Talk of The Town

วิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วม จะเข้าขั้นวิกฤต หรือเป็นโอกาสลงทุน?


27 สิงหาคม 2567
สถานการณ์น้ำท่วมในภาคเหนือยังคงต้องติดตามกันอย่างใกล้ชิด เพราะตลาดมีความกังวลถึงสถานการณ์จะลามมายังมาอื่นๆ รวมทั้งกรุงเทพมหานคร แต่นักวิเคราะห์มองว่า ความเสี่ยงสถานการณ์น้ำท่วมปี 2567 จะรุนแรงเท่าปี 2554 ยังจำกัด โดยผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อห้างค้าปลีกน่าจะอยู่ในวงจำกัดเฉพาะภาคเหนือ

วิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วม_S2T (เว็บ)_0.jpg

นักวิเคราะห์บริษัทหลักทรัพย์ กรุงศรี จำกัด (มหาชน) ระบุว่า สถานการณ์น้ำท่วมในภาคเหนือล่าสุด แม้ภาพหน้าข่าวน่ากังวล แต่หากพิจารณาระดับน้ำในเขื่อนทั่วประเทศปัจจุบัน ณ 25 ส.ค. 67 อยู่ที่ 61% ของความจุทั้งหมด โดยระดับดังกล่าวยังอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำในเขื่อนปี 2548-66 นอกจากนี้ หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2554 (25 ส.ค.2554) ที่เกิดวิกฤติมหาอุทกภัย ระดับน้ำสูง 73% ของความจุเขื่อน 

โดยมีภาคที่เริ่มเฝ้าระวัง คือ พื้นที่ภาคเหนือและตะวันตก อย่างไรก็ตาม หากมองภาพความเสี่ยงที่จะมีพายุ/ไต้ฝุ่นเข้ามาซ้ำเติมสถานการณ์ ความเสี่ยงหลักของเอเชีย คือ พายุไต้ฝุ่น “ชานชาน” ปัจจุบันมีแนวโน้มเคลื่อนตัวไปทางเอเชียเหนือมากกว่า ขณะที่น้ำในส่วนที่สร้างผลกระทบไปแล้ว เขื่อนที่ยังอยู่ในโซนพื้นที่ภาคกลาง - ใต้ - ตะวันออก ยังน่าจะรองรับได้

ดังนั้นทีมกลยุทธ์ประเมินความเสี่ยงที่ตลาดกังวลในส่วนโอกาสเกิดน้ำท่วมใหญ่ดังเช่นปี 2554 (2011) จำกัด แต่ยังให้น้ำหนักความเสี่ยงดังกล่าวอยู่ในลักษณะเฝ้าระวัง โดยประเมินเป็นส่วนๆ ดังนี้

ระดับน้ำในเขื่อนทั่วประเทศ ณ 25 ส.ค. 67 อยู่ที่ 61% ของความจุทั้งหมด โดยระดับดังกล่าวยังอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำในเขื่อนปี 2548-2566 และหากยังต่ำกว่า หากเทียบกับระดับปี 2565 (ปีที่ระดับน้ำสูงสุดในรอบ 5 ปีหลัง) หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2554 (25 ส.ค.54) ที่เกิดวิกฤตมหาอุทกภัย ระดับน้ำสูง 73% ของความจุเขื่อน โดยหากแบ่งตามภาคต่างๆ สถานการณ์โดยรวมสรุปได้ดังนี้

ภาคที่ยังมีความเสี่ยงระดับน้ำในเขื่อนต่ำ

ภาคใต้ (ความจุเขื่อน 11.6% ของความจุทั้งประเทศ) ระดับน้ำในเขื่อนปัจจุบัน อยู่ที่ 61% ของความจุทั้งหมด โดยระดับดังกล่าวยังอยู่ระดับค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำในเขื่อนปี 2548-66 และระดับปี 2565 (ปีที่ระดับน้าสูงสุดในรอบ 5 ปีหลัง) นอกจากนี้ หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2554 ที่เกิดวิกฤติมหาอุทกภัย ระดับน้ำสูง 63% ของความจุเขื่อน 

ภาคกลาง (ความจุเขื่อน 2% ของความจุทั้งประเทศ) ระดับน้ำในเขื่อนปัจจุบันอยู่ที่ 28% ของความจุทั้งหมด โดยระดับดังกล่าวยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำในเขื่อนปี 2548-2566 และระดับปี 2565 นอกจากนี้ หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2554 ที่เกิดวิกฤติมหาอุทกภัย ระดับน้ำสูง 46% ของความจุเขื่อน 
ภาคตะวันออก (ความจุเขื่อน 2.1% ของความจุทั้งประเทศ)- ระดับน้ำในเขื่อนปัจจุบัน อยู่ที่ 55% ของความจุทั้งหมด โดยระดับดังกล่าวยังอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำในเขื่อนปี 2548-2566 ขณะที่ใกล้เคียงกับระดับปี 2565 (ปีที่ระดับน้ำสูงสุดในรอบ 5 ปีหลัง) นอกจากนี้ หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2554 (25 ส.ค. 11) ที่เกิดวิกฤติมหาอุทกภัย ระดับน้าสูง 61% ของความจุเขื่อน 

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (ความจุเขื่อน 12% ของความจุทั้งประเทศ)- ระดับน้ำในเขื่อนปัจจุบัน อยู่ที่ 46% ของความจุทั้งหมด โดยระดับดังกล่าวยังอยู่ในระดับต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำในเขื่อนปี 2548-2566 และระดับปี 2565 นอกจากนี้ หากเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2554 (25 ส.ค. 11) ที่เกิดวิกฤติมหาอุทกภัย ระดับน้ำสูง 55% ของความจุเขื่อน

