จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : PTG แกร่ง Fortune Southeast Asia 500 จัดให้อยู่ในอันดับที่ 58 รายได้โตยั่งยืน
04 กรกฎาคม 2567
Fortune 500 จัดให้ บมจ.พีทีจี เอ็นเนอยี หรือ PTG อยู่ในอันดับที่ 58 ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จากรายได้ที่เติบโต สะท้อนการบริหารอย่างดีเยี่ยม-มีความมุ่งมั่นสู่ความเป็นเลิศ เพื่อตอบโจทย์วิสัยทัศน์อยู่ดี มีสุข
นิตยสาร Fortune Southeast Asia 500 ฉบับปฐมฤกษ์ ได้จัดอันดับ 500 บริษัทชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วย 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา
โดยประเทศที่มีบริษัทติดอันดับมากสุด ได้แก่ 1.อินโดนีเซีย มี 110 บริษัท 2.ประเทศไทย มี 107 บริษัท 3.มาเลเซีย มี 89 บริษัท 4.สิงคโปร์ มี 84 บริษัท 5.เวียดนาม มี 70 บริษัท 6.ฟิลิปปินส์ มี 38 บริษัท 7.กัมพูชา มี 2 บริษัท
สำหรับประเทศไทยมี 107 บริษัทติดอันดับ บมจ.พีทีจี เอ็นเนอยี หรือ PTG บริษัทประกอบธุรกิจ 8 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มธุรกิจจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง (ซึ่งเป็นธุรกิจหลักและธุรกิจเริ่มแรกของบริษัท) และธุรกิจค้าปลีก 2. กลุ่มธุรกิจจำหน่ายก๊าซ LPG 3. กลุ่มธุรกิจพลังงานทดแทนและการลงทุน
4.กลุ่มธุรกิจขนส่ง 5. กลุ่มธุรกิจบริหารและจัดการระบบ 6.กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 7.กลุ่มธุรกิจศูนย์บริการและซ่อมบำรุงรถยนต์ และ 8) กลุ่มธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ทั้งนี้บริษัทมีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างครบวงจร ก็มีรายชื่อเป็น 1 ใน 500 บริษัทชั้นนำ โดยอยู่ในอันดับที่ 58
“พิทักษ์ รัชกิจประการ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTG ระบุ บริษัทฯได้รับการจัดอันดับจาก Fortune Southeast Asia 500 ประจำปี 2567 เป็นครั้งแรก ในฐานะที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีรายได้ในปี2566 สูงสุดเป็นอันดับที่ 58 ของบริษัทขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีรายได้รวมอยู่ที่ 198,811 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.8% เทียบจากงวดเดียวกันของปีก่อน
นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่บริษัทฯ ได้รับการยอมรับในระดับโลก และเราภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้ร่วมผลักดันประเทศไทยให้เป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญของภูมิภาค การได้รับการจัดอันดับเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความสำเร็จนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นถึงความทุ่มเทในการทำงานของทีมงานที่ทำให้ผลการดำเนินงานมีความแข็งแกร่งและขยายธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน รวมถึงการมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าและผู้บริโภคด้วยกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจที่หลากหลายเพื่อความยั่งยืน โดยยึดหลักPTสร้างสุข สุขกาย สุขใจ สังคมอยู่ร่วมกันอย่าง อยู่ดีมีสุข นายพิทักษ์ กล่าว
โดยในปีนี้ บริษัทยังคงวางเป้าการเติบโตของรายได้ผ่านปริมาณการจำหน่ายน้ำมันผ่านทุกช่องทางที่เติบโต10-12%จากปีก่อน รวมถึงการเพิ่มขึ้นของรายได้ในกลุ่มธุรกิจNon-Oilที่ระดับ40-50%จากปีก่อนหน้า
