จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : TEGH รับประโยชน์ ภาครัฐยกระดับอุตฯยางพาราไทย พัฒนาราคาอ้างอิงสร้าง “โปร่งใส่-รับเกณฑ์ EUDR”
05 กรกฎาคม 2567
TFEX ผนึก กยท.พัฒนาราคาอ้างอิงยางพารา ยันมาตรฐานคำนวณโปร่งใส พร้อมหนุนยาง EUDR ไทย ขณะที่ TEGH ลุ้นทำสถิติสูงสุดใหม่ (All Time High) ทำให้ภาพรวมของผลงานปี 67 เติบโตก้าวกระโดด
บริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) (TFEX) ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาราคาอ้างอิงยางพาราร่วมกับการยางแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนาให้ประเทศไทยมีราคาอ้างอิงในการซื้อขายยางพารา (Rubber Reference Price) ที่เป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งอุตสาหกรรมยาง และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง
โดยTFEX และการยางแห่งประเทศไทย มุ่งหวังให้ราคาอ้างอิงที่พัฒนาขึ้นมานี้เป็นที่ยอมรับและถูกใช้อ้างอิงในการทำธุรกรรมซื้อขายทั้งในและต่างประเทศ โดย TFEX เป็นผู้คำนวณและเผยแพร่ราคาอ้างอิง ซึ่งในการดำเนินการได้มีการกำหนดวิธีการไว้เป็นมาตรฐานและเผยแพร่ให้ทราบเป็นการทั่วไป เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อราคาอ้างอิงว่ามีความโปร่งใส ในอนาคต TFEX และการยางแห่งประเทศไทยจะหารือผู้ประกอบการเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาราคายางที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า (European Union Deforestation Free Regulation หรือ EUDR) เพิ่มเติม รวมทั้ง TFEX จะศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ราคาอ้างอิงดังกล่าวเพื่อต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับ Rubber Futures เพิ่มเติม" นางสาวรินใจกล่าว
นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการ กยท. ระบุ ไทยถือเป็นผู้ผลิตยางพารารายใหญ่ของโลก แต่ที่ผ่านมาการอ้างอิงราคายางเพื่อทำสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศยังคงอ้างอิงราคาจากตลาดยางต่างประเทศเป็นหลัก ดังนั้น การที่ไทยสามารถพัฒนาสูตรการคำนวณเพื่อกำหนดราคาอ้างอิงได้เองจะช่วยให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงของเกษตรกรและผู้ผลิตยางพาราไทยได้
กยท. ในฐานะหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการยางพาราของไทยทั้งระบบ ตลอดจนการซื้อขายยางพาราในประเทศและการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพาราสู่ต่างประเทศ จึงผสานความร่วมมือกับ TFEX ร่วมกันพัฒนาการคำนวณราคาอ้างอิง เพื่อใช้ในการซื้อขายยางของไทยที่มีความโปร่งใสและเป็นมาตรฐานสากล พร้อมเผยแพร่ราคาดังกล่าวสู่สาธารณะ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นฐานในการกำหนดราคาทำสัญญาซื้อขายยางเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ (ราคา FOB) ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมยางพารา
ทั้งนี้ กยท. มีทำหน้าที่รวบรวมและส่งมอบข้อมูลปริมาณการซื้อขาย ข้อมูลฐานของผลิตภัณฑ์ยางพาราชนิดต่างๆ และข้อมูลจำเป็นอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในตลาดกลางยางพาราแต่ละจังหวัด ของ กยท. ให้กับ TFEX และร่วมมือกับ TFEX ในการพัฒนาการกำหนดสูตรคำนวณราคาอ้างอิงและร่วมกันเผยแพร่ราคาต่อไป
