กระดานข่าว
ปลายปีนี้ค่าไฟอาจเพิ่มเป็น 4.65-6.01 บาท/หน่วย จับตา กกพ. เปิดรับฟังความเห็น 12 - 26 ก.ค.นี้
12 กรกฎาคม 2567
“กกพ.” ยืนยัน ดูแลค่าครองชีพประชาชนควบคู่ความมั่นคงระบบไฟฟ้า สุดอั้น เผยบาทอ่อนต่อเนื่องและราคาก๊าซธรรมชาติเหลวที่เริ่มสูงขึ้นดันราคาก๊าซพุ่ง ตลอดจนการจ่ายคืนภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริง (คงค้าง) กฟผ. และมูลค่าส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติที่เกิดขึ้นจริงกับราคาก๊าซธรรมชาติที่เรียกเก็บเดือนกันยายน - ธันวาคม 2566 ตามมติคณะรัฐมนตรี วันที่ 18 กันยายน 2566 (AFGas) จำนวนเงิน 15,083.79 ล้านบาท ส่งผลให้ทางเลือกค่าเอฟทีที่ต่ำสุดที่ 86.55 สตางค์ต่อหน่วยหรือค่าไฟฟ้า 4.65 บาท ต่อหน่วยตามที่ กฟผ. เสนอ โดย กกพ. เปิดรับฟังความเห็น 3 ทางเลือก ตั้งแต่วันที่ 12 - 26 กรกฎาคม 2567
ดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า จากแนวโน้มค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนตัวลงจากงวดก่อนหน้า 1.29 บาทต่อเหรียญสหรัฐ (งวด พ.ค. - ส.ค. 2567) เป็น 36.63 บาทต่อเหรียญสหรัฐ การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำในประเทศและต่างประเทศ และการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินแม่เมาะซึ่งมีต้นทุนราคาถูกมีความพร้อมในการผลิตลดลง และสถานการณ์ราคาก๊าซธรรมชาติเหลวแบบสัญญาจร (LNG Spot) ในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นจากงวดก่อนหน้า 3.2 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียูตามสถานการณ์ ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากกำลังเข้าสู่ฤดูหนาวในปลายปี เป็นสามสาเหตุหลักซึ่งเป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมส่งผลให้ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าปรับตัวสูงขึ้น เมื่อรวมกับการทยอยคืนหนี้ค่าเชื้อเพลิงค้างชำระในงวดก่อนหน้าส่งผลให้ค่าไฟในช่ว ปลายปีนี้อาจจะต้องปรับเพิ่ม ค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) ขึ้นในระดับ 46.83-182.99 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.7833 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บในงวด ก.ย. - ธ.ค. 2567 เพิ่มขึ้นเป็น 4.65-6.01 บาทต่อหน่วยจากงวดก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 4.18 บาทต่อหน่วย
“ในการพิจารณาค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ “ค่าเอฟที” และค่าไฟฟ้า สำหรับงวดเดือน ก.ย. - ธ.ค. 2567 กกพ. ตระหนักดีและคำนึงถึงผลกระทบทั้งในส่วนของผลกระทบของค่าไฟฟ้าต่อค่าครองชีพของพี่น้อง ประชาชน และความสำคัญในการรักษาไว้ซึ่งความมีเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศ เพราะนอกจากไฟฟ้ายังเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในการดำรงชีพแล้ว ไฟฟ้ายังเป็นปัจจัยหลักที่หนุนเสริมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้า และการลงทุนของประเทศ ซึ่งในกระบวนการบริหารจัดการจึงมีเป้าหมายในการรักษาสมดุลทั้งการดูแลค่าครองชีพ และการดูแลคุณภาพ ความมั่นคง ความมีเสถียรภาพ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ในช่วงที่ภาคพลังงานของประเทศยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติอย่างเต็มที่” ดร.พูลพัฒน์ กล่าว