ภาคที่ยังมีความเสี่ยงระดับน้ำในเขื่อนต้องเฝ้าระวัง 

ภาคเหนือ (ความจุเขื่อน 35% ของความจุทั้งประเทศ) ระดับน้ำในเขื่อนปัจจุบัน อยู่ที่ 55% ของความจุทั้งหมด โดยระดับดังกล่าวยังอยู่ในระดับค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำในเขื่อนปี 2548-2566 และระดับปี 2565 ทั้งนี้ ระดับน้ำเท่ากับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2554 ที่เกิดวิกฤติมหาอุทกภัย ระดับน้ำสูง 82% ของความจุเขื่อน 

ภาคตะวันตก (ความจุเขื่อน 37.5% ของความจุทั้งประเทศ)
- ระดับน้ำในเขื่อนปัจจุบัน อยู่ที่ 76% ของความจุทั้งหมด โดยระดับดังกล่าวยังอยู่ในระดับสูงกว่าค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำในเขื่อนปี 2548-2566 และระดับปี 2565 ทั้งนี้ ระดับน้ำเท่ากับช่วงเวลาเดียวกันในปี 2554 ที่เกิดวิกฤติมหาอุทกภัย ระดับน้ำสูง 76% ของความจุเขื่อน

ส่วนความเสี่ยงระยะถัดไป คือ ในเรื่องมรสุม พายุรุนแรงที่อาจจะเข้ามาซ้ำเติมสถานการณ์ในช่วงปัจจุบัน - สิ้นสุดฤดูฝน (กลาง ต.ค.) จากการติดตามข้อมูลทีมกลยุทธ์ พบว่า พายุที่สร้างความเสี่ยง คือ พายุไต้ฝุ่น “ชานชาน” (ความรุนแรงพายุเฮอร์ริเคน > ไต้ฝุ่น > ดีเปรสชั่น > มรสุม) ในทวีปเอเชีย ศูนย์กลางอยู่บริเวณ มหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก กำลังเคลื่อนตัวไปทางตะวันตกเฉียงเหนือ และมีแนวโน้มจะเคลื่อนขึ้นฝั่งประเทศญี่ปุ่น ในช่วง 28 - 29 ส.ค.67 ณ ปัจจุบันพายุนี้ไม่มีผลกระทบกับประเทศไทย และยังไม่มีพายุลูกใหม่เข้ามาเพิ่มเติม 

ในขณะที่ กรมอุตุฯ ในช่วงวันที่ 26–28 ส.ค. 67 ประเทศไทยจะมีฝนเพิ่มขึ้นและมีฝนตกหนักบางแห่งจากลมมรสุมตาม seasonality โดยมีฝนตกหนักมากบางพื้นที่ในภาคเหนือตอนบน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ภาคตะวันออก และภาคใต้ฝั่งตะวันตก 

โดยรวมแล้ว จากสถานการณ์น้ำในเขื่อนดังกล่าวที่ยังรองรับความเสี่ยงได้อีกมากพอสมควร ขณะที่สถานการณ์พายุที่อาจสร้างความรุนแรงเพิ่มเติมยังไม่น่าจะเข้ามาเพิ่มเติมในปัจจุบัน ทำให้ประเมินสถานการณ์น้ำท่วมในปัจจุบันยังมีความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดภาพความรุนแรงดังเช่นมหาอุทกภัยในปี 2554 ขณะที่ผลกระทบความเสียหายในปัจจุบันกระจุกตัวในภาคเหนือ 

ทั้งนี้ หากตั้งสมมติฐานผลกระทบอยู่ในวงจำกัด จ.แพร่ จ.น่าน และอาจจะมีในส่วนสุโขทัย มองกลุ่มหุ้นที่ได้รับจิตวิทยาลบ อาทิ ค้าปลีก แต่เบื้องต้นยังมองเป็นจำนวนสาขาในพื้นที่ดังกล่าวไม่มาก (สัดส่วนรายได้ภาคเหนือของหุ้นค้าปลีก 3-25% ของ รายได้ โดย ผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อห้างค้าปลีกน่าจะอยู่ในวงจำกัดเฉพาะภาคเหนือ (3-10% ของรายได้ ซึ่งมี CRC สูง 17% และ GLOBAL สูง 25% โดย CRC น่าจะอยู่ในส่วนเชียงใหม่ที่อยู่นอกพื้นที่น้ำท่วมเป็นหลัก

ส่วนจิตวิทยาบวก คือ กลุ่มขายวัสดุก่อสร้างที่มีโอกาสได้ประโยชน์การซ่อมแซ่มระยะถัดไป หลังน้ำท่วมคลี่คลาย อาทิ DOHOME GLOBAL DCC TASCO TOA SCGD ดังนั้นกลยุทธ์ลงทุนภายใต้สถานการณ์น้ำท่วมบาง Zone ประเมินเป็นปัจจัยบวกต่อการเก็งกำไรหุ้นกลุ่ม Home Improvement อาทิ HMPRO, GLOBAL, DOHOME เน้น DOHOME, และกลุ่มวัสดุก่อสร้าง อาทิ DCC, TASCO SCGD, TOA เน้น TASCO จากการฟื้นฟู ซ่อมแซม บ้าน สถานที่ถูกน้ำท่วม 

ส่วนหุ้นอิงการบริโภค อาทิ ค้าปลีกสินค้าจาเป็น เช่าซื้อ ธนาคาร และสื่อสาร ที่อ่อนตัวรับความกังวลดังกล่าว แนะนำมองเป็นจังหวะซื้อลงทุน KTB  KBANK  CPALL CPAXT  MTC  TRUE ADVICE 


วิเคราะห์สถานการณ์น้ำท่วม_0.jpg