BEM ได้ประโยชน์ หากรัฐเวนคืนสัมปทาน ดันรถไฟฟ้า 20 บาท โบรกฯชี้เป็นจังหวะสะสมแนะ “ซื้อ” เป้า 11.60 บาท
บริษัทหลักทรัพย์ หยวนต้า (ประเทศไทย) จำกัด ระบุว่า ประเด็นแนวคิดรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย ในงาน Nation TV Dinner Talk : Vision for Thailand 2024 เมื่อวันที่ 22 ส.ค. คุณทักษิณ ชินวัตร ได้ให้ แนวคิดเรื่องนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสายโดยกล่าวไว้ว่าคงต้องทำให้ได้และมีโอกาสต้องเวนคืนสัมปทานจากเอกชนเพื่อกำหนดอัตราค่าโดยสารและจะเปลี่ยนมาจ้างเอกชนเดินรถแทนรัฐบาลจะจัดตั้ง Infrastructure Fund และเรียกเก็บค่าใช้รถยนต์ (Congestion Fee) เพื่อชดเชยมูลค่าทางบัญชีและ อุปกรณ์งานระบบทั้งหมดรวมถึงผลกำไรในอนาคตจากรายได้ในระยะเวลาที่เหลือของสัมปทานให้กับบริษัทเอกชนที่ได้รับสัมปทาน
หากรัฐบาลซื้อ คืนสัมปทาน คาดเงินชดเชยมูลค่าสูงราว 10.00-13.00 บาท/หุ้น ปัจจุบัน BEM มี 1) โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินที่มีอายุสัญญาสัมปทานอีก 26 ปีถึง มี.ค. 2593 และ 2) โครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่เพิ่งลงนามสัญญาสัมปทานยาว 30 ปีซึ่งมีสัญญาสัมปทานรูปแบบเดียวกับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน
อิงประมาณการปัจจุบันของเรา หากรัฐบาลซื้อคืนสัมปทาน เบื้องต้นคาดมูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดจากทั้งสองโครงการจนสิ้นสุดอายุสัญญาสัมปทานแบบอนุรักษ์นิยมที่ราว 1.5-2.0 แสนล้านบาท คิดเป็นมูลค่าต่อหุ้นที่ราว 10.00-13.00 บาท/หุ้น ซึ่งสูงกว่า Market Capitalisation ปัจจุบันของ BEM ที่ 1.2 แสนลบ.
และราคาตลาดปัจจุบันอย่างมีนัยสำคัญ ในกรณีที่รัฐบาลเปลี่ยน สัญญาสัมปทานเป็นการจ้างเดินรถและชดเชยบางส่วน คาดจำนวนเงินจะยังสูงกว่ามูลค่าปัจจุบันของ BEM ทำให้เรามีมุมมองเป็นบวกต่อการเวนคืนโครงการ
ภาพธุรกิจระบบรางใหม่ในรูปแบบ O&M หากการซื้อคืนสัมปทานเกิดขึ้นจริง สัมปทานโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสายสีส้มของ BEM ที่เป็น PPP Net Cost และเก็บรายได้ค่าโดยสาร (Farebox Revenue) จะถูกเปลี่ยนเป็นสัญญาสัมปทาน PPP Gross Cost โดย BEM จะมีรายได้จากการจ้างเดินรถ (Operation & Maintenance - O&M) คาดจะเป็นบวกกับ BEM
จากการรับรู้รายได้ค่าจ้างเดินรถที่สม่ำเสมอโดยไม่มีความเสี่ยงจากจำนวนผู้ใช้รถไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงซึ่งจะเป็นบวกต่อโครงการรถไฟฟ้าสายสีส้มที่ปริมาณผู้ใช้อาจยังไม่สูงตอนเปิดให้บริการ และคาดรายได้ O&M จะสูงกว่าโครงการรถไฟฟ้า สายสีม่วงตามระยะทางของรถไฟฟ้า สายสีน้ำเงินและสีส้ม รวมกว่า 84 ก.ม. ที่ส่วนใหญ่เป็นสถานีใต้ดิน
ทั้งนี้มองเป็นบวกต่อนโยบายรถไฟฟ้า 20 บาทตลอดสาย คงคำแนะนำ “ซื้อ” หากรัฐบาลซื้อคืนโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงินและสีส้มของ BEM บริษัทจะมีรายได้ธุรกิจระบบรางที่ สม่ำเสมอจากการเปลี่ยนมารับรู้รายได้ O&M แทน Farebox Revenue และคาดจะได้เงินจากการซื้อคืนที่ ราว 1.5-2.0 แสนล้านบาทสูงกว่า Market Cap. ปัจจุบันที่1.2 แสนล้านบาท
แม้ว่ามูลค่าซื้อคืนมีโอกาสต่ำกว่าที่ เราประเมินแต่หากรวมโอกาสจากการเปลี่ยนสัญญาเป็น O&M ด้วยแล้ว เราประเมินว่ามีโอกาสที่จะเท่ากับ หรือสูงกว่า ซึ่งบริษัทสามารถนำเงินที่ได้ไปลงทุนหรือลดต้นทุนทางการเงินเพื่อหนุนผล ประกอบการในอนาคต
การปรับตัวลงจากความกังวลดังกล่าว เป็นโอกาสสะสม คงคำแนะนำ “ซื้อ” อิงราคาเหมาะสม ณ สิ้นปี 2567 ที่11.60 บาท/หุ้น BEM มีUpside Risk สำคัญที่ยังไม่รวมไว้ในประมาณการได้แก่ โครงการทางด่วน Double Deck คาด กทพ. เจรจาร่วมกับ BEM แล้วเสร็จภายในปีนี้เบื้องต้นประเมิน Upside Risk ที่ ระดับ 2.00-2.50 บาท/หุ้น และ รถไฟฟ้าสายสีม่วงใต้คาดการเจรจาระหว่างรัฐและเอกชนเพื่อหาผู้เดิน รถจะเริ่มภายในปีนี้