Talk of The Town
โบรกฯ ชี้หุ้นไทยอาจทดสอบ 1,300 จุด เหตุสภาพัฒฯ มอง NPL กำลังเพิ่มขึ้น แถมกังวลเศรษฐกิจจีนยังไม่ฟื้นตัว
23 กรกฎาคม 2567
จากกรณีที่ SET Index ปรับตัวลง ปิดเช้าที่ 1,305.86 จุด ลบไป 11.28 จุด (-0.86%) โดยหุ้นที่กดดัน นำโดย AOT PTT ADVANC และ CPAXT ส่วนหุ้นที่หนุนตลาด นำโดย KTB DELTA BDMS และ PTTEP
บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุว่า มุมมองตลาดบ่ายนี้ คาด SET Index ยังปรับตัวลง มองกรอบ 1300 -1315 จุด โดยปัจจัยกดดันมาจาก1) ความกังวลกำลังซื้อภายในอาจหดตัวลงต่อในช่วงที่เหลือของปี ตามภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว หลังสภาพัฒฯมอง NPL มีโอกาสเพิ่มขึ้น 18.1% เทียบปีก่อน โดยหากรวมหนี้ที่ยังไม่ปรับโครงสร้าง และ สินเชื่อที่ไม่ปกติ NPL อาจแตะระดับ 21.8% ของ สินเชื่อทั้งหมด ขณะที่ หนี้ครัวเรือนไทยแตะระดับ 90% ของ GDP ซึ่งสูงกว่าระดับมาตรฐานสากลที่ 80% ของ GDP
2) ความกังวลภาพเศรษฐกิจจีนที่ยังไม่ฟื้นตัว หลังเช้าวันนี้หุ้นที่มีความเกี่ยวข้องกับจีนปรับตัวลง แม้มีการปรับลด อัตราดอกเบี้ย LPR อายุ 1 ปี และ 5 ปี สู่ระดับ 3.35% และ 3.85% ตามลำดับ สะท้อนว่าจีนในปัจจุบันกำลังเผชิญปัญหาอยู่จริง ทั้งในภาคอสังหา และ การใช้จ่ายภายใน ด้านปัจจัยภายนอกยังมีแรงกดดันจากการพยายามสกัดกั้นการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีของจีนจากสหรัฐ ผ่านการจำกัดการส่งออกชิปที่ผลิตโดยใช้เทคโนโลยีของสหรัฐ
3) ความกังวลในประเด็นหุ้น EA หลังเช้านี้ EA ได้มีการแจ้งเลื่อนการไถ่ถอนตั๋วแลกเงินระยะสั้น 2 ชุด ที่ถึงกำหนดไถ่ถอน ในวันที่ 23 ก.ค. และ 1 ส.ค. ซึ่งจะชำระดอกเบี้ยเพิ่มเติม 7% ต่อปี จำนวน 600 ล้านบาท โดยแจ้งวันไถ่ถอนใหม่เป็นวันที่ 9 ส.ค. สร้างความกังวลให้ตลาดโดยรวม
ด้านปัจจัยหนุนมาจากที่ประชุม ครม. โดยในวันนี้ได้เห็นชอบ 1) มาตรการควบคุมราคาไฟฟ้า เดือน ก.ย.-ธ.ค. โดยให้ตรึงไว้ที่ 4.18 บาทต่อหน่วย และ คงมาตรการช่วยเหลือค่าไฟกลุ่มเปราะบางที่ใช้ไม่เกิน 300 หน่วย โดยคิดเพียง 3.99 บาท/หน่วย มองเป็นบวกต่อค่าครองชีพภายในประเทศ หนุนกำลังซื้อบางส่วนของประชาชน แต่มองเป็น Sentiment ลบกดดันกลุ่มโรงไฟฟ้า
2) มาตรการตรึงราคาดีเซลที่ 33 บาทต่อลิตร โดยใช้กลไกของกองทุนน้ำมันไปก่อน ครอบคลุมเดือน ส.ค. - ต.ค.
