Talk of The Town
“ไทยเบฟฯ” ถอนหุ้น SSC ออกตลาดฯ ตั้งโต๊ะเทนเดอร์รับซื้อที่ราคา 63 บาท หวังเพิ่มความคล่องตัวการบริหาร
04 กรกฎาคม 2567
“โซ วอเตอร์” บริษัทย่อย “ไทยเบฟเวอเรจ” ประกาศทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมด SSC เพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ หวังเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการ ชี้ไทยเบฟอยู่ระหว่างการศึกษาแผนการปรับโครงสร้างการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ
บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) หรือ SSC เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 6/2567 ประชุมเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 รับทราบหนังสือแจ้งความประสงค์ของบริษัท โซ วอเตอร์ จำกัด (“โซ วอเตอร์”) ในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท เพื่อการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และเห็นชอบให้นำเสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2567 เพื่อพิจารณาอนุมัติการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (“การเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัท”)
โดยบริษัทได้รับหนังสือแจ้งความประสงค์ ฉบับลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 จากโซวอเตอร์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท และเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) (ณ วันที่ 6 ธันวาคม 2566 โซวอเตอร์ถือหุ้นสามัญในบริษัทเป็นจำนวนทั้งสิ้น 171,954,804 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 64.67% ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัท)
โดยหนังสือดังกล่าวระบุว่า โซ วอเตอร์มี ความประสงค์ในการเข้าทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญที่เหลือทั้งหมดของบริษัท 93,945,680 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 35.33% ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัท เพื่อการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัท ในราคาเสนอซื้อ 63.00 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาที่ไม่ต่ำกว่าราคาสูงสุดที่คำนวณได้ตามวิธีการกำหนดราคาเสนอซื้อเพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ภายใต้ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนฯ
ทั้งนี้ราคาดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนได้หากเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงต่อกิจการของบริษัทหรือมีเหตุตามที่กำหนดในประกาศที่ ทจ. 12/2554 อย่างไรก็ตาม การกำหนดราคาเสนอซื้อสุดท้ายจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศที่ ทจ. 12/2554 และการเข้าทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทเพื่อการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทจะเกิดขึ้นต่อเมื่อเงื่อนไขดังต่อไปนี้สำเร็จครบถ้วน
1.ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติอนุมัติการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัท ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัท และต้องไม่มีผู้ถือหุ้นคัดค้านการเพิกถอนหุ้นเกิน 10% ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัท
2.การเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทจะต้องได้รับอนุมัติ และ/หรือผ่อนผันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึง ตลาดหลักทรัพย์ฯ สถาบันการเงิน และคู่สัญญาอื่น ๆ ตามสัญญาที่เกี่ยวข้อง (ในกรณีที่จำเป็น)
สำหรับเหตุผลและข้อเท็จจริงของการขอถอนหุ้นออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน 1.การเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทจะช่วยให้การบริหารจัดการและการดำเนินธุรกิจของบริษัทมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการลดขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ ของบริษัทในฐานะที่เป็นบริษัทจดทะเบียน ซึ่งจะส่งผลให้การบริหารกิจการและการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจมีความคล่องตัวมากขึ้น
นอกจากนี้ เนื่องด้วยกลุ่มไทยเบฟอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับแผนการปรับโครงสร้างการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และ/หรือเพิ่ม ศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยอาจมีการดำเนินการปรับโครงสร้างภายในและการปรับโครงสร้างของธุรกิจในด้านต่าง ๆ
(ซึ่งอาจดำเนินการในลักษณะของการซื้อจำหน่าย หรือโอนทรัพย์สินหรือสิทธิต่าง ๆ การควบรวมกิจการ การโอนสิทธิตามสัญญาทางการเงิน การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หรือแนวทางในการดำเนินธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบริหารงาน การกู้ยืม-ให้กู้ยืมเงิน ตลอดจนการระดมทุนใน รูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น)
โดยที่การปรับโครงสร้างดังกล่าวอาจประกอบด้วยการทำรายการหรือธุรกรรมระหว่างบริษัท และ/หรือบริษัทในกลุ่มไทยเบฟ ดังนั้น การเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการของบริษัทและเป็นการรองรับแผนการปรับโครงสร้างข้างต้นด้วย
ทั้งนี้แผนการปรับโครงสร้างดังกล่าวยังมีความไม่แน่นอน และอาจมีการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงได้ ตามความเหมาะสมในอนาคต
2.เนื่องจากในปัจจุบันปริมาณการซื้อขายหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีจำนวนไม่มากนัก การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทเพื่อการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทจะเป็นประโยชน์ต่อสภาพคล่องในการซื้อขายหุ้นของบริษัท โดยเป็นการช่วยเพิ่มทางเลือกและโอกาสในการขายหุ้นให้แก่ ผู้ถือหุ้นรายย่อยของบริษัท
