จับประเด็นหุ้นเด่น
รายงานพิเศษ : SUPER ฐานทุนแข็งแกร่ง พร้อมร่วม “Direct PPA-ประมูลขายไฟรอบ 2”
05 สิงหาคม 2567
แม้เศรษฐกิจจะมีความผันผวน แต่ธุรกิจของ บมจ.ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น (SUPER) ในฐานะประกอบธุรกิจผลิตและจัดจำหน่ายไฟฟ้าจากพลังงานทดแทน ยังเติบโตได้ตามความต้องการใช้พลังงานสะอาด สะท้อนจากความพร้อมของบริษัทในการสนับสนุนโครงการ Direct PPA และการเข้าร่วมเสนอขายไฟรอบ2 ให้กกพ.
ในที่สุด คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ก็เห็นชอบหลักเกณฑ์โครงการพลังงานหมุนเวียน สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง ระยะที่สอง 3,668.5 เมกะวัตต์ แม้การให้โควตาสำหรับผู้ยื่นคำเสนอที่ผ่านหลักเกณฑ์ในรอบแรกที่ไม่ได้รับการคัดเลือก ในส่วนพลังงานลมไม่เกิน 600 เมกะวัตต์ และแสงอาทิตย์ไม่เกิน 1,580 เมกะวัตต์ สำหรับโควตาส่วนที่เหลือราว 1,488.5 เมกะวัตต์ จะเปิดรับซื้อเป็นการทั่วไป
นายพูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า แม้ขณะนี้ยังมีการฟ้องร้องสำหรับการรับซื้อพลังงานทดแทนรอบแรก 5,203 เมกะวัตต์ มีผู้ได้รับการคัดเลือก 175 ราย แต่การรับซื้อรอบ 2 ก็เดินหน้าต่อไปตามนโยบายของภาครัฐ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมพลังงานสะอาดและดึงดูดการลงทุนที่มีความต้องการพลังงานสะอาดมากขึ้น
ซึ่งการเปิดรับซื้อในรอบ 2 นี้ ได้มีการปรับหลักเกณฑ์ เช่น เดิมกำหนดให้ผู้ที่ฟ้องร้องในรอบแรกไม่สามารถเข้าร่วมยื่นขายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบ 2 ได้ แต่ตามมติ กบง. คาดว่า จะมีความชัดเจนและสามารถออกประกาศเชิญชวนได้ภายในไตรมาส 4/67
ส่วนที่ ครม.เห็นชอบ โครงการการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบการทำสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง (Direct Power Purchase Agreement: Direct PPA) 2,000 เมกะวัตต์ เพื่อส่งเสริมการลงทุนของกลุ่มเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ดาต้าเซนเตอร์และอื่นๆ นั้น ในเรื่องนี้ กกพ.ก็กำลังรอมติ ครม.เพื่อที่จะได้ร่างระเบียบดำเนินการ คาดว่าจะมีความชัดเจนในปี 2568 ซึ่งเป็นโครงการนำร่องการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบการทำสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรงผ่านการขอใช้บริการระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม (Third Party Access: TPA) โดยจะต้องมีการหารือกำหนดค่าบริการสายส่ง (วิลลิ่งชาร์จ) จาก 3 การไฟฟ้าด้วย โดยจะต้องพิจารณาให้เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของ บมจ.ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น (SUPER) โดย “จอมทรัพย์ โลจายะ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ระบุ บริษัทฯมีความพร้อมในการขยายธุรกิจพลังงานหมุนเวียนทุกรูปแบบทั้งในประเทศและต่างประเทศ
