Smart Investment
EA ไม่หมือน STARK ต้องตั้งสติ ไม่มีปัญหาคืนหนี้หุ้นกู้ครบดีล เงินจากการขายไฟไหลเข้าไม่หยุด
21 กรกฎาคม 2567
Mr.Data
เป็นเรื่องทอล์กออฟเดอะทาวน์ตลอด 2 สัปดาห์ หลังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวโทษ 2 ผู้บริหาร บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) ผู้นำนวัตกรรมพลังงานสะอาดของเมืองไทย “สมโภชน์ อาหุนัย” และ “อมร ทรัพย์ทวีกุล”
กระทำความผิดต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กรณีร่วมกระทำการทุจริต จำนวนรวม 3,465.64 ล้านบาท ในวันที่ 12 ก.ค.ที่ผ่านมาและในวันที่ 14 บอร์ด EA ได้จัดประชุมด่วน ตั้งบอร์ดบริหารชุดใหม่
ในวันเดียวกัน “สมโภชน์” ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ “อมร” รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ได้แสดงสปิริต ลาออกจากตำแหน่ง เข้าสู่กระบวนการตรวจสอบ
15 ก.ค.67 บอร์ด EA แถลงตั้งบอร์ดบริหารชุดใหม่ เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ พร้อมกับการแถลงครั้งสุดท้ายของ “สมโภชน์” ที่ออกมาขอโทษนักลงทุน และยืนยัน EA ไม่เหมือน STARK เพราะ EA มีรายได้จากการไฟให้กับรัฐเฉลี่ยเดือนละ 1,000 ล้านบาท
ตลาดฯขึ้นเครื่องหมาย H ในช่วงเช้า ภาคบ่ายขึ้น SP และในวันที่ 16 ก.ค.67 หุ้น EA กลับมาซื้อขายตามปกติ ก่อนที่จะร่วง 2 ฟลอร์ติดในวันที่ 16-17 ก.ค.
จากราคาปิดวันที่ 12 ก.ค.ที่ 13.10 บาท ฟลอร์แรกที่ 9.15 บาท และฟลอร์สองอยู่ที่ 6.40 บาท และในวันที่ 18 ก.ค. ลงลึกไปจุดต่ำสุดในรอบ 11 ปี หรือนับตั้งแต่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ 4.72 บาท/หุ้น จากราคาไอพีโอ 5.50 บาท
EA เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ในวันที่ 30 มกราคม 2556 ด้วยมูลค่าระดมทุนรวมถึง 3,080 ล้านบาท โดย EA มีมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 20,515 ล้านบาท ดำเนินธุรกิจผลิตและจําหน่ายนํ้ามันไบโอดีเซล นํ้ามันดีเซลหมุนเร็ว กลีเซอรีนบริสุทธิ์ วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์พลอยได้
รวมถึงธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยขนาดกำลังการผลิต 278 เมกะวัตต์ ซึ่งได้ทยอยลงทุนก่อสร้างและจำหน่ายกระแสไฟฟ้า (SCOD) ตั้งแต่ปี 2555 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2558
ปัจจุบันมีโซลาร์ฟาร์มกำลังการผลิต 278 เมกะวัตต์ และวินด์ฟาร์ม 2 โปรเจค “โครงการหาดกังหัน” 126 เมกะวัตต์ และ “โครงการหนุมาน” 260 เมกะวัตต์ ที่สร้างรายได้สม่ำเสมอเฉลี่ยเดือนละ 1 พันล้านบาท
ส่วนที่หลายฝ่ายกังวลว่าหลัง Adder ทยอยหมด แต่เอาเข้าจริงรายได้ของ EA ก็ไม่ได้เป็นศูนย์ เพราะยังมีรายได้จากการขายไฟให้กับหน่วยงานรัฐปีละหลายพันล้านบาท ต่างจาก STARK ที่เสกรายได้-กำไรทิพย์
