หากจะพูดถึงเมนูหรือชื่ออาหารที่ได้รับความนิยมจากคนไทยก็คงต้องชาบูสุกี้ติดอยู่ลิสต์ของใครหลายๆคน ด้วยราคาที่ย่อมเยาและยังสร้างความคุ้มค่าให้แก่ให้ผู้บริโภคได้ภายใต้ราคาที่ไม่สูงมากนัก ซึ่งแน่นอนว่าแฟรนไชส์สุกี้ชาบู “สุกี้ตี๋น้อย” ก็ถือเป็นแบรนด์ที่ได้ความนิยมอย่างล้นหลามตลอดในช่วงที่ผ่านมา
แต่อย่างไรก็ดี ในมุมของตลาดทุนไทยก็มีบริษัทจดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจดังกล่าวอย่าง บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ M ที่นอกจากรูปแบบตามสั่งและคิดราคาตามประเภทและจำนวนอาหาร แต่ เอ็มเค โกลด์ ในบางสาขามี บริการในรูปแบบบุฟเฟ่ต์เช่นกัน และล่าสุดก็ได้มีการเปิดแบรนด์ใหม่อย่าง “เอ็มเค บุฟเฟ่ต์”
ดังนั้น ในวันนี้ทางเราจึงได้ทำการสำรวจและรวบรวมเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของทั้ง 2 บริษัทในช่วงครึ่งปีแรก ร้อมกับรายละเอียดของธุรกิจในด้านต่างๆมานำเสนอให้แก่ผู้อ่านในครั้งนี้
โดยเริ่มกันที่ M ปัจจุบันมี 11 แบรนด์ โดยเป็นแบรนด์จากธุรกิจร้านสุกี้ 4 แบรนด์ เอ็มเค, เอ็มเค ไลฟ์ และเอ็มเค โกลด์, 3 แบรนด์จากธุรกิจร้านอารหารญี่ปุ่น ยาโยอิ, ฮากาตะ และ มิยาซากิ, ธุรกิจร้านอาหารไทย 3 แบรนด์ แหลมเจริญ ซีฟู้ด, ณ สยาม และ เลอ สยาม, ธุรกิจร้านข้าวกล่องแบรนด์ บิซซี่ บ็อกซ์ และธุรกิจร้านกาแฟและเบเกอรี่ แบรนด์ เลอ เพอทิท รวมทั้ง 702 สาขา
ขณะที่ผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีแรกปี 67 มีรายได้อยู่ที่ 8,053 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกัน 5% และกำไรสุทธิอยู่ที่ 747 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกัน 4% โดยสาเหตุหลักมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่อ่อนตัวลงจากค่าครองชีพและภาระหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น
สำหรับ “สุกี้ตี๋น้อย” หรือ บริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด ได้ บริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JMART ถือหุ้นอยู่ในสัดส่วน 30% แม้ว่าในปัจจุบันสุกี้ตี๋น้อยยังไม่ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็มีแผนที่จะเข้าระดมทุนภายในปี 2567 นี้
โดยนอกจากแบรนด์ร้านสุกี้บุฟเฟ่ต์อย่าง สุกี้ตี๋น้อย ที่มีสาขารวมทั้งหมด 67 สาขา ก็ยังแตกไลน์แบรนด์เพิ่ม 3 แบรนด์ ก็คือ ข้าวแกง ตี๋น้อยปันสุข, ตี๋น้อย ป๊อปอัพ คาเฟ่ และ ตี๋น้อย เอ็กซ์เพรส
ทั้งนี้ ในด้านของผลประกอบการในช่วงครึ่งปีแรกปี 67 JMART ก็ได้มีการเปิดเผยส่วนแบ่งกำไรจากการถือหุ้น บริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด อยู่ที่ 183 ล้านบาท แต่หากเป็นตัวเลขกำไรสุทธิของ“สุกี้ตี๋น้อย” จะอยู่ที่ 629 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน 49%
แต่อย่างไรก็ดี ในมุมของตลาดทุนไทยก็มีบริษัทจดทะเบียนที่ประกอบธุรกิจดังกล่าวอย่าง บริษัท เอ็มเค เรสโตรองต์ กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ M ที่นอกจากรูปแบบตามสั่งและคิดราคาตามประเภทและจำนวนอาหาร แต่ เอ็มเค โกลด์ ในบางสาขามี บริการในรูปแบบบุฟเฟ่ต์เช่นกัน และล่าสุดก็ได้มีการเปิดแบรนด์ใหม่อย่าง “เอ็มเค บุฟเฟ่ต์”
ดังนั้น ในวันนี้ทางเราจึงได้ทำการสำรวจและรวบรวมเกี่ยวกับผลการดำเนินงานของทั้ง 2 บริษัทในช่วงครึ่งปีแรก ร้อมกับรายละเอียดของธุรกิจในด้านต่างๆมานำเสนอให้แก่ผู้อ่านในครั้งนี้
โดยเริ่มกันที่ M ปัจจุบันมี 11 แบรนด์ โดยเป็นแบรนด์จากธุรกิจร้านสุกี้ 4 แบรนด์ เอ็มเค, เอ็มเค ไลฟ์ และเอ็มเค โกลด์, 3 แบรนด์จากธุรกิจร้านอารหารญี่ปุ่น ยาโยอิ, ฮากาตะ และ มิยาซากิ, ธุรกิจร้านอาหารไทย 3 แบรนด์ แหลมเจริญ ซีฟู้ด, ณ สยาม และ เลอ สยาม, ธุรกิจร้านข้าวกล่องแบรนด์ บิซซี่ บ็อกซ์ และธุรกิจร้านกาแฟและเบเกอรี่ แบรนด์ เลอ เพอทิท รวมทั้ง 702 สาขา
ขณะที่ผลการดำเนินงานในช่วงครึ่งปีแรกปี 67 มีรายได้อยู่ที่ 8,053 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกัน 5% และกำไรสุทธิอยู่ที่ 747 ล้านบาท ลดลงจากช่วงเดียวกัน 4% โดยสาเหตุหลักมาจากกำลังซื้อของผู้บริโภคที่อ่อนตัวลงจากค่าครองชีพและภาระหนี้ครัวเรือนที่สูงขึ้น
สำหรับ “สุกี้ตี๋น้อย” หรือ บริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด ได้ บริษัท เจมาร์ท กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) หรือ JMART ถือหุ้นอยู่ในสัดส่วน 30% แม้ว่าในปัจจุบันสุกี้ตี๋น้อยยังไม่ได้เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ก็มีแผนที่จะเข้าระดมทุนภายในปี 2567 นี้
โดยนอกจากแบรนด์ร้านสุกี้บุฟเฟ่ต์อย่าง สุกี้ตี๋น้อย ที่มีสาขารวมทั้งหมด 67 สาขา ก็ยังแตกไลน์แบรนด์เพิ่ม 3 แบรนด์ ก็คือ ข้าวแกง ตี๋น้อยปันสุข, ตี๋น้อย ป๊อปอัพ คาเฟ่ และ ตี๋น้อย เอ็กซ์เพรส
ทั้งนี้ ในด้านของผลประกอบการในช่วงครึ่งปีแรกปี 67 JMART ก็ได้มีการเปิดเผยส่วนแบ่งกำไรจากการถือหุ้น บริษัท บี เอ็น เอ็น เรสเตอรองท์ กรุ๊ป จำกัด อยู่ที่ 183 ล้านบาท แต่หากเป็นตัวเลขกำไรสุทธิของ“สุกี้ตี๋น้อย” จะอยู่ที่ 629 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกัน 49%