Talk of The Town
PTT ปรับพอร์ตถือหุ้นโรงกลั่น-ปิโตรเคมี หวังลดสัดส่วนลงทุน ใน PTTGC-IRPC-TOP เล็งหาพันธมิตรช่วยเสริมแกร่งธุรกิจ
20 สิงหาคม 2567
ดร.คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) หรือ PTT เปิดเผยว่า กลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของกลุ่ม ปตท. ภายใต้วิสัยทัศน์ ปตท. แข็งแรงร่วมกับสังคมไทยและเติบโตในระดับโลกอย่างยังยืน" หรือ "TOGETHER FOR SUSTAINABLE THAILAND, SUSTAINABLE WORLD"
โดยบริษัทมีแผนปรับพอร์ตธุรกิจโรงกลั่น และปิโตรเคมี ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตรเข้ามาถือหุ้น TOP IRPC และPTTGC บนหลักการไม่ต้องถือหุ้นในสัดส่วนเท่าเดิม แต่ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เพื่อสร้างความแข็งแกร่งร่วมกับพันธมิตร นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนลดสินทรัพย์ที่ไม่สร้างผลกำไร
“โดยธุรกิจโรงกลั่นและปิโตรเคมี ตอนนี้อยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตรเพื่อเข้ามาสร้างความแข็งแกร่ง ซึ่งในส่วนของปตท. มีแผนลดสัดส่วนการถือหุ้นในกลุ่มบริษัทดังกล่าวลง เนื่องจากหลักการเราไม่จำเป็นต้องถือหุ้นเท่าเดิม แต่ต้องการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับบริษัทลูกทั้งหลาย โดยพันธมิตรดังกล่าว จะต้อวเป็นกลุ่มที่มีความแข็งแกร่ง และมีความเชียวชาญ ในกลุ่มธุรกิจดังกล่าว โดยจะใช้ฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังกลุ่มประเทศยุโรป และอเมริกา”ดร.คงกระพัน กล่าว
สำหรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของกลุ่ม ปตท. เร่งสร้างความแข็งแรง และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในธุรกิจ Hydrocarbon ที่เป็น Core Busness ของ ปตท. ที่ ปตท. ทำได้ดี แต่จะทำแบบเดิมไม่ได้ ต้องทำควบคู่กับการลดก๊าซเรือนกระจก และต้องปรับตัวพร้อมรับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
โดยธุรกิจ Upstream and Power จะต้องเร่งขยายแหล่งสำรวจและผลิต ร่วมกับ Parner มีต้นทุนที่แข่งขันได้ รวมถึงการผลักดันการพัฒนา พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา (OCA) เพื่อช่วยเสริมสร้างความมันคงทางพลังงานของประเทศ ในส่วนกระแสไฟฟ้ามี Mandate ให้เสริมสร้าง Relabity และ Decarbonize ให้กับกลุ่ม ปตท.
สำหรับธุรกิจ Downsteam นั้น จะต้องปรับตัวและสร้างความแข็งแรงร่วมกับ Panner แสวงหาโอกาสในการสร้าง Synergy ร่วมกันเพิ่มเติม ทั้งนี้ธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีกนั้นจะต้องมุ่งหน้าเป็น Mobilty Partner ของคนไทย ปรับพอร์ตการลงทุนให้มี Substance และ Asset Light รวมถึงการรักษาการเป็นผู้นำตลาด ควบคู่ไปกับกับการดำเนินธุรกิจ Non-Hydrocarbon โดยประเมินธุรกิจนี้ใน 2 มุม
คือ 1.ธุรกิจต้องมีความน่าสนใจ 2.ปตท. มี Right to Play พรือมีจุดแข็ง สามารถเข้าไปต่อยอดในธุรกิจนั้นๆ ได้ และมี Partner ที่แข็งแรง
ซึ่งมีแนวทางการลงทุนในธุรกิจ Non-Hydrocarbon ดังนี้ 1.ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับ EV ปตท. จะมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจบรรจุกระแสไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะต้แงมีการควบรวมแบรนด์ต่างๆ ภายใต้กลุ่ม ปตท. และใช้ OR Ecosystem ที่มี Touch Pont อยู่ทั่วประเทศให้เป็นประโยชน์