จากกำไรสุทธิของ EA ในปี 2556 หลังเข้าตลาดฯ จากระดับ 266.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในปี 2566 มีกำไรสุทธิกว่า 7,606.17 ล้านบาท ขณะที่มูลค่าหุ้นทางบัญชีต่อหุ้นอยู่ที่ 11.17 บาท
ในปี 2566 EA มีรายได้รวม 31,598 ล้านบาท แบ่งเป็นมาจากธุรกิจขายไฟ 40% ธุรกิจแบตเตอรี่และ EV 30% ธุรกิจไปโอดีเซล 16% ส่วนที่เหลือเป็นธุรกิจอื่นๆ
EA เข้าสู่ธุรกิจแบตเตอรี่ และ EV เพื่อสร้าง New S-Curve หลัง Adder หมด ปัจจุบัน EA มีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน พื้นที่ 80,000 ตารางเมตร หรือกว่า 91 ไร่ ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม บลูเทคซิตี้ เพื่อรองรับกำลังผลิตแบตฯ 50 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี
นอกจากนี้ ยังมี "บริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จำกัด (AAB)" ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกลุ่ม EA และ กลุ่ม NEX Point ทำธุรกิจผลิตและประกอบรถไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ทุกประเภท ทั้ง รถหัวลาก , หัวรถจักร , รถเมล์ , รถทัวร์ , รถบรรทุกขนาดเล็ก , เรือ , รถกระบะ เป็นต้น ทำครบวงจรนับตั้งแต่การผลิต, ประกอบ, จัดจำหน่าย ตลอดจนการขายและให้บริการหลังการขาย บนพื้นที่ 55,000 ตารางเมตร กำลังการผลิต 3,000-5,000 คันต่อปี
EA ไม่ได้มองแค่การเติบโตภายในประเทศ แต่ยังได้ขยายอาณาจักรไปยังต่างประเทศ เพื่อเพิ่มแหล่งที่มาของรายได้ สร้างการเติบอย่างก้าวกระโดดและยั่งยืน
ล่าสุด EA ได้ทุ่มงบกว่า 200 ล้านดอลลาร์ จับมือกับ รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) จัดตั้ง Super Holding Company รับบริหารจัดการพลังงานสะอาด โดยมีแผนต่อยอดนำเข้าจดทะเบียนตลาดหุ้นในอนาคต
หุ้นกู้ที่ครบกำหนดในปี 2567 จำนวน 5.5 พันล้านบาท แบ่งเป็นในเดือนส.ค.จำนวน 1.5 พันล้านบาท และในเดือนก.ย.อีก 4 พันล้านบาท EA มีแผนรองรับ โดยมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานกว่า 1.9 พันล้านบาท รายได้จากการขายไฟทุกเดือนประมาณ 1,000 ล้านบาท และวงเงินกู้จากสถาบันการเงินประมาณ 6,000 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา ทำให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถคืนหนี้ได้ตามกำหนด
สิ่งที่เกิดขึ้นกับ EA เวลานี้ นักลงทุนอาจต้องกลับมาคิดทบทวน และตั้งสติ แยกแยะระหว่างธุรกิจ ซึ่งมีแหล่งที่มารายได้ชัดเจน และแผนก้าวเดินไปข้างหน้า หลังฝุ่นหายตลบ และเรื่องของอดีตผู้บริหารที่ถูกกล่าวโทษ ซึ่งอยู่ระหว่างกระบวนการตรวจสอบ และบอร์ดได้มีการตั้งผู้ตรวจสอบภายนอกเป็นกรณีพิเศษ เพื่อตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง ตามการกล่าวโทษของสำนักงานก.ล.ต. เพื่อสร้างความโปร่งใส่
