Wealth Sharing
ตั้งสำรองสูง! สินเชื่อส่วนบุคคลค้างชำระเพิ่มขึ้น ฉุดงบหุ้นแบงก์ไตรมาส 2/67 ไม่เด่น
03 กรกฎาคม 2567
นักวิเคราะห์บริษัท หลักทรัพย์หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า คาดหุ้นกลุ่มธนาคารภายใต้ Coverage ขอทั้ง 7 แห่ง จะมีกำไรสุทธิรวมในไตรมาส 2/67 จำนวน 53,227 ล้านบาท โต 2.1% จากปีก่อน แต่ลดลง 3.1% จากไตรมาสก่อน
โดยภาพรวมมีแรงกดดันจาก 1.การตั้งสำรองที่ทรงตัวใน ระดับสูงจากการตั้งสำรองเพื่อรองการตกชั้นของลูกหนี้ในกลุ่มสินเชื่อบัตรเครดิตที่ได้รับผลกระทบจากการ ปรับขึ้นอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำจาก 5% เป็น 8% รวมถึงสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีลูกหนี้ค้างชำระมากขึ้น ในช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว
และ 2) รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิคาดปรับลงจากไตรมาสก่อน กดดันจากทั้งการที่ธนาคาร หันมาเพิ่มความระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อใหม่ ทำให้ภาพสินเชื่อโดยรวมของกลุ่มคาดลดลง 0.4% จากไตรมาสก่อน
ขณะที่ NIM คาดมีทิศทางลดลงต่อเนื่อง หลังต้นทุนเงินฝากขยับขึ้นตามการ Rollover ของเงินฝากประจำ แต่คาดการเพิ่มขึ้นจะเริ่มลดความรุนแรงลง หลังธนาคารมีการลดปริมาณเงินฝากเพื่อให้สอดคล้องกับการ เติบโตของสินเชื่อที่จำกัด
3) รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยคาดลดลง กดดันจากรายได้ค่าธรรมเนียมของทั้งธุรกิจ นายหน้าประกันที่เป็นช่วง Low Season และธุรกิจตลาดทุนที่มีปริมาณซื้อขายลดลง 11.5% จากไตรมาสก่อน
ทั้งนี้ในส่วนของธนาคารใหญ่คาดกำไรสุทธิรวมในไตรมาส 2/67 ที่ 44,816 ล้านบาท โต 1.1% จากปีก่อน แต่ลดลง 3.3% จากไตรมาสก่อน โดยธนาคารที่คาดกำไรสุทธิลดลงน้อยที่สุดคือ KTB ซึ่งคาดกำไรสุทธิ 11,019 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.5% จากปีก่อน ลดลง 0.5% จากไตรมาสก่อน
แม้จะมีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นสำหรับสินเชื่อรายย่อย แต่คาดผลลบดังกล่าวจะถูกชดเชยด้วยสัดส่วน ของลูกหนี้ความเสี่ยงต่ำที่เพิ่มขึ้น รวมถึงค่าใช้จ่ายในการด้อยค่าทรัพย์สินรอการขายที่น้อยลงจากไตรมาส 1/67
รองลงมาส่วนคือ BBL คาดกำไรสุทธิ 10,349 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.4% จากปีก่อน แต่ลดลง 1.7% จากไตรมาสก่อน กดดันจาก NIM ที่ต่ำลง และพอร์ตสินเชื่อที่ชะลอตัว แต่คาดการตั้งสำรองจะต่ำลง หลังเร่งตั้งสำรองเพื่อรองรับกรณีของลูกหนี้รับเหมารายใหญ่ไปมากในไตรมาส 1/67
ส่วน KBANK คาดกำไรสุทธิ 12,946 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.7% จากปีก่อน แต่ลดลง 4 % จากไตรมาสก่อน หลังการตั้งสำรองจะเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับคุณภาพสินทรัพย์ของลูกหนี้รายย่อยที่แย่ลง และคาดรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยจะปรับลง
