THAI แจ้งงบไตรมาส 2/67 กำไรสุทธิลด 86% เหตุขาดทุนอัตราแลกเปลี่ยน-ด้อยค่าสินทรัพย์ คาดแปลงหนี้เป็นทุน พร้อมขายหุ้นเพิ่มทุนทันปีนี้
บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ THAI เปิดเผยว่าในงวดไตรมาส 2/67 บริษัทฯ และบริษัทย่อยรับรู้ต้นทุนทางการเงิน (ซึ่งเป็นการรับรู้ต้นทุนทางการเงินตามมาตรฐานการรายงานทางการเงินฉบับที่ 9: TFRS9) จำนวน 4,796 ล้านบาท ซึ่งสูงกว่างวดเดียวกันของปีก่อน 829 ล้านบาท (20.9%) และมีรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว
สาเหตุหลักจากการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ผลขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์ ถึงแม้จะมีกำไรจากการปรับโครงสร้างหนี้ ส่วนแบ่งกำไรจากเงินลงทุนในบริษัทร่วม และกำไรจากการขายสินทรัพย์
โดยในไตรมาสที่ 2 ปี 2567 มีรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียวสุทธิ์เป็นค่าใช้จ่ายรวม 809 ล้านบาท ส่งผลให้ไตรมาสที่ 2 ปี2567 บริษัทฯ และบริษัทย่อยมีกำไรสุทธิจำนวน 314 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าปีก่อน 1,959 ล้านบาท โดยเป็นกำไรส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่ 306 ล้านบาท คิดเป็นกำไรต่อหุ้น 0.14 บาท ลดลงจากปีก่อน 0.90 บาทต่อหุ้น (86.5%)
และมี EBITDA หลังหักเงินสดจ่ายหนี้สินตามเงื่อนไขสัญญาเช่าเครื่องบิน รวมค่าเช่าเครื่องบินที่คำนวณจากการใช้เครื่องบินที่เกิดขึ้นจริง (Power by the Hour) จำนวน 4,401 ล้านบาท ซึ่งต่ำกว่าปีก่อน 4,906 ล้านบาท (52.7%)
โดยบริษัทฯ และบริษัทย่อยมีรายได้รวม (ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว) ทั้งสิ้น 43,981 ล้านบาท สูงกว่างวดเดียวกันของปีก่อน 6,600 ล้านบาท (17.7%) โดยมีสาเหตุหลักมาจากรายได้จากกิจการขนส่งที่เพิ่มขึ้น 5,333 ล้านบาท (15.2%) เนื่องจากการเพิ่มจำนวนเที่ยวบิน และเส้นทางบินที่ให้บริการ เพื่อรองรับปริมาณความต้องการเดินทางของผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ทั้งนี้เมื่อเทียบกับช่วงไตรมาสที่ 2 ของปี 2566 บริษัทฯ ได้เพิ่มความถี่เที่ยวบินในเมืองสำคัญ เช่น ชิดนีย์ โตเกียว (นาริตะ) โอซากา ไทเป ฮ่องกง สิงคโปร์ รวมถึงเพิ่มความถี่ไปยังประเทศจีน เพื่อตอบรับนโขบายการยกเว้นวีซ่า ระหว่างไทยกับขืน กลับไปให้บริการในเส้นทางเพิร์ท และโคลัมโบ และได้ให้บริการเส้นทางใหม่ไปยังมืองโกชิ ประเทศอินเดีย ซึ่งทำให้มีเครือข่ายเส้นทางบินให้บริการครอบคลุม 59 จุดบิน ใน 24 ประเทศทั่วโลก โดยเป็น & จุดบินในประเทศ (ไม่รวมกรุงเทพมหานกร)
โดยแบ่งเป็นรายได้จากการขนส่งผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น 4,963 ล้านบาท (159%) และมีรายได้จากค่าระวางขนส่งและไปรษณียภัณฑ์ที่เพิ่มขึ้น 360 ล้านบาท (9.4%) จากปริมาณการขนส่งพัสดภัณฑ์ (RETK) เพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 ถึงแม้จะมีรายได้พัสดุภัณฑ์เฉลี่ยต่อหน่วยลดลงร้อยละ 11.5 นอกจากนี้บริษัทฯ และบริษัทย่องมีรายได้จากกิจการอื่นเพิ่มขึ้น 724 ล้านบาท (37.3%) โดยส่วนใหญ่มาจากมีรายได้หน่วยธุรกิจที่เพิ่มขึ้นจากจำนวนเที่ยวบิน และผู้โดยสารของสายการบินลูกค้าที่เพิ่มขึ้น และมีรายได้อื่นๆ เพิ่มขึ้น 553 ล้านบาท (115.0%)
ในขณะที่ค่าใช้จ่ายรวม (ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนถึง 9.251 ล้านบาท (32.1%) ตามปริมาณการผลิตและ/หรือปริมาณการขนส่งจำนวนเที่ยวบิน จุดบิน และผู้โดยสารที่เพิ่มขึ้น รวมทั้งอัตราค่าบริการภาคพื้น ราคาวัตถุดิบที่สูงขึ้น และการอ่อนค่าของเงินบาทที่ส่งผลให้คำใช้จ่ายและค่าธรรมเนียมส่วนใหญ่ที่อยู่ในสกุลเงินต่างประเทศสูงขึ้น ส่งผลให้บริษัทฯและบริษัทอ่อย มีกำไรจากการดำเนินงานก่อนต้นต้นทุนทางการเงิน ไม่รวมรายการที่เกิดขึ้นครั้งเดียว 5,925 ล้านบาทต่ำกว่างวดเดียวกันของปีก่อน 2,651 ล้านบาท (30.9%)
นอกจากนี้บริษัทฯ อยู่ระหว่างการเตรียมแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์ และร่างหนังสือชี้ชวน(Fiing) ต่อสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อเข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างทุนตามแผนฟื้นฟูกิจการ
โดยบริษัทฯ คาดว่าจะสามารถดำเนินการแปลงหนี้เป็นทุนพร้อมเสนอขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนให้แล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ตามที่กำหนดในแผนฟื้นฟูกิจการ โดยมีวัตถุประสงค์ให้งบการเงินประจำปี 2567 ของบริษัทฯ มีส่วนของผู้ถือหุ้นเป็นบวก ซึ่งเป็นหนึ่งในเงื่อนไขความสำเร็จของการฟื้นฟูกิจการ เพื่อให้หลักทรัพย์ของบริษัทฯ สามารถกลับมาซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้อีกครั้ง สร้างความเชื่อมั่นให้แก่เจ้าหนี้ ผู้ถือหุ้นเดิม และนักลงทุน ในการให้การสนับสนุนบริษัท และร่วมเป็นส่วนหนึ่งของบริษัทฯ ที่จะกลับมาเติบโตอย่างแข็งแกร่ง และสร้างผลกำไรที่ดีอย่างยั่งยืน