อย่าได้ตกเป็นเหยื่อ Money Game หรือแม้แต่ “ไอ้โม่ง” ที่หาประโยชน์จากจากความสับสนอลหม่าน และปัญหาที่ประเดประดังถาโถมในเวลานี้ และหวังว่า EA จะเป็นเหยื่อรายสุดท้ายจากเกมส์ หาประโยชน์จากตลาดทุน
เป็นเรื่องทอล์กออฟเดอะทาวน์ตลอด 2 สัปดาห์ หลังสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) กล่าวโทษ 2 ผู้บริหาร บมจ.พลังงานบริสุทธิ์ (EA) ผู้นำนวัตกรรมพลังงานสะอาดของเมืองไทย “สมโภชน์ อาหุนัย” และ “อมร ทรัพย์ทวีกุล”
กระทำความผิดต่อกรมสอบสวนคดีพิเศษ (DSI) กรณีร่วมกระทำการทุจริต จำนวนรวม 3,465.64 ล้านบาท ในวันที่ 12 ก.ค.ที่ผ่านมาและในวันที่ 14 บอร์ด EA ได้จัดประชุมด่วน ตั้งบอร์ดบริหารชุดใหม่
ในวันเดียวกัน “สมโภชน์” ในฐานะประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และ “อมร” รองประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ได้แสดงสปิริต ลาออกจากตำแหน่ง เข้าสู่กระบวนการตรวจสอบ
15 ก.ค.67 บอร์ด EA แถลงตั้งบอร์ดบริหารชุดใหม่ เพื่อขับเคลื่อนธุรกิจ พร้อมกับการแถลงครั้งสุดท้ายของ “สมโภชน์” ที่ออกมาขอโทษนักลงทุน และยืนยัน EA ไม่เหมือน STARK เพราะ EA มีรายได้จากการไฟให้กับรัฐเฉลี่ยเดือนละ 1,000 ล้านบาท
ตลาดฯขึ้นเครื่องหมาย H ในช่วงเช้า ภาคบ่ายขึ้น SP และในวันที่ 16 ก.ค.67 หุ้น EA กลับมาซื้อขายตามปกติ ก่อนที่จะร่วง 2 ฟลอร์ติดในวันที่ 16-17 ก.ค.
จากราคาปิดวันที่ 12 ก.ค.ที่ 13.10 บาท ฟลอร์แรกที่ 9.15 บาท และฟลอร์สองอยู่ที่ 6.40 บาท และในวันที่ 18 ก.ค. ลงลึกไปจุดต่ำสุดในรอบ 11 ปี หรือนับตั้งแต่เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ที่ 4.72 บาท/หุ้น จากราคาไอพีโอ 5.50 บาท
EA เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ เอ็ม เอ ไอ (mai) ในวันที่ 30 มกราคม 2556 ด้วยมูลค่าระดมทุนรวมถึง 3,080 ล้านบาท โดย EA มีมูลค่าหลักทรัพย์ ณ ราคา IPO 20,515 ล้านบาท ดำเนินธุรกิจผลิตและจําหน่ายนํ้ามันไบโอดีเซล นํ้ามันดีเซลหมุนเร็ว กลีเซอรีนบริสุทธิ์ วัตถุดิบและผลิตภัณฑ์พลอยได้
รวมถึงธุรกิจผลิตและจำหน่ายกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยขนาดกำลังการผลิต 278 เมกะวัตต์ ซึ่งได้ทยอยลงทุนก่อสร้างและจำหน่ายกระแสไฟฟ้า (SCOD) ตั้งแต่ปี 2555 และคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2558
ปัจจุบันมีโซลาร์ฟาร์มกำลังการผลิต 278 เมกะวัตต์ และวินด์ฟาร์ม 2 โปรเจค “โครงการหาดกังหัน” 126 เมกะวัตต์ และ “โครงการหนุมาน” 260 เมกะวัตต์ ที่สร้างรายได้สม่ำเสมอเฉลี่ยเดือนละ 1 พันล้านบาท
ส่วนที่หลายฝ่ายกังวลว่าหลัง Adder ทยอยหมด แต่เอาเข้าจริงรายได้ของ EA ก็ไม่ได้เป็นศูนย์ เพราะยังมีรายได้จากการขายไฟให้กับหน่วยงานรัฐปีละหลายพันล้านบาท ต่างจาก STARK ที่เสกรายได้-กำไรทิพย์