ขณะที่ SCB คาดกำไรสุทธิ 10,502 ล้านบาท ลดลง 11.5% จากปีก่อน และลดลง 6.9% จากไตรมาสก่อน ซึ่งมีแรงกดดันจากการตั้งสำรองของบริษัท CardX และแนวโน้มการขยายธุรกิจในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง
สำหรับธนาคารขนาดกลาง/เล็ก คาดกำไรสุทธิรวม 8,411 ล้านบาท โต 7.4% จากปีก่อน แต่ลดลง 1.9% จากไตรมาสก่อน คาดมี เพียง TTB ที่กำไรสุทธิปรับขึ้น ซึ่งคาดกำไรสุทธิ 5,358 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.3% จากปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 0.5% จากไตรมาสก่อน
แม้พอร์ตสินเชื่อ คาดลดลง 1% จากไตรมาสก่อน จากการปรับ Product Mixed ไปยังกลุ่มผลตอบแทนสูงมากขึ้น ทำให้การตั้งสำรองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่คาดถูกชดเชยด้วยผลประโยชน์ทางภาษีที่จะทยอยรับรู้เข้ามาในงบกำไรขาดทุน
ส่วน TISCO คาดกำไรสุทธิ 1,681 ล้านบาท ลดลง 9.3% จากปีก่อน และลดลง 3 % จากไตรมาสก่อน จากการตั้งสำรองเพื่อรองรับการขยาย สินเชื่อจำนำทะเบียน และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มือสอง และ KKP คาดกำไรสุทธิ 1,372 ล้านบาท ลดลง 2.6% จากปีก่อน และลดลง 8.9% จากไตรมาสก่อน หลังตั้ง สำรองเพิ่มและคาดผลขาดทุนจากการขายรถยึดจะลดลงได้เล็กน้อย ส่วนรายได้ ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียมมีแนวโน้มปรับตัวลงจากพอร์ตสินเชื่อรวมที่คาดลดลง 1% จากไตรมาสก่อน
ส่วนแนวโน้มกำไรสุทธิครึ่งหลังของปี 67 เบื้องต้นคาดจะโตจากปีก่อน เพราะไม่มีการตั้งสำรองของบริษัทใหญ่เข้ามารบกวน แต่จะลดลงจากครี่งปีแรก ตามผลของฤดูกาล ที่ปกติกลุ่มธนาคารจะมีการตั้งค่าใช้จ่ายลงทุนและค่าใช้จ่าย ที่เกี่ยวกับการขยายธุรกิจ จำนวนมากในช่วงปลายปี รวมถึงมีผลลบจาก NIM ที่ต่ำลงเรื่อยๆ ส่วนทั้งปี 2567 คาดกำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารจะอยู่ที่ 211,439 ล้านบาท โต 8.2% จากปีก่อน
แม้ช่วงสั้นผลดำเนินงานที่ไม่โดดเด่น จะเป็นปัจจัยที่กดดันการปรับขึ้นของราคาหุ้น แต่มองว่าฐานกำไร สุทธิของแต่ละธนาคารยังอยู่ในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับในอดีต และมองว่าปัญหาในคุณภาพสินทรัพย์ที่เกิดกับลูกค้ารายย่อยจะไม่ส่งผลรุนแรงเหมือนกับกรณีของบริษัทใหญ่ ซึ่งคาดสถานการณ์จะเริ่มดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 67 สอดรับไปกับเศรษฐกิจในประเทศ
ขณะที่ปัจจุบันราคาหุ้นในกลุ่มซื้อขายด้วย PBV ที่ไม่สูง และเป็น หุ้นที่มี Div. Yield น่าสนใจ โดยเราคาดเงินปันผลระหว่างกาลใน ทำให้การปรับลงค่อนข้างจำกัด จึงคงคำแนะนำ ลงทุนกลุ่มธนาคารที่ “เท่ากับตลาด”และเลือก KTB เป็น Top Pick ของกลุ่ม ประเมินราคาเป้าหมาย 23 บาท
