วันที่ 31 พฤษภาคม 2567 ยานยนต์ไฟฟ้าจดทะเบียนสะสมประเภท PHEV มีจำนวนทั้งสิ้น 57,951คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 21.89 โดยแบ่งประเภทได้ ดังนี้

  • รถยนต์นั่งและรถประเภทต่างๆ มีทั้งสิ้น 57,879 คัน เพิ่มขึ้นจากปีที่แล้วร้อยละ 89

  • รถยนต์นั่งมีจำนวน 57,197 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 08

  • รถยนต์บริการธุรกิจมีจำนวน 41 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 13

  • รถยนต์บริการทัศนาจรมีจำนวน 23 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 75

  • รถยนต์บริการให้เช่ามีจำนวน 3 คัน เท่ากับช่วงเวลาเดียวกันปี 2566

  • รถยนต์รับจ้างผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์มีจำนวน 5 คัน เพิ่มขึ้นจากช่วงเวลาเดียวกันปี 2566 ร้อยละ 150