กระดานข่าว
ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ มองตลาดโลกครึ่งปีหลัง 2567 เศรษฐกิจฟื้นตัวดีขึ้น ชี้เป็นโอกาสที่ดีในการกระจายการลงทุนในกลุ่มวัฐจักร
02 กรกฎาคม 2567
“บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด” (SCB Julius Baer) จัดงานสัมมนาเอ็กซ์คลูซีฟ “มุมมองเศรษฐกิจโลกครึ่งปีหลังปี 2567” (Market Outlook Second Half 2024) สำหรับลูกค้าที่มีความมั่งคั่งระดับสูง (Ultra High Net Worth Individuals – UHNWIs) นำเสนอถึงปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการลงทุนในช่วงครึ่งปีหลัง ที่จัดทำโดยจูเลียส แบร์ โดยให้มุมมองว่า ภาพรวมเศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มฟื้นตัวดีขึ้น “Out of the Woods” ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีในการลงทุนในหลากหลายสินทรัพย์ ด้านเศรษฐกิจสหรัฐฯยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และคาดหวังว่าจะมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายน ขณะที่การค้าโลกได้รับแรงสนับสนุนจากการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมของจีน ด้านกลยุทธ์การลงทุน เงินสดยังคงน่าสนใจในการเก็บเงินทุนสำรองและสามารถนำไปลงทุนในสินทรัพย์อื่นได้ในครึ่งปีหลัง ขณะที่ตราสารหนี้ ยังคงเน้นลงทุนในหุ้นกู้คุณภาพดีและตราสารหนี้สกุลเงินสหรัฐฯในตลาดเกิดใหม่ แนะเน้นการลงทุนในหุ้นกลุ่มวัฏจักรมากขึ้น สำหรับธีม Next Generation ยังคงมุมมองเชิงบวกในกลุ่ม Automation, Robotics, และ Future Cities
นายพีรพงศ์ จิระเสวีจินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด กล่าวว่า “จากมุมมองเศรษฐกิจโลกครึ่งปี 2567 ที่จัดทำขึ้นโดยจูเลียส แบร์ พบว่า เศรษฐกิจโลกครึ่งปีหลังเริ่มเห็นแนวโน้มการฟื้นตัว “Out of the Woods” สะท้อนถึงความหวังที่เรามีเมื่อเห็นสัญญาณการฟื้นตัวเริ่มปรากฏ เป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับการกระจายการลงทุนอย่างมีกลยุทธ์ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคผ่านมาตรการกระตุ้นทางการคลังจำนวนมาก และตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวขึ้น จากปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ ช่วยให้เกิดความหวังในการลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนที่กำลังจะมาถึง ด้านยุโรปและเอเชีย โดยเฉพาะจีนกำลังเผชิญความท้าทายทางเศรษฐกิจจากความยากลำบากของตลาดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ในขณะที่การค้าโลกได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการด้านอุตสาหกรรมของจีนที่จัดการกับปัญหาภายในประเทศและจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าที่คาดว่าจะเข้าสู่วงจรการสต็อกสินค้ารอบใหม่ ทั้งนี้ Market Correction ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาเป็นโอกาสในการเข้าลงทุน โดยครึ่งปีหลังจะมีเหตุการณ์สำคัญที่น่าจับตามองคือการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567”