ดร.พูลพัฒน์ กล่าวว่า ปัจจัยในการพิจารณาค่าไฟฟ้างวดสุดท้ายของปีนี้ที่เพิ่มขึ้น ยังคงมาจาก เรื่องต้นทุนเชื้อเพลิงก๊าซทั้งก๊าซในอ่าวไทย และ LNG Spot นำเข้า ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า มีราคาสูงขึ้น เพราะก๊าซทั้งสองแหล่งต่างได้รับผลกระทบต่อโครงสร้างต้นทุนจากค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงต่อเนื่องเฉลี่ยอยู่ที่ 36.63 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากต้นปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงกลางปีที่ผ่านมาภาวะราคา LNG Spot ในตลาดโลกมีการปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติอย่างต่อเนื่องทั้งปริมาณและราคาซึ่งเฉลี่ยอยู่ในระดับ 10 - 12 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู และคาดการณ์ ราคามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2567 ขึ้นมาอยู่ที่เฉลี่ย 13 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู เนื่องจาก มีปริมาณความต้องการใช้เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาว
ส่วนปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยกำลังการผลิตได้กลับมาสู่ภาวะปกติแล้วเช่นกัน โดยมีปริมาณการผลิตทุกแหล่งรวมกันเฉลี่ย 2,184 ล้านบีทียูต่อวัน แต่แหล่งก๊าซในเมียนมาร์ยังคงมีปริมาณลดลง อย่างต่อเนื่องอยู่ที่เฉลี่ย 468 ล้านบีทียูต่อวัน จากงวดก่อนหน้านี้อยู่ที่เฉลี่ยประมาณ 483 ล้านบีทียูต่อวัน ส่งผลต้องมีการนำเข้า LNG Spot เข้ามาทดแทน
ทั้งนี้ กกพ. ในการประชุมครั้งที่ 28/2567 (ครั้งที่ 913) เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 มีมติรับทราบภาระต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจริงประจำรอบเดือน ม.ค. - เม.ย. 2567 และเห็นชอบผลการคำนวณประมาณ ค่าเอฟทีสำหรับงวดเดือน ก.ย - ธ.ค. 2567 พร้อมให้สำนักงาน กกพ. นำค่าเอฟทีประมาณการและแนวทางการจ่ายภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. ไปรับฟังความคิดเห็นในกรณีต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 12 – 26 กรกฎาคม 2567 ก่อนที่จะมีการสรุปและประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป ดังนี้
กรณีที่ 1: ผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่า Ft (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างทั้งหมด) ค่า Ft ขายปลีกเท่ากับ 222.71 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะเป็นการเรียกเก็บตามผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่า Ft ที่สะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดือนกันยายน – ธันวาคม 2567 จำนวน 34.30 สตางค์ต่อหน่วย และเงินเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนคงค้าง (AF) ที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. จำนวน 98,495 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 163.39 สตางค์ต่อหน่วย) และมูลค่า AFGAS จำนวน 15,083.79 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 25.02 สตางค์ต่อหน่วย) รวมทั้งสิ้นจำนวน 188.41 สตางค์ต่อหน่วย โดย กฟผ. จะได้รับเงินที่รับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าแทนประชาชนตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 - เมษายน 2567 ในช่วงสภาวะวิกฤตของราคาพลังงานที่ผ่านมา คืนทั้งหมดภายในเดือนธันวาคม 2567 เพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องให้มีสถานะทางการเงินคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว และรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ จะได้รับเงินคืนส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับ ภาคไฟฟ้าคืนทั้งหมด ซึ่งเมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกที่คำนวณได้กับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 6.01 บาทต่อหน่วย โดยค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 44 จากระดับ 4.18 บาทต่อหน่วย ในงวดปัจจุบัน
