กระดานข่าว
“NER” ผลงานสดใส อนุมัติจ่ายปันผลระหว่างกาล 0.05 บาท หลังงบ 6 เดือน กำไรโต 932.36 ล้านบาท
13 สิงหาคม 2567
บมจ. นอร์ทอีส รับเบอร์ หรือ NER เผยมติคณะกรรมการบริษัทฯ อนุมัติจ่ายเงินปันผลระหว่างกาลสำหรับผลการดำเนินงานงวด 6 เดือนปี 2567 ในอัตรา 0.05 บาท/หุ้น หลังงบการเงิน 6 เดือนปี 2567 บริษัทมีกำไรสุทธิ 932.36 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20.84 % จากราคายางมีทิศทางที่ดี และบริหารจัดการต้นทุนขายได้ดี ด้านครึ่งปีหลัง มุ่งเน้นการขยายตลาดมากขึ้น เนื่องจากได้ปัจจัยบวกราคายางพาราที่ยืนอยู่ในระดับสูง
นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และยางผสม เพื่อจำหน่ายไปยังผู้ผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ และกลุ่มผู้ค้าคนกลาง ทั้งในและต่างประเทศ เปิดเผยว่า มติคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567 อนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล สำหรับผลการดำเนินงานงวดวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567 เป็นเงินสดในอัตรา 0.05 บาทต่อหุ้น รวมเป็นเงิน 92.38 ล้านบาท โดยจะขึ้นเครื่องหมาย XD (วันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล) ในวันที่ 23 สิงหาคม 2567 วันกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับปันผล (Record date) ในวันที่ 26 สิงหาคม 2567 และกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 6 กันยายน 2567
ด้านผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2567 (สำหรับงวด 6 เดือน) สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2567 เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณขาย 205,071 ตัน ลดลง 51,981 ตัน หรือลดลง 20.22% คิดเป็นรายได้จากการขายรวม 12,351.07 ล้านบาท ลดลง 460.90 ล้านบาทหรือลดลง 3.60% โดยงวด 6 เดือนแรกของปี 2567 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิเท่ากับ 932.36 ล้านบาทหรือคิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ7.55% ของรายได้จากการขายรวม โดยเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน บริษัทฯ มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 160.77 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 20.84% โดยรายได้จากการขายงวด 6 เดือนแรกของปี 2567 ที่มีการปรับตัวลดลงจากผลิตภัณฑ์ยางแท่ง (STR20, STR-Mixture) ที่บริษัทฯได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าต่างประเทศเป็นสำคัญ ทำให้สัดส่วนยอดขายต่างประเทศลดลงเหลือ 22% จาก 38% ในปี 2566
สำหรับผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 2/2567 สำหรับงวด 3 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2567 เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณขาย 90,451 ตัน ลดลง 39,028 ตัน หรือลดลง 30.14% คิดเป็นรายได้จากการขายรวม 5,809.22 ล้านบาท ลดลง 748.36 ล้านบาทหรือลดลง 11.41% โดยการลดลงของรายได้จากการขายเป็นการลดลงด้านปริมาณอยู่ที่ 1,976.58 ล้านบาท และเป็นการเพิ่มขึ้นด้านราคาอยู่ที่ 1,228.23 ล้านบาท ด้านกำไรสุทธิสำหรับงวดไตรมาส 2/2567 (งวด 3 เดือน) เท่ากับ 478.75 ล้านบาท หรือคิดเป็น 8.24% ของรายได้จากการขายรวม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 21.54 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4.71%
นายชูวิทย์ กล่าวเพิ่มเติมถึง ผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2567 มีแนวโน้มดีต่อเนื่องจากครึ่งปีแรก เนื่องจากรับได้ปัจจัยบวกจากราคายางพาราที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูง ซึ่งปัจจุบันมีคำสั่งซื้อ (Order) ล่วงหน้าครอบคลุมถึงไตรมาส 4/2567 แล้วขณะที่ในช่วงไตรมาส 3/2567 บริษัทจะเริ่มส่งออกยางมาตรฐานสหภาพยุโรป (อียู) ที่เริ่มบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า หรือ EU Deforestation Regulation (EUDR) ภายในสิ้นปี 2567 ซึ่งบริษัทจะมีการส่งออกยาง EUDR ล็อตแรกให้บริษัทยางสัญชาติจีนในเดือนสิงหาคม 2567 และส่งออกมากขึ้นในไตรมาส 4/2567
สำหรับแนวโน้มการส่งออกยางพารายังดีอย่างต่อเนื่อง โดยจากรายงานของกระทรวงพาณิชย์พบว่า การส่งออกยางพาราขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือนติดต่อกัน สำหรับโดย 6 เดือนแรกของปี ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน ขยายตัว 30.6% โดยการเติบโตจะมาจากตลาดจีนที่มีความต้องการยางพาราที่มากขึ้นอย่างที่ได้กล่าวไป โดยเฉพาะการซื้อยางพาราเพิ่มขึ้นเพื่อรักษาระดับสต๊อก อีกทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ในต่างประเทศก็มีทิศทางที่ดีก็เชื่อว่าจะช่วยสนับสนุนผลประกอบการของบริษัทได้ด้วย
นายชูวิทย์ จึงธนสมบูรณ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท นอร์ทอีส รับเบอร์ จำกัด (มหาชน) หรือ NER ผู้ดำเนินธุรกิจผลิตและจำหน่ายยางแผ่นรมควัน ยางแท่ง และยางผสม เพื่อจำหน่ายไปยังผู้ผลิตในอุตสาหกรรมยานยนต์ และกลุ่มผู้ค้าคนกลาง ทั้งในและต่างประเทศ เปิดเผยว่า มติคณะกรรมการบริษัทฯ เมื่อวันที่ 9 สิงหาคม 2567 อนุมัติการจ่ายเงินปันผลระหว่างกาล สำหรับผลการดำเนินงานงวดวันที่ 1 มกราคม 2567 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2567 เป็นเงินสดในอัตรา 0.05 บาทต่อหุ้น รวมเป็นเงิน 92.38 ล้านบาท โดยจะขึ้นเครื่องหมาย XD (วันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล) ในวันที่ 23 สิงหาคม 2567 วันกำหนดรายชื่อผู้มีสิทธิได้รับปันผล (Record date) ในวันที่ 26 สิงหาคม 2567 และกำหนดจ่ายเงินปันผลในวันที่ 6 กันยายน 2567
ด้านผลการดำเนินงานไตรมาส 2/2567 (สำหรับงวด 6 เดือน) สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2567 เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณขาย 205,071 ตัน ลดลง 51,981 ตัน หรือลดลง 20.22% คิดเป็นรายได้จากการขายรวม 12,351.07 ล้านบาท ลดลง 460.90 ล้านบาทหรือลดลง 3.60% โดยงวด 6 เดือนแรกของปี 2567 บริษัทฯ มีกำไรสุทธิเท่ากับ 932.36 ล้านบาทหรือคิดเป็นอัตรากำไรสุทธิ7.55% ของรายได้จากการขายรวม โดยเมื่อเทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน บริษัทฯ มีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 160.77 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 20.84% โดยรายได้จากการขายงวด 6 เดือนแรกของปี 2567 ที่มีการปรับตัวลดลงจากผลิตภัณฑ์ยางแท่ง (STR20, STR-Mixture) ที่บริษัทฯได้รับคำสั่งซื้อจากลูกค้าต่างประเทศเป็นสำคัญ ทำให้สัดส่วนยอดขายต่างประเทศลดลงเหลือ 22% จาก 38% ในปี 2566
สำหรับผลการดำเนินงานสำหรับไตรมาส 2/2567 สำหรับงวด 3 เดือน สิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน 2567 เทียบกับงวดเดียวกันของปีก่อน มีปริมาณขาย 90,451 ตัน ลดลง 39,028 ตัน หรือลดลง 30.14% คิดเป็นรายได้จากการขายรวม 5,809.22 ล้านบาท ลดลง 748.36 ล้านบาทหรือลดลง 11.41% โดยการลดลงของรายได้จากการขายเป็นการลดลงด้านปริมาณอยู่ที่ 1,976.58 ล้านบาท และเป็นการเพิ่มขึ้นด้านราคาอยู่ที่ 1,228.23 ล้านบาท ด้านกำไรสุทธิสำหรับงวดไตรมาส 2/2567 (งวด 3 เดือน) เท่ากับ 478.75 ล้านบาท หรือคิดเป็น 8.24% ของรายได้จากการขายรวม เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 21.54 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้น 4.71%
นายชูวิทย์ กล่าวเพิ่มเติมถึง ผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2567 มีแนวโน้มดีต่อเนื่องจากครึ่งปีแรก เนื่องจากรับได้ปัจจัยบวกจากราคายางพาราที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ในระดับสูง ซึ่งปัจจุบันมีคำสั่งซื้อ (Order) ล่วงหน้าครอบคลุมถึงไตรมาส 4/2567 แล้วขณะที่ในช่วงไตรมาส 3/2567 บริษัทจะเริ่มส่งออกยางมาตรฐานสหภาพยุโรป (อียู) ที่เริ่มบังคับใช้กฎหมายว่าด้วยสินค้าปลอดการตัดไม้ทำลายป่า หรือ EU Deforestation Regulation (EUDR) ภายในสิ้นปี 2567 ซึ่งบริษัทจะมีการส่งออกยาง EUDR ล็อตแรกให้บริษัทยางสัญชาติจีนในเดือนสิงหาคม 2567 และส่งออกมากขึ้นในไตรมาส 4/2567
สำหรับแนวโน้มการส่งออกยางพารายังดีอย่างต่อเนื่อง โดยจากรายงานของกระทรวงพาณิชย์พบว่า การส่งออกยางพาราขยายตัวต่อเนื่อง 8 เดือนติดต่อกัน สำหรับโดย 6 เดือนแรกของปี ตั้งแต่เดือนมกราคมถึงเดือนมิถุนายน ขยายตัว 30.6% โดยการเติบโตจะมาจากตลาดจีนที่มีความต้องการยางพาราที่มากขึ้นอย่างที่ได้กล่าวไป โดยเฉพาะการซื้อยางพาราเพิ่มขึ้นเพื่อรักษาระดับสต๊อก อีกทั้งอุตสาหกรรมยานยนต์ในต่างประเทศก็มีทิศทางที่ดีก็เชื่อว่าจะช่วยสนับสนุนผลประกอบการของบริษัทได้ด้วย