เนื่องจากคาดกำไรสุทธิในไตรมาส 2/67 ปรับลงน้อยกว่าธนาคารใหญ่รายอื่น รวมถึงคุณภาพสินทรัพย์ที่ยังแข็งแรง และคาดจะเริ่มมีแรงเก็งกำไรเข้ามาในช่วงใกล้ปิดรับสมัครผู้ที่สนใจจะขอใบอนุญาต Virtual Bank ซึ่ง KTB เป็นธนาคารที่มี พันธมิตรน่าสนใจ ทั้ง ADVANC และ GULF คาดจะเป็นปัจจัยที่ช่วยให้ KTB สามารถเข้าถึงฐานลูกค้า ใหม่ๆ ได้ ในอนาคต
โดยภาพรวมมีแรงกดดันจาก 1.การตั้งสำรองที่ทรงตัวใน ระดับสูงจากการตั้งสำรองเพื่อรองการตกชั้นของลูกหนี้ในกลุ่มสินเชื่อบัตรเครดิตที่ได้รับผลกระทบจากการ ปรับขึ้นอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำจาก 5% เป็น 8% รวมถึงสินเชื่อส่วนบุคคลที่มีลูกหนี้ค้างชำระมากขึ้น ในช่วงที่เศรษฐกิจยังไม่ฟื้นตัว
และ 2) รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิคาดปรับลงจากไตรมาสก่อน กดดันจากทั้งการที่ธนาคาร หันมาเพิ่มความระมัดระวังการปล่อยสินเชื่อใหม่ ทำให้ภาพสินเชื่อโดยรวมของกลุ่มคาดลดลง 0.4% จากไตรมาสก่อน
ขณะที่ NIM คาดมีทิศทางลดลงต่อเนื่อง หลังต้นทุนเงินฝากขยับขึ้นตามการ Rollover ของเงินฝากประจำ แต่คาดการเพิ่มขึ้นจะเริ่มลดความรุนแรงลง หลังธนาคารมีการลดปริมาณเงินฝากเพื่อให้สอดคล้องกับการ เติบโตของสินเชื่อที่จำกัด
3) รายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยคาดลดลง กดดันจากรายได้ค่าธรรมเนียมของทั้งธุรกิจ นายหน้าประกันที่เป็นช่วง Low Season และธุรกิจตลาดทุนที่มีปริมาณซื้อขายลดลง 11.5% จากไตรมาสก่อน
ทั้งนี้ในส่วนของธนาคารใหญ่คาดกำไรสุทธิรวมในไตรมาส 2/67 ที่ 44,816 ล้านบาท โต 1.1% จากปีก่อน แต่ลดลง 3.3% จากไตรมาสก่อน โดยธนาคารที่คาดกำไรสุทธิลดลงน้อยที่สุดคือ KTB ซึ่งคาดกำไรสุทธิ 11,019 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.5% จากปีก่อน ลดลง 0.5% จากไตรมาสก่อน
แม้จะมีการตั้งสำรองเพิ่มขึ้นสำหรับสินเชื่อรายย่อย แต่คาดผลลบดังกล่าวจะถูกชดเชยด้วยสัดส่วน ของลูกหนี้ความเสี่ยงต่ำที่เพิ่มขึ้น รวมถึงค่าใช้จ่ายในการด้อยค่าทรัพย์สินรอการขายที่น้อยลงจากไตรมาส 1/67
รองลงมาส่วนคือ BBL คาดกำไรสุทธิ 10,349 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.4% จากปีก่อน แต่ลดลง 1.7% จากไตรมาสก่อน กดดันจาก NIM ที่ต่ำลง และพอร์ตสินเชื่อที่ชะลอตัว แต่คาดการตั้งสำรองจะต่ำลง หลังเร่งตั้งสำรองเพื่อรองรับกรณีของลูกหนี้รับเหมารายใหญ่ไปมากในไตรมาส 1/67
ส่วน KBANK คาดกำไรสุทธิ 12,946 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.7% จากปีก่อน แต่ลดลง 4 % จากไตรมาสก่อน หลังการตั้งสำรองจะเพิ่มขึ้นเพื่อรองรับคุณภาพสินทรัพย์ของลูกหนี้รายย่อยที่แย่ลง และคาดรายได้ที่ไม่ใช่ดอกเบี้ยจะปรับลง
