จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : EP ส่งสัญญาณรายได้โตก้าวกระโดด รับอานิสงส์ COD โรงไฟฟ้าในเวียดนาม
15 กรกฎาคม 2567
บมจ.อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป (EP) ส่งสัญญาณผลงานปีนี้โตก้าวกระโดดดันรายได้พุ่ง 4 เท่า หลังโรงไฟฟ้าในเวียดนามเริ่มจ่ายกระแสไฟเข้าระบบ
ประเทศเวียดนามแหล่งผลิตไฟฟ้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของอาเซียน สะท้อนจากภาคเอกชนของไทยหลายแห่งที่เข้าไปตั้งโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด รวมทั้งบมจ.อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป (EP) ซึ่ง “ยุทธ ชินสุภัคกุล” ประธานกรรมการ มั่นใจผลการดำเนินงานไตรมาส 2/67 ยังสดใสต่อเนื่องจากไตรมาสแรกปีนี้ และตลอดทั้งปี 2567
โดยคาดการณ์ว่าในไตรมาส 2/67 นี้ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในเวียดนาม 3 โครงการ กำลังการผลิต 130 เมกะวัตต์ จะได้รับอนุมัติ COD จาก EVN ตามด้วยการทยอยลงนามในสัญญาเงินกู้ในวงเงินรวมกว่า 4,000 ล้านบาท
หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารลงทุนและการพัฒนาเวียดนาม หรือ BIDV ที่ให้ข้อเสนอ Project Finance สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม HL3 เป็นจำนวน 597,500 ล้านดอง หรือประมาณ 870 ล้านบาท โดยสามารถเบิกเงินกู้ได้ทันที 60% ของวงเงิน และส่วนที่เหลือจะเบิกได้ เมื่อสามารถบรรลุข้อตกลงเรื่องอัตราค่าไฟฟ้าถาวร (FIT) กับทาง EVN ซึ่งคาดว่าน่าจะประมาณต้นปี 2568
ในปี 2567 บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายรายได้รวมปีนี้เติบโตได้เกือบ 4 เท่าจากปี 2566 ทั้งในส่วนธุรกิจสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ที่ได้มีการปรับปรุงทั้งด้านการขายบริการ และการบริหารต้นทุนการดำเนินงาน และธุรกิจพลังงาน ที่ในปีที่ผ่านมาอัตราการเจริญเติบโตด้านการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลบนหลังคา (Solar Rooftop) ที่สูงมาก รวมไปถึงการทยอยจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ (COD) ของโครงการไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศเวียดนาม และมั่นใจว่าในอนาคตบริษัทฯ มีศักยภาพที่ก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในเวียดนามได้อย่างแน่นอน
ทั้งนี้รัฐบาลเวียดนามได้อนุมัติแผนพัฒนาไฟฟ้าแห่งชาติ (PDP8)สำหรับช่วงปี ค.ศ. 2021-2030 โดยมีวิสัยทัศน์ถึงปี ค.ศ. 2050 โดยได้วางแผนการพัฒนาแหล่งไฟฟ้าและสายส่ง การพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการด้านพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทางเลือก และการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบส่งไฟฟ้ากับประเทศเพื่อนบ้าน
โดยแผน PDP8 ได้กำหนดเป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ (1) สร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ โดยจัดหาแหล่งไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยมีอัตราการเติบโตของ GDP เฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี ระหว่างปี ค.ศ. 2021-2030 และร้อยละ 6.5-7.5 ต่อปี ระหว่างปี ค.ศ. 2031-2050 ทั้งนี้ แผนดังกล่าวตั้งเป้าหมายให้เวียดนามเป็น 1 ใน 4 ประเทศที่มีระบบไฟฟ้าที่น่าเชื่อถือมากที่สุด และเป็น 1 ใน 3 ประเทศที่มีดัชนีการเข้าถึงไฟฟ้าสูงที่สุดในอาเซียน โดยอาคารสำนักงานและที่อยู่อาศัยอย่างน้อยร้อยละ 50 ต้องมีการติดตั้งและใช้งานระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (rooftop solar) ภายในปี ค.ศ. 2030