จากกำไรสุทธิของ EA ในปี 2556 หลังเข้าตลาดฯ จากระดับ 266.75 ล้านบาท เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และในปี 2566 มีกำไรสุทธิกว่า 7,606.17 ล้านบาท ขณะที่มูลค่าหุ้นทางบัญชีต่อหุ้นอยู่ที่ 11.17 บาท
ในปี 2566 EA มีรายได้รวม 31,598 ล้านบาท แบ่งเป็นมาจากธุรกิจขายไฟ 40% ธุรกิจแบตเตอรี่และ EV 30% ธุรกิจไปโอดีเซล 16% ส่วนที่เหลือเป็นธุรกิจอื่นๆ
EA เข้าสู่ธุรกิจแบตเตอรี่ และ EV เพื่อสร้าง New S-Curve หลัง Adder หมด ปัจจุบัน EA มีโรงงานผลิตแบตเตอรี่ลิเทียมไอออนที่ใหญ่ที่สุดในภูมิภาคอาเซียน พื้นที่ 80,000 ตารางเมตร หรือกว่า 91 ไร่ ตั้งอยู่ในนิคมอุตสาหกรรม บลูเทคซิตี้ เพื่อรองรับกำลังผลิตแบตฯ 50 กิกะวัตต์ชั่วโมงต่อปี
นอกจากนี้ ยังมี "บริษัท แอ๊บโซลูท แอสเซมบลี จำกัด (AAB)" ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกลุ่ม EA และ กลุ่ม NEX Point ทำธุรกิจผลิตและประกอบรถไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ทุกประเภท ทั้ง รถหัวลาก , หัวรถจักร , รถเมล์ , รถทัวร์ , รถบรรทุกขนาดเล็ก , เรือ , รถกระบะ เป็นต้น ทำครบวงจรนับตั้งแต่การผลิต, ประกอบ, จัดจำหน่าย ตลอดจนการขายและให้บริการหลังการขาย บนพื้นที่ 55,000 ตารางเมตร กำลังการผลิต 3,000-5,000 คันต่อปี
EA ไม่ได้มองแค่การเติบโตภายในประเทศ แต่ยังได้ขยายอาณาจักรไปยังต่างประเทศ เพื่อเพิ่มแหล่งที่มาของรายได้ สร้างการเติบอย่างก้าวกระโดดและยั่งยืน
ล่าสุด EA ได้ทุ่มงบกว่า 200 ล้านดอลลาร์ จับมือกับ รัฐบาลสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) จัดตั้ง Super Holding Company รับบริหารจัดการพลังงานสะอาด โดยมีแผนต่อยอดนำเข้าจดทะเบียนตลาดหุ้นในอนาคต
หุ้นกู้ที่ครบกำหนดในปี 2567 จำนวน 5.5 พันล้านบาท แบ่งเป็นในเดือนส.ค.จำนวน 1.5 พันล้านบาท และในเดือนก.ย.อีก 4 พันล้านบาท EA มีแผนรองรับ โดยมีกระแสเงินสดจากการดำเนินงานกว่า 1.9 พันล้านบาท รายได้จากการขายไฟทุกเดือนประมาณ 1,000 ล้านบาท และวงเงินกู้จากสถาบันการเงินประมาณ 6,000 ล้านบาท ซึ่งอยู่ในขั้นตอนการพิจารณา ทำให้มั่นใจได้ว่าจะสามารถคืนหนี้ได้ตามกำหนด
สิ่งที่เกิดขึ้นกับ EA เวลานี้ นักลงทุนอาจต้องกลับมาคิดทบทวน และตั้งสติ แยกแยะระหว่างธุรกิจ ซึ่งมีแหล่งที่มารายได้ชัดเจน และแผนก้าวเดินไปข้างหน้า หลังฝุ่นหายตลบ และเรื่องของอดีตผู้บริหารที่ถูกกล่าวโทษ ซึ่งอยู่ระหว่างกระบวนการตรวจสอบ และบอร์ดได้มีการตั้งผู้ตรวจสอบภายนอกเป็นกรณีพิเศษ เพื่อตรวจสอบการจัดซื้อจัดจ้าง ตามการกล่าวโทษของสำนักงานก.ล.ต. เพื่อสร้างความโปร่งใส่
อย่าได้ตกเป็นเหยื่อ Money Game หรือแม้แต่ “ไอ้โม่ง” ที่หาประโยชน์จากจากความสับสนอลหม่าน และปัญหาที่ประเดประดังถาโถมในเวลานี้ และหวังว่า EA จะเป็นเหยื่อรายสุดท้ายจากเกมส์ หาประโยชน์จากตลาดทุน