GGC โชว์วิสัยทัศน์ขับเคลื่อนธุรกิจไทยสู่ความยั่งยืน ในงาน TBCSD Towards a Sustainable Future
เร่งเครื่อง Net Zero ลดก๊าซเรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี 2608
- GGC ร่วมการเสวนาในฐานะองค์กรสมาชิกขององค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (TBCSD) ในงาน TBCSD Towards a Sustainable Futureมุ่งสร้างแรงขับเคลื่อนธุรกิจไทยสู่ความยั่งยืน CEO Forum: Leading Sustainable Business เพื่อแสดงถึงความท้าทายของภาคธุรกิจปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ในยุคเปลี่ยนผ่านด้านพลังงาน และบทบาทของธุรกิจเชื้อเพลิงและเคมีภัณฑ์ชีวภาพซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการผลักดันภาคธุรกิจปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ในการมุ่งสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำเพื่อความยั่งยืนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน
บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ “GGC” ร่วมเสวนาในงาน TBCSD Towards a Sustainable Future มุ่งสร้างแรงขับเคลื่อนธุรกิจไทยสู่ความยั่งยืน CEO Forum: Leading Sustainable Business จัดโดยองค์กรธุรกิจเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน หรือ “TBCSD” ในงานเสวนานี้ มีองค์กรสมาชิกจาก 8 กลุ่มธุรกิจ ได้แก่ กลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ กลุ่มอสังหาริมทรัพย์ก่อสร้าง กลุ่มธุรกิจการเงิน กลุ่มพลังงานและสาธารณูปโภค กลุ่มพลังงานไฟฟ้า กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม กลุ่มเทคโนโลยี และกลุ่มสินค้าอุตสาหกรรม ได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับความท้าทายและบทบาทที่สำคัญของแต่ละกลุ่มธุรกิจในการมุ่งสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำเพื่อความยั่งยืน เร่งเครื่อง Net Zero ลดก๊าซ เรือนกระจกเป็นศูนย์ในปี 2608
นายกฤษฎา ประเสริฐสุโข กรรมการผู้จัดการ บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC เปิดเผยถึงภาพรวมธุรกิจกลุ่มปิโตรเคมีและเคมีภัณฑ์ในช่วงที่เหลือของปีนี้ ว่า ยังคงมีความท้าทายทั้งในห่วงโซ่อุปทาน การจัดหาวัตถุดิบคาร์บอนต่ำ การพัฒนากระบวนการผลิตให้มีประสิทธิภาพสูงและเทคโนโลยีดิจิทัล การขนส่งที่ปล่อยมลพิษต่ำ ความต้องการของตลาดที่เปลี่ยนแปลง เกณฑ์และมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อมทั้งในและต่างประเทศ โดยมีแนวโน้มความต้องการผลิตภัณฑ์ด้านความยั่งยืน (Sustainable Products) มากขึ้น เพื่อขับเคลื่อนภาคธุรกิจโดยให้ความสำคัญด้านนโยบาย และกฎระเบียบด้านสิ่งแวดล้อมที่เข้มงวด โดยเฉพาะในธุรกิจเชื้อเพลิงและเคมีภัณฑ์ชีวภาพ การผลิตและการจัดหาน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน เพื่อมุ่งสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำอย่างยั่งยืน
“การมุ่งสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำเป็นโอกาสทางธุรกิจ โดยทุกองค์กรต้องวางแผนตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน เพราะเราทำคนเดียวไม่ได้ จึงเป็นที่มีของความร่วมมือกันทุกภาคส่วน เพื่อมุ่งสู่การเป็นธุรกิจคาร์บอนต่ำและเติบโตอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน ซึ่งจะสนับสนุนให้ประเทศไทยสามารถบรรลุถึงเป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ในปี พ.ศ. 2608 ไปด้วยกัน”