Wealth Sharing
SGP ปักธงรายได้ปีนี้แตะ 1.1 แสนลบ. หวังยอดขายก๊าซLPG 4.05 ล้านตัน โตกว่า 12%
28 กุมภาพันธ์ 2566
นายศุภชัย วีรบวรพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท สยามแก๊ส แอนด์ ปิโตรเคมีคัลส์ จำกัด (มหาชน) หรือ SGP เปิดเผยว่าผลประกอบการในงวดปี 2565 ของบริษัทฯ และบริษัทย่อย มีรายได้จากการขาย,ขนส่ง และบริการ จำนวน 102,117.25 ล้านบาท เปรียบเทียบกับปี 2564 เป็นจำนวนเงิน 78,603.77 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 23,513.48 ล้านบาท หรือร้อยละ 29.91 รายได้โดยรวมเพิ่มขึ้นจากธุรกิจจำหน่ายก๊าซ LPG ในต่างประเทศ ซึ่งมีสาเหตุจากปริมาณการขายเพิ่มขึ้นและราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลก (CP Saudi Aramco) ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่าปีก่อน
โดยราคาขายในปี 2565 ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 736 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตัน เทียบกับปี 2564 อยู่ที่ 639 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตัน มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นใหญ่ 1,070.21 ล้านบาท ลดลง 2,738.30 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 71.90 เทียบกับงวดปี 2564 ที่มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่จำนวน 3,808.51 ล้านบาท สาเหตุหลักเนื่องจากในช่วงต้นปี 2565 ราคาก๊าซ LPG มีการปรับตัวขึ้นไปสูงสุดที่ 950 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตันในเดือนมี.ค. และมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพ.ค.-ต.ค. เป็นระยะเวลา 6 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 575 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตันในเดือนต.ค. หรือปรับตัวลดลงกว่า 375 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตัน ซึ่งส่งผลต่อผลกำไรของบริษัทที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะธุรกิจก๊าซ LPG ในต่างประเทศที่ใช้ราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกอ้างอิงในการซื้อขาย
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติเสนอผู้ถือหุ้นจ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการช่วงครึ่งปีหลังของปี 2565 ในอัตราหุ้นละ 0.20 บาท โดยจ่ายจากกำไรสุทธิของบริษัท และเมื่อรวมกับเงินปันผลระหว่างกาลงวดครึ่งปีแรกของปี 2565 ในอัตราหุ้นละ 0.20 บาท รวมเป็นเงินที่จ่ายปันผลในปี 2565 ในอัตราหุ้นละ 0.40 บาท คิดเป็นเงินรวม 735.14 ล้านบาท ทั้งนี้การจ่ายเงินปันผลดังกล่าวขึ้นอยู่กับมติของผู้ถือหุ้นในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 ในวันที่ 26 เมษายน 2566 โดยกำหนดวันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล (XD) วันที่ 13 มีนาคม 2566 และจ่ายเงินปันผลวันที่ 18 พฤษภาคม 2566
สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2566 บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้คาดว่าจะสามารถเติบโตไม่ต่ำกว่าแสนหนึ่งหมื่นล้านบาทจากปีที่ผ่านมา โดยปริมาณขายก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) อยู่ที่ราว 4.05 ล้านตัน จากปีที่ผ่านมาที่มีปริมาณขายอยู่ที่ 3.60 ล้านตัน ปัจจัยหลักขับเคลื่อนมาจากความต้องการของตลาดต่างประเทศปรับตัวสูงขึ้นตามความต้องการใช้ที่มากขึ้น หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย และมีการเปิดประเทศ กระตุ้นนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาประเทศไทยคึกคัก ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ มีความต้องการใช้ก๊าซเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภัตตาคาร ร้านค้า ผู้ประกอบการรถขนส่งขนาดใหญ่ และรถขนส่งสาธารณะ รวมไปถึงมีการขับเคลื่อนของภาคธุรกิจการท่องเที่ยว อีกทั้งราคาน้ำมันในประเทศที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการใช้แก๊สในภาคธุรกิจขนส่งเริ่มกลับมาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้ จะส่งผลดีต่อยอดขายของบริษัท
โดยราคาขายในปี 2565 ราคาเฉลี่ยอยู่ที่ 736 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตัน เทียบกับปี 2564 อยู่ที่ 639 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตัน มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของผู้ถือหุ้นใหญ่ 1,070.21 ล้านบาท ลดลง 2,738.30 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 71.90 เทียบกับงวดปี 2564 ที่มีกำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่จำนวน 3,808.51 ล้านบาท สาเหตุหลักเนื่องจากในช่วงต้นปี 2565 ราคาก๊าซ LPG มีการปรับตัวขึ้นไปสูงสุดที่ 950 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตันในเดือนมี.ค. และมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เดือนพ.ค.-ต.ค. เป็นระยะเวลา 6 เดือน มาอยู่ที่ระดับ 575 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตันในเดือนต.ค. หรือปรับตัวลดลงกว่า 375 เหรียญสหรัฐต่อเมตริกตัน ซึ่งส่งผลต่อผลกำไรของบริษัทที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะธุรกิจก๊าซ LPG ในต่างประเทศที่ใช้ราคาก๊าซ LPG ในตลาดโลกอ้างอิงในการซื้อขาย
ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ มีมติเสนอผู้ถือหุ้นจ่ายเงินปันผลสำหรับผลประกอบการช่วงครึ่งปีหลังของปี 2565 ในอัตราหุ้นละ 0.20 บาท โดยจ่ายจากกำไรสุทธิของบริษัท และเมื่อรวมกับเงินปันผลระหว่างกาลงวดครึ่งปีแรกของปี 2565 ในอัตราหุ้นละ 0.20 บาท รวมเป็นเงินที่จ่ายปันผลในปี 2565 ในอัตราหุ้นละ 0.40 บาท คิดเป็นเงินรวม 735.14 ล้านบาท ทั้งนี้การจ่ายเงินปันผลดังกล่าวขึ้นอยู่กับมติของผู้ถือหุ้นในการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2566 ในวันที่ 26 เมษายน 2566 โดยกำหนดวันที่ไม่ได้รับสิทธิปันผล (XD) วันที่ 13 มีนาคม 2566 และจ่ายเงินปันผลวันที่ 18 พฤษภาคม 2566
สำหรับแผนการดำเนินธุรกิจในปี 2566 บริษัทฯ ตั้งเป้ารายได้คาดว่าจะสามารถเติบโตไม่ต่ำกว่าแสนหนึ่งหมื่นล้านบาทจากปีที่ผ่านมา โดยปริมาณขายก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) อยู่ที่ราว 4.05 ล้านตัน จากปีที่ผ่านมาที่มีปริมาณขายอยู่ที่ 3.60 ล้านตัน ปัจจัยหลักขับเคลื่อนมาจากความต้องการของตลาดต่างประเทศปรับตัวสูงขึ้นตามความต้องการใช้ที่มากขึ้น หลังจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 คลี่คลาย และมีการเปิดประเทศ กระตุ้นนักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาประเทศไทยคึกคัก ส่งผลให้ภาคอุตสาหกรรมต่างๆ มีความต้องการใช้ก๊าซเพิ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นภัตตาคาร ร้านค้า ผู้ประกอบการรถขนส่งขนาดใหญ่ และรถขนส่งสาธารณะ รวมไปถึงมีการขับเคลื่อนของภาคธุรกิจการท่องเที่ยว อีกทั้งราคาน้ำมันในประเทศที่ปรับสูงขึ้น ส่งผลให้มีความต้องการใช้แก๊สในภาคธุรกิจขนส่งเริ่มกลับมาเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจัยต่างๆเหล่านี้ จะส่งผลดีต่อยอดขายของบริษัท