Talk of The Town

จำลองเหตุการณ์! แบงก์ชาติลดดอกเบี้ย 1% ฉุดกำไร “ธนาคาร” สูงถึง 20-25%


07 สิงหาคม 2567
ข้อมูลเศรษฐกิจล่าสุดชี้ให้เห็นว่าเฟดอาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยได้ถึง 1.2% ในปี 2567 และอีก 1.0% ในปี 2568ส่งผลทำให้ธนาคารแห่งประเทศไทยมีโอกาสปรับลดอัตราดอกเบี้ยตามไปด้วย ดังนั้นเมื่อดอกเบี้ยนโยบายปรับตัวลดลง จะส่งผลต่อหุ้นกลุ่มธนาคารอย่างไร บทความนี้มีคำตอบแล้ว

จำลองเหตุการณ์! copy.jpg

หากถอดมุมมองนักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ เคจีไอ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) ประเมินกรณีศึกษาและวิเคราะห์ความอ่อนไหวการดำเนินงานแบงก์และมูลค่าหุ้นหากธปท.ลดดอกเบี้ย 1%

ทั้งนี้มาร์จิ้น NIM อาจจะลดลงราว 0.5%หากอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับลดลงเร็ว 1% ภายใน 1 ปี โดยคิดว่าถ้าธปท. เดินหน้ารุกปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงราว 1% ในหนึ่งปี จะส่งผลลบต่อการดำเนินงานของธนาคารทั้งหมด และจะเห็นได้ว่าในกรณีเลวร้ายที่สุด NIM จะลดลดราว 0.5%และกดดันกำไรลดลง 20-25% ในกรณีว่าธนาคารไม่สามารถบริหารจัดการต้นทุนอื่นๆ มาชดเชย 

หากมีการปรับลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลงธนาคารต่าง ๆ จะถูกบังคับให้ปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ลงทันทีด้วย แต่ทางด้านอัตราดอกเบี้ยเงินฝากคาดว่าจะลดลงไม่ได้มากนัก เนื่องจากไม่สามารถดอกเบี้ยเงินฝากได้มากนักเพราะดอกเบี้ยต่ำอยู่แล้วที่ 0.15-0.2%และสัดส่วนเงินฝากออมทรัพย์คิดเป็น 80% ของฐานเงินฝาก KBANK SCB KTB มีเพียง BBL ที่มีสัดส่วน 60% 

ทั้งนี้หากสมมติว่าธนาคารปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำลงราว 1.5% คาดว่าจะทำให้ต้นทุนการเงินลงได้เพียง 0.3-0.4% เท่านั้น ดังนั้น กรณีอัตราดอกเบี้ยนโยบายปรับลดลง 1% และดอกเบี้ยต้องปรับลงตามธนาคารที่มี CASA สูงจึงได้รับผลลบมากกว่า ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะกดดันให้ NIM ของ BBLลดลงราว 0.40% ส่วน KBANK, SCB และ KTB จะต่ำลงราว 0.50-0.60%

จากการศึกษา NIM ที่ลดลงทุกๆ 0.1% จะทำให้กำไรต่ำลงราว 5% หากอิงตัวเลขนี้กำไรของธนาคารจะมี downside อยู่ราว 20-25% โดยในความเป็นจริงแล้ว ธนาคารมีทางออกโดยการลดค่าใช้จ่ายการดำเนินงานหรือการลด ค่าใช้จ่ายสำรองฯ (credit cost) ลงเพื่อบริหารจัดการแรงกดดันมาร์จิ้นในตอนนี้

ดังนั้นมองว่าทั้ง BBL และ KTB ยังมีโอกาสลด credit cost ลงได้อีกราว 0.10-0.20% แต่สำหรับ KBANK, SCB และธนาคารขนาดเล็กรายอื่น ๆ ยังมีข้อจำกัดอยู่ เพราะลูกค้ารายย่อย ๆ ของธนาคารมี credit cost อยู่ในระดับสูง

ขณะที่เมื่อใส่ปัจจัยการลดลงของ NIM ไว้ใการศึกษาความอ่อนไหวของกำไร ROE และ มูลค่าหุ้นในกรณีฐาน (New-S1) และในกรณีเลวร้าย (New-S2) ซึ่งในกรณีเลวร้ายสุด คิดว่า ROE ของธนาคารจะต่ำลงราว 2% ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการปรับลด (de-rate ) ค่า PBV ลงตาม ROE 

ดังนั้น ในกรณีนี้ จะเกิด downside ต่อราคาเป้าหมายของหุ้นกลุ่มธนาคารที่ศึกษาอยู่ นอกเหนือจากนั้น valuation ของ SCB จะถูกฉุดลงมากที่สุดรองลงมาด้วย KBANK และ TTB อย่างไรก็ตามในท้ายที่สุดธนาคารจะเลือกการดอกเบี้ยเงินกู้ที่น้อยกว่าดอกเบี้ยนโยบาย

โดยยังชื่นชอบ KTB และ BBL มากกว่าธนาคารรายอื่นในกลุ่ม ทั้ง BBL และ KTB มีโอกาสในการจัดการ NIM ได้มากกว่าธนาคารอื่นในกลุ่ม โดย BBL มีสัดส่วนของ CASA ต่ำ, การบริหารต้นทุนทำได้ง่ายกว่า ขณะที่ การมีส่วนรองรับหนี้เสียได้สูงกว่าจะทำให้ BBL และKTB มีโอกาสจัดการมาร์จิ้นได้ดีกว่าธนาคารรายอื่น


จำลองเหตุการณ์! 1-1 copy.jpg