จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : TEGH รับอานิสงส์ผลงานปี 67 ทำสถิติใหม่ กยท. ผนึกผู้ผลิตยางรถยนต์ไทยรับมาตรการ EUDR
01 สิงหาคม 2567
กยท.จับมือผู้ผลิตยางรถยนต์ไทยรับมือการประกาศใช้เกณฑ์ EUDR หนุนผลงาน บมจ.ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (TEGH) เริ่มส่งออกยางตามมาตรฐาน EUDR ตั้งแต่เดือนเม.ย.67 ดันอัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) เติบโตอย่างมีนัยสำคัญ หนุนผลงานปี67ทำสถิติใหม่
การเตรียมความพร้อมรับมือกับกระแสการรักษ์โลก เป็นเรื่องที่ทุกภาคอุตสาหกรรมจะต้องมีการปรับตัว รวมทั้งกลุ่มยางรถยนต์ของไทย ซึ่งการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้หารือร่วมสมาคมผู้ผลิตยางรถยนต์ไทย (TATMA) และ 7 บริษัทผู้ผลิตยางล้อรายใหญ่ของไทย
โดยนายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รักษาการผู้ว่าฯ กยท. ระบุว่า ได้มีการหารือร่วมกันระหว่าง กยท. และสมาคมผู้ผลิตยางรถยนต์ไทย และผู้แทนของ 7 บริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ในประเทศไทย ได้แก่ โยโกฮามา (YOKOHAMA) กู๊ดเยียร์ (GOODYEAR) คอนติเนนทอล (Continental) บริดจสโตน (BRIDGESTONE) สยามมิชลิน (MICHELIN SIAM) ซูมิโตโมรับเบอร์ (Sumitomo Rubber) และแม็กซิส (MAXXIS)
เพื่อร่วมกันส่งเสริมอุตสาหกรรมยางรถยนต์ โดยการกำหนดและดำเนินมาตรการนโยบายด้านการวิจัยและการศึกษา เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจของยางพาราสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจและการพัฒนาอุตสาหกรรมยางของไทยให้ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงการปรับปรุงสวัสดิการของกลุ่มผู้ใช้ยางของสมาคม
โดย TATMA ได้เสนอให้รัฐบาลไทย ยกระดับกฎระเบียบด้านมาตรฐานของไทยที่มุ่งควบคุมตลาดภายในประเทศ ให้กลายเป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมศักยภาพในการส่งออก และหวังจะเป็นกลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย
"ขณะนี้ กยท. มีความพยายามอย่างยิ่งในการบริหารจัดการผลผลิตยางภายใต้กฎระเบียบ EUDR ให้เพียงพอต่อความต้องการ เพื่อป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมยางล้อในไทย พร้อมผลักดันให้เกิดความร่วมมือกับสมาคมยางล้อ ทั้งในสหภาพยุโรป และประเทศญี่ปุ่น เพื่อเสริมความแข็งแกร่งและสร้างความยั่งยืนแก่อุตสาหกรรมยางพาราไทย" นายสุขทัศน์ กล่าว
แนวทางการสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมยางพาราของไทย สอดคล้องกับทิศทางและเป้าหมายการดำเนินธุรกิจของ บมจ.ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (TEGH) ซึ่ง “สินีนุช โกกนุทาภรณ์” กรรมการผู้จัดการ มั่นใจ แนวโน้มผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 และในช่วงที่เหลือของปีนี้ยังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง จากความต้องการยางพาราที่สูงขึ้น อีกทั้งยังได้รับปัจจัยบวกจากความสามารถในการส่งออกยางพาราที่ผลิตตามกฎหมายสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า (EUDR) คณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 30 ธ.ค.67
"บริษัทได้เริ่มส่งออกยางตามมาตรฐาน EUDR ตั้งแต่เดือนเม.ย. ที่ผ่านมา และคาดว่าภายในสิ้นปียอดส่งออกยางมาตรฐาน EUDR จะอยู่ที่ 1.0 แสนตัน ก่อนที่จะเพิ่มเป็น 2.0-2.5 แสนตันในปี 2568 ซึ่งจะทำให้อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) เติบโตอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากยาง EUDR มาร์จิ้น สูงกว่าเกรดมาตรฐานราว 3-5% หรืออยู่ที่ระดับประมาณ 15-18%"
น.ส.สินีนุช กล่าวว่า ยอดขายยางแท่งในปี 67 คาดว่าจะสามารถทำสถิติสูงสุดใหม่ (All Time High) ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยจะเพิ่มขึ้น 20% จากปีก่อนที่มียอดขาย 197,000 ตัน โดยกลุ่มลูกค้าส่งออกหลักอยู่ในสหรัฐอเมริกา และยุโรป
