จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : PREB รับอานิสงส์รัฐดันต่างชาติเช่าที่ดิน กระตุ้นตลาดอสังหาฯในประเทศ
30 กรกฎาคม 2567
รัฐบาลเล็งกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์ เตรียมออกมาตรการหนุนกำลังซื้อผู้บริโภคทั้งชาวไทยและต่างประเทศ ส่งผลดีต่อธุรกิจของบมจ.พรีบิลท์ ที่จะสร้างผลงานาได้อย่างต่อเนื่อง
ต้องยอมรับว่าปีนี้เป็นปีที่ท้าทายและต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการทำตลาดของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังไม่ผ่อนคลายมาตรการทางการเงิน ขณะที่กำลังซื้อในประเทศปรับลดลงต่อเนื่อง ทำให้เกิดกระแสการกระตุ้นกำลังซื้อจากนักลงทุนต่างประทศ ซึ่งเชื่อว่า จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยฟื้นอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยได้ แต่ยังติดขัดในความเชื่อเดิมเกี่ยวกับการให้ชาวต่างชาติครอบครองที่ดิน
ดังนั้นรัฐบาลจึงมีแนวทางที่เป็นการให้สิทธิการใช้ที่ดิน หรือเรียกว่า "ทรัพย์อิงสิทธิ" เพื่อให้ชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย มีความรู้สึกเหมือนเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ไม่ใช่การเช่า โดยจะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่าคนในประเทศ แต่ยังสามารถปล่อยเช่าช่วงได้ แม้ว่าไม่มีกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของที่ดิน แต่มีสิทธิการใช้ที่ดิน ซึ่งจะขจัดปัญหาการจดทะเบียนของชาวต่างชาติในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ไทยออกไป ทำให้เป็นการนำสิ่งที่กระทำอยู่ใต้ดิน ขึ้นมาบนดินอย่างถูกต้อง และขยายระยะเวลาการถือครองของชาวต่างชาติเป็น 99 ปี เพื่อช่วยผลักดันให้เกิดความน่าสนใจในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยมากขึ้น
นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า เร็วๆนี้กระทรวงการคลังจะออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม เพื่อดูแลอสังหาริมทรัพย์ที่มียอดค้างคงเหลือในการขายอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) กระทรวงก็พร้อมทำทันทีหากผ่าน ครม.
ยืนยันว่า ทางกระทรวงการคลัง ได้เตรียมมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติมไว้แล้ว ทั้งนี้ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนมาตรการสินเชื่อ และค่าธรรมเนียมไปแล้ว และได้รับการตอบรับอย่างดีจนสัมฤทธิผล
และยังสะท้อนการเติบโตจากกรณีที่กระทรวงพาณิชย์ โดยนางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยแนวโน้มการจดทะเบียนธุรกิจในปี 2567 ว่า ยังคงคาดการณ์การเติบโตของการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ที่ 5 - 15% (90,000 - 98,000 ราย) ซึ่งมีอัตราที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน
จากปัจจัยสนับสนุน เช่น นโยบายของภาครัฐ การเดินหน้านโยบายเงินดิจิทัลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการดึงดูดการลงทุนจากชาวต่างชาติที่มีการกระตุ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกของปี เช่น มาตรการวีซ่าพำนักระยะยาว มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกิจการผลิตและกิจการ รวมทั้งการลงทุนจากภาครัฐที่กำลังดำเนินการหลังจากที่เริ่มจัดสรรงบประมาณในปี 2567 การดำเนินการของภาครัฐทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่เข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม
โดยธุรกิจที่จดทะเบียนสูงสุด ได้แก่
1. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 3,656 ราย ทุน 16,013.34 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 7.88%
2. ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 3,521 ราย ทุน 7,255.18 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 7.59%
3. ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร 2,105 ราย ทุน 4,352.90 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 4.54%
ซึ่งการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในช่วงครึ่งปีแรกที่จำนวน 46,383 ราย เป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ที่ 44,000 - 47,000 ราย คาดว่าเป็นผลจากมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางภาครัฐ เช่น การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นเพื่อการท่องเที่ยว มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ จำนวนนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนมากขึ้น รวมทั้งการส่งออกที่เพิ่มขึ้นทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังคงมีความกังวลกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า เสถียรภาพทางการเมือง และความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ของโลกที่ยังคงยืดเยื้อ
มาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังจะเกิดขึ้นของรัฐบาล สนับสนุนการขยายตัวและเติบโตของ บมจ.พรีบิลท์ หรือ PREB ซึ่งนายวิโรจน์ เจริญตรา กรรมการผู้จัดการ PREB มั่นใจปี 2567 แนวโน้มธุรกิจส่วนงานผลิตและจำหน่ายแผ่นพื้นสำเร็จรูป จะมีผลการดำเนินงานโดยรวมดีขึ้นจากปีก่อน โดยบริษัทฯ จะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าแนวราบที่มีศักยภาพด้านการขาย
ขณะที่ในส่วนงานการลงทุนในโครงการอื่น ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัทฯ ยังมีงานในมือ (Backlog) ที่จะเปลี่ยนเป็นรายได้ คาดว่าจะมียอดโอนรวมกันภายในปี 2567 ประมาณ 940.30 ล้านบาท (บริษัทจะรับรู้ผลกำไรตามสัดส่วนการลงทุน)
ต้องยอมรับว่าปีนี้เป็นปีที่ท้าทายและต้องใช้ความพยายามอย่างมากในการทำตลาดของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หลังจากที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ยังไม่ผ่อนคลายมาตรการทางการเงิน ขณะที่กำลังซื้อในประเทศปรับลดลงต่อเนื่อง ทำให้เกิดกระแสการกระตุ้นกำลังซื้อจากนักลงทุนต่างประทศ ซึ่งเชื่อว่า จะเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ช่วยฟื้นอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยได้ แต่ยังติดขัดในความเชื่อเดิมเกี่ยวกับการให้ชาวต่างชาติครอบครองที่ดิน
ดังนั้นรัฐบาลจึงมีแนวทางที่เป็นการให้สิทธิการใช้ที่ดิน หรือเรียกว่า "ทรัพย์อิงสิทธิ" เพื่อให้ชาวต่างชาติที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทย มีความรู้สึกเหมือนเป็นเจ้าของอสังหาริมทรัพย์ ไม่ใช่การเช่า โดยจะต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่าคนในประเทศ แต่ยังสามารถปล่อยเช่าช่วงได้ แม้ว่าไม่มีกรรมสิทธิ์ความเป็นเจ้าของที่ดิน แต่มีสิทธิการใช้ที่ดิน ซึ่งจะขจัดปัญหาการจดทะเบียนของชาวต่างชาติในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ไทยออกไป ทำให้เป็นการนำสิ่งที่กระทำอยู่ใต้ดิน ขึ้นมาบนดินอย่างถูกต้อง และขยายระยะเวลาการถือครองของชาวต่างชาติเป็น 99 ปี เพื่อช่วยผลักดันให้เกิดความน่าสนใจในการซื้ออสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยมากขึ้น
นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง ระบุว่า เร็วๆนี้กระทรวงการคลังจะออกมาตรการกระตุ้นภาคอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติม เพื่อดูแลอสังหาริมทรัพย์ที่มียอดค้างคงเหลือในการขายอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งหากผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรี (ครม.) กระทรวงก็พร้อมทำทันทีหากผ่าน ครม.