3.เนื่องจากภายหลังการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัท บริษัทจะไม่มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกต่อไป การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียม และหน้าที่ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการเป็นบริษัทจดทะเบียนด้วย
บริษัท เสริมสุข จำกัด (มหาชน) หรือ SSC เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท ครั้งที่ 6/2567 ประชุมเมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 รับทราบหนังสือแจ้งความประสงค์ของบริษัท โซ วอเตอร์ จำกัด (“โซ วอเตอร์”) ในการทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัท เพื่อการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และเห็นชอบให้นำเสนอต่อที่ประชุมวิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งที่ 1/2567 เพื่อพิจารณาอนุมัติการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ (“การเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัท”)
โดยบริษัทได้รับหนังสือแจ้งความประสงค์ ฉบับลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2567 จากโซวอเตอร์ ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัท และเป็นบริษัทย่อยของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) (ณ วันที่ 6 ธันวาคม 2566 โซวอเตอร์ถือหุ้นสามัญในบริษัทเป็นจำนวนทั้งสิ้น 171,954,804 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 64.67% ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัท)
โดยหนังสือดังกล่าวระบุว่า โซ วอเตอร์มี ความประสงค์ในการเข้าทำคำเสนอซื้อหุ้นสามัญที่เหลือทั้งหมดของบริษัท 93,945,680 หุ้น หรือคิดเป็นสัดส่วน 35.33% ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัท เพื่อการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัท ในราคาเสนอซื้อ 63.00 บาทต่อหุ้น ซึ่งเป็นราคาที่ไม่ต่ำกว่าราคาสูงสุดที่คำนวณได้ตามวิธีการกำหนดราคาเสนอซื้อเพื่อเพิกถอนหลักทรัพย์ภายใต้ประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนฯ
ทั้งนี้ราคาดังกล่าวอาจปรับเปลี่ยนได้หากเกิดเหตุการณ์ร้ายแรงต่อกิจการของบริษัทหรือมีเหตุตามที่กำหนดในประกาศที่ ทจ. 12/2554 อย่างไรก็ตาม การกำหนดราคาเสนอซื้อสุดท้ายจะเป็นไปตามหลักเกณฑ์ของประกาศที่ ทจ. 12/2554 และการเข้าทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทเพื่อการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทจะเกิดขึ้นต่อเมื่อเงื่อนไขดังต่อไปนี้สำเร็จครบถ้วน
1.ที่ประชุมผู้ถือหุ้นของบริษัทมีมติอนุมัติการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัท ด้วยคะแนนเสียงไม่น้อยกว่า 3 ใน 4 ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัท และต้องไม่มีผู้ถือหุ้นคัดค้านการเพิกถอนหุ้นเกิน 10% ของหุ้นที่ออกและจำหน่ายแล้วทั้งหมดของบริษัท
2.การเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทจะต้องได้รับอนุมัติ และ/หรือผ่อนผันจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมถึง ตลาดหลักทรัพย์ฯ สถาบันการเงิน และคู่สัญญาอื่น ๆ ตามสัญญาที่เกี่ยวข้อง (ในกรณีที่จำเป็น)
สำหรับเหตุผลและข้อเท็จจริงของการขอถอนหุ้นออกจากการเป็นหลักทรัพย์จดทะเบียน 1.การเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทจะช่วยให้การบริหารจัดการและการดำเนินธุรกิจของบริษัทมีประสิทธิภาพ เนื่องจากการลดขั้นตอนการดำเนินการต่าง ๆ ของบริษัทในฐานะที่เป็นบริษัทจดทะเบียน ซึ่งจะส่งผลให้การบริหารกิจการและการตัดสินใจในการดำเนินธุรกิจมีความคล่องตัวมากขึ้น
นอกจากนี้ เนื่องด้วยกลุ่มไทยเบฟอยู่ระหว่างการศึกษาความเป็นไปได้เกี่ยวกับแผนการปรับโครงสร้างการดำเนินงานของกลุ่มบริษัท เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการ และ/หรือเพิ่ม ศักยภาพในการดำเนินธุรกิจ โดยอาจมีการดำเนินการปรับโครงสร้างภายในและการปรับโครงสร้างของธุรกิจในด้านต่าง ๆ
(ซึ่งอาจดำเนินการในลักษณะของการซื้อจำหน่าย หรือโอนทรัพย์สินหรือสิทธิต่าง ๆ การควบรวมกิจการ การโอนสิทธิตามสัญญาทางการเงิน การปรับเปลี่ยนกลยุทธ์หรือแนวทางในการดำเนินธุรกิจ การเปลี่ยนแปลงนโยบายการบริหารงาน การกู้ยืม-ให้กู้ยืมเงิน ตลอดจนการระดมทุนใน รูปแบบต่าง ๆ เป็นต้น)
โดยที่การปรับโครงสร้างดังกล่าวอาจประกอบด้วยการทำรายการหรือธุรกรรมระหว่างบริษัท และ/หรือบริษัทในกลุ่มไทยเบฟ ดังนั้น การเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทจะช่วยเพิ่มความคล่องตัวในการบริหารจัดการของบริษัทและเป็นการรองรับแผนการปรับโครงสร้างข้างต้นด้วย
ทั้งนี้แผนการปรับโครงสร้างดังกล่าวยังมีความไม่แน่นอน และอาจมีการเพิ่มเติมหรือเปลี่ยนแปลงได้ ตามความเหมาะสมในอนาคต
2.เนื่องจากในปัจจุบันปริมาณการซื้อขายหุ้นของบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ฯ มีจำนวนไม่มากนัก การทำคำเสนอซื้อหลักทรัพย์ทั้งหมดของบริษัทเพื่อการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัทจะเป็นประโยชน์ต่อสภาพคล่องในการซื้อขายหุ้นของบริษัท โดยเป็นการช่วยเพิ่มทางเลือกและโอกาสในการขายหุ้นให้แก่ ผู้ถือหุ้นรายย่อยของบริษัท
3.เนื่องจากภายหลังการเพิกถอนหลักทรัพย์ของบริษัท บริษัทจะไม่มีสถานะเป็นบริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์ฯ อีกต่อไป การดำเนินการดังกล่าวจะช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายค่าธรรมเนียม และหน้าที่ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการเป็นบริษัทจดทะเบียนด้วย