ทั้งนี้นิตยสารฟอร์จูนเป็นสื่อธุรกิจที่ได้รับความน่าเชื่อถือมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยการจัดอันดับFortune Southeast Asia500 เป็นการจัดอันดับครั้งแรกในปี 2567 เพื่อเผยแพร่รายชื่อ 500 บริษัทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพิจารณาจากเกณฑ์รายได้ของบริษัทในแต่ละปี สำหรับประเทศที่ได้รับจัดอันดับครั้งแรกประกอบไปด้วยบริษัทจาก 7 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นิตยสาร Fortune Southeast Asia 500 ฉบับปฐมฤกษ์ ได้จัดอันดับ 500 บริษัทชั้นนำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งประกอบด้วย 7 ประเทศ ได้แก่ ไทย อินโดนีเซีย มาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม ฟิลิปปินส์ และกัมพูชา
โดยประเทศที่มีบริษัทติดอันดับมากสุด ได้แก่ 1.อินโดนีเซีย มี 110 บริษัท 2.ประเทศไทย มี 107 บริษัท 3.มาเลเซีย มี 89 บริษัท 4.สิงคโปร์ มี 84 บริษัท 5.เวียดนาม มี 70 บริษัท 6.ฟิลิปปินส์ มี 38 บริษัท 7.กัมพูชา มี 2 บริษัท
สำหรับประเทศไทยมี 107 บริษัทติดอันดับ บมจ.พีทีจี เอ็นเนอยี หรือ PTG บริษัทประกอบธุรกิจ 8 กลุ่ม ได้แก่ 1. กลุ่มธุรกิจจำหน่ายน้ำมันเชื้อเพลิง (ซึ่งเป็นธุรกิจหลักและธุรกิจเริ่มแรกของบริษัท) และธุรกิจค้าปลีก 2. กลุ่มธุรกิจจำหน่ายก๊าซ LPG 3. กลุ่มธุรกิจพลังงานทดแทนและการลงทุน
4.กลุ่มธุรกิจขนส่ง 5. กลุ่มธุรกิจบริหารและจัดการระบบ 6.กลุ่มธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม 7.กลุ่มธุรกิจศูนย์บริการและซ่อมบำรุงรถยนต์ และ 8) กลุ่มธุรกิจบริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (e-Money) ทั้งนี้บริษัทมีความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอย่างครบวงจร ก็มีรายชื่อเป็น 1 ใน 500 บริษัทชั้นนำ โดยอยู่ในอันดับที่ 58
“พิทักษ์ รัชกิจประการ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ PTG ระบุ บริษัทฯได้รับการจัดอันดับจาก Fortune Southeast Asia 500 ประจำปี 2567 เป็นครั้งแรก ในฐานะที่เป็นบริษัทขนาดใหญ่ที่มีรายได้ในปี2566 สูงสุดเป็นอันดับที่ 58 ของบริษัทขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีรายได้รวมอยู่ที่ 198,811 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10.8% เทียบจากงวดเดียวกันของปีก่อน
นับเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่บริษัทฯ ได้รับการยอมรับในระดับโลก และเราภูมิใจอย่างยิ่งที่ได้ร่วมผลักดันประเทศไทยให้เป็นประเทศที่มีบทบาทสำคัญของภูมิภาค การได้รับการจัดอันดับเป็นหนึ่งในบริษัทที่มีขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ความสำเร็จนี้เป็นเครื่องพิสูจน์ให้เห็นถึงความทุ่มเทในการทำงานของทีมงานที่ทำให้ผลการดำเนินงานมีความแข็งแกร่งและขยายธุรกิจเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน รวมถึงการมอบสิ่งที่ดีที่สุดให้กับลูกค้าและผู้บริโภคด้วยกลยุทธ์ขับเคลื่อนธุรกิจที่หลากหลายเพื่อความยั่งยืน โดยยึดหลักPTสร้างสุข สุขกาย สุขใจ สังคมอยู่ร่วมกันอย่าง อยู่ดีมีสุข นายพิทักษ์ กล่าว
โดยในปีนี้ บริษัทยังคงวางเป้าการเติบโตของรายได้ผ่านปริมาณการจำหน่ายน้ำมันผ่านทุกช่องทางที่เติบโต10-12%จากปีก่อน รวมถึงการเพิ่มขึ้นของรายได้ในกลุ่มธุรกิจNon-Oilที่ระดับ40-50%จากปีก่อนหน้า
ทั้งนี้นิตยสารฟอร์จูนเป็นสื่อธุรกิจที่ได้รับความน่าเชื่อถือมากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก โดยการจัดอันดับFortune Southeast Asia500 เป็นการจัดอันดับครั้งแรกในปี 2567 เพื่อเผยแพร่รายชื่อ 500 บริษัทที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยพิจารณาจากเกณฑ์รายได้ของบริษัทในแต่ละปี สำหรับประเทศที่ได้รับจัดอันดับครั้งแรกประกอบไปด้วยบริษัทจาก 7 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้