(2) การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานทางเลือก โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนเพื่อการผลิตไฟฟ้า โดยให้มีอัตราการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนประมาณร้อยละ 30.9-39.2 ภายในปี ค.ศ. 2030 (อาจสูงถึงร้อยละ 47 หากพันธมิตรระหว่างประเทศสามารถดำเนินการตามข้อตกลงหุ้นส่วนด้านการเปลี่ยนแปลงพลังงานที่เท่าเทียม (JETP) อย่างครบถ้วนและเป็นรูปธรรม) และเพิ่มเป็นร้อยละ 67.5-71.5 ภายในปี ค.ศ. 2050
นอกจากนี้ จะควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตไฟฟ้าให้ได้ประมาณ 204-254 ล้านตันภายในปี ค.ศ. 2030 (อาจเหลือเพียง 170 ล้านตัน หากมีการดำเนินการตาม JETP อย่างจริงจัง) และลดเหลือประมาณ 27-31 ล้านตันภายในปี ค.ศ. 2050 นอกจากนี้ จะสร้างระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะที่สามารถบูรณาการและใช้งานแหล่งพลังงานหมุนเวียนขนาดใหญ่ได้อย่างปลอดภัย
(3) พัฒนาระบบนิเวศของอุตสาหกรรมและบริการด้านพลังงานหมุนเวียน โดยคาดว่าภายในปี ค.ศ. 2030 จะมีการจัดตั้งศูนย์อุตสาหกรรมและบริการพลังงานหมุนเวียนระหว่างภูมิภาค 2 แห่ง ประกอบด้วยการผลิตไฟฟ้า การส่งและบริโภคพลังงานไฟฟ้า การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน
ตลอดจนการก่อสร้าง การติดตั้ง และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสร้างระบบนิเวศของอุตสาหกรรมและบริการด้านพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง เช่น ภาคเหนือ ภาคใต้ตอนกลาง และภาคใต้ของเวียดนาม นอกจากนี้ จะพัฒนาแหล่งพลังงานจากพลังงานหมุนเวียนและผลิตพลังงานใหม่เพื่อการส่งออก โดยมุ่งสู่เป้าหมายมีขนาดกำลังส่งออกไฟฟ้าสูงถึงประมาณ 5,000-10,000 เมกะวัตต์ภายในปี ค.ศ. 2030
ประเทศเวียดนามแหล่งผลิตไฟฟ้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของอาเซียน สะท้อนจากภาคเอกชนของไทยหลายแห่งที่เข้าไปตั้งโรงงานผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด รวมทั้งบมจ.อีสเทอร์น พาวเวอร์ กรุ๊ป (EP) ซึ่ง “ยุทธ ชินสุภัคกุล” ประธานกรรมการ มั่นใจผลการดำเนินงานไตรมาส 2/67 ยังสดใสต่อเนื่องจากไตรมาสแรกปีนี้ และตลอดทั้งปี 2567
โดยคาดการณ์ว่าในไตรมาส 2/67 นี้ โครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในเวียดนาม 3 โครงการ กำลังการผลิต 130 เมกะวัตต์ จะได้รับอนุมัติ COD จาก EVN ตามด้วยการทยอยลงนามในสัญญาเงินกู้ในวงเงินรวมกว่า 4,000 ล้านบาท
หลังจากที่ก่อนหน้านี้ได้รับการสนับสนุนจากธนาคารลงทุนและการพัฒนาเวียดนาม หรือ BIDV ที่ให้ข้อเสนอ Project Finance สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลม HL3 เป็นจำนวน 597,500 ล้านดอง หรือประมาณ 870 ล้านบาท โดยสามารถเบิกเงินกู้ได้ทันที 60% ของวงเงิน และส่วนที่เหลือจะเบิกได้ เมื่อสามารถบรรลุข้อตกลงเรื่องอัตราค่าไฟฟ้าถาวร (FIT) กับทาง EVN ซึ่งคาดว่าน่าจะประมาณต้นปี 2568
