กระดานข่าว

GFC จ่อสานฝัน LGBTQIAN+ สู่ความหวังการอยากมีบุตร หลังปลดล็อก สมรสเท่าเทียม และ กฎหมายอุ้มบุญ ฉลุย


08 กรกฎาคม 2567

บมจ.เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ ชูสโลแกน “GFC ใส่ใจในความสำเร็จ” เพื่อเติมเต็มคำว่า “ครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ” เดินหน้าตอกย้ำหนึ่งในผู้ให้บริการทางการแพทย์สำหรับผู้มีบุตรยาก แบบครบวงจร ระดับชั้นนำของประเทศ จ่อรับอานิสงส์บวกหลังปลดล็อก “สมรสเท่าเทียม - กฎหมาย อุ้มบุญ” ประกาศเตรียมเทคโนโลยีช่วยในการมีบุตรและอุ้มบุญ สานฝันคู่รัก LGBTQIAN+ ที่อยากมีบุตรทั้งคนไทยและต่างชาติ  

คุณกรพัส อัจฉริยมานีกูล CEO GFC.jpg

จากกรณีที่พรบ.สมรสเท่าเทียมผ่านสภา ส่งผลให้กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ต้องเร่งเดินหน้าแก้ไขพรบ.คุ้มครองเด็กที่เกิดโดยอาศัยเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ พ.ศ.2558 หรือ“กฎหมายอุ้มบุญ”เพื่อให้คู่สมรส LGBTQIAN+ สามารถใช้เทคโนโลยีช่วยในการมีบุตรและอุ้มบุญได้ เพื่อให้สอดคล้องกฎหมายสมรสเท่าเทียม โดยขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของกองกฎหมาย สบส. ซึ่งจะมีการนัดหมายในปลายเดือน มิ.ย.นี้ จากนั้นจะนำเข้าสู่ที่ประชุมคณะกรรมการอุ้มบุญในเดือนหน้า (ก.ค.) และคาดว่าจะสามารถคลอด “พ.ร.บ. อุ้มบุญ” ภายในปีนี้

ทั้งนี้ ข้อมูลจากกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) พบว่า มีอัตราความสำเร็จในการใช้เทคโนโลยีช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์ในปี 2567 เพิ่มขึ้นจาก ปี 2566 ประมาณ 2.5% เพิ่มขึ้นจาก 46% เป็น 48%  และยังคงจะเพิ่มขึ้นจากเทคโนโลยีที่ทันสมัย ดังนั้นการมีกฎหมายเฉพาะในการควบคุมกำกับการใช้  เทคโนโลยีฯ จะช่วยยกระดับการให้บริการเทคโนโลยีช่วยการเจริญพันธุ์ทางการแพทย์

ต่อประเด็นดังกล่าว นายกรพัส อัจฉริยมานีกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เจเนซีส เฟอร์ทิลีตี เซ็นเตอร์ จำกัด (มหาชน) “GFC” ผู้ให้บริการทางการแพทย์สำหรับผู้มีปัญหามีบุตรยากแบบครบวงจร เปิดเผยว่า หลังจากที่ พ.ร.บ. สมรสเท่าเทียมได้ปลดล็อกถือเป็นการส่งสัญญาณที่ดี ในการลดช่องว่างความไม่เสมอภาคทางเพศของกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIAN+) ในประเทศไทยได้มากขึ้น ดังนั้นหากพรบ.ดังกล่าวมีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการ ทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เปิดโอกาสให้คู่รัก LGBTQIAN+ สมรสกันได้อย่างถูกกฎหมาย ซึ่งจะรวมถึงการเปิดโอกาสให้คู่สมรสดังกล่าว สามารถใช้เทคโนโลยีช่วยในการมีบุตรและอุ้มบุญได้ตามกฎหมายอุ้มบุญใหม่ ทั้งนี้ถือเป็นการส่งสัญญาณเชิงบวกต่อ GFC และภาคอุตสาหกรรมการให้บริการทางการแพทย์สำหรับผู้มีปัญหามีบุตรยากอย่างมีนัยสำคัญ

อย่างไรก็ตาม GFC มีเทคโนโลยีช่วยในการมีบุตรและอุ้มบุญ สำหรับรองรับคู่สมรสทั่วไป รวมถึงกลุ่มคู่สมรส LGBTQIAN+ ทั้งคนไทยและต่างชาติ ภายใต้กรอบกฎหมายที่กำหนดไว้ ทั้งความพร้อมในการให้บริการทางการแพทย์สำหรับผู้มีปัญหามีบุตรยาก ด้านนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ช่วยเจริญพันธุ์ทางการแพทย์และทีมแพทย์เพื่อรองรับกลุ่มลูกค้า ตั้งแต่การรับบริการตรวจเบื้องต้น, การรักษาด้วยวิธี IUI, การรักษาด้วยวิธี ICSI, การตรวจพันธุกรรมของตัวอ่อน NGS และการฝากไข่

โดยในไตรมาส 3/2567 นี้ GFC เตรียมเปิดให้บริการรักษาผู้มีบุตรยาก 2 สาขาใหม่ ได้แก่ สาขาพระราม 9 อินเตอร์เนชั่นแนล และ สาขาอุบลราชธานี ส่งผลให้ครึ่งปีหลัง GFC จะมีสาขาให้บริการครบ 3 สาขา รวมสาขาปัจจุบัน (พระราม 3) ซึ่งตอบโจทย์ผู้ใช้บริการที่เข้ารับการรักษาผู้มีบุตรยาก และสอดรับกับการปลดล็อก “สมรสเท่าเทียม - กฎหมายอุ้มบุญ” ได้ครบทุกมิติ  เพราะทุกๆ ขั้นตอนของการให้บริการของ GFC มีผลต่อชีวิตคู่และชีวิตที่เกิดใหม่ “GFC ใส่ใจในความสำเร็จ” เพื่อเติมเต็มคำว่า “ครอบครัวที่สมบูรณ์แบบ” 

GFC