"เชื่อมั่นว่าความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นก้าวสำคัญในการสร้างมาตรฐานราคาอ้างอิงยางพาราของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล นำไปสู่การยกระดับให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา ซึ่งจะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางไทย เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงในอาชีพต่อไปได้" ผู้ว่าการ กยท. กล่าว
กรรมการผู้จัดการ บมจ. ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (TEGH) นางสาวสินีนุช โกกนุทาภรณ์ ระบุแนวโน้มผลการดำเนินงานในปี 2567 มีทิศทางที่ดีต่อเนื่องทั้งสามสายธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางธรรมชาติที่มีสัญญาณสดใสตลอดทั้งปี โดยยางแท่งมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่องจากไตรมาส 1/2567 จากปัจจัยสนับสนุนด้านภาพรวมเศรษฐกิจฟื้นตัว และการเติบโตของอุตสาหกรรมยางล้อและรถยนต์ อีกทั้งยังมีสัญญาณที่ดีจากความต้องการยางแท่งมาตรฐาน EUDR ซึ่งจะส่งผลเชิงบวกต่อผลประกอบการในครึ่งปีหลัง ทั้งในด้านของยอดขายและราคาขายยางแท่ง
ปัจจุบัน บริษัทยังคงมุ่งเน้นขยายฐานลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งในยุโรป อินเดีย และจีน โดยได้รับปัจจัยบวกจากการบังคับใช้กฎหมาย EUDR ซึ่งเป็นกฎหมายห้ามนำเข้าสินค้าที่ใช้วัตถุดิบที่มาจากการตัดไม้ทำลายป่า ที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้มีการทำสัญญาซื้อขายยางแท่งเกรด EUDR แล้วทั้งในโซนยุโรปและเอเชีย และเริ่มส่งมอบสินค้าไปแล้วในไตรมาส 2/2567 และจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งจะสนับสนุนให้ผลการดำเนินงานในอนาคตเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
บริษัท ตลาดสัญญาซื้อขายล่วงหน้า (ประเทศไทย) (TFEX) ได้จัดทำบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ (MOU) การพัฒนาราคาอ้างอิงยางพาราร่วมกับการยางแห่งประเทศไทย เพื่อพัฒนาให้ประเทศไทยมีราคาอ้างอิงในการซื้อขายยางพารา (Rubber Reference Price) ที่เป็นที่ยอมรับของผู้ประกอบการและผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อทั้งอุตสาหกรรมยาง และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่อง
โดยTFEX และการยางแห่งประเทศไทย มุ่งหวังให้ราคาอ้างอิงที่พัฒนาขึ้นมานี้เป็นที่ยอมรับและถูกใช้อ้างอิงในการทำธุรกรรมซื้อขายทั้งในและต่างประเทศ โดย TFEX เป็นผู้คำนวณและเผยแพร่ราคาอ้างอิง ซึ่งในการดำเนินการได้มีการกำหนดวิธีการไว้เป็นมาตรฐานและเผยแพร่ให้ทราบเป็นการทั่วไป เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นต่อราคาอ้างอิงว่ามีความโปร่งใส ในอนาคต TFEX และการยางแห่งประเทศไทยจะหารือผู้ประกอบการเพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาราคายางที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่า (European Union Deforestation Free Regulation หรือ EUDR) เพิ่มเติม รวมทั้ง TFEX จะศึกษาความเป็นไปได้ในการใช้ราคาอ้างอิงดังกล่าวเพื่อต่อยอดพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวกับ Rubber Futures เพิ่มเติม" นางสาวรินใจกล่าว