“สำหรับมุมมองด้านตลาดหุ้นนั้น เรากำลังเปลี่ยนความสนใจไปที่วิธีการลงทุนที่เป็นวัฏจักรมากขึ้น โดยการปรับเพิ่มหมวดอุตสาหกรรมและลดหมวดอุปโภคบริโภค โดยให้ความสำคัญกับหุ้นขนาดกลางที่มีคุณภาพและหุ้นญี่ปุ่น ขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) จะยังคงมีความแข็งแกร่งจากเศรษฐกิจภายในที่ยังแข็งแรงและนโยบายอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve) ในขณะที่ เงินเยน (JPY) อาจยังเผชิญกับแรงกดดันในทิศทางขาลงที่ยืดเยื้อ โดยการแทรกแซงจากกระทรวงการคลังอาจยืนระยะยาวไม่ไหว ด้านทองคำจะได้รับประโยชน์จากบทบาทในการเป็นเครื่องป้องกันความไม่แน่นอนทางการเมือง สุดท้ายนี้ สำหรับธีม Next-Generation เรายังคงมีมุมมองในเชิงบวกต่อ Automation, Robotics, และ Future Cities” นายพีรพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย
นายพีรพงศ์ จิระเสวีจินดา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัทหลักทรัพย์ ไทยพาณิชย์ จูเลียส แบร์ จำกัด กล่าวว่า “จากมุมมองเศรษฐกิจโลกครึ่งปี 2567 ที่จัดทำขึ้นโดยจูเลียส แบร์ พบว่า เศรษฐกิจโลกครึ่งปีหลังเริ่มเห็นแนวโน้มการฟื้นตัว “Out of the Woods” สะท้อนถึงความหวังที่เรามีเมื่อเห็นสัญญาณการฟื้นตัวเริ่มปรากฏ เป็นช่วงเวลาที่ดีสำหรับการกระจายการลงทุนอย่างมีกลยุทธ์ เศรษฐกิจสหรัฐฯ ยังคงเติบโตอย่างแข็งแกร่ง โดยได้รับแรงหนุนจากการใช้จ่ายของผู้บริโภคผ่านมาตรการกระตุ้นทางการคลังจำนวนมาก และตลาดแรงงานที่ฟื้นตัวขึ้น จากปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งของสหรัฐฯ ช่วยให้เกิดความหวังในการลดอัตราดอกเบี้ยในเดือนกันยายนที่กำลังจะมาถึง ด้านยุโรปและเอเชีย โดยเฉพาะจีนกำลังเผชิญความท้าทายทางเศรษฐกิจจากความยากลำบากของตลาดอสังหาริมทรัพย์ซึ่งส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ในขณะที่การค้าโลกได้รับแรงสนับสนุนจากมาตรการด้านอุตสาหกรรมของจีนที่จัดการกับปัญหาภายในประเทศและจะส่งผลต่อการฟื้นตัวของภาคอุตสาหกรรมการผลิตสินค้าที่คาดว่าจะเข้าสู่วงจรการสต็อกสินค้ารอบใหม่ ทั้งนี้ Market Correction ในไตรมาส 2 ที่ผ่านมาเป็นโอกาสในการเข้าลงทุน โดยครึ่งปีหลังจะมีเหตุการณ์สำคัญที่น่าจับตามองคือการเลือกตั้งประธานาธิบดีสหรัฐฯ ในวันที่ 5 พฤศจิกายน 2567”
“สำหรับมุมมองด้านตลาดหุ้นนั้น เรากำลังเปลี่ยนความสนใจไปที่วิธีการลงทุนที่เป็นวัฏจักรมากขึ้น โดยการปรับเพิ่มหมวดอุตสาหกรรมและลดหมวดอุปโภคบริโภค โดยให้ความสำคัญกับหุ้นขนาดกลางที่มีคุณภาพและหุ้นญี่ปุ่น ขณะที่เงินดอลลาร์สหรัฐ (USD) จะยังคงมีความแข็งแกร่งจากเศรษฐกิจภายในที่ยังแข็งแรงและนโยบายอัตราดอกเบี้ยที่ยังอยู่ในระดับสูงของธนาคารกลางสหรัฐฯ (Federal Reserve) ในขณะที่ เงินเยน (JPY) อาจยังเผชิญกับแรงกดดันในทิศทางขาลงที่ยืดเยื้อ โดยการแทรกแซงจากกระทรวงการคลังอาจยืนระยะยาวไม่ไหว ด้านทองคำจะได้รับประโยชน์จากบทบาทในการเป็นเครื่องป้องกันความไม่แน่นอนทางการเมือง สุดท้ายนี้ สำหรับธีม Next-Generation เรายังคงมีมุมมองในเชิงบวกต่อ Automation, Robotics, และ Future Cities” นายพีรพงศ์ กล่าวทิ้งท้าย