ขณะที่ SCB คาดกำไรสุทธิ 10,502 ล้านบาท ลดลง 11.5% จากปีก่อน และลดลง 6.9% จากไตรมาสก่อน ซึ่งมีแรงกดดันจากการตั้งสำรองของบริษัท CardX และแนวโน้มการขยายธุรกิจในกลุ่มที่มีความเสี่ยงสูง
สำหรับธนาคารขนาดกลาง/เล็ก คาดกำไรสุทธิรวม 8,411 ล้านบาท โต 7.4% จากปีก่อน แต่ลดลง 1.9% จากไตรมาสก่อน คาดมี เพียง TTB ที่กำไรสุทธิปรับขึ้น ซึ่งคาดกำไรสุทธิ 5,358 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17.3% จากปีก่อน แต่เพิ่มขึ้น 0.5% จากไตรมาสก่อน
แม้พอร์ตสินเชื่อ คาดลดลง 1% จากไตรมาสก่อน จากการปรับ Product Mixed ไปยังกลุ่มผลตอบแทนสูงมากขึ้น ทำให้การตั้งสำรองมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น แต่คาดถูกชดเชยด้วยผลประโยชน์ทางภาษีที่จะทยอยรับรู้เข้ามาในงบกำไรขาดทุน
ส่วน TISCO คาดกำไรสุทธิ 1,681 ล้านบาท ลดลง 9.3% จากปีก่อน และลดลง 3 % จากไตรมาสก่อน จากการตั้งสำรองเพื่อรองรับการขยาย สินเชื่อจำนำทะเบียน และสินเชื่อเช่าซื้อรถยนต์มือสอง และ KKP คาดกำไรสุทธิ 1,372 ล้านบาท ลดลง 2.6% จากปีก่อน และลดลง 8.9% จากไตรมาสก่อน หลังตั้ง สำรองเพิ่มและคาดผลขาดทุนจากการขายรถยึดจะลดลงได้เล็กน้อย ส่วนรายได้ ดอกเบี้ยและรายได้ค่าธรรมเนียมมีแนวโน้มปรับตัวลงจากพอร์ตสินเชื่อรวมที่คาดลดลง 1% จากไตรมาสก่อน
ส่วนแนวโน้มกำไรสุทธิครึ่งหลังของปี 67 เบื้องต้นคาดจะโตจากปีก่อน เพราะไม่มีการตั้งสำรองของบริษัทใหญ่เข้ามารบกวน แต่จะลดลงจากครี่งปีแรก ตามผลของฤดูกาล ที่ปกติกลุ่มธนาคารจะมีการตั้งค่าใช้จ่ายลงทุนและค่าใช้จ่าย ที่เกี่ยวกับการขยายธุรกิจ จำนวนมากในช่วงปลายปี รวมถึงมีผลลบจาก NIM ที่ต่ำลงเรื่อยๆ ส่วนทั้งปี 2567 คาดกำไรสุทธิของกลุ่มธนาคารจะอยู่ที่ 211,439 ล้านบาท โต 8.2% จากปีก่อน
แม้ช่วงสั้นผลดำเนินงานที่ไม่โดดเด่น จะเป็นปัจจัยที่กดดันการปรับขึ้นของราคาหุ้น แต่มองว่าฐานกำไร สุทธิของแต่ละธนาคารยังอยู่ในเกณฑ์ดีเมื่อเทียบกับในอดีต และมองว่าปัญหาในคุณภาพสินทรัพย์ที่เกิดกับลูกค้ารายย่อยจะไม่ส่งผลรุนแรงเหมือนกับกรณีของบริษัทใหญ่ ซึ่งคาดสถานการณ์จะเริ่มดีขึ้นในช่วงครึ่งหลังของปี 67 สอดรับไปกับเศรษฐกิจในประเทศ
ขณะที่ปัจจุบันราคาหุ้นในกลุ่มซื้อขายด้วย PBV ที่ไม่สูง และเป็น หุ้นที่มี Div. Yield น่าสนใจ โดยเราคาดเงินปันผลระหว่างกาลใน ทำให้การปรับลงค่อนข้างจำกัด จึงคงคำแนะนำ ลงทุนกลุ่มธนาคารที่ “เท่ากับตลาด”และเลือก KTB เป็น Top Pick ของกลุ่ม ประเมินราคาเป้าหมาย 23 บาท
เนื่องจากคาดกำไรสุทธิในไตรมาส 2/67 ปรับลงน้อยกว่าธนาคารใหญ่รายอื่น รวมถึงคุณภาพสินทรัพย์ที่ยังแข็งแรง และคาดจะเริ่มมีแรงเก็งกำไรเข้ามาในช่วงใกล้ปิดรับสมัครผู้ที่สนใจจะขอใบอนุญาต Virtual Bank ซึ่ง KTB เป็นธนาคารที่มี พันธมิตรน่าสนใจ ทั้ง ADVANC และ GULF คาดจะเป็นปัจจัยที่ช่วยให้ KTB สามารถเข้าถึงฐานลูกค้า ใหม่ๆ ได้ ในอนาคต