รวมทั้งเข้าประมูลขายไฟฟ้าในส่วนของพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังการผลิตติดตั้งประมาณ 3,600 - 5,000 เมกะวัตต์ ของภาครัฐ โดยตั้งเป้าได้งานไม่น้อยกว่า10% ของกำลังการผลิตทั้งหมด ทั้งนี้บริษัทฯ วางเป้ารายได้เพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2567 ตั้งเป้าหมายรายได้เติบโตสร้างสถิติสูงสุดใหม่จากปี 2566 มีรายได้รวม 10,130.71 ล้านบาท
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 บริษัทย่อย คือ บริษัท ซุปเปอร์ เอิร์ธ เอนเนอร์ยี จำกัด (SEE) ได้จำหน่ายหุ้นสามัญของ บริษัท ซุปเปอร์เอิร์ธ เอนเนอร์ยี 1 จำกัด (SEE1) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ มูลค่ารวมประมาณ 1,131 ล้านบาท ให้กับ บริษัท SUS Thailand Holding Limited (SUS) ภายใต้กลุ่ม Shanghai SUS Environment Co., Ltd สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจะสนับสนุนให้บริษัทฯ มีความแข็งแกร่งด้านฐานทุน และเพิ่มศักยภาพการขยายธุรกิจในอนาคต
โดยการขายหุ้น SSE 1 ให้กับ SUS ดังกล่าว บริษัทฯ จะได้รับเงินสด จำนวน 400 ล้านบาท และรับโอนสิทธิเรียกร้องในเงินกู้ยืมทั้งหมด (ประกอบด้วยเงินต้นและดอกเบี้ย) ที่ SEE1 มีอยู่กับ SEE จำนวน 731 ล้านบาท คาดว่าจะรับรู้รายได้เข้ามาภายในไตรมาส 3/2567 และจะทำให้หนี้สินลดลงจากการโอนสิทธิในเงินกู้ยืมกับผู้ซื้อจำนวนประมาณ 731 ล้านบาท
หลังได้รับเงินจากการจำหน่ายหุ้น บริษัทฯ เตรียมนำไปใช้ชำระคืนเงินกู้ยืม เพื่อลดภาระดอกเบี้ย ส่งผลให้หนี้สินต่อทุน (D/E)ลดลง สภาพคล่องทางการเงินดีขึ้น และเป็นเม็ดเงินรองรับการลงทุนในโครงการต่างๆ รวมถึงโครงการโรงไฟฟ้าที่ได้รับคัดเลือกจาก คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยมีกำหนดเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ระหว่าง ปี 2569-2572 รวมถึงนำไปใช้ลงทุนในโครงการDirect PPAและเป็นเงินทุนหมุนเวียน เชื่อว่าเม็ดเงินที่ได้ครั้งนี้จะทำให้บริษัทฯมีฐานทุนที่แข็งแกร่ง และเป็นโอกาสในการรับงานในอนาคต ขยายโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่ม
ในที่สุด คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน (กบง.) ก็เห็นชอบหลักเกณฑ์โครงการพลังงานหมุนเวียน สำหรับกลุ่มไม่มีต้นทุนเชื้อเพลิง ระยะที่สอง 3,668.5 เมกะวัตต์ แม้การให้โควตาสำหรับผู้ยื่นคำเสนอที่ผ่านหลักเกณฑ์ในรอบแรกที่ไม่ได้รับการคัดเลือก ในส่วนพลังงานลมไม่เกิน 600 เมกะวัตต์ และแสงอาทิตย์ไม่เกิน 1,580 เมกะวัตต์ สำหรับโควตาส่วนที่เหลือราว 1,488.5 เมกะวัตต์ จะเปิดรับซื้อเป็นการทั่วไป
นายพูลพัฒน์ ลีสมบัติไพบูลย์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) กล่าวว่า แม้ขณะนี้ยังมีการฟ้องร้องสำหรับการรับซื้อพลังงานทดแทนรอบแรก 5,203 เมกะวัตต์ มีผู้ได้รับการคัดเลือก 175 ราย แต่การรับซื้อรอบ 2 ก็เดินหน้าต่อไปตามนโยบายของภาครัฐ ซึ่งจะเป็นการส่งเสริมพลังงานสะอาดและดึงดูดการลงทุนที่มีความต้องการพลังงานสะอาดมากขึ้น
ซึ่งการเปิดรับซื้อในรอบ 2 นี้ ได้มีการปรับหลักเกณฑ์ เช่น เดิมกำหนดให้ผู้ที่ฟ้องร้องในรอบแรกไม่สามารถเข้าร่วมยื่นขายไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนรอบ 2 ได้ แต่ตามมติ กบง. คาดว่า จะมีความชัดเจนและสามารถออกประกาศเชิญชวนได้ภายในไตรมาส 4/67