ทั้งนี้ที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทฯมีเป้าหมายที่จะพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายรักษาความเป็นผู้นำด้านการผลิต Sustainable Material และเป็นองค์กรที่เน้นการใช้พลังงานหมุนเวียนทดแทนการใช้พลังงานจากฟอสซิลในทุกกระบวนการ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัทได้เป็น Eco Product อย่างแท้จริง ก้าวสู่การเป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนด์ (Carbon Neutral) ภายในปี 73 และสามารถสร้างผลตอบแทนจากการดำเนินงานด้านความยั่งยืนได้ตามโมเดล Sustainability to Profitability
การเตรียมความพร้อมรับมือกับกระแสการรักษ์โลก เป็นเรื่องที่ทุกภาคอุตสาหกรรมจะต้องมีการปรับตัว รวมทั้งกลุ่มยางรถยนต์ของไทย ซึ่งการยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้หารือร่วมสมาคมผู้ผลิตยางรถยนต์ไทย (TATMA) และ 7 บริษัทผู้ผลิตยางล้อรายใหญ่ของไทย
โดยนายสุขทัศน์ ต่างวิริยกุล รักษาการผู้ว่าฯ กยท. ระบุว่า ได้มีการหารือร่วมกันระหว่าง กยท. และสมาคมผู้ผลิตยางรถยนต์ไทย และผู้แทนของ 7 บริษัทผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ในประเทศไทย ได้แก่ โยโกฮามา (YOKOHAMA) กู๊ดเยียร์ (GOODYEAR) คอนติเนนทอล (Continental) บริดจสโตน (BRIDGESTONE) สยามมิชลิน (MICHELIN SIAM) ซูมิโตโมรับเบอร์ (Sumitomo Rubber) และแม็กซิส (MAXXIS)
เพื่อร่วมกันส่งเสริมอุตสาหกรรมยางรถยนต์ โดยการกำหนดและดำเนินมาตรการนโยบายด้านการวิจัยและการศึกษา เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพด้านความปลอดภัย สิ่งแวดล้อม และเศรษฐกิจของยางพาราสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ สร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจและการพัฒนาอุตสาหกรรมยางของไทยให้ดียิ่งขึ้น รวมไปถึงการปรับปรุงสวัสดิการของกลุ่มผู้ใช้ยางของสมาคม
โดย TATMA ได้เสนอให้รัฐบาลไทย ยกระดับกฎระเบียบด้านมาตรฐานของไทยที่มุ่งควบคุมตลาดภายในประเทศ ให้กลายเป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมศักยภาพในการส่งออก และหวังจะเป็นกลยุทธ์สำคัญในการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมรถยนต์ไทย
"ขณะนี้ กยท. มีความพยายามอย่างยิ่งในการบริหารจัดการผลผลิตยางภายใต้กฎระเบียบ EUDR ให้เพียงพอต่อความต้องการ เพื่อป้อนเข้าสู่กระบวนการผลิตในอุตสาหกรรมยางล้อในไทย พร้อมผลักดันให้เกิดความร่วมมือกับสมาคมยางล้อ ทั้งในสหภาพยุโรป และประเทศญี่ปุ่น เพื่อเสริมความแข็งแกร่งและสร้างความยั่งยืนแก่อุตสาหกรรมยางพาราไทย" นายสุขทัศน์ กล่าว
แนวทางการสร้างความยั่งยืนให้กับอุตสาหกรรมยางพาราของไทย สอดคล้องกับทิศทางและเป้าหมายการดำเนินธุรกิจของ บมจ.ไทยอีสเทิร์น กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ (TEGH) ซึ่ง “สินีนุช โกกนุทาภรณ์” กรรมการผู้จัดการ มั่นใจ แนวโน้มผลการดำเนินงานในไตรมาส 2 และในช่วงที่เหลือของปีนี้ยังเติบโตอย่างแข็งแกร่ง จากความต้องการยางพาราที่สูงขึ้น อีกทั้งยังได้รับปัจจัยบวกจากความสามารถในการส่งออกยางพาราที่ผลิตตามกฎหมายสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า (EUDR) คณะกรรมาธิการยุโรป ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ในวันที่ 30 ธ.ค.67
"บริษัทได้เริ่มส่งออกยางตามมาตรฐาน EUDR ตั้งแต่เดือนเม.ย. ที่ผ่านมา และคาดว่าภายในสิ้นปียอดส่งออกยางมาตรฐาน EUDR จะอยู่ที่ 1.0 แสนตัน ก่อนที่จะเพิ่มเป็น 2.0-2.5 แสนตันในปี 2568 ซึ่งจะทำให้อัตรากำไรขั้นต้น (Gross Profit Margin) เติบโตอย่างมีนัยสำคัญเนื่องจากยาง EUDR มาร์จิ้น สูงกว่าเกรดมาตรฐานราว 3-5% หรืออยู่ที่ระดับประมาณ 15-18%"
น.ส.สินีนุช กล่าวว่า ยอดขายยางแท่งในปี 67 คาดว่าจะสามารถทำสถิติสูงสุดใหม่ (All Time High) ได้ตามเป้าหมายที่วางไว้ โดยจะเพิ่มขึ้น 20% จากปีก่อนที่มียอดขาย 197,000 ตัน โดยกลุ่มลูกค้าส่งออกหลักอยู่ในสหรัฐอเมริกา และยุโรป
ทั้งนี้ที่ผ่านมา กลุ่มบริษัทฯมีเป้าหมายที่จะพัฒนาองค์กรให้เติบโตอย่างยั่งยืน โดยมีเป้าหมายรักษาความเป็นผู้นำด้านการผลิต Sustainable Material และเป็นองค์กรที่เน้นการใช้พลังงานหมุนเวียนทดแทนการใช้พลังงานจากฟอสซิลในทุกกระบวนการ เพื่อให้ผลิตภัณฑ์ของกลุ่มบริษัทได้เป็น Eco Product อย่างแท้จริง ก้าวสู่การเป็นองค์กรที่มีความเป็นกลางทางคาร์บอนด์ (Carbon Neutral) ภายในปี 73 และสามารถสร้างผลตอบแทนจากการดำเนินงานด้านความยั่งยืนได้ตามโมเดล Sustainability to Profitability