จับประเด็นหุ้นเด่น

สัมภาษณ์พิเศษ : SSP หนุนโครงการ Direct PPA มอง เป็นจุดเริ่มต้นรองรับกระแสพลังงงานสะอาด


16 กรกฎาคม 2567
บมจ.เสริมสร้าง พาวเวอร์ คอร์ปอเรชั่น (SSP) ผู้ผลิตพลังงานทดแทนชั้นนำของประเทศ  ปีนี้จะมีแนวทางและกลยุทธ์ในการทำธุรกิจและมีมุมมองเรื่อง Direct PPA  อย่างไร  เราไปติดตามกับ “วรุตม์ ธรรมาวรานุคุปต์ “ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร SSP

รายงานพิเศษ SSP หนุนโครงการ Direct PPA  มอง.jpg

โรงไฟฟ้าในพอร์ตการลงทุนของ SSP 
เราเข้าตลาดมา10 กว่าปีแล้ว โดยเริ่มต้นจากกำลังการผลิต 40MW   จนปัจจุบันมีโรงไฟฟ้าประมาณ 4-5 ประเภท  กำลังการผลิตไฟ 280  MW 

โครงการโรงไฟฟ้าในไทยและต่างประเทศ 
1.ญี่ปุ่น   มี 4 โครงการ  
2.มองโกเลีย เป็น Solar Farm  ใกล้สนามบิน
3.เวียดนาม มี 2 แห่ง  เป็นพลังงานแสงอาทิตย์ และพลังงานลม 
4. อินโดนีเซีย 
และมีอีก 2 ประเทศที่กำลังพิจารณา ได้แก่  ประเทศไต้หวัน  ซึ่งเป็นพลังงานแสงอาทิตย์ กับพลังงานลม   และประเทศฟิลิปปินส์  กำลังอยู่ระหว่างการศึกษา ขณะที่โรงไฟฟ้าในประเทศไทยได้แก่ พลังงานแสงอาทิตย์ 2 แห่ง พลังงานลม และพลังงานชีวมวล 

สาเหตุการลงทุนในโรงไฟฟ้าขยะชุมชน
ในประเทศไทย มองว่าโรงไฟฟ้าขยะตอบโจทย์มาก แต่เรื่องโรงไฟฟ้าขยะจะต้องมีlocal partner ที่ดี  โดยเฉพาะภาคใต้ ที่พันธมิตรของเราเป็นเจ้าของบ่อขยะ  4 แสนกว่าตัน  ขณะเดียวกันเรายังมีขยะสดที่ได้สัมปทานมาเป็นตัวหลัก    
เป็นเรื่องของการนำสิ่งที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์มาทำให้เกิดประโยชน์  เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตพลังงาน  ซึ่งสอดคล้องกับพลังงานทดแทน  ซึ่งคาดว่าปี 2026 จะ COD ได้ 

สัดส่วนรายได้ในประเทศกับต่างประเทศ
ปัจจุบันในประเทศยังมีมากกว่า โดยอยู่ที่ประมาณ 60% และในต่างประเทศอยู่ที่ 40% 

ความคืนหน้าการลงุทนโรงไฟฟ้าในฟิลิปปินส์
เดือน ก.ค. 67 นี้จะตัดสินใจว่าจะลงทุนหรือไม่  ซึ่งมีกำลังการผลิตประมาณ 150 MW โดยการพิจารณาการลงทุนจะคาดหวังผลตอบแทนไม่ต่ำกว่า 2 หลัก  หรืออยู่ที่ประมาณ 13%

ตั้งเป้างบลงทุนปี 2567
ไม่ต่ำกว่า 1,000  ล้านบาท ในส่วนเงินทุนของบริษัทเอง  ซึ่งปัจจุบัน 

การกำหนดวางเป้าหมายของ SSP  
เราอยากให้นักลงทุนมองว่า SSP เป็นโรงไฟฟ้าทุกประเภท  เพราะเราตั้งใจเป็น Renewable หรือ (พลังงานที่ไม่มีวันหมด)  โดยเราจะพิจารณาทำเกี่ยวกับพลังงานทุกประเภท  ทั้งเรื่องไฮโดรเจน แต่การลงทุนจะพิจารณาเรื่องผลตอบแทน  IRR   เราจะมองที่ โอกาสเป็นหลัก  ซึ่งหากเราเข้าลงทุนและสร้างผลตอบแทนได้เร็ว ก็พร้อมที่จะลงทุน  

รัฐบาลควรสนับสนุนโรงไฟฟ้า Direct PPA  
คิดว่า Direct PPA  น่าจะเปิดมากกว่านี้  เพราะขณะนี้ กพช. อนุมัติ Direct PPA แค่ไม่เกิน 2,000 เมกะวัตต์   ซึ่งเชื่อว่าความต้องการใช้พลังงานจากส่วนบริษัทต่างๆมีมาก  และสิ่งที่ต้องติดตามอีกอย่างคือ ค่าสายส่ง  ค่าเสียโอกาสที่การไฟฟ้าได้ลงทุนไปแล้ว  ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่ต้องพิจารณา 

เริ่มมีรายได้จากการขายคาร์บอนเครดิต 
ปีนี้เราขายแล้วทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ก็มีคนติดต่อซื้อ  แต่ยังสร้างรายได้ไม่มาก ขึ้นกับราคาคาร์บอนในตลาด  และเราเชื่อว่าราคาจะปรับขึ้นได้ไม่เกิน 2 ปี หลังจากนั้นต้องรอดู Demand  เพราะการเก็บภาษีคาร์บอนเครดิตยังไม่เริ่ม ทำให้ความต้องการยังไม่มาก     

ผลงานครึ่งแรกของปี 2567 
เราทำธุรกิจเกี่ยวกับพลังงานทดแทน ซึ่งแตกต่างจากบริษัทอื่นๆ  SSP เริ่มต้นธุรกิจจากการทำพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งการผลิตพลังงานจะมีความไม่แน่นอน  เพราะเป็นเรื่องของฤดูกาล  แต่ปัจจุบันบริษัทมีการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานลมเพิ่มมากขึ้น ทำให้ผลประกอบการมีการเปลี่ยนแปลง  เพราะพลังงานลมสามารถผลิตกระแสไฟฟ้าได้มากกว่า ทำให้รายได้เปลี่ยนแปลงตาม  ส่วนสัดส่วนการผลิตไฟฟ้าจากชีวมวลยังมีน้อยประมาณ 8 MW ส่วนโซลาร์มีมากกว่า  150 MW  และพลังงานลมประมาณ 80 MW
SSP