ส่วนที่ ครม.เห็นชอบ โครงการการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบการทำสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรง (Direct Power Purchase Agreement: Direct PPA) 2,000 เมกะวัตต์ เพื่อส่งเสริมการลงทุนของกลุ่มเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ดาต้าเซนเตอร์และอื่นๆ นั้น ในเรื่องนี้ กกพ.ก็กำลังรอมติ ครม.เพื่อที่จะได้ร่างระเบียบดำเนินการ คาดว่าจะมีความชัดเจนในปี 2568 ซึ่งเป็นโครงการนำร่องการซื้อขายไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในรูปแบบการทำสัญญาซื้อขายพลังงานไฟฟ้าได้โดยตรงผ่านการขอใช้บริการระบบโครงข่ายไฟฟ้าให้แก่บุคคลที่สาม (Third Party Access: TPA) โดยจะต้องมีการหารือกำหนดค่าบริการสายส่ง (วิลลิ่งชาร์จ) จาก 3 การไฟฟ้าด้วย โดยจะต้องพิจารณาให้เป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจของ บมจ.ซุปเปอร์ เอนเนอร์ยี คอร์เปอเรชั่น (SUPER) โดย “จอมทรัพย์ โลจายะ” ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ระบุ บริษัทฯมีความพร้อมในการขยายธุรกิจพลังงานหมุนเวียนทุกรูปแบบทั้งในประเทศและต่างประเทศ
รวมทั้งเข้าประมูลขายไฟฟ้าในส่วนของพลังงานลมและพลังงานแสงอาทิตย์ กำลังการผลิตติดตั้งประมาณ 3,600 - 5,000 เมกะวัตต์ ของภาครัฐ โดยตั้งเป้าได้งานไม่น้อยกว่า10% ของกำลังการผลิตทั้งหมด ทั้งนี้บริษัทฯ วางเป้ารายได้เพิ่มขึ้นทุกปี โดยในปี 2567 ตั้งเป้าหมายรายได้เติบโตสร้างสถิติสูงสุดใหม่จากปี 2566 มีรายได้รวม 10,130.71 ล้านบาท
ทั้งนี้เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2567 บริษัทย่อย คือ บริษัท ซุปเปอร์ เอิร์ธ เอนเนอร์ยี จำกัด (SEE) ได้จำหน่ายหุ้นสามัญของ บริษัท ซุปเปอร์เอิร์ธ เอนเนอร์ยี 1 จำกัด (SEE1) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ มูลค่ารวมประมาณ 1,131 ล้านบาท ให้กับ บริษัท SUS Thailand Holding Limited (SUS) ภายใต้กลุ่ม Shanghai SUS Environment Co., Ltd สาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งจะสนับสนุนให้บริษัทฯ มีความแข็งแกร่งด้านฐานทุน และเพิ่มศักยภาพการขยายธุรกิจในอนาคต
โดยการขายหุ้น SSE 1 ให้กับ SUS ดังกล่าว บริษัทฯ จะได้รับเงินสด จำนวน 400 ล้านบาท และรับโอนสิทธิเรียกร้องในเงินกู้ยืมทั้งหมด (ประกอบด้วยเงินต้นและดอกเบี้ย) ที่ SEE1 มีอยู่กับ SEE จำนวน 731 ล้านบาท คาดว่าจะรับรู้รายได้เข้ามาภายในไตรมาส 3/2567 และจะทำให้หนี้สินลดลงจากการโอนสิทธิในเงินกู้ยืมกับผู้ซื้อจำนวนประมาณ 731 ล้านบาท
หลังได้รับเงินจากการจำหน่ายหุ้น บริษัทฯ เตรียมนำไปใช้ชำระคืนเงินกู้ยืม เพื่อลดภาระดอกเบี้ย ส่งผลให้หนี้สินต่อทุน (D/E)ลดลง สภาพคล่องทางการเงินดีขึ้น และเป็นเม็ดเงินรองรับการลงทุนในโครงการต่างๆ รวมถึงโครงการโรงไฟฟ้าที่ได้รับคัดเลือกจาก คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) โดยมีกำหนดเปิดดำเนินการเชิงพาณิชย์ระหว่าง ปี 2569-2572 รวมถึงนำไปใช้ลงทุนในโครงการDirect PPAและเป็นเงินทุนหมุนเวียน เชื่อว่าเม็ดเงินที่ได้ครั้งนี้จะทำให้บริษัทฯมีฐานทุนที่แข็งแกร่ง และเป็นโอกาสในการรับงานในอนาคต ขยายโรงไฟฟ้าใหม่เพิ่ม