นายณกรณ์ ตรรกวิรพัท ผู้ว่าการ กยท. ระบุ ไทยถือเป็นผู้ผลิตยางพารารายใหญ่ของโลก แต่ที่ผ่านมาการอ้างอิงราคายางเพื่อทำสัญญาซื้อขายระหว่างประเทศยังคงอ้างอิงราคาจากตลาดยางต่างประเทศเป็นหลัก ดังนั้น การที่ไทยสามารถพัฒนาสูตรการคำนวณเพื่อกำหนดราคาอ้างอิงได้เองจะช่วยให้สะท้อนต้นทุนที่แท้จริงของเกษตรกรและผู้ผลิตยางพาราไทยได้
กยท. ในฐานะหน่วยงานกลางที่รับผิดชอบดูแลการบริหารจัดการยางพาราของไทยทั้งระบบ ตลอดจนการซื้อขายยางพาราในประเทศและการส่งออกผลิตภัณฑ์ยางพาราสู่ต่างประเทศ จึงผสานความร่วมมือกับ TFEX ร่วมกันพัฒนาการคำนวณราคาอ้างอิง เพื่อใช้ในการซื้อขายยางของไทยที่มีความโปร่งใสและเป็นมาตรฐานสากล พร้อมเผยแพร่ราคาดังกล่าวสู่สาธารณะ ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นฐานในการกำหนดราคาทำสัญญาซื้อขายยางเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ (ราคา FOB) ซึ่งจะสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในอุตสาหกรรมยางพารา
ทั้งนี้ กยท. มีทำหน้าที่รวบรวมและส่งมอบข้อมูลปริมาณการซื้อขาย ข้อมูลฐานของผลิตภัณฑ์ยางพาราชนิดต่างๆ และข้อมูลจำเป็นอื่นๆ ที่เกิดขึ้นในตลาดกลางยางพาราแต่ละจังหวัด ของ กยท. ให้กับ TFEX และร่วมมือกับ TFEX ในการพัฒนาการกำหนดสูตรคำนวณราคาอ้างอิงและร่วมกันเผยแพร่ราคาต่อไป
"เชื่อมั่นว่าความร่วมมือในครั้งนี้ จะเป็นก้าวสำคัญในการสร้างมาตรฐานราคาอ้างอิงยางพาราของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล นำไปสู่การยกระดับให้ไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมผลิตภัณฑ์ยางพารา ซึ่งจะเป็นประโยชน์สูงสุดแก่เกษตรกรชาวสวนยางและผู้ประกอบกิจการยางไทย เพื่อสร้างความเข้มแข็งและความมั่นคงในอาชีพต่อไปได้" ผู้ว่าการ กยท. กล่าว
กรรมการผู้จัดการ บมจ. ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (TEGH) นางสาวสินีนุช โกกนุทาภรณ์ ระบุแนวโน้มผลการดำเนินงานในปี 2567 มีทิศทางที่ดีต่อเนื่องทั้งสามสายธุรกิจ โดยเฉพาะธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางธรรมชาติที่มีสัญญาณสดใสตลอดทั้งปี โดยยางแท่งมีคำสั่งซื้อเข้ามาอย่างต่อเนื่องจากไตรมาส 1/2567 จากปัจจัยสนับสนุนด้านภาพรวมเศรษฐกิจฟื้นตัว และการเติบโตของอุตสาหกรรมยางล้อและรถยนต์ อีกทั้งยังมีสัญญาณที่ดีจากความต้องการยางแท่งมาตรฐาน EUDR ซึ่งจะส่งผลเชิงบวกต่อผลประกอบการในครึ่งปีหลัง ทั้งในด้านของยอดขายและราคาขายยางแท่ง
ปัจจุบัน บริษัทยังคงมุ่งเน้นขยายฐานลูกค้าทั้งในประเทศและต่างประเทศ ทั้งในยุโรป อินเดีย และจีน โดยได้รับปัจจัยบวกจากการบังคับใช้กฎหมาย EUDR ซึ่งเป็นกฎหมายห้ามนำเข้าสินค้าที่ใช้วัตถุดิบที่มาจากการตัดไม้ทำลายป่า ที่ผ่านมาบริษัทฯ ได้มีการทำสัญญาซื้อขายยางแท่งเกรด EUDR แล้วทั้งในโซนยุโรปและเอเชีย และเริ่มส่งมอบสินค้าไปแล้วในไตรมาส 2/2567 และจะเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในช่วงครึ่งปีหลัง ซึ่งจะสนับสนุนให้ผลการดำเนินงานในอนาคตเติบโตขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