ในปี 2567 บริษัทฯ ตั้งเป้าหมายรายได้รวมปีนี้เติบโตได้เกือบ 4 เท่าจากปี 2566 ทั้งในส่วนธุรกิจสิ่งพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ ที่ได้มีการปรับปรุงทั้งด้านการขายบริการ และการบริหารต้นทุนการดำเนินงาน และธุรกิจพลังงาน ที่ในปีที่ผ่านมาอัตราการเจริญเติบโตด้านการติดตั้งแผงโซล่าร์เซลบนหลังคา (Solar Rooftop) ที่สูงมาก รวมไปถึงการทยอยจ่ายไฟเชิงพาณิชย์ (COD) ของโครงการไฟฟ้าพลังงานลมในประเทศเวียดนาม และมั่นใจว่าในอนาคตบริษัทฯ มีศักยภาพที่ก้าวขึ้นสู่การเป็นผู้นำโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานลมในเวียดนามได้อย่างแน่นอน
ทั้งนี้รัฐบาลเวียดนามได้อนุมัติแผนพัฒนาไฟฟ้าแห่งชาติ (PDP8)สำหรับช่วงปี ค.ศ. 2021-2030 โดยมีวิสัยทัศน์ถึงปี ค.ศ. 2050 โดยได้วางแผนการพัฒนาแหล่งไฟฟ้าและสายส่ง การพัฒนาอุตสาหกรรมและบริการด้านพลังงานหมุนเวียนและพลังงานทางเลือก และการเชื่อมโยงโครงข่ายระบบส่งไฟฟ้ากับประเทศเพื่อนบ้าน
โดยแผน PDP8 ได้กำหนดเป้าหมาย 3 ด้าน ได้แก่ (1) สร้างความมั่นคงด้านพลังงานของประเทศ โดยจัดหาแหล่งไฟฟ้าให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ไฟฟ้าในประเทศ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม โดยมีอัตราการเติบโตของ GDP เฉลี่ยร้อยละ 7 ต่อปี ระหว่างปี ค.ศ. 2021-2030 และร้อยละ 6.5-7.5 ต่อปี ระหว่างปี ค.ศ. 2031-2050 ทั้งนี้ แผนดังกล่าวตั้งเป้าหมายให้เวียดนามเป็น 1 ใน 4 ประเทศที่มีระบบไฟฟ้าที่น่าเชื่อถือมากที่สุด และเป็น 1 ใน 3 ประเทศที่มีดัชนีการเข้าถึงไฟฟ้าสูงที่สุดในอาเซียน โดยอาคารสำนักงานและที่อยู่อาศัยอย่างน้อยร้อยละ 50 ต้องมีการติดตั้งและใช้งานระบบผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคา (rooftop solar) ภายในปี ค.ศ. 2030
(2) การเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานทางเลือก โดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาแหล่งพลังงานหมุนเวียนเพื่อการผลิตไฟฟ้า โดยให้มีอัตราการใช้ไฟฟ้าจากแหล่งพลังงานหมุนเวียนประมาณร้อยละ 30.9-39.2 ภายในปี ค.ศ. 2030 (อาจสูงถึงร้อยละ 47 หากพันธมิตรระหว่างประเทศสามารถดำเนินการตามข้อตกลงหุ้นส่วนด้านการเปลี่ยนแปลงพลังงานที่เท่าเทียม (JETP) อย่างครบถ้วนและเป็นรูปธรรม) และเพิ่มเป็นร้อยละ 67.5-71.5 ภายในปี ค.ศ. 2050
นอกจากนี้ จะควบคุมการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการผลิตไฟฟ้าให้ได้ประมาณ 204-254 ล้านตันภายในปี ค.ศ. 2030 (อาจเหลือเพียง 170 ล้านตัน หากมีการดำเนินการตาม JETP อย่างจริงจัง) และลดเหลือประมาณ 27-31 ล้านตันภายในปี ค.ศ. 2050 นอกจากนี้ จะสร้างระบบโครงข่ายไฟฟ้าอัจฉริยะที่สามารถบูรณาการและใช้งานแหล่งพลังงานหมุนเวียนขนาดใหญ่ได้อย่างปลอดภัย
(3) พัฒนาระบบนิเวศของอุตสาหกรรมและบริการด้านพลังงานหมุนเวียน โดยคาดว่าภายในปี ค.ศ. 2030 จะมีการจัดตั้งศูนย์อุตสาหกรรมและบริการพลังงานหมุนเวียนระหว่างภูมิภาค 2 แห่ง ประกอบด้วยการผลิตไฟฟ้า การส่งและบริโภคพลังงานไฟฟ้า การพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตอุปกรณ์ที่ใช้ในอุตสาหกรรมพลังงานหมุนเวียน
ตลอดจนการก่อสร้าง การติดตั้ง และบริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งการสร้างระบบนิเวศของอุตสาหกรรมและบริการด้านพลังงานหมุนเวียนในพื้นที่ที่มีศักยภาพสูง เช่น ภาคเหนือ ภาคใต้ตอนกลาง และภาคใต้ของเวียดนาม นอกจากนี้ จะพัฒนาแหล่งพลังงานจากพลังงานหมุนเวียนและผลิตพลังงานใหม่เพื่อการส่งออก โดยมุ่งสู่เป้าหมายมีขนาดกำลังส่งออกไฟฟ้าสูงถึงประมาณ 5,000-10,000 เมกะวัตต์ภายในปี ค.ศ. 2030