2.ธุรกิจ Logistics ปตท. จะเน้นเฉพาะธุรกิจที่มีความเกี่ยวเนื่องกับ Core Business ของ ปตท.และมี Captive Demand อยู่แล้ว โดย ยึดหลัก Asset-light และมี Parner ที่แข็งแรง และ 3. ธุรกิจ Lie Science ปตท. จะต้องสามารถพึ่งตัวเองได้ทางการเงิน (SeIf-funding) และสร้าง Goodwill ให้กับสังคม
โดยบริษัทมีแผนปรับพอร์ตธุรกิจโรงกลั่น และปิโตรเคมี ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตรเข้ามาถือหุ้น TOP IRPC และPTTGC บนหลักการไม่ต้องถือหุ้นในสัดส่วนเท่าเดิม แต่ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่เพื่อสร้างความแข็งแกร่งร่วมกับพันธมิตร นอกจากนี้บริษัทยังมีแผนลดสินทรัพย์ที่ไม่สร้างผลกำไร
“โดยธุรกิจโรงกลั่นและปิโตรเคมี ตอนนี้อยู่ระหว่างเจรจากับพันธมิตรเพื่อเข้ามาสร้างความแข็งแกร่ง ซึ่งในส่วนของปตท. มีแผนลดสัดส่วนการถือหุ้นในกลุ่มบริษัทดังกล่าวลง เนื่องจากหลักการเราไม่จำเป็นต้องถือหุ้นเท่าเดิม แต่ต้องการเพิ่มความแข็งแกร่งให้กับบริษัทลูกทั้งหลาย โดยพันธมิตรดังกล่าว จะต้อวเป็นกลุ่มที่มีความแข็งแกร่ง และมีความเชียวชาญ ในกลุ่มธุรกิจดังกล่าว โดยจะใช้ฐานการผลิตจากประเทศไทยไปยังกลุ่มประเทศยุโรป และอเมริกา”ดร.คงกระพัน กล่าว
สำหรับกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจของกลุ่ม ปตท. เร่งสร้างความแข็งแรง และเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันในธุรกิจ Hydrocarbon ที่เป็น Core Busness ของ ปตท. ที่ ปตท. ทำได้ดี แต่จะทำแบบเดิมไม่ได้ ต้องทำควบคู่กับการลดก๊าซเรือนกระจก และต้องปรับตัวพร้อมรับสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็ว
โดยธุรกิจ Upstream and Power จะต้องเร่งขยายแหล่งสำรวจและผลิต ร่วมกับ Parner มีต้นทุนที่แข่งขันได้ รวมถึงการผลักดันการพัฒนา พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา (OCA) เพื่อช่วยเสริมสร้างความมันคงทางพลังงานของประเทศ ในส่วนกระแสไฟฟ้ามี Mandate ให้เสริมสร้าง Relabity และ Decarbonize ให้กับกลุ่ม ปตท.
สำหรับธุรกิจ Downsteam นั้น จะต้องปรับตัวและสร้างความแข็งแรงร่วมกับ Panner แสวงหาโอกาสในการสร้าง Synergy ร่วมกันเพิ่มเติม ทั้งนี้ธุรกิจน้ำมันและการค้าปลีกนั้นจะต้องมุ่งหน้าเป็น Mobilty Partner ของคนไทย ปรับพอร์ตการลงทุนให้มี Substance และ Asset Light รวมถึงการรักษาการเป็นผู้นำตลาด ควบคู่ไปกับกับการดำเนินธุรกิจ Non-Hydrocarbon โดยประเมินธุรกิจนี้ใน 2 มุม
คือ 1.ธุรกิจต้องมีความน่าสนใจ 2.ปตท. มี Right to Play พรือมีจุดแข็ง สามารถเข้าไปต่อยอดในธุรกิจนั้นๆ ได้ และมี Partner ที่แข็งแรง
ซึ่งมีแนวทางการลงทุนในธุรกิจ Non-Hydrocarbon ดังนี้ 1.ธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับ EV ปตท. จะมุ่งเน้นไปที่ธุรกิจบรรจุกระแสไฟฟ้าสำหรับยานยนต์ไฟฟ้า ซึ่งจะต้แงมีการควบรวมแบรนด์ต่างๆ ภายใต้กลุ่ม ปตท. และใช้ OR Ecosystem ที่มี Touch Pont อยู่ทั่วประเทศให้เป็นประโยชน์
2.ธุรกิจ Logistics ปตท. จะเน้นเฉพาะธุรกิจที่มีความเกี่ยวเนื่องกับ Core Business ของ ปตท.และมี Captive Demand อยู่แล้ว โดย ยึดหลัก Asset-light และมี Parner ที่แข็งแรง และ 3. ธุรกิจ Lie Science ปตท. จะต้องสามารถพึ่งตัวเองได้ทางการเงิน (SeIf-funding) และสร้าง Goodwill ให้กับสังคม