ปัจจัยที่น่าติดตามต่อในคืนนี้ ได้แก่ ยอดขายบ้านมือสองสหรัฐ เดือน มิ.ย. คาดออกมาที่ 3.99 ล้านยูนิต ลดลงเมื่อเทียบเดือนก่อนที่ 4.11 ล้านยูนิต
แนะนำหุ้น KTB กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 10.2% จากปีก่อน และ 1.1% จากไตรมาสก่อน โดยรับประโยชน์จากรายได้ดอกเบี้ย และ มิใช่ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น สวนทางกับการตั้งสำรอง และ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ยอดสินเชื่อยังหดตัวแรง อย่างไรก็ดีตัวเลข NPL ยังลดลงเหลือ 3.12% จาก 3.14% ในไตรมาสก่อน
บริษัทหลักทรัพย์ ฟิลลิป (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ระบุว่า มุมมองตลาดบ่ายนี้ คาด SET Index ยังปรับตัวลง มองกรอบ 1300 -1315 จุด โดยปัจจัยกดดันมาจาก1) ความกังวลกำลังซื้อภายในอาจหดตัวลงต่อในช่วงที่เหลือของปี ตามภาพเศรษฐกิจที่ชะลอตัว หลังสภาพัฒฯมอง NPL มีโอกาสเพิ่มขึ้น 18.1% เทียบปีก่อน โดยหากรวมหนี้ที่ยังไม่ปรับโครงสร้าง และ สินเชื่อที่ไม่ปกติ NPL อาจแตะระดับ 21.8% ของ สินเชื่อทั้งหมด ขณะที่ หนี้ครัวเรือนไทยแตะระดับ 90% ของ GDP ซึ่งสูงกว่าระดับมาตรฐานสากลที่ 80% ของ GDP
2) ความกังวลภาพเศรษฐกิจจีนที่ยังไม่ฟื้นตัว หลังเช้าวันนี้หุ้นที่มีความเกี่ยวข้องกับจีนปรับตัวลง แม้มีการปรับลด อัตราดอกเบี้ย LPR อายุ 1 ปี และ 5 ปี สู่ระดับ 3.35% และ 3.85% ตามลำดับ สะท้อนว่าจีนในปัจจุบันกำลังเผชิญปัญหาอยู่จริง ทั้งในภาคอสังหา และ การใช้จ่ายภายใน ด้านปัจจัยภายนอกยังมีแรงกดดันจากการพยายามสกัดกั้นการเรียนรู้ด้านเทคโนโลยีของจีนจากสหรัฐ ผ่านการจำกัดการส่งออกชิปที่ผลิตโดยใช้เทคโนโลยีของสหรัฐ
3) ความกังวลในประเด็นหุ้น EA หลังเช้านี้ EA ได้มีการแจ้งเลื่อนการไถ่ถอนตั๋วแลกเงินระยะสั้น 2 ชุด ที่ถึงกำหนดไถ่ถอน ในวันที่ 23 ก.ค. และ 1 ส.ค. ซึ่งจะชำระดอกเบี้ยเพิ่มเติม 7% ต่อปี จำนวน 600 ล้านบาท โดยแจ้งวันไถ่ถอนใหม่เป็นวันที่ 9 ส.ค. สร้างความกังวลให้ตลาดโดยรวม
ด้านปัจจัยหนุนมาจากที่ประชุม ครม. โดยในวันนี้ได้เห็นชอบ 1) มาตรการควบคุมราคาไฟฟ้า เดือน ก.ย.-ธ.ค. โดยให้ตรึงไว้ที่ 4.18 บาทต่อหน่วย และ คงมาตรการช่วยเหลือค่าไฟกลุ่มเปราะบางที่ใช้ไม่เกิน 300 หน่วย โดยคิดเพียง 3.99 บาท/หน่วย มองเป็นบวกต่อค่าครองชีพภายในประเทศ หนุนกำลังซื้อบางส่วนของประชาชน แต่มองเป็น Sentiment ลบกดดันกลุ่มโรงไฟฟ้า
2) มาตรการตรึงราคาดีเซลที่ 33 บาทต่อลิตร โดยใช้กลไกของกองทุนน้ำมันไปก่อน ครอบคลุมเดือน ส.ค. - ต.ค.
ปัจจัยที่น่าติดตามต่อในคืนนี้ ได้แก่ ยอดขายบ้านมือสองสหรัฐ เดือน มิ.ย. คาดออกมาที่ 3.99 ล้านยูนิต ลดลงเมื่อเทียบเดือนก่อนที่ 4.11 ล้านยูนิต
แนะนำหุ้น KTB กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 10.2% จากปีก่อน และ 1.1% จากไตรมาสก่อน โดยรับประโยชน์จากรายได้ดอกเบี้ย และ มิใช่ดอกเบี้ยที่เพิ่มขึ้น สวนทางกับการตั้งสำรอง และ ค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้น ขณะที่ยอดสินเชื่อยังหดตัวแรง อย่างไรก็ดีตัวเลข NPL ยังลดลงเหลือ 3.12% จาก 3.14% ในไตรมาสก่อน