กรณีที่ 2: กรณีจ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 3 งวด ค่า Ft ขายปลีก เท่ากับ 113.78 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะสะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดือนกันยายน – ธันวาคม 2567 จำนวน 34.30 สตางค์ต่อหน่วย และทยอยชำระคืนภาระต้นทุนคงค้างที่ กฟผ. กู้เงินมาเพื่อตรึงค่าไฟฟ้าตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 – เมษายน 2567 ออกเป็น 3 งวดๆ ละจำนวน 32,832 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 54.46 สตางค์ต่อหน่วย) และมูลค่า AFGAS จำนวน 15,083.79 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 25.02 สตางค์ต่อหน่วย) รวมทั้งสิ้นเท่ากับ 79.48 สตางค์ต่อหน่วย เพื่อให้ กฟผ. มีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีขึ้น สามารถดำเนินการตามแผนชำระคืนหนี้เงินกู้ที่วางไว้เพื่อรักษาระดับความน่าเชื่อถือ และลดภาระดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้น โดยคาดว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2567 จะมีภาระต้นทุนคงค้างที่ กฟผ. รับภาระแทนประชาชนคงเหลืออยู่ที่ 65,663 ล้านบาท ในขณะที่รัฐวิสาหกิจ ที่ประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ จะได้รับเงินคืนส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้าคืนทั้งหมด ซึ่งเมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.92 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 จากงวดปัจจุบัน
กรณีที่ 3: กรณีจ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 6 งวด ค่า Ft ขายปลีก เท่ากับ 86.55 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะสะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดือนกันยายน – ธันวาคม 2567 จำนวน 34.30 สตางค์ต่อหน่วย และทยอยชำระคืนภาระต้นทุนคงค้างที่ กฟผ. กู้เงินมาเพื่อตรึงค่าไฟฟ้าตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 – เมษายน 2567 ออกเป็น 6 งวดๆ ละจำนวน 16,416 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 27.23 สตางค์ต่อหน่วย) และมูลค่า AFGAS จำนวน 15,083.79 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 25.02 สตางค์ต่อหน่วย) รวมทั้งสิ้นเท่ากับ 52.25 สตางค์ต่อหน่วย เพื่อให้ กฟผ. มีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีขึ้น สามารถดำเนินการตามแผนชำระคืนหนี้เงินกู้ที่วางไว้เพื่อรักษาระดับความน่าเชื่อถือ และลดภาระดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้น โดยคาดว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2567 จะมีภาระต้นทุนคงค้างที่ กฟผ. รับภาระแทนประชาชนคงเหลืออยู่ที่ 82,079 ล้านบาท ในขณะที่รัฐวิสาหกิจ ที่ประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ จะได้รับเงินคืนส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้าคืนทั้งหมด ซึ่งเมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.65 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 จากงวดปัจจุบัน