ยืนยันว่า ทางกระทรวงการคลัง ได้เตรียมมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์เพิ่มเติมไว้แล้ว ทั้งนี้ที่ผ่านมา รัฐบาลได้ออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภาคอสังหาริมทรัพย์ ในส่วนมาตรการสินเชื่อ และค่าธรรมเนียมไปแล้ว และได้รับการตอบรับอย่างดีจนสัมฤทธิผล
และยังสะท้อนการเติบโตจากกรณีที่กระทรวงพาณิชย์ โดยนางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยแนวโน้มการจดทะเบียนธุรกิจในปี 2567 ว่า ยังคงคาดการณ์การเติบโตของการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจใหม่ที่ 5 - 15% (90,000 - 98,000 ราย) ซึ่งมีอัตราที่เพิ่มขึ้นจากปีก่อน
จากปัจจัยสนับสนุน เช่น นโยบายของภาครัฐ การเดินหน้านโยบายเงินดิจิทัลเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ มาตรการดึงดูดการลงทุนจากชาวต่างชาติที่มีการกระตุ้นตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกของปี เช่น มาตรการวีซ่าพำนักระยะยาว มาตรการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับกิจการผลิตและกิจการ รวมทั้งการลงทุนจากภาครัฐที่กำลังดำเนินการหลังจากที่เริ่มจัดสรรงบประมาณในปี 2567 การดำเนินการของภาครัฐทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ที่เข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจโดยรวม
โดยธุรกิจที่จดทะเบียนสูงสุด ได้แก่
1. ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ 3,656 ราย ทุน 16,013.34 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 7.88%
2. ธุรกิจก่อสร้างอาคารทั่วไป 3,521 ราย ทุน 7,255.18 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 7.59%
3. ธุรกิจภัตตาคาร/ร้านอาหาร 2,105 ราย ทุน 4,352.90 ล้านบาท คิดเป็นสัดส่วน 4.54%
ซึ่งการจดทะเบียนจัดตั้งธุรกิจในช่วงครึ่งปีแรกที่จำนวน 46,383 ราย เป็นอัตราที่ใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และเป็นไปตามเป้าที่ตั้งไว้ที่ 44,000 - 47,000 ราย คาดว่าเป็นผลจากมาตราการกระตุ้นเศรษฐกิจจากทางภาครัฐ เช่น การเร่งเบิกจ่ายงบประมาณปี 2567 มาตรการภาษีเพื่อกระตุ้นเพื่อการท่องเที่ยว มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านภาคอสังหาริมทรัพย์ จำนวนนักท่องเที่ยวที่มีจำนวนมากขึ้น รวมทั้งการส่งออกที่เพิ่มขึ้นทำให้ผู้บริโภคมีความเชื่อมั่นขึ้น
อย่างไรก็ตาม ผู้บริโภคยังคงมีความกังวลกับการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า เสถียรภาพทางการเมือง และความขัดแย้งทางด้านภูมิรัฐศาสตร์ของโลกที่ยังคงยืดเยื้อ
มาตรการกระตุ้นตลาดอสังหาริมทรัพย์ที่กำลังจะเกิดขึ้นของรัฐบาล สนับสนุนการขยายตัวและเติบโตของ บมจ.พรีบิลท์ หรือ PREB ซึ่งนายวิโรจน์ เจริญตรา กรรมการผู้จัดการ PREB มั่นใจปี 2567 แนวโน้มธุรกิจส่วนงานผลิตและจำหน่ายแผ่นพื้นสำเร็จรูป จะมีผลการดำเนินงานโดยรวมดีขึ้นจากปีก่อน โดยบริษัทฯ จะมุ่งเน้นไปที่กลุ่มลูกค้าแนวราบที่มีศักยภาพด้านการขาย
ขณะที่ในส่วนงานการลงทุนในโครงการอื่น ธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ บริษัทฯ ยังมีงานในมือ (Backlog) ที่จะเปลี่ยนเป็นรายได้ คาดว่าจะมียอดโอนรวมกันภายในปี 2567 ประมาณ 940.30 ล้านบาท (บริษัทจะรับรู้ผลกำไรตามสัดส่วนการลงทุน)