ดร.พูลพัฒน์ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า "สำนักงาน กกพ. ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนร่วมกัน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าได้ง่ายๆ 5 ป. ได้แก่ ปลด หรือถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าลดการใช้ไฟฟ้าเมื่อใช้งานเสร็จ ปิด หรือดับไฟเมื่อเลิกใช้งาน ปรับ อุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้อยู่ที่ 26 องศา เปลี่ยน มาใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟเบอร์ 5 ปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นเพื่อลดอุณหภูมิภายในบ้าน ซึ่งทั้ง 5 ป. จะช่วยลดภาระ ค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าเองด้วย”
ทั้งนี้ กกพ. เปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 12 – 26 กรกฎาคม 2567 ก่อนที่จะมีการสรุปและประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป
ดร.พูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (สำนักงาน กกพ.) ในฐานะโฆษกคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เปิดเผยว่า จากแนวโน้มค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐที่อ่อนตัวลงจากงวดก่อนหน้า 1.29 บาทต่อเหรียญสหรัฐ (งวด พ.ค. - ส.ค. 2567) เป็น 36.63 บาทต่อเหรียญสหรัฐ การผลิตไฟฟ้าพลังน้ำในประเทศและต่างประเทศ และการผลิตไฟฟ้าจากถ่านหินแม่เมาะซึ่งมีต้นทุนราคาถูกมีความพร้อมในการผลิตลดลง และสถานการณ์ราคาก๊าซธรรมชาติเหลวแบบสัญญาจร (LNG Spot) ในตลาดโลกปรับตัวเพิ่มขึ้นจากงวดก่อนหน้า 3.2 เหรียญสหรัฐต่อล้านบีทียูตามสถานการณ์ ความต้องการใช้ก๊าซธรรมชาติในตลาดโลกที่เพิ่มขึ้น เนื่องจากกำลังเข้าสู่ฤดูหนาวในปลายปี เป็นสามสาเหตุหลักซึ่งเป็นปัจจัยที่อยู่นอกเหนือการควบคุมส่งผลให้ต้นทุนค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าปรับตัวสูงขึ้น เมื่อรวมกับการทยอยคืนหนี้ค่าเชื้อเพลิงค้างชำระในงวดก่อนหน้าส่งผลให้ค่าไฟในช่ว ปลายปีนี้อาจจะต้องปรับเพิ่ม ค่าไฟฟ้าผันแปร (ค่าเอฟที) ขึ้นในระดับ 46.83-182.99 สตางค์ต่อหน่วย เมื่อรวมกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.7833 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเรียกเก็บในงวด ก.ย. - ธ.ค. 2567 เพิ่มขึ้นเป็น 4.65-6.01 บาทต่อหน่วยจากงวดก่อนหน้าซึ่งอยู่ที่ 4.18 บาทต่อหน่วย
“ในการพิจารณาค่าไฟฟ้าผันแปร หรือ “ค่าเอฟที” และค่าไฟฟ้า สำหรับงวดเดือน ก.ย. - ธ.ค. 2567 กกพ. ตระหนักดีและคำนึงถึงผลกระทบทั้งในส่วนของผลกระทบของค่าไฟฟ้าต่อค่าครองชีพของพี่น้อง ประชาชน และความสำคัญในการรักษาไว้ซึ่งความมีเสถียรภาพและความมั่นคงของระบบไฟฟ้าของประเทศ เพราะนอกจากไฟฟ้ายังเป็นปัจจัยหลักที่สำคัญในการดำรงชีพแล้ว ไฟฟ้ายังเป็นปัจจัยหลักที่หนุนเสริมการขับเคลื่อนเศรษฐกิจการค้า และการลงทุนของประเทศ ซึ่งในกระบวนการบริหารจัดการจึงมีเป้าหมายในการรักษาสมดุลทั้งการดูแลค่าครองชีพ และการดูแลคุณภาพ ความมั่นคง ความมีเสถียรภาพ เพื่อให้สามารถอยู่ร่วมกันได้ในช่วงที่ภาคพลังงานของประเทศยังไม่กลับเข้าสู่ภาวะปกติอย่างเต็มที่” ดร.พูลพัฒน์ กล่าว
ดร.พูลพัฒน์ กล่าวว่า ปัจจัยในการพิจารณาค่าไฟฟ้างวดสุดท้ายของปีนี้ที่เพิ่มขึ้น ยังคงมาจาก เรื่องต้นทุนเชื้อเพลิงก๊าซทั้งก๊าซในอ่าวไทย และ LNG Spot นำเข้า ซึ่งเป็นเชื้อเพลิงหลักในการผลิตไฟฟ้า มีราคาสูงขึ้น เพราะก๊าซทั้งสองแหล่งต่างได้รับผลกระทบต่อโครงสร้างต้นทุนจากค่าเงินบาทเมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงต่อเนื่องเฉลี่ยอยู่ที่ 36.63 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ จากต้นปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 33 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐ
อย่างไรก็ตาม ตั้งแต่ช่วงกลางปีที่ผ่านมาภาวะราคา LNG Spot ในตลาดโลกมีการปรับตัวเข้าสู่ภาวะปกติอย่างต่อเนื่องทั้งปริมาณและราคาซึ่งเฉลี่ยอยู่ในระดับ 10 - 12 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู และคาดการณ์ ราคามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในช่วงปลายปี 2567 ขึ้นมาอยู่ที่เฉลี่ย 13 ดอลลาร์สหรัฐต่อล้านบีทียู เนื่องจาก มีปริมาณความต้องการใช้เพิ่มขึ้นในช่วงฤดูหนาว
ส่วนปริมาณก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทยกำลังการผลิตได้กลับมาสู่ภาวะปกติแล้วเช่นกัน โดยมีปริมาณการผลิตทุกแหล่งรวมกันเฉลี่ย 2,184 ล้านบีทียูต่อวัน แต่แหล่งก๊าซในเมียนมาร์ยังคงมีปริมาณลดลง อย่างต่อเนื่องอยู่ที่เฉลี่ย 468 ล้านบีทียูต่อวัน จากงวดก่อนหน้านี้อยู่ที่เฉลี่ยประมาณ 483 ล้านบีทียูต่อวัน ส่งผลต้องมีการนำเข้า LNG Spot เข้ามาทดแทน
ทั้งนี้ กกพ. ในการประชุมครั้งที่ 28/2567 (ครั้งที่ 913) เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2567 มีมติรับทราบภาระต้นทุนการผลิตไฟฟ้าจริงประจำรอบเดือน ม.ค. - เม.ย. 2567 และเห็นชอบผลการคำนวณประมาณ ค่าเอฟทีสำหรับงวดเดือน ก.ย - ธ.ค. 2567 พร้อมให้สำนักงาน กกพ. นำค่าเอฟทีประมาณการและแนวทางการจ่ายภาระต้นทุนที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. ไปรับฟังความคิดเห็นในกรณีต่างๆ ผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 12 – 26 กรกฎาคม 2567 ก่อนที่จะมีการสรุปและประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป ดังนี้
กรณีที่ 1: ผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่า Ft (จ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างทั้งหมด) ค่า Ft ขายปลีกเท่ากับ 222.71 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะเป็นการเรียกเก็บตามผลการคำนวณตามสูตรการปรับค่า Ft ที่สะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดือนกันยายน – ธันวาคม 2567 จำนวน 34.30 สตางค์ต่อหน่วย และเงินเรียกเก็บเพื่อชดเชยต้นทุนคงค้าง (AF) ที่เกิดขึ้นจริงของ กฟผ. จำนวน 98,495 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 163.39 สตางค์ต่อหน่วย) และมูลค่า AFGAS จำนวน 15,083.79 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 25.02 สตางค์ต่อหน่วย) รวมทั้งสิ้นจำนวน 188.41 สตางค์ต่อหน่วย โดย กฟผ. จะได้รับเงินที่รับภาระต้นทุนค่าเชื้อเพลิงและค่าซื้อไฟฟ้าแทนประชาชนตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 - เมษายน 2567 ในช่วงสภาวะวิกฤตของราคาพลังงานที่ผ่านมา คืนทั้งหมดภายในเดือนธันวาคม 2567 เพื่อนำไปชำระหนี้เงินกู้เพื่อเสริมสภาพคล่องให้มีสถานะทางการเงินคืนสู่สภาวะปกติโดยเร็ว และรัฐวิสาหกิจที่ประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ จะได้รับเงินคืนส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับ ภาคไฟฟ้าคืนทั้งหมด ซึ่งเมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกที่คำนวณได้กับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 6.01 บาทต่อหน่วย โดยค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าทั่วประเทศจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 44 จากระดับ 4.18 บาทต่อหน่วย ในงวดปัจจุบัน
กรณีที่ 2: กรณีจ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 3 งวด ค่า Ft ขายปลีก เท่ากับ 113.78 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะสะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดือนกันยายน – ธันวาคม 2567 จำนวน 34.30 สตางค์ต่อหน่วย และทยอยชำระคืนภาระต้นทุนคงค้างที่ กฟผ. กู้เงินมาเพื่อตรึงค่าไฟฟ้าตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 – เมษายน 2567 ออกเป็น 3 งวดๆ ละจำนวน 32,832 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 54.46 สตางค์ต่อหน่วย) และมูลค่า AFGAS จำนวน 15,083.79 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 25.02 สตางค์ต่อหน่วย) รวมทั้งสิ้นเท่ากับ 79.48 สตางค์ต่อหน่วย เพื่อให้ กฟผ. มีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีขึ้น สามารถดำเนินการตามแผนชำระคืนหนี้เงินกู้ที่วางไว้เพื่อรักษาระดับความน่าเชื่อถือ และลดภาระดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้น โดยคาดว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2567 จะมีภาระต้นทุนคงค้างที่ กฟผ. รับภาระแทนประชาชนคงเหลืออยู่ที่ 65,663 ล้านบาท ในขณะที่รัฐวิสาหกิจ ที่ประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ จะได้รับเงินคืนส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้าคืนทั้งหมด ซึ่งเมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.92 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 จากงวดปัจจุบัน
กรณีที่ 3: กรณีจ่ายคืนภาระต้นทุนคงค้างใน 6 งวด ค่า Ft ขายปลีก เท่ากับ 86.55 สตางค์ต่อหน่วย ซึ่งจะสะท้อนแนวโน้มต้นทุนเดือนกันยายน – ธันวาคม 2567 จำนวน 34.30 สตางค์ต่อหน่วย และทยอยชำระคืนภาระต้นทุนคงค้างที่ กฟผ. กู้เงินมาเพื่อตรึงค่าไฟฟ้าตั้งแต่เดือนกันยายน 2564 – เมษายน 2567 ออกเป็น 6 งวดๆ ละจำนวน 16,416 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 27.23 สตางค์ต่อหน่วย) และมูลค่า AFGAS จำนวน 15,083.79 ล้านบาท (หรือคิดเป็น 25.02 สตางค์ต่อหน่วย) รวมทั้งสิ้นเท่ากับ 52.25 สตางค์ต่อหน่วย เพื่อให้ กฟผ. มีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีขึ้น สามารถดำเนินการตามแผนชำระคืนหนี้เงินกู้ที่วางไว้เพื่อรักษาระดับความน่าเชื่อถือ และลดภาระดอกเบี้ยที่มีแนวโน้มปรับสูงขึ้น โดยคาดว่า ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2567 จะมีภาระต้นทุนคงค้างที่ กฟผ. รับภาระแทนประชาชนคงเหลืออยู่ที่ 82,079 ล้านบาท ในขณะที่รัฐวิสาหกิจ ที่ประกอบกิจการก๊าซธรรมชาติ จะได้รับเงินคืนส่วนต่างราคาก๊าซธรรมชาติสำหรับภาคไฟฟ้าคืนทั้งหมด ซึ่งเมื่อรวมค่า Ft ขายปลีกกับค่าไฟฟ้าฐานที่ 3.78 บาทต่อหน่วย ส่งผลให้ค่าไฟฟ้าเฉลี่ย (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม) ปรับเพิ่มขึ้นเป็น 4.65 บาทต่อหน่วย หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 11 จากงวดปัจจุบัน
ดร.พูลพัฒน์ ยังกล่าวเพิ่มเติมอีกว่า "สำนักงาน กกพ. ขอเชิญชวนพี่น้องประชาชนร่วมกัน การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ไฟฟ้าได้ง่ายๆ 5 ป. ได้แก่ ปลด หรือถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าลดการใช้ไฟฟ้าเมื่อใช้งานเสร็จ ปิด หรือดับไฟเมื่อเลิกใช้งาน ปรับ อุณหภูมิเครื่องปรับอากาศให้อยู่ที่ 26 องศา เปลี่ยน มาใช้อุปกรณ์ประหยัดไฟเบอร์ 5 ปลูกต้นไม้เพิ่มขึ้นเพื่อลดอุณหภูมิภายในบ้าน ซึ่งทั้ง 5 ป. จะช่วยลดภาระ ค่าไฟฟ้าของผู้ใช้ไฟฟ้าเองด้วย”
ทั้งนี้ กกพ. เปิดรับฟังความคิดเห็นผ่านทางเว็บไซต์สำนักงาน กกพ. ตั้งแต่วันที่ 12 – 26 กรกฎาคม 2567 ก่อนที่จะมีการสรุปและประกาศอย่